18 ปีแห่งการสูญเสียเลือดเนื้อชีวิตและน้ำตา ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ของครอบครัวคนงานเคเดอร์ นำมาซึ่งบทเรียน และการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงาน นักวิชาการ NGO เพื่อให้เกิดระบบรองรับที่ดี ข้อเสนอของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯในสมัชชาคนจน ร่วมกับขบวนการแรงงานเรียกร้องให้รัฐจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯซึ่ง เป็นการเรียกร้องที่มีระยะเดินทางที่ยาวไกลที่สุด และกว่าจะถึงวันนี้ องค์กรผู้ป่วยต้องเสียสละ แรงกายใจ เวลาทุ่มเทไปมากมาย เพื่อหวังความปลอดภัยให้กับผู้ใช้แรงงาน จนปัจจุบันการจัดตั้งสถาบันฯไปติดอยู่ในกฎหมาย พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมวด 7 มาตรา 52 ให้กระทรวงแรงงานตั้งสาถาบันฯภายใน 1ปี หลังกฎหมายบังคับใช้ คือ ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2554
บัดนี้ กระทรวงแรงงานกำลังมีการยกร่างสถาบันฯนี้ อยู่ เวที 10 พฤษภาคม 2554 ณ.ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ผู้ใช้แรงงาน ผู้ถูกผลกระทบจากการทำงาน นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน จะมาร่วมรำลึก 18 ปี โศกนาฏกรรมเคเดอร์ และกล่าวถึงสถานการณ์สุขภาพความปลอดภัย กับ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯที่จะ”คลอดออกมาว่า หน้าตาเป็นอย่างไร ? จะถูกใจเหมือนฝันของผู้ใช้แรงงานหรือไม่ ? มีปัญหาอุปสรรคเป็นอย่างไรบ้าง สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน และสภาพแวดล้อมจาการทำงานแห่งประเทศไทย ในนามคณะจัดงานวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม
โดยมีกำหนดการ เวทีสาธารณะ 18 ปีโศกนาฏกรรมเคเดอร์ กับ การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ” ในฝันของผู้ใช้แรงงานจะเป็นจริงหรือไม่? วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ 10 พฤษภาคม 2554 ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ เวลา 8.30-15.45 น. กิจกรรมมีการ ฉายวีดิทัศน์ชุดความปลอดภัยในการทำงาน และข้อคิดเห็นของผู้นำแรงงาน กล่าวเปิดกิจกรรม และกล่าวรำลึก 18ปี ที่ผ่านมากับเหตุการณ์การสูญเสียโศกนาฏกรรมเคเดอร์
ตัวแทนอดีตคนงาน และครอบครัวผู้ถูกผลกระทบจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมเคเดอร์ การแสดงดนตรี วงภาราดร ขับร้องบทเพลง “ตุ๊กตา" ภาพรวมรวมสถานการณ์ปัญหาสุขภาพ-ความปลอดภัยในการทำงานของผู้ใช้แรงงาน โดย คุณสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมฯ และมีการ จัดแถลงข่าวความคืบหน้าการจัดตั้งสถบันฯในเวลา 11.30 น.
เวทีเสวนา บทเรียน และความเจ็บปวด ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน กับการเข้าถึงสิทธิ วิทยากรร่วมโดย (1) แรงงานในระบบเจ็บป่วยสืบเนื่องจากการทำงาน (2) แรงงานในระบบเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน (3) แรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงาน (4) แรงงานภาคเกษตรที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงาน (5) แรงงานข้ามชาติที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงาน ดำเนินรายการโดย คุณสุนี ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ช่วงบ่าย เป็นเวทีสัมมนา การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ที่ผู้ใช้แรงงานผลักดันมากว่า 16 ปี จะคลอดออกมาแบบไหนถึงจะดี ? ถึงจะตอบโจทย์ได้? วิทยากรร่วมโดย
(1) รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(2) อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้แทน ***
(3) คุณบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการ มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน
(4) คุณวิไรวรรณ แซ่เตี่ย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์
(5) รศ.สราวุธ สุธรรมาสา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(6) คุณสมบุญ สีคำดอกแค ประธาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ
ดำเนินการโดย คุณจะเด็จ เชาวน์วิไล ที่ปรึกษา สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ
จากนั้น เปิดเวทีแลกเปลี่ยน และระดมข้อเสนอของผู้เข้าร่วมเวทีสาธารณะ เข้าชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง สรุปและปิดกิจกรรม โดย คุณสมบุญ สีคำดอกแค ประธาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ
/////////////////////////////////////////////////////////////