กระทรวงแรงงาน แจงเหตุยังไม่รับอนุสัญญาILO 87 และ98 อ้างรอแก้กฎหมาย

กระทรวงแรงงาน ส่งหนังสือแจ้งสำนักเลขาธิการสภาฯ กรณี สส.สุเทพ ถามความคืบหน้าการรับรองILOฉบับที่ 87 และ98 โดยชี้แจงว่า อยู่ระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2 ฉบับก่อน

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 ทางสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ได้ส่งหนังสือแจ้งถึง นายสุเทพ อู่อ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ กรณีทางกระทรวงแรงงาน ได้ตอบนายสุเทพอู่อ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 1  ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1) วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 โดยเนื้อหามีดังนี้

 คำถาม กรณีให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินการ เพื่อรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการสมาคม และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวกันและการเจรจาต่อรอง

คำตอบ กระทรวงแรงงานขอเรียนชี้แจงดังนี้  กระทรวงแรงงานได้พิจารณา แล้วเห็นว่า เสรีภาพและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวเป็นเรื่องสำคัญ ต่อสวัสดิภาพของแรงงาน จึงได้ดำเนินการเพื่อพิจารณาให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 อย่างต่อเนื่อง โดยมีกระบวนการตามกฎหมายและการรับรองอนุสัญญาร่วมกับ ร่วมกับหน่วยงานทุกระดับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานได้แก่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ 2518 และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ 2543 เพื่อให้ความสอดคล้องกับบทบัญญัติของอนุสัญญาฯโดยสรุปการดำเนินการ ได้ดังนี้

กระทรวงแรงงานได้แต่งตั้งคณะทำงานไตรภาคีเพื่อพิจารณาร่างและแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ทั้ง 2 ฉบับ โดยจัดประชุมต่อเนื่องทุกเดือน และได้จัดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนซึ่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานเรียบร้อยแล้วและได้ส่งร่างพระราชบัญญัติกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวกลับไปยังกระทรวงแรงงานเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไปซึ่งกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการ ดังนี้

  1. จัดประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. …. เพื่อนำไป ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. ….โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนนายจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง ข้าราชการและผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้อง จากทุกภาคส่วน รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง มีผู้ร่วมโครงการ ทั้งสิ้นจำนวน 674 คน ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้พิจารณาแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2561 และได้เสนอร่างดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เห็นชอบในหลัก และส่งให้คณะ กรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ขณะนี้อยู่ระหว่างคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาทบทวนครั้งที่ 2 โดยจะเริ่มพิจารณาได้อีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคม 2562 และหากตรวจร่างเสร็จคณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างต่อสภาผู้แทนราษฎร
  2. ส่วนร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. …. กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการจัดทำหนังสือไปยังสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 47 แห่ง เพื่อรับ ฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยกำหนด ไม่เห็นระยะเวลา สิ้นสุด การรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะร่างในเดือนกันยายน 2562 และ เมื่อนำ ข้อคิดเห็นมาพิจารณาเรียบเรียงแล้ว กระทรวงแรงงานจะได้เสนอร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งไปสำนัก บ่เห็นน่ะคณะคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป

3 ตลอดเวลาที่ผ่านมากระทรวงแรงงานได้มีความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในการร่วมกันศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปเป็นประเด็น ในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หลังจากกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว กระทรวงแรงงานกับ ดำเนินการทบทวนความสอดคล้องระหว่างกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่ และข้อบัญญัติของอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 อีกครั้ง และดำเนินการตามขั้นตอนพิจารณาให้สัตยาบันโดยจัดการสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือไตรภาคี นักวิชาการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาฯฉบับที่ 98 และประชาพิจารณ์ ต่อการพิจารณาให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ควบคู่กับการแต่งตั้ง และจัดประชุมคณะทำงานไตรภาคีเพื่อพิจารณาความพร้อมในการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 4 (7) แห่ง พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการเสนอ เรื่อง และการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 “เรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ  ที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย” ทั้งนี้ สำหรับอนุสัญญาฯฉบับที่ 87 จะได้ดำเนินการในลำดับถัดไป