ปัจจุบันหมูน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ราคา 8,000 บาท เมื่อปี 2546 นายโชคสกุล มหาค้ารุ่ง เกษตรกรเลี้ยงหมูได้ค่าตอบแทนการเลี้ยงตัวละ 200 บาทจนปัจจุบันก็ยังได้ค่ารับจ้างเลี้ยงหมูเพียงตัวละ 200 บาท
ตลอดระยะเวลาการทำงานของนายโชคสกุล มหาค้ารุ่ง เกือบ 10 ปี คำตอบที่ชัดเจนคือระบบการเลี้ยงหมูคิดว่าได้ตกเป็นลูกไล่ของบริษัทที่เอาระบบการทำสัญญาเลี้ยงหมูมาสู่หมู่บ้าน ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระหนี้ 100 %
ซึ่งปัญหานี้ ไม่ได้เกิดกับนายโชคสกุลเพียงคนเดียว แต่เกิดขึ้นกับเกษตรกรทั่วประเทศทั้งพืช สัตว์บก สัตว์น้ำ รวมปัญหาแล้ว คือระบบการผลิตแบบพันธสัญญา ความหายนะของเกษตรกร
ปี2546 นายโชคสกุล มหาค้ารุ่ง เกษตรกรมีความเข้าใจ และคาดหวังมองโลกในแง่ดี ถูกพนักงานจากบริษัทชักชวนให้ร่วมทุนด้วย ข้อมูลด้านดีเพียงด้านเดียว ก็ตัดสินใจไปกู้เงินจากธนาคารเอกชนจำนวน 10 ล้านบาทมาลงทุน โดยนำที่ดินเป็นหลักทรัพย์ประกัน ด้วยคิดว่า ความเป็นอยู่ในอนาคตจะดีขึ้น นำมาสร้างโรงเรือนติดแอร์อย่างดีให้หมูอยู่ แม้ว่าตนเองบ้านยังไม่สร้างยอมอยู่กระต๊อบ นำเงินมาทุ่มเทเลี้ยงหมู เพื่อทำให้ผลผลิตการเลี้ยงหมูได้คุณภาพตามที่บริษัทกำหนด หวังมีรายได้ดีขึ้น แต่ผลสุดท้ายต้องมาเป็นหนี้เพราะถูกบริษัทเอาเปรียบ ผลักภาระความเสี่ยงมาให้เกษตรกรทั้งหมด เช่นค่าไฟฟ้า การปรับปรุงฟาร์มที่ต้องทำอยู่ตลอดเวลา ทั้งอาหาร ยาปฏิชีวนะ กว่าได้น้ำหนักตามบริษัทสั่ง หมูตายก็หักเงิน น้ำหนักเกินก็มีปัญหา จนที่สุดแล้วไม่ได้กำไร กลายเป็นหนี้หมดตัว ไม่มีคนช่วยแก้ไข บริษัทหายหน้าไม่เคยมาเหลียวแล เพิ่งรู้ว่า ระบบเกษตรพันธสัญญา เมื่อถึงเวลาเจ๊ง เกษตรกรต้องเจ็บคนเดียว
นักสื่อสารเกษตรกรพันธสัญญา รายงาน