แรงงานเสนอ 7 ข้อเรียกร้อง วันแรงงานแห่งชาติ หวังแก้ประกันสังคม-รับอนุสัญญา ILO

วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 วันแรงงานแห่งชาติ ขบวนผู้ใช้แรงงาน 15 สภาองค์การลูกจ้าง 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และองค์กรเครือข่ายแรงงานนอกระบบ โดยมีนายชินโชติ แสงสังข์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งได้มีการเดินขบวนรณรงค์ข้อเรีกร้อง 7 ข้อ ประกอบด้วย ข้อเสนอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 98 แก้กฎมายประกันสังคม และเพิ่มสิทธิประโยชน์ สร้างโรงพยาบาล และตั้งธนาคารแรงงาน ซึ่งมีนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานพร้อมรับข้อเรียกร้องวันแรงงาน ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยข้อเรียกร้อง 7 ข้อ ได้แก่

1.รัฐบาลต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งเป็นข้อเรียกร้อง มาตลอด 31 ปี ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน กลับไม่มีรัฐบาลไหน ตอบสนองข้อเรียกร้องดังกล่าว ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะที่ผ่านมาในหลายประเทศไม่รับสินค้าไทยเพราะรัฐบาลไม่ยอมรับรองอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งอนุสัญญานี้ไม่มีพิษอะไรแต่รัฐบาลไม่รับเพราะเกรงว่าจะทำให้กลุ่มแรงงานสามารถรวมตัวและมีอำนาจในการเจรจาต่อรอง

2.ให้กระทรวงแรงงานออกพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวง ให้มีการตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง กรณีสถานประกอบการเลิกจ้าง โดยให้สถานประกอบการการเงินส่วนหนึ่งไว้ในธนาคาร หากไม่มีการเลิกจ้างเงินนั้นยังเป็นของนายจ้าง แต่เมื่อไหร่ที่เกิดการเลิกจ้าง ก็สามารถนำเงินนี้มาชดเชยให้ลูกจ้างได้ให้รัฐบาลตราพระราชบัญญัติ หรือประกาศเป็นกฎกระทรวง “เพื่อเป็นหลักประกันให้กับลูกจ้าง”

3.สิทธิตามระบบประกันสังคม ซึ่งถือว่าดีที่สุดเมื่อ 30 ปีที่แล้วแต่ ณ วันนี้มีบางข้อที่ล้าสมัย เช่น เงินบำนาญชราภาพ ที่ให้สูงสุด อยู่ที่ 3,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ที่ไม่มีงานทำ ดังนั้นขอเรียกร้องให้มีการปรับเพิ่ม เงินบำนาญชราภาพเริ่มต้นที่ 5,000 บาท

4.ขอเรียกร้องให้คงสิทธิ์ 3 ประการให้กับผู้ประกันตนที่เกษียณ และเข้าสู่ประกันตนเองตามมาตรา 39 ดังนี้ 1. การรักษาพยาบาลตลอดชีวิต โดยไม่ปรับเข้าสู่ระบบบัตรทอง 2. เงินชดเชยทุพพลภาพ และ3.ค่าทำศพ โดยให้รัฐบาล (กระทรวงแรงงาน) จัดสร้างโรงพยาบาลประกันสังคม และจัดตั้งธนาคารแรงงานเพื่อผู้ใช้แรงงาน

5.ให้รัฐเร่งรัดให้ได้ข้อสรุปในแนวทางจัดระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุให้ลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจได้มีระบบสวัสดิการจากรัฐเทียบเคียงกับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 รวมถึงการให้ลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้จากค่าตอบแทนความชอบด้วยหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการลดหย่อนเงินได้ก้อนสุดท้าย หรือลดหย่อนเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างเอกชนได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง ซึ่งได้ยื่นข้อเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติไปแล้ว และภาครัฐกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการ

6.เพื่อเพิ่มหลักประกันความมั่นคงให้กับลูกจ้าง ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการให้พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติมีผลบังคับใช้โดยเร็ว

7.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2566 และจัดให้มีการประชุมเพื่อติดตามผลทุก 2 เดือน

ทั้งนี้ สื่อมวลชนรายงานว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัย ทัดเทียมกับนานาประเทศ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคธุรกิจบริการ ช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหากับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลได้มีมาตรการลดภาระค่าครองชีพ และเพิ่มรายรับให้ผู้ใช้แรงงาน ผ่านโครงการสำคัญต่าง ๆ เช่น โครงการ มาตรา 33 เรารักกัน, โครงการเยียวยานายจ้าง, การดำเนินโครงการ Factory Sandbox ในพื้นที่ของสถานประกอบการ ทำให้โรงงานไม่ต้องปิดตัวลงซึ่งส่งผลให้การส่งออกปี2564 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 11 ปี

แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19จะคลี่คลายลง รัฐบาลยังคงมุ่งมั่นดูแลผู้ใช้แรงงานโดยได้มีมติเห็นชอบให้ขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตนและขยายอายุขั้นสูงจาก 60 ปีเป็น 65 ปี ให้สิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา39 ที่เข้าหลักเกณฑ์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินกรณีชราภาพ เพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน และปรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและยังได้สนับสนุนการทำงานแบบเวิร์กฟอร์มโฮม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงเวลาทำงาน พักผ่อน วันลา ให้ชัดเจน พร้อมให้สิทธิลูกจ้างปฏิเสธการติดต่อสื่อสารหลังเวลางานได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความมุ่งมั่นส่งเสริมให้แรงงานมีงานทำ ได้รับการพัฒนาแรงงานให้มีศักยภาพสูงในทุกมิติ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ให้การส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานได้รับความคุ้มครองอย่างทั่วถึง ให้มีความปลอดภัยในการทำงาน ยกระดับประกันสังคมเพื่อให้แรงงานได้รับประโยชน์สูงสุด เร่งรัดปรับปรุง แก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับบริบทสถานการณ์ปัจจุบัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยื