กลุ่มอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ อบรมประชาธิปไตยเสริมสร้างความรู้ให้แรงงาน

Untitled-6

กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ จัดอบรมเรื่อง วิถีประชาธิปไตยแรงงาน ให้กับกรรมการและสมาชิกสหภาพในเขตพื้นที่ หวังให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนประเด็นปัญหาของผู้ใช้แรงงาน

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม ณ.ห้องอาหารครัวย้อนยุค อ.สามพราน จ.นครปฐม กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ จัดอบรมเรื่อง วิถีประชาธิปไตยแรงงาน ให้กับกรรมการและสมาชิกสหภาพในเขตพื้นที่ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 50 กว่าคน

นายพิสิษฐ์ ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง ผู้อำนายการ(ผอ.)สำนักบริหารกองทุนสภาพัฒนาการเมือง กล่าวบรรยายให้ความรู้ เรื่องบทบาทสภาพัฒนาการเมือง ผู้ใช้แรงงานมีความจำเป็นต้องรับรู้เรื่องประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดเป็นวิถีประพฤติปฏิบัติและเป็นวัฒนธรรมของประชาธิปไตย จึงเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง

สภาพัฒนาการเมืองเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีงบประมาณเพื่อการสนับสนุนส่งเสริมภาคแรงงานให้มีความเข้มแข็งได้หรือไม่อย่างไร และทำให้เกิดเป็นประชาธิปไตยภาคพลเมือง โดยต้องสร้างกำลังภาคพลเมืองในภาคแรงงาน สมัยก่อนการเมืองเป็นเรื่องของผู้หลักผู้ใหญ่ที่ต้องทำหน้าที่ปกครองประเทศ ชาวบ้านก็อยู่เฝ้าบ้านเรือน อยู่ภาคเกษตร แต่ปัจจุบันเราจะปล่อยให้เป็นแบบนั้นไม่ได้การเมืองเป็นเรื่องของคนทุกคนที่อยู่ในสังคม แต่การเมืองประเทศไทยไม่ต้องการให้ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะต้องการใช้อำนาจเพียงฝ่ายเดียวเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง มีการคอรัปชั่นค่อนข้างมาก

Untitled-5Untitled-9

จากการสำรวจสถิติจากทั่วโลกพบว่าประเทศไทยติดลำดับที่ 37- 40 จากคะแนนเต็มหนึ่งร้อย ใกล้เคียงกับประเทศลาวและกัมพูชา ประเทศในอาเชี่ยนด้วยกันที่มีคะแนนสูงสุดคือ ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดมีการสร้างคนให้มีคุณภาพจากสมอง ทุจริตคอรัปชั่นน้อย ประเทศใดมีทุจริตคอรัปชั่นน้อยประเทศนั้นก็จะเจริญตามลำดับ ประเทศไทยขาดการสร้างคนที่มีคุณภาพเกิดการทุจริตคอรัปชั่นค่อนข้างมากในการเมือง ความเจริญจึงไม่เกิดขึ้นในชาติ ซึ่งระบบของการเมืองไทยมีอยู่ 3 หลักการ ดังนี้

1. หลักการกำหนดนโยบายโดยรัฐบาล เช่น กระทรวงแรงงานกำหนดนโยบายนำไปปฏิบัติ ทำให้เกิดการจ้างงาน ผู้กำหนดนโยบายดี นำนโยบายปฏิบัติได้ดี ทำให้มีการกินอยู่ที่ดี เช่น การกำหนดนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท แล้วนำไปปฏิบัติได้เป็นต้น

2. หลักการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยข้าราชการเป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ

3 . หลักการทำให้เกิดการจ้างงาน การเกิดผลกระทบหรือเกิดความอยู่ดีกินดี การเมืองในระบอบประชาธิปไตยมีหลายระบบ ระบบที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือระบบประชาธิปไตยมีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ คือ อำนาจเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน จาก 4 ระบบเริ่มด้วย 1.เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเลือกการปกครองระบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2.ระบบสังคมนิยมประชาธิปไตย เช่นประเทศจีน เวียดนาม 3.ระบบเสรีนิยมประชาธิปไตย และ 4. มีทุนนิยม

Untitled-2Untitled-4

หลักการของประชาธิปไตยมี 5 ประการ ประกอบด้วย

1.หลักอำนาจประชาธิปไตย เป็นของปวงชนทุกคน เหตุใดประชาธิปไตยไทยจึงไม่สมบูรณ์ประชาธิปไตยนั้นเป็นหลักการหรือทฤษฎีต้องปฏิบัติ วิถีชีวิตความเป็นประชาธิปไตยคือความเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ เช่นนายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ จะกินไก่ทอดต้องเข้าคิวรอเพื่อไม่เป็นการละเมิดสิทธิบุคคลอื่น ประเทศเกาหลีใต้ใช้เวลารณรงค์การเข้าคิวรออย่างเดียวใช้เวลาถึง 30 ปี นายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษเดวิด คาเมลอนเข้าคิวซื้อตั๋วรถไฟฟ้าเพื่อนั่งไปทำงานแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียม นี่คือการสร้างวิถีประชาธิปไตย

2.หลักสิทธิเสรีภาพ ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน เช่น เสรีภาพในการเลือกที่จะเป็นเจ้าบ้านเจ้าของที่ดินเลือกการศึกษาเลือกที่จะทำงานที่ใด หรือสิทธิในการเลือกตั้งผู้แทนทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น

3.หลักความเสมอภาคในการเลือกทุกคนมี 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน สิทธิในการรับบริการ การสวัสดิการ

4.หลักนิติธรรมโดยการใช้กฎหมายบริหารปกครองประเทศไทยใช้กฎหมายแบบเลือกปฏิบัติทำให้มีจุดอ่อนกฎหมายจะสมบูรณ์ต้องมีวิถีประพฤติปฏิบัติให้เป็นวัฒนธรรมเกิดขึ้นที่ตัวเราก่อน

5.หลักเสียงข้างมากเคารพเสียงข้างน้อย คือการยอมรับความสามารถของคนอื่น การมีเหตุผล การใช้สิทธิอย่างบริสุทธิ

นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวถึงหลักการประชาธิปไตย คำว่าประชาธิปไตยมาจากประชา คือ หมู่คนหรือปวงชน อธิปไตยคืออำนาจสูงสุดของปวงชน ประชาธิปไตยมีหลายมิติที่น่าสนใจ

1.วิธีการประชาธิปไตย คือ วิธีการอยู่ร่วมกันในชีวิตประจำวันของคนในสังคมและครอบครัว

2.ระบอบประชาธิปไตย คือ วิธีการปกครองของรัฐบาลประชาธิปไตย

3.ระบบประชาธิปไตย หมายถึงทุกส่วนทั้งหมดเป็นลัทธิประชาธิปไตย ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ระบบสังคมทุนนิยมหมายถึง การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม

4.สังคมประชาธิปไตย ระบบสังคมของประเทศเป็นประชาธิปไตย เน้นความเสมอภาค การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เป็นประชาธิปไตยทั้งหมด เป็นอุดมการณ์ลัทธิประชาธิปไตย หรือลัทธิสังคมนิยม

5.ลัทธิประชาธิปไตย คือ ระบบสังคมของประเทศเป็นประชาธิปไตย ประกอบด้วย ทฤษฎี ปรัชญาทางด้านเศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์

ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ หมายถึง บุคคลทุกคนอยู่ดีมีสุข มีปัจจัยสี่ ผู้ใช้แรงงานกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางสังคม หมายถึง การที่สังคมให้โอกาสแก่ทุกคนได้ใช้สิทธิเท่าเทียมกัน

Untitled-7Untitled-3

ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นประชาธิปไตยในความคิด 1.ประชาธิปไตยเป็นทฤษฎีที่เขียนไว้ 2.วิถีประชาประชาธิปไตย เป็นเรื่องของความเชื่อทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 3.สหภาพแรงงานก็เป็นประชาธิปไตย เช่น การเรียกร้องของสหภาพแรงงานก็เป็นประชาธิปไตย 4.ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของตัวเรา เริ่มตั้งแต่การตื่นนอนเราจะทำอะไรก็ได้ 5.การทำงานในโรงงานก็เป็นประชาธิปไตยมีกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติ

โดยสรุปดังนี้ ในด้านของเศรษฐกิจประชาธิปไตย ประเทศที่มีการปฏิรูปที่ดินปฏิรูปการจัดเก็บภาษีเช่นภาษีมรดก ต้องปรับปรุงค่าจ้างที่เป็นธรรม ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้เป็นธรรมควบคุมราคาสินค้า สรุปประชาธิปไตยทางสังคมว่า ต้องมีความเสมอภาคด้านกฎหมาย ด้านการเรียน การได้รับบริการด้านสาธารณะสุขหลักประกันสุขภาพ 30 บาท ผู้ประกันตนที่ได้รับบำนาญชราภาพแล้วก็ต้องได้รับสิทธิประโยชน์เงินเดือนผู้สูงอายุจากรัฐบาลด้วยเช่นกัน

Untitled-8Untitled-10

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการแรงงานไทย ให้ความรู้ประชาธิปไตยแรงงานกับการมีส่วนร่วม กล่าวถึงที่ผ่านมาการเรียกร้องของแรงงานรัฐบาลไม่ค่อยให้ความสนใจ การเมืองเกี่ยวข้องกับเราตั้งแต่เกิดจนตาย พรรคการเมืองมีนโยบายพรรค เช่นค่าจ้าง 300 บาท ถ้าไม่ใช่นโยบายพรรคการเมืองทุกจังหวัดก็จะไม่ได้ปรับขึ้น 300 บาท การออกกฎหมายโดยหลักเรามีสิทธิแต่การปฏิบัติจริงนักการเมืองที่เป็น สส. ในรัฐบาลไม่ฟังเรา แต่เปิดโอกาสให้นายทุนเข้ามาลงทุน มีผลกระทบกับประชาชน เช่นการสร้างเขื่อน มีผลกระทบชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อน จึงได้มีการเคลื่อนไหวคัดค้าน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน เช่น ประกันสังคม เรามีส่วนร่วมหรือไม่ และเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ การจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรม หากไม่เป็นธรรมก็จะเกิดปัญหา ประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วม การถูกจำกัดสิทธิเพราะตอนนี้อยู่ในช่วงกฎอัยการศึก ประชาธิปไตยในโรงงาน เช่น การเลือกตั้งกรรมการและการยื่นข้อเรียกร้องต้องขอมติจากที่ประชุมใหญ่ การเปิดโอกาสให้คนงานมีส่วนร่วม แต่คนงานบางส่วนไม่เข้ามามีส่วนร่วม รัฐธรรมนูญปี 2550 ให้สิทธิประชาชนเสนอกฎหมาย โดยการเข้าชื่อหนึ่งหมื่นรายชื่อเป็นประชาธิปไตยทางตรงถ้าเสนอผ่าน สส. เป็นประชาธิปไตยทางอ้อม

นักสื่อสารแรงงานศูนย์อ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ รายงาน