กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ อบรมกฎหมายให้แรงงานข้ามชาติ

Untitled-1

กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย บมือมมูลนิธิเพื่อนหญิงอบรมสิทธิประกันสังคมแรงงานข้ามชาติหวังให้ความเพื่อเข้าถึงสิทธิ

กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 08.00 – 14.00 น. ณ.ศูนย์วัฒนธรรมกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อนหญิงฝ่ายแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้แรงงานข้ามชาติได้มีความรู้ความเข้าในกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่ควรได้รับ มีแรงงานข้ามชาติเข้าร่วมประมาณ 40 คน

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ เจ้าหน้าที่มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน และนายบัณฑิตย์ แป้นวิเศษ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อนหญิงฝ่ายแรงงานข้ามชาติได้ให้ความรู้กับแรงงานข้ามชาติ เรื่องกฎหมายประกันสังคมทั้ง 7 กรณี และการต่อพาสปอร์ต โดยให้ผู้เข้าร่วมเสนอปัญหาและช่องทางการใช้สิทธิของแรงงานข้ามชาติ

Untitled-2Untitled-3

ประเด็นปัญหาที่แรงงานข้ามชาติเสนอ คือ
1. ประกันสังคมมีปัญหาเช่นกรณีแรงงานหญิงทำงานในประเทศไทยเมื่อตั้งครรภ์กลับไปคลอดบุตรที่พม่าหลังคลอดกลับมาที่ประเทศไทยได้รับสิทธิประกันสังคมต่อเนื่องหรือไม่ เพราะมีบางกรณีที่กลับมาทำงานนายจ้างหักสมทบประกันสังคม 3 เดือน แต่ยังไม่ได้รับสิทธิสงเคราะห์บุตร 1.เงินสงเคราะห์บุตร 2. ค่าคลอดได้อย่างไร 3. ป่วยไปรักษาเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่เพราะมีบัตรสุขภาพ ป่วยหยุดงานกี่วันต้องใช้ใบแพทย์ ถ้า 3 วันยังไม่หายจะทำอย่างไร

2. เรื่องเกี่ยวกับใบพาสปอร์ตเช่น นายจ้างบางรายหักเงินผ่านใบสลิปเงินเดือนเดือนละ 250 บาทสี่เดือนเป็นเงิน 1,000 บาทไม่ทราบเอาไปทำอะไรอ้างว่าเมื่อหมดสัญญาหรือลาออกจะคืนให้ไปรับที่เจ้าหน้าที่เองและใครเป็นเจ้าหน้าที่ เพราะที่ผ่านมาคนที่ออกจากงานไม่มีใครได้รับเงินดังกล่าว

– พาสปอร์ตมีอายุ 4 ปี ทุก 2 ปี จะต้องกลับประเทศไปพิสูจน์สัญชาติปัญหาส่วนใหญ่จึงเกิดกับคนที่มีอายุงาน 4 ปี และ 2 ปีแรกกลับจากพิสูจน์สัญชาตินายจ้างต่อสัญญาจ้าง 2 ปีหลังพิสูจน์สัญชาติกลับมานายจ้างไม่ต่อสัญญาจ้าง และให้เซ็นต์ใบลาออกส่งกลับประเทศ ถ้าต่อพาสปอร์ตด้วยตนเองทำได้ที่ไหนเมื่อใดค่าใช้จ่ายเท่าไร ต่อพาสปอร์ผ่านนายจ้างหรือนายหน้าเสียค่าใช้จ่าย 8,500-9,000 บาท นายจ้างเองไม่มีเอกสารชี้แจงว่าหักสมทบกองทุนใด ในส่วนทำบัตรสุขภาพได้เก็บไปแล้ว

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ เจ้าหน้าที่มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน กล่าวถึงกฎหมายประกันสังคมทั้ง 7 กรณี

1. กรณีเจ็บป่วย ส่งสมทบครบ 3 เดือน เมื่อเจ็บป่วยสามารถรักษากับโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่เกี่ยวกับบัตรสุขภาพ ลาป่วยได้ค่าจ้าง 30 วันในหนี่งปีเกิน 30 วันได้ 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง เรียกเงินทดแทนการขาดรายได้ ป่วย 3วันขึ้นไปต้องใช้ใบรับรองแพทย์ ป่วย 1-2 วัน ใช้หรือไม่ก็ได้แต่ต้องชี้แจงเหตุผล
กรณีบาดเจ็บในเวลางาน 3 วันแรกได้รับค่าจ้างเต็ม หลังจากนั้นได้รับ 60 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างจากกองทุนเงินทดแทน บาดเจ็บนอกงานจ่ายต้องจ่ายตั้งแต่วันแรก

2. กรณีคลอดบุตรส่งสมทบครบ 7 เดือนได้สิทธิ 90 วัน นายจ้างจ่ายไม่เกิน 45 วันประกันสังคมจ่ายไม่เกิน 45 วันจำนวน 1,3000 บาทต่อครั้งนำเอกสารเพื่อยืนยันการใช้สิทธิไม่ว่าจะคลอดที่ใด หนึ่งคนไม่เกิน 2 ครั้ง ผู้ประกันตนชายต้องมีผู้เซ็นต์รับรองเอกสาร คู่สามีภรรยาใช้สิทธิรวมแล้วไม่เกิน 4 ครั้ง

3. กรณีสงเคราะห์บุตรส่งสมทบครบ 12 เดือน ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรปัจจุบัน 400 บาทต่อเดือนจนกว่าบุตรอายุครบ 6 ปี มีบุตรมากกว่า 2 คน ยื่นหลักฐานใช้สิทธิ2คนแรกก่อน เมื่อคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิครบจึงยื่นใช้สิทธิคนถัดไป

4. กรณีตายส่งสมทบครบ 1 เดือน ค่าทำศพจ่ายให้ผู้จัดการศพจำนวนเงิน 40,000 บาท และเงินสงเคราะห์การตายจ่ายให้ผู้มีสิทธิ บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตรเฉลี่ยเท่าๆกัน

5. กรณีทุพพลภาพส่งสมทบครบ 3 เดือน เมื่อพิการไม่สามารถทำงานได้ 1.ได้รับค่ารักษาพยาบาล 2.ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเป็นรายเดือน

6. กรณีชราภาพ( บำเหน็จ-บำนาญ )ส่งสมทบครบ 180 เดือน ผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปี รับบำนาญเป็นรายเดือน

7. กรณีประกันการว่างงานส่งสมทบครบ 6 เดือน ถูกเลิกจ้างได้รับ 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเป็นเลา 6 เดือนภายใน 1 ปี และลาออกจากงานได้รับ 30 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเป็นเวลา 3 เดือน
เมื่อการเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงสามารถใช้สิทธิต่อได้อีก 6 เดือน ยกเว้นกรณีสงเคราะห์บุตร
นายบัณฑิตย์ แป้นวิเศษ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อนหญิงฝ่ายแรงงานข้ามชาติ ได้ชี้แจงประเด็นเกี่ยวกับพาสปอร์ตว่าเมื่อพาสปอร์ตหมดอายุนายจ้างต้องส่งลูกจ้างกลับมิฉะนั้นจะผิดกฎหมาย และขณะนี้กฎหมายประเทศไทยได้จัดตั้งกองทุนเก็บเงินส่งแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายกลับบ้าน กองทุนนี้เพิ่งเกิดขึ้นได้ประมาณ 3 เดือนรัฐบาลเรียกเก็บจากนายจ้างจำนวนเงิน 1,000 บาทต่อคน แต่นายจ้างเองไปเรียกเก็บจากลูกจ้าง กองทุนนี้คุ้มครองแรงงานเมื่อหมดสัญญาจ้างนายจ้างต้องดำเนินงานแจ้งกรมจัดหางานจังหวัดเพื่อให้แรงงานได้ใช้สิทธิจากกองทุนส่งแรงงานกลับบ้านได้

กรณีนายจ้างไม่ต่อสัญญาจ้างให้กับแรงงานที่กลับจากพิสูจน์ช่วง 2 ปีหลังเมื่อพาสปอร์ตหมดอายุและเป็นแรงงานที่ไม่มีนายจ้างเป็นเหตุทำให้แรงงานการเข้าไม่ถึงสิทธิกองทุน
ต่อพาสปอร์แต่ละครั้งละไม่เกิน 5,000 บาทไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอน ขณะนี้ คสช.ให้พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ให้บริการแรงงานข้ามชาติต่อพาสปอร์ตไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557

รายงานโดย นักสื่อสารศูนย์แรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่