
สรุปงานประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคตอุสาหกรรมยานยนต์ – ความร่วมมือสหภาพแรงงานไทยและเยอรมัน”
วันที่ 25-26 มิถุนายน 2565 ที่อสิตา อีโค รีสอร์ท สมุทรสงคราม ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง อนาคตอุสาหกรรมยานยนต์ – ความร่วมมือสหภาพแรงงานไทยและเยอรมัน โดยมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ร่วมกับสหภาพแรงงานโลหะแห่งเยอรมนี (IG Metall) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อติดตามความคืบหน้าล่าสุดเรื่องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น รถยนต์ ไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และผลกระทบต่อการจ้างงานและแรงงานในประเทศเยอรมนีและ ประเทศไทย 2) แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และความคิดเห็น เรื่องทรัพยากรอำนาจของสหภาพแรงงาน 3) เผยแพร่ข้อมูลกฎหมายล่าสุดของเยอรมนีที่กำหนดให้ภาคธุรกิจเยอรมันต้องรับผิดชอบต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนและการทำลายสิ่งแวดลอ้มที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของตนในต่างประเทศ 4) สำรวจความเป็นไปได้ในการประสานความร่วมมือระหว่างสหภาพแรงงานไทย-เยอรมัน
รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การผลิตยานยนต์ในประเทศไทยปี 2565 ยอดการผลิต 1.7-1.8 ล้านคัน ขายทั้งในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ โดยมีปริมาณการจดทะเบียนในปี 2564ประกอบด้วยรถยนต์ EV และXEV รถไฟฟ้ายอดจดทะเบียน31 มีนาคม 2564 มีรถยนต์ BEV จำนวน 14,255คัน PHEVจำนวน 34,104 คัน และHEV จำนวน213,426 คัน ยอดการบุกตลาดนั้นรถไฟฟ้ามาจากประเทศจีน

ประเทศไทยเริ่มมีการเปิดให้มีการท่องเที่ยวได้แล้วและเริ่มมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามา แต่นักท่องเที่ยวยังกลับมาน้อยด้วยหลายประเทศยังขยาดกลัวเรื่องการระบาดของโรคอย่างประเทศจีนยังไม่เปิดให้เดินทาง ทำให้เศรษฐกิจยังไม่ขยายตัว แม้ทั่วโลกเริ่มกระตุ่นเศรษฐกิจแต่ก็มีปัจจัยของสงครามโลกที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกอยู่ ซึ่งการฟื้นตัวภายในประเทศการส่งออกก็ใกล้กลับมาเป็นปกติแล้ว แต่ข้าวของแพงขึ้นกำลังซื้อลดลงบ้างอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งโอกาสในการที่จะขายรถยนต์ด้วยว่า รถยนต์ในประเทศมีเฉลี่ยอายุใช้งาน 12.3 และ9.7 ปีและมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนรถยนต์ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ค่ายรถยนต์มีการนำเสนอเทคโนโลยีแบบใหม่ๆเสนอต่อผู้บริโภค ด้วยน้ำมันแพง เช่นระบบประหยัดพลังงาน ระบบขับขี่ด้วยความปลอดภัย ระบบถอยจอดอัตโนมัติรวมถึงรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ทั้งHybridและBEVฯลฯ เป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจรอเวลาที่จะเปลี่ยนแน่นอนอาจเปลี่ยนแปลงไวมากก็เป็นไปได้ ซึ่งมีทั้งโอกาส และความท้าทาย
แผนการผลิตรถไฟฟ้าในประเทศไทยซึ่งเริ่มผลิตแล้วในหลายยี่ฮ้อ อย่างMercedes benz, NEX Point คาดว่าจะเริ่มผลิตในปี 2567-2569 อย่าง MG,BYD,ARUN และที่ยังไม่แจ้งวันเวลาอย่างTOYOTA อยุ่ระหว่างการศึกษา คือHONDA, NISSAN,MAZDA,BMW,MITSUBISHI และกลุ่มที่ไม่แสดงความสนใจ คือSUZUKI,ฟอร์ด เป็นต้น
ประเทศไทยอยู่ที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 13 กลุ่มยานยนต์อยู่ในหมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก และจะมีการปรับแผนในการผลิตรถEV ในประเทศไทย แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) หมุดหมายที่ 3 จึงมุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านในระยะ 5 ปีโดยให้ความสำคัญกับการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นอุตสาหกรรมใหม่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีการผลิตชิ้นส่วนหลัก ไปพร้อมกับการปรับเปลี่ยน ฐานการผลิตยานยนต์แบบสันดาปภายในให้เป็นยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยไม่ละทิ้งตลาด ส่งออกที่มีศักยภาพจากฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์เดิม โดยมีสัดส่วนในการใช้รถยนต์EV ต้องเพิ่มขึ้น 23เปอร์เซนต์ และมีขั้นตอน 11 โครงการ มีแผนการเปลี่ยนผ่าน ยกขีดความสามารถของผู้ประกอบการเป็นต้น และแผนของรัฐคือ 30 และ 30 คือ 30 เปอร์เซนต์เป็นEV และจะมีการสร้างแรงจูงใจในการใช้ และเน้นเรื่องอุปสงค์ ปี 67-68 คือ ส่งเสริมมาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย (1) มาตรการ ทางด้านภาษี เช่น การใช้ภาษีสรรพาสามิต การยกเว้นหรือลดภาษีป้ายทะเบียนประจำปี เป็นต้น (2) มาตรการ ที่ไม่ใช่ภาษี เช่น ส่วนลดค่าไฟฟ้าในครัวเรือนและที่พักอาศัยในคอนโดมิเนียมแก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ที่จอดฟรี สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า การสนับสนุนสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น และ (3) การให้เงินอุดหนุนสำหรับ การซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้ามีต้นทุนการใช้งานใกล้เคียงกับรถยนต์แบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน รวมถึงตั้งกำแพงภาษีการนำเข้ารถ และมีการให้เงินอุดหนุนการลดอะไหล่ยานยนต์ และมีเงื่อนไขการนำเข้า อย่างปีนี้นำเข้า 1 ล้านคันก็ต้องผลิตได้หนึ่งล้านกันที่ผลิตภายในประเทศ 30-30

มุ่งเน้นการพัฒนายานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle: ZEV) ประกอบด้วยยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) และ ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) และได้ตั้งเป้าหมายการใช้ 51 ข้อมูลจากเอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติครั้งที่ 1-1/2563 วันที่ 11 มีนาคม 2563 และครั้งที่ 1/2564 วันที่ 24 มีนาคม 2564- 56 ยานยนต์ไฟฟ้า ในปี 2573 จำนวน 440,000 คัน (ร้อยละ 50 ของยานยนต์ทั้งหมด) และเป้าหมายการผลิต จำนวน 725,000 คัน (ร้อยละ 30 ของยานยนต์ทั้งหมด) การปรับตัวของการเป็นEV ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลายส่วน เช่นการเกษตร การจ้างงาน และการผลิต รัฐบาลก็สูญเสียรายได้จากน้ำมัน ซึ่งต้องมีการปรับตัวเองด้วยทั้งแรงงานการจ้างงานต้องมีการปรับตัว อย่างปั้มน้ำมัน ซึ่งมาปรับตัวเป็นสถานีชาร์จไฟฟ้า (จากข้อมูลของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2564 พบว่าไทยมีสถานีจำนวน 664 แห่ง ประเภทหัวจ่ายธรรมดาจำนวน 1,450 หัวจ่าย และประเภทหัวจ่ายชาร์จเร็วจำนวน 774 หัวจ่าย รวมทั้งสิ้น 2,224 หัวจ่าย ทั้งนี้ ตลาดภายในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องมีการปรับตัวในหลายๆอุตสาหกรรมด้วย และรัฐบาลก็มีการมุ่งไปที่ EVแล้ว แต่ยังไม่ได้มองว่าสังคมมีการได้รับผลกระทบ หรือว่าจะมีการสร้างกระบวนการปรับตัวของสังคมอย่างไร อย่างBOI มีแผนงานในการปรับตัวส่งเสริมการผลิตรถยนต์EV แล้ว ซึ่งในระยะเปลี่ยนผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) สร้างอุปสงค์ของยานยนต์ ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ เพื่อการใช้ในประเทศและส่งออก (2) ส่งเสริมผู้ประกอบการเดิม สามารถปรับตัวไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และสนับสนุนการลงทุนเทคโนโลยีที่สำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า ในประเทศ (3) สร้างความพร้อมของปัจจัยสนับสนุนอย่างเป็นระบบ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร การลงทุนโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

แต่ว่าบริษัทเทสลาไม่ได้มาประเทศไทยมีการมุ่งไปลงทุนที่อินโดนีเซีย เมื่อการผลิตแบตเตอรี่ไม่มาประเทศไทยแล้ว จะทำอย่างไรหากว่าค่ายรถยนต์ย้ายฐานไม่มาผลิตในประเทศไทยการปรับตัวจะทำอย่างไรในอุตสาหกรรมชิ้นส่วน หรือร้านซ่อมรถยนต์ขนาดเล็กที่ไม่รู้ตัวในการปรับตัวเองอย่างไร
ในกระทรวงแรงงานยังไม่ได้มีนโยบายในการที่จะเชื่อมโยงเรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม และประเทศไทยก็ยังไม่ได้มีการผู้ถึงตรงนี้ แต่ก็มีการพัฒนาทักษะด้านแรงงาน ใครตกงานก็มีการจัดหางาน และฝึกฝีมือแรงงาน รัฐบาลก็จะมีนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ และกระทรวงแรงงานก็มีการทำตามนโยบายของรัฐบาลในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ไม่ได้มีแนวคิดในการที่จะปรับทักษะในการสอดคล้องกับการสร้างงานในอนาคต ซึ่งต่างกับในส่วนของเยอรมันที่ไปดูงานมาจะมีคณะทำงานร่วมกันในการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนผ่าน มีการพัฒนาเพื่อปรับทักษะแรงงาน และมีการคัดคนในการปรับทักษะ มีแนวทางการปรับเปลี่ยนมีช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านเพื่อให้ทุกคนที่ต้องได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมในการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนผ่าน แต่ในอุตสาหกรรมใหญ่ยังไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งประเทศไทย หรือกระทรวงแรงงานยังไม่มีการปรับตัวเลยในประเทศไทยเรื่องการอัพสกิล-รีสกิลใหม่เพิ่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมให้สอดคล้องกับงานใหม่ในอนาคตที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในงานด้านกระแสไฟฟ้า

คลาวเดีย ราห์มาน ผู้แทนIG Metall เยอรมนี กล่าวว่า สภาพภูมิอากาศได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และมีการเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรมที่มีการปรับเปลี่ยนซึ่งมีผลกระทบต่อแรงงานแล้วเช่นกัน ซึ่งขบวนการแรงงานได้มีการชุมนุมเพื่อให้มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยมีการเชื่อมโยงในการทำงาน และอุตสาหกรรมจะรักษาการจ้างงาน ทำให้คนทำงานได้หรือไม่ เพราะหากแรงงานต้องสูญเสียงานและการจ้างงานลงไปเรื่อยๆ ตอนนี้ยังมีเรื่องสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครนกับรัสเชียที่ส่งผลกระทบอย่างมาก รวมถึงผลกระทบจากโควิด โดยตอนนี้สมาชิกสาหภาพแรรงานมีตัวเลขที่ลดลง เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ลดลง ส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ค่อนข้างคงที่ แต่มีปัญหาภาคอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการผลักดันในมีการจ้างงานระยะสั้น เพื่อเป็นการรักษางานทำให้ยังมีการจ้างงานอยู่
การจ้างงานระยะสั้นนั้นแม้ว่าทำให้แรงงานมีรายได้ลดลงไม่เหมือนกับการจ้างงานแบบเดิม แต่ว่าทางภาครัฐได้จ่ายเงินชดเชยการขาดรายได้ที่ลดลงของแรงงาน เพื่อให้รายได้ของแรงงานยังคงเท่ากับการจ้างงานปกติ และการปรับโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงมาพร้อมกับการลดการจ้างงานและมีบางอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตจากตะวันตกไปตะวันออกของประเทศ ซึ่งการรักษางานเพื่อให้มีความมั่นคงมีความจำเป็นและต้องเป็นการจ้างงานที่มีคุณค่าด้วย
มาดูว่าใครได้รับผลกระทบบ้าง แรงงาน 80 เปอร์เซ็นต์ทำงานอยู่ในกระบวนการผลิตรถยนต์สันดาป ซึ่งมีการลดการผลิตลง แต่การผลิตยังพึ่งซัพพลายเออร์ (Supplier) และจากการระบาดของโควิด-19ทำให้กระบวนการผลิตลดลง ส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนั้นมาจากสภาพแวดล้อมและมองถึงการมีรถยนต์ที่ใช้ระบบอินเตอร์เน็ต การใช้พลังงานหมุนเวียน การเปลี่ยนผ่านในอุตสาหกรรมยานยนต์มีการเปลี่ยนผ่านด้านคุณภาพ คุณสมบัติของคนงาน การเปลี่ยนผ่านกระบวนการผลิตรถยนต์นั้นต้องมีการปรับตัวของแรงงานจำนวนมาก และนายจ้างหรือภาครัฐได้มีนโยบายรองรับหรือไม่ และในโลกยังมีตลาดรถยนต์สันดาปภายใน ปี 2015 เน้นการส่งออก ซึ่งบริษัทมีการผลิตและยังขายอยู่ แล้วจะมีการเปลี่ยนผ่านการผลิตไปได้หรือไม่ และจะมีการเปลี่ยนไปแค่ไหนในยุโรป ซึ่งส่วนแบ่งการตลาดจากEV มีมากขึ้น และต้องมีการจ้างแรงงานสายวิศวะด้านไอทีมากขึ้น ซึ่งเขาอาจไม่ใช่สมาชิกสหภาพของเรา

การใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ที่น้อยลง จะมีการลดการจ้างงานจำนวนมาก โดยเห็นว่าจะมีการส่งเสริมการลงทุนในการผลิตแบตเตอรี่เซลล์ที่จะเกิดจะไม่ได้มีการผลิตในประเทศเยอรมันซึ่งจะผลิตที่ประเทศอินโดนีเซียแล้ว คำถามว่า จะมีการสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์แบบเอเซียไม่ใช่แบบเยอรมัน โดยการจ้างงานที่จะมีในเอเซีย และประเทศเยอรมันไม่ได้มีความพร้อมในการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งมีคู่แข่งรายใหม่ๆเข้ามาอย่างแอปเปิ้ล ซึ่งในหลายบริษัท หรือซับพลายเออร์ไม่ได้มีสหภาพแรงงาน หรืออาจมีแต่ไม่แข็งแรง IG Metallจะมีการเข้าไปดูแลอย่างไร สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการจ้างงาน และการที่สหภาพหวังในการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่มีการวางแผนในการเปลี่ยนจะไปอย่างไร ซึ่งการประท้วงครั้งใหญ่ของสหภาพแรงงานIG Metall การที่ต้องมีการเรียกร้องกับนักการเมือง ที่มีการให้รัฐอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานด้วย ซึ่งการเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน และการใช้เทคโนโลยีใหม่อาจมีการจ้างงานระยะสั้นเกิดขึ้นก่อน พร้อมกับการรีสกิล(Reskill) การอัพสกิล(Upskill) การสร้างความรู้ต่างๆใหม่ต้องมีขึ้น และมีการฝึกอาชีพต่างๆที่สอดคล้องกับการจ้างงานด้วย การที่บริษัทรับอาชีวศึกษามาฝึกงานและเพื่อให้มีคุณสมบัติในการปรับตัวเพื่อรองรับอุตสาหกรรมในอนาคตก็จำเป็น โดยลูกจ้างที่เป็นสหภาพต้องมีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับกลุ่มนี้เพื่อให้เขาเป็นแนวร่วมของสหภาพและการเข้าร่วมกับสหภาพแรงงานในอนาคต รัฐต้องมีการสนับสนุนซับพลายเออร์ที่ไม่มีทุนในการเปลี่ยนผ่านและการจ้างงานที่มีคุณค่า ต้องมีการช่วยสนับสนุนส่งเสริมการลงทุนและรักษากระบวนการผลิต โดยการเจรจาในการรักษาผลิตภัณฑ์ ต้องมีการสร้างอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวได้ไม่ใช่ย้ายฐานทำให้แรงงานต้องตกงาน มีการรับมือในการเปลี่ยนแปลงนั้นนายจ้างจำนวนมากไม่มีความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ซี่งควรต้องมีข้อตกลงเรื่องการรักษาสภาพการจ้างงานไว้ และต้องเสนอให้มีการฝึกอบรมพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆให้กับลูกจ้างด้วย เวลาในการเจรจาสหภาพแรงงานต้องให้มีการกำหนดเวลาในการที่มการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน มีการปรับทักษะได้ และต้องส่งเสริมให้มีการไปเรียนเพื่อปรับวุฒิการศึกษาให้กับลูกจ้างได้ด้วย

เรื่องคุณสมบัติหากผู้จ้าง ต้องมีการจ้างงานลูกจ้าง หากไม่มีลูกจ้างประจำก็ต้องมีการผลักดันให้เกิดการจ้งงานที่มั่นคงกับลูกจ้างซึ่งคนทำงานรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเขา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง จึงควรได้รับการอบรมอาชีวะไปในหลักสูตรใหม่ ด้วยบริษัทอาจมีการอบรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ว่าในส่วนของIG Metall ได้มีการต่อรองเรื่องการจ้างงานและมีสภาท้องถิ่นที่จะยื่นมาเพื่อต่อรองกับรัฐบาลเยอรมันเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในระดับท้องถิ่น และประเทศไทยอาจมองว่าสหภาพไม่เข้มแข็งพอแต่อยากบอกว่าเยอรมันเองก็มีปัญหามาก่อน แต่สหภาพแรงงานไม่ได้ต่อต้านเทคโนโลยี แต่จะทำอย่างไรในเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้กลับมาเป็นประโยชน์กับประเทศและภาพลักษณ์ที่ดีในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของสหภาพแรงงาน
ดร.กิริยา กล่าวเสริมอีกว่า กลุ่มยานยนต์เป็นกลุ่มที่รับรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในเรื่องกระบวนการ การเปลี่ยนผ่านด้านอุตสาหกรรมอยู่แล้ว กระทรวงแรงงานเองก็รับรู้จากการที่ขบวนการแรงงานได้มีการนำเรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ซึ่งได้มีการยื่นข้อเสนอทั้งนำงานวิชาการเข้าไปคุยกับทางกระทรวงฯ และตอนนี้มีการพูดถึงการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมอยู่บ้างแล้ว แต่ว่าอาจไม่มีความต่อเนื่องในการที่จะสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและเสนอแนวคิดในการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมเข้าไปอีกในส่วนของแรงงาน ซึ่งต้องเสนอให้นำเงินจากรัฐมาปรับสกิลใหม่ให้กับแรงงาน คงต้องหาวิธีเข้าไปเสนอเพื่อให้มีงบประมาณหรือทุนมาใช้ในการปรับสกิลของพร้อมทั้งเชิญชวนแรงงานกลุ่มอื่นๆมาเรียนรู้สถานการการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อลดโลกร้อน ให้รับรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ด้วย

คุณคลาวเดีย กล่าวต่อว่า ในประเทศเยอรมันมีการนำนักศึกษามาทำงานในกระบวนการผลิตโดยกำหนดเวลาทำงานไม่เกิน 20 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นสิทธิ และเขายังไม่ได้เข้ามาเป็นสหภาพแรงงาน ในประเทศเยอรมันมีการผลิตรถญี่ปุ่นเช่นกันและมีสหภาพแรงงานของบริษัทนั้นๆ แม้ว่าIG Metallจะมีสมาชิก 60 เปอร์เซ็นต์ หรือว่า 80 เปอร์เซนต์ จะกรันตีว่าสหภาพมีความเข้มแข็งแล้ว หรือหากสหภาพแรงงานมีสมาชิก 10 เปอร์เซนต์ไม่เข้มแข็ง แต่ว่าการที่สหภาพมีสังกัดองค์กรแม่ที่มีกฎหมายกำหนดให้มีสิทธิสวัสดิการสแตนดาส (standards คือมาตรฐาน)เดียวกัน โดยกำหนดให้มีข้อเรียกร้องแบบเดียวกัน และมีข้อตกลงเดียวกัน กำหนดช่วงเวลาเจรจาในเดียวกัน และทำให้มีการทำสัญญาเดียวกัน การรวมตัวกันในประเภทกิจการเดียวกัน ซึ่งที่ในเยอรมันก็มีปัญหาบ้างเช่นกันเรื่องว่าคนละบริษัทคนละเจ้าของ นายจ้างก็ต้องการแยกเราออกจากกันอยู่แล้ว แต่ว่าสหภาพต้องเห็นประโยชน์ในการที่จะรวมตัวกันเพื่อเจรจาต่อรองกับภาครัฐ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ ในIG Metallมีการจัดการศึกษาเพื่อที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงตรงนั้นได้ และการที่จะให้บริษัทรับฟัง สหภาพก็ต้องให้นักศึกษา หรือคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในสหาภพแรงงานเพื่อสร้างการยอมรับจากนายจ้าง ในเบอลินมีการนำเสนอความคิดเห็น เสนอนโยบายทางการเมืองโดยมีเวทีในการนำเสนอ เพื่อให้ภาครัฐฟังเสียงของแรงงานมากขึ้น

ในเยอรมันก็มีเรื่องการที่แรงงานมีค่าแรงที่สูงทำให้มีการย้ายฐานการผลิตไปในยุโรปตะวันออกที่มีสหภาพแรงงานไม่แข็งแรง และค่าจ้างที่ต่ำกว่าแต่ก็พยายามที่จะร่วมกับเพื่อสร้างให้เกิดความแข็งแรงของสหภาพแรงงาน เพื่อให้สหภาพแรงงานยุโรปตะวันออกมีอำนาจต่อรอง เพราะนายจ้างมีการแจ้งหรือขู่ว่าจะย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นหากมีการเพิ่มค่าจ้างเป็นต้น สหภาพต้องดูว่านายจ้างโกหกหรือไม่ ต้องมีการเตรียมตัวอย่างไร เช่นมีการจัดตั้งรวมตัวกันนายจ้างจะไม่สามารถไล่คนออกได้ง่าย เพราะมีการรวมตัวกัน เดิมกลุ่มรถยนต์ของเยอรมันก็ไม่ได้ชื่นชอบการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตรถยนต์ EVเท่าไร แต่เมื่อรัฐบาลมีการทำสัญญาในการเปลี่ยนแปลงด้านโลกร้อนทำให้ต้องมีการปรับตัวเรื่องรถยนต์มีการศึกษาระบบEV และต้องมีการปรับเปลี่ยน และสหภาพIG Metallต้องมีการหารือกับภาครัฐเพื่อการพัฒนามากขึ้นเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ในเยอรมันโดยต้องมีการแข่งขันกัน แต่ต้องมีการสื่อสารกันของสมาชิกเพื่อการทำงานร่วมกันในส่วนของแรงงาน
ต้องใช้ความพยายามในการที่จะต่อรองเรื่องการลงทุนในการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆเกิดขึ้นเพื่อให้มีการจ้างงาน ต้องมีการลงทุนในการสร้างแรงงานที่มีทักษะให้เพียงพอเมื่อเกิดงานใหม่ในอนาคต พยายามที่จะให้ระบุภูมิภาคที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้มากที่สุด และได้มีการเสนอโครงการเสนอความคิดไปให้รัฐบาล หรือนายจ้างเพื่อให้มีการเจรจาทางสังคมให้มากที่สุด สหภาพมีความพยายามหารือและสร้างความร่วมมือกันทั้งทางนายจ้าง สภาอุตสาหกรรมต่างๆ บางครั้งต้องกล้าที่จะก้าวออกไปพูดคุยและสร้างแนวทางใหม่ในการร่วมมือกันในการต่อรองกับรัฐบาลเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม

“ทรัพยากรอำนาจของสหภาพแรงงาน-กุญแจในการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม”
ขบวนการแรงงานถดถอยทั่วโลกมีความพยายามในการที่จะมีการรวมตัวกันในรูปแบบใหม่ ภายใต้ทรัพยากรอำนาจ 4 อำนาจ ดังนี้ 1.อำนาจเชิงโครงสร้าง 2. อำนาจการรวมตัว 3. อำนาจเชิงสถาบัน 4. อำนาจเชิงสังคม
ลาเร่ อยู่เป็นสุข ประธานสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์ ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (Team) กล่าวมุมมองในกลุ่มแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์นั้นคลาดว่า การจ้างงานจะลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบ จากการชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ลดลง เมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จากเดิมมีชิ้นส่วนประกอบรถยนต์จำนวนราว 3 หมื่นชิ้นต่อคัน ลดลงเหลือเพียงราว 1,500 ชิ้น หรือว่าประมาณ 3,000 ชิ้นต่อรถยนต์ไฟฟ้าหนึ่งคัน และตอนนี้กำลังการผลิตชิ้นส่วนก็เริ่มลดลงแล้ว การลดการจ้างแรงงานลง นายจ้างจะออกประกาศเพื่อขอความสมัครใจของแรงงานเพื่อออกจากงาน ซึ่งหากไม่มีคนสมัครใจก้จะมีการชี้ให้แรงงานที่ต้องการให้ออกต้องออกจากงาน คือชี้ตัวให้ลูกจ้างให้ออกได้เลยในกรณีที่บริษัทนั้นๆไม่มีสหภาพแรงงาน ส่วนของบริษัทที่มีสหภาพแรงงานจะมีการต่อรองกับนายจ้าง จะมีการเรียกร้องการชดเชยการขาดรายได้เมื่อตกงานมากกว่ากฎหมายกำหนด การที่แรงงานหนึ่งคนตกงานจะมีผลกระทบต่อครอบครัวอีกหลายชีวิต โดยมองการชดเชยตามอายุงานที่หากแรงงานยังทำงานอยู่ยังมีรายได้ที่สามารถหาได้เพื่อจุนเจือครอบครัวได้ ซึ่งยังไม่สามารถทำให้เป็นบรรทัดฐานให้กับแรงงานทุกกลุ่มคนได้ หรือให้เพียงพอจนกว่าจะหางานใหม่ทำได้ จึงเป็นปัญหาอยุ่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงช่วงของการเปลี่ยนผานแรงงานทำอย่างไรให้แรงงานได้รับความเป็นธรรม

เรื่องทรัพยากรของอำนาจคือ การที่ต้องมีสมาชิกมากๆเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับนายจ้าง แต่แม้ว่าประเทศไทยจะมีความรั้งท้ายในการรวมตัว แต่การมีองค์กรสหภาพแรงงานของไทย เป็นเพื่อต่อรองกับนายจ้างในสถานประกอบการ ทำหน้าที่ในการต่อรองกับนายจ้าง ซึ่งพอมีอำนาจในการต่อรองภายในอยู่บ้าง แต่สหภาพแรงงานก็ไม่มีการทำงานเครือข่ายทางสังคม และยังไม่ทำงานร่วมกันในหมู่องค์กรสหภาพ ซึ่งทำให้ยังมีความไม่เป็นเอกภาพไม่มีอำนาจต่อรองไปในทิศทางเดียวกัน ขาดความเป็นเอกภาพเพื่อร่วมกันสร้างอำนาจต่อรองต่อนายจ้างและรัฐ มีข้อจำกัดในการทำงานร่วมกัน การนัดหยุดงานตอนนี้ไม่สามารถทำได้ด้วยรัฐมีประกาศห้ามชุมนุมและนัดหยุดงานหลังรัฐบาลคสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) และหากสหภาพแรงงานมีการชุมนุมหรือนัดหยุดงาน สังคมมักมีการด่าทอว่าทำลายเศรษฐกิจบ้านเมือง การมีผู้แทนราษฎร ที่เป็นตัวแทนแรงงานเข้าไปทำงานทางการเมืองเหมือนจะดีแต่กลับกลายเป็นความขัดแย้งแบ่งพักแบ่งพวกกันมากขึ้น เมื่อมีการนำการเมืองมาสู่สหภาพแรงงาน
การรับมือในการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี จะให้มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมนั้น จะมีมาตรการรองรับ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรแรงงานตนเองก่อน ถามว่าองค์กรแรงงานขนาดใหญ่เข้มแข็งกว่าองค์กรเล็กจริงหรือไม่ จริงๆในส่วนขององค์กรเล็กหากมีเอกภาพในองค์กรเขาก็มีอำนาจต่อรองและการต่อสู้ของเขาก็สำเร็จในการเรียกร้องได้ ตอนนี้ทางสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ได้สร้างอำนาจร่วมในการต่อรองไปในทิศทางเดียวกัน เช่นยื่นข้อเรียกร้องพร้อมกัน มีการเจรจาในข้อเรียกร้องเดียวกัน เป็นต้น

คุณอัจฉรา นุกูลธรรม สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าในฐานะคนทำงานผลิตเครื่องยนต์หากมีการปรับตัวเป็นการผลิตรถไฟฟ้า ซึ่งชิ้นส่วนเครื่องยนต์จำนวนมากหายไป ซึ่งคงกระทบกับแรงงาน และกระบวนการผลิตต่างๆลดลง และจะหายไปจากกระบวนการผลิต สภาฯจึงจะมีการทำหนังสือไปยื่นเพื่อขอปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพื่อหาทางออกร่วมกัน หากมีการเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี กระบวนการผลิตรถไฟฟ้ากระทบกับแรงงานว่าในส่วนของกระทรวงฯมีแนวทางในการแก้ปัญนี้อย่างไร? เรื่องการบรรจุเข้าไปในข้อเรียกร้อง อย่างเช่นความต้องการที่อัพสกิลนั้นต้องการที่ปรับไปแบบไหน หรือควรปรับสกิลไปเพื่อรองรับงานใหม่ควรเป็นรูปแบบใด การจะใช้สิทธิในการหยุดงานยังคงทำไม่ได้ในช่วงนี้ จึงต้องสร้างการเรียนรู้และหาทางสร้างอำนาจต่อรอง

คุณกมล รอดประสิทธิ์ ที่ปรึกษาสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อกังวลต่อการจ้างงาน เมื่อมีการเลิกจ้างแรงงานที่ทำงานประจำ แต่นายจ้างหันมาจ้างแรงงานรับเหมาค่าแรงมากขึ้นนั้นเป็นเพราะนายจ้างต้องการลดอำนาจการต่อรองของสหภาพแรงงานหรือไม่ และทรัพยากรในมือของแรงงานคืออะไร จากกฎหมายแรงงานของประเทศไทยที่มีการกำหนดเรื่อง การกระทำอันไม่เป็นธรรม เมื่อต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายแล้ว และเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ยส่วนใหญ่ลูกจ้างจะเสียเปรียบนายจ้างทุกครั้ง ซึ่งแรงงานต้องรู้ศักยภาพของเขาด้วยว่ามีแค่ไหนในการที่จะต่อสู้กับนายจ้าง ลูกจ้างต้องมีการพัฒนาตนเองฝึกอบรมเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองหากไม่มีความรู้จะสู้นายจ้างได้อย่างไร
ต่อมาวันที่26 มิถุนายน 2565ได้มีการนำเสนอกฎหมายเยอรมันล่าสุด – ภาคธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการทำลายสิ่งแวดล้อมที่อยุ่ในห่วงโซ่การผลิตในประเทศ (The German Supply Chain Due Diligence Act) โดย คุณโรมี่ ซีเกิร์ต และคุณคลาวเดีย ราห์มาน ผู้แทนIG Metall สรุปได้ดังนี้

กฎหมายฯที่กำหนดนั้น เป็นบางประเทศที่ทำโดยสมัครใจในการดูแลแรงงาน และบริษัทแม่ที่เข้ามาดูแลแรงงานด้วยความสมัครใจ แต่ก็ทำให้บริษัทที่ใช้ Subpie Chain ((ห่วงโซ่อุปทาน) คือ กระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการ) มีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมดีขึ้น สิ่งที่อยู่ในกฎหมายนี้ มีขอบเขตในการนำมาประยุทธ์ใช้ มีนิยามเรื่องสิทธิมนุษยชนและการป้องกันความเสี่ยงโดยการกำกับควบคุมการบังคับใช้ และหากไม่มีการทำตาม อาจมีการปรับบริษัทนั้นๆ ซึ่งบางแห่งไม่ได้มีความเข้มแข็ง ต้องมีการทำงานร่วมในหลายภาคส่วนเพื่อทำข้อเสนอของทุกคนเอามาใส่ประเมินข้อด้อยและจุดอ่อนด้วย หากเกิดปัญหาการละเมิดและเกิดคดีความทางแพ่ง ซึ่งยังไม่มีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในศาลทางแพ่งได้ แต่หากมีการละเมิดสิทธิแรงงาน supplier ((ซัพพลายเออร์) หมายถึง ผู้ผลิตสินค้าและนำมาจำหน่ายให้กับบริษัทต่างๆที่ได้ยื่นใบสั่งซื้อสินค้าให้) ทั้งทางตรง และทางอ้อม
กำหนดเรื่องสิทธิสิ่งแวดล้อม หรือสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่บริษัทต้องทำตาม เพราะอาจกระทบต่อเศรษฐกิจการส่งออกซึ่งจะทำให้บริษัทมีการลดความเสี่ยงที่จะทำให้กระทบต่อการส่งออกได้ การสร้างปัญหาทางสิ่งแวดล้อม จะมีผลกระทบต่อสังคมซึ่งสหภาพแรงงานทางเยอรมันกำลังมีการพิจารณาอยู่

คำนิยามของสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมทั้งอาชีวอนามัย การรวมตัว การดูแลพนักงานที่ไม่เท่าเทียมให้เกิดความเท่าเทียมกัน และอีกประเด็นการเลือกที่จะไม่จ่ายค่าจ้างที่เหมาะสม ซึ่งกฎหมายต้องมีการดูแล รวมถึงเรื่องอนุสัญญาของสหประชาชาติเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดว่า ค่าจ้างที่พอเพียงควรเป็นเท่าไร และการที่ได้รับเพียงค่าจ้างขั้นต่ำ อย่างประเทศไทยเน้นการจ้างงานโดยใช้มาตรฐานค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งไม่เพียงพอ จนแรงงานต้องทำงานล่วงเวลา(โอที) และทำให้เกิดความสียงหายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานนั้น ไม่ใช่จะไม่ให้ความสำคัญ ยังให้ความสำคัญอยู่แต่ในประเด็นสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงบางอย่างที่อาจมีกฎหมายควบคุมยังไม่เพียงพอ อย่างนิยามของกฎหมายที่กำหนดคำว่า “พอสมควร” ประโยคนี้อ่อนอยู่และนายจ้างอาจไม่ปฏิบัติก็ได้

อย่างแลกคือฏฎหมายที่ต้องดูเรื่องความเสี่ยง ต้องมีการดูแลภายในมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นระยะๆ และต้องป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิด หากเกิดละเมิดเรื่องนี้จะต้องกำหนดให้มีการแก้ไข เช่นต้องมีการตั้งระบบการร้องเรียน ต้องบังคับใช้กฎหมายกับใครบ้าง อย่างกระบวนการที่ซับซ้อน อย่างเช่นมีผู้ผลิตในเทียร์ 1 เทียร์ 2 หรือเทียร์3 หรือเทียร์4 ต่อไปเป็นช่วงๆ หากมีการละเมิดเกิดขึ้น การวิเคราะห์ความเสี่ยงการกำกับดูแลเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อเป็นการดูแล ให้บริษัทต้องมีการจัดส่งรายงานว่า มีการจัดทำหรือปฏิบัติตามกฎหมายจริงหรือไม่ หากไม่ทำก็จะมีการลงโทษตามที่กฎหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งทางเยอรมันมีการปรับที่สูงถึง 2 เปอร์เซนต์ ซึ่งดูว่ามีความรุ่นแรงมากน้อยแค่ไหน สำหรับบริษัทที่มีการละเมิดอาจไม่สามารถเข้าร่วมประมูลงานได้ถึง 3 ปีถือเป็นการลงโทษ หากมีกฎหมายฉบับนี้ก็อาจทำให้นายจ้างรู้สึกถึงความรุนแรงในบทลงโทษหากไม่ทำตามที่กฎหมายฉบับนี้ กำหนดหากยังไม่รับผิดทางแพ่งและมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงปรับเรื่องโทษตรงนี้เพิ่มอีก

เรื่องที่ทำได้เลย คือสหภาพแรงงานในบ้านตนเอง(ในบริษัท) ต้องมีการประสานงานข้อมูลวิเคราะห์ความเสี่ยง การสร้างเครือข่ายให้มากขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีอะไรบ้างเพื่อจัดทำเป็นข้อมูล และต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ หากสหภาพจะเข้าร่วมกับตรงนี้ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ยังไม่ถูกบังคับใช้ โดยทางเยอรมันต้องมีการทำคู่มือให้กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้นำไปใช้ได้จริง ทั้งการจัดการปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดการความเสี่ยงเมื่อมีการละเมิดตรงนี้ รวมถึงมาตรการการป้องกันที่ถูกระบุไว้ในระบบร้องเรียน ซึ่งจะมีทั้งภายใน และภายนอกด้วย อาจทำผ่านสหภาพหรือสภาแรงงานต่างๆ และระบบแรงงานไม่สามารถแก้ปัญหาได้หากไม่ได้รับข้อมูลข้อเท็จจริง และเรื่องที่เขียนไว้ในรายงานนั้นไม่เป็นความจริง

จะเห็นว่า ผู้ที่มีส่วนร่วมในระบบสหภาพ ซึ่งสหภาพที่เป็นประเทศเป้าหมายการลงทุนอย่างประเทศไทยที่มีความขัดแย้ง ต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงส่งไปให้ประเทศแม่ แล้วต้องคุยกับใครที่เป็นคนกลาง อย่างNGOs (Non Governmental Organizations, องค์กรพัฒนาเอกชน )อาจบอกได้ว่าควรเป็นใคร หากไม่มีสหภาพแรงงาน อาจให้NGOsเข้ามาช่วยในการทำงานข้อมูลและติดตามผลักดันในประเทศแม่ โดยการส่งเรื่องร้องเรียนต่อไปยังประเทศแม่ เรื่องที่สำคัญคือการจัดการเอกสารที่ชัดเจนเพื่อการนำไปใช้ตลอดกระบวนการและกฎหมายนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อให้สอดคล้องหากเรามีการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดแน่ ว่าในภูมิภาคนี้มีการละเมิดและมีอะไรที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนบ้าง

ทั้งนี้ คุณสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะกรรมาธิการ การแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนเครือข่ายแรงงาน ได้มีการกล่าวถึง การทำงานหน้าที่ส.ส.แรงงานในสภาฯนั้น ในฐานะอดีตแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ และเป็นประธานสหภาพแรงงานมาก่อน ก็มีความพยายามในการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน เรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมด้านแรงงาน วันนี้ได้รับข้อมูลที่แรงงานยานยนต์ได้รับผลกระทบบ้างแล้ว การแก้ไขปัญหาแบบปลายทางอย่างการให้แรงงานต้องลาออกจากงานถือเป็นปัญหาใหญ่ด้วยคนหนึ่งคนที่ทำงานต้องเลี้ยงครอบครัวหลายคน ค่าจ้างที่ยังเป็นค่าจ้างขั้นต่ำของกลุ่มแรงงานที่ไม่มีสหภาพแรงงานดูแลเรื่องสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นประเด็นอย่างมาก การรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง การผลักดันให้มีการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือILO ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อให้แรงงานทุกกลุ่มมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน ถือเป็นเสรีภาพ ตอนนี้ยังมีการเสนอร่าง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เป็นความพยายามของส.ส.แรงงาน ในนามกรรมาธิการการแรงงาน และพรรคก้าวไกลในการล่ารายชื่อ ส.ส. 20 ชื่อเสนอเข้าสภาฯตอนนี้ก็มีการรับฟังความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว พร้อมนำเสนอเข้าสภาฯ การตั้งคณะทำงานเพื่อดูเรื่องค่าครองชีพของแรงงานเพื่อเสนอให้มีการปรับค่าจ้างโดยคำนึง และสอดคล้องต่อการดำรงชีพอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับค่าครองชีพ ซึ่งค่าจ้างปัจจุบันยังไม่มีการปรับขึ้นแม้ค่าครองชีพจะสูงขึ้นทุกวัน ในฐานะส.ส.แรงงาน จะต้องทำหน้าที่เพื่อพี่น้องแรงงานทุกคนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ นอกระบบ หรือแรงงานข้ามชาติ ต้องมีการดูแลอย่างเท่าเทียม

เรื่องการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่ส่งผลกระทบทำให้ต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้เพื่อลดภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน โดยเฉพาะแรงงานในกิจการรถยนต์ ที่มีการปรับตัวปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ลดการจ้างงาน ใช้การเปิดสมัครใจลาออก หรือเลิกจ้าง ซึ่งที่มีสหภาพก็มีการเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมในการจ่ายเงินชดเชยที่มากกว่ากฎหมายบ้าง แต่ความเป็นธรรมคือแรงงานทุกคนควรมีงานทำ เป็นงานที่มีคุณค่า ตรงนี้มีการกล่าวถึงว่า ต้องมีการปรับทักษะกันใหม่เพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อการจ้างงาน จึงต้องมีการจับตาดูและนำเรื่องเหล่านี้เข้าไปเสนอหรือทวงถามในสภาฯว่ามีแนวทางในการแก้ปัญแรงงานอย่างไรด้วย

ในช่วงสองวันที่อยู่ด้วยกันกลุ่มแรงงานยานยนต์ได้มีการระดมหารือถึงสภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอีกด้วย
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน