สภาแรงงานยานยนต์ ถกภาวะโลกร้อน ถึงผลกระทบต่อแรงงาน

สรุปรายงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้นำแรงงาน  “ภาวะโลกร้อน…คืออะไร…เกี่ยวกับแรงงานตรงไหน” จัดโดยสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สนับสนุนโดยมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) วันเสาร์ที่ 7 เมายน 2561 ห้องประชุมสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย

นายมานิต พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาวะโลกร้อน อีกประมาณ 100 ปี อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นน้ำแข็งขั่วโลกกำลังละลายเพิ่มมากขึ้น ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น การพยากรณ์อากาศจะเห็นว่า มีความแม่นยำเรื่องอากาศที่มีภาวะแปรปรวนเพิ่มขึ้น ความร้อนของโลก และภาวะเรือนกระจกก็เกิดจากน้ำมือมนุษย์ที่ทำให้เกิดขึ้นจากการพัฒนา ประเทศไทยเราก็จะเห็นแนวคิดของการส่งเสริมเพื่อการลดภาวะโลกร้อน แต่ว่า รัฐบาลไทยก็มีแนวทางที่จะมีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นโดยใช้พลังงานถ่านหิน แต่ก็ถูกต่อต้านจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัญหาด้านอุตสาหกรรมมีการปรับด้านรถยนต์ที่ใช้นำมัน มาใช้ก๊าซ และต่อไปคือการปรับมาใช้ระบบเชื้อเพลิงไฟฟ้า การปรับตัวต่างๆทางอุตสาหกรรมคือ ความต้องการลดภาวะโลกร้อน ที่มาจากภาวะเรือนกระจก

นายสมพล พวงมาลี นักวิชาการชำนาญการพิเศษ สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่ 11 กล่าวว่า ทางประกันสังคมได้มีโครงการอบรมเพื่อให้ความรู้กับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งหัวข้อที่มีการอบรมวันนี้ มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านเพื่อลดภาวะโลกร้อนที่จะที่ส่งผลกระทบต่อโลก จะเห็นสถานการณ์น้ำท่วม ภัยแล้งเกิดขึ้น ซึ่งการที่ผู้คนหันมาช่วยกันลดภาวะโลกร้อน และภาครัฐเองมีความพยายามที่จะลดการใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบกับโลก การบริการรถยนต์ที่มีการปรับตัวที่จะมีการรถการใช้รถยนต์ที่ใช้พลังงานฟอสซิลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า

 

นายธนกิจ สาโสภา รองประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์ฯ กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศนั้นมีผลกระทบกับผู้ใช้แรงงานอย่างไร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนด้านอุตสาหกรรมหลาย เทคโนโลยีใหม่เข้ามาผลิตเพื่อช่วยให้เกิดการลดภาวะโลกร้อน เช่นการผลิตยานยนต์มีการปรับตัวมาใช้รถถยนต์ที่ไม่ใช่ระบบน้ำมัน เป็นระบบรถไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นชิ้นรถยนต์บางชิ้นส่วนจะไม่ได้ใช้อีก อย่างเช่นถังน้ำมัน ท่อไอเสีย อุปกรณ์เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรฟอสซิล ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งต้องมีความเป็นธรรมต่อแรงงานด้วย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อความมั่นคงในการมีงานทำแน่ แรงงานมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ภาครัฐมีนโยบายต่อประเด็นปัญหา การเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีใหม่มีทิศทางอย่างไร กับผู้ใช้แรงงาน แต่ว่าในฐานะมนุษย์คนหนึ่งต้องยอมรับเพื่อให้โลกนี้สามารถอยู่ได้ แต่ว่า ต้องมีการร่วมกันในการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต และต้องมีการปรับตัวเพื่อการสร้างงานใหม่ๆ หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ที่จะเข้ามา และเมื่อมีการเปลี่ยนผ่านไปด้วยกัน ต้องมีการช่วยกันให้ความรู้กับผู้ใช้แรงงาน สมาชิกสหภาพแรงงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน และสวัสดิการ หรืองานแบบไหนที่เหมาะสมต่อผู้ที่ต้องได้รับผลกระทบในอนาคตด้วย

จากนั้นก็มีการเปลี่ยนวีดิโอสารคดี แผ่นดินไท เพื่อไทย เป็นไท ที่ยืนหยัด อยู่ได้อย่างยั่งยืน ผลิตโดยไทยพีบีเอส ที่บอกเล่าถึงการพัฒนาของมนุษย์จากที่เคยเป็นการทำเพื่อการอยู่อย่างพอดีพอกิน มาเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อธุรกิจ และการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบกับภาวะโลกร้อน และนำมาสู่ภัยภิบัติจากธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง สัตว์หลายชนิดมีการสูญพันธุ์ ไม่ว่าจะสัตว์น้ำหรือสัตว์บก ซึ่งเป็นผลที่มนุษย์สร้างภาวะโลกร้อน ในประเทศที่ยากจนเกิดปัญหาความอดอยาก โรคระบาดผู้คนล้มตาย ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากพายุเอริเคน สีนามิ ทำให้กระทบกับชีวิตผู้คนจำนวนมากด้วยไม่ใช่แค่สัตว์ แค่การบริโภคแบบล้นเกินสร้างภัยพิบัติมากมายเกิดขึ้น เป็นต้น

ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม การไม่มีงานทำ ปัญหาหนี้สินจึงทำให้ผู้คนต้องอพพยมาสู่เมืองใหญ่ เพื่อหางานทำแบบรายวัน เพื่อหารายได้ ด้วยถูกสร้างฝันและจินตาการว่า ต้องมี ต้องรวยและมีทางรัดที่จะทำให้มีเงินกลับบ้านเพื่อให้ครอบครัวมีชีวิตที่ดีขึ้น ได้มีการนำเรื่องของคนงานเจริญสวัสดิ์ ที่นครปฐมที่นายจ้างปิดกิจการไม่จ่ายค่าชดเชย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในโรงงานอาศัยหอพักอยู่ ซึ่งโรงงานเจริญสวัสดิ์ เป็นกิจการโรงทอผ้า ผลกระทบต่อคนงานที่ฝากความหวังไว้กับโรงงาน ระบบทุนนิยม จนส่งผลให้ตัวเองเป็นเพียงต้นทุนมนุษย์ให้ระบบทุนกอบโกย จนไม่เหลืออะไรแม้แต่ชีวิต

 

นายวิชัย สนน้อย รองประธานสหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ผลกระทบกับแรงงานอย่างไรบ้าง หลังจากได้ผ่านการอบรมจากพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ซึ่งจะขอกล่าวถึงเรื่องของการเกิดขึ้นของก๊าซเรือนกระจกที่มีผลมาจากการปล่อยของเครื่องยนต์ การเผาป่า เผาตอซังข้าวเพื่อปรับพื้นที่ทำไร่ สวน นา ที่มีการปล่อยควัน และมลพิษไปสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้น้ำแข็งละลาย ซึ่งผู้นำแรงงานต้องรับรู้ และนำผลนี้ไปสื่อสารให้กับผู้ใช้แรงงานได้รับรู้เพื่อสร้างความตระหนักและส่งผลให้มีการช่วยกันลดภาวะโลกร้อน

การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อม จะเห็นเรื่องผลกระทบจากฤดูกาลที่แปรปรวน เดี๋ยวฝนตก น้ำท่วม ฝนแล้ง อากาศร้อน หนาว ไม่ต้องตามฤดูกาล การทำงานในโรงงาน จะพบว่า อุณหภูมิร้อนสูงขึ้น ซึ่งหลายโรงงานมีการกล่าวถึงการปลูกต้นไม้ หรือมีความพยายามที่จะลดความร้อนในอาคาร ผลกระทบต่อสุขภาพ เจ็บป่วยทำงานไม่ได้เป็นต้น

ภาวะโลกร้อน ผลกระทบที่เห็นง่ายที่สุดคือภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากความแปรปรวนของฤดูกาล ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ซึ่งอาจส่งผลต่อพันธุ์พืช และสัตว์ในอนาคต

ก๊าซเรือนกระจก เกิดจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซค์  เกิดจากการเผาป่า โรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นต้น และไนตรัสออกไซค์ เกิดจากการหมักหมนของขยะ ของเสียต่างๆ  สารคลอโรฟูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่างๆด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เป็นต้น

ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือประเทศจีน แต่ด้วยความตระหนักขณะนี้มีการเปลี่ยนจากรถที่ใช้น้ำมันเป็นรถไฟฟ้า สหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 คือรัสเซีย ต่อด้วยอินเดีย ญี่ปุ่น ซึ่งตอนนี้มีแนวกำหนดในการปรับตัว และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ศึ่งประเทศไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 22 ปล่อยก๊าซฯอยู่ที่ 0.9 ซึ่งขณะนี้ประเทศได้พยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยต้องการที่จะขายคาร์บอนเครดิตให้กับประเทศที่ปล่อยก๊าซสูงกว่ากำหนด ซึ่งได้มีการทำข้อตกลงร่วมกันที่เรียกว่าปฏิญญาเกียวโต และปฏิญญาปรารีส ซึ่งประเทศไทยก็ร่วมเป็นภาคีที่ต้องการที่จะลดภาวะโลกร้อนด้วย ซึ่งผลกระทบจากภาวะโลกร้อนกระทบกับเราด้วย อย่างที่ไฟไหม้อินโดนีเซีย เกิดควันมากมายกระทบกับทางภาคใต้ของไทยด้านคุณภาพชีวิต ซึ่งจากการให้สัตยาบันทั้ง 2 ฉบับ ก็เพื่อที่ร่วมกันลดภาวะโลกร้อนลงให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซี่ยล

นายอาลี นิมะ กรรมการสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์ฯ สรุปการระดมความคิดเห็นว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สรุปได้ดังนี้ เรื่องการร่วมลดสภาวะโลกร้อน ในส่วนบุคคล ประเด็นการใช้รถยนต์ควรมีการตรวจสภาพรถ เมื่อครบระยะการใช้งาน 5 ปี เพื่อไม่ให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดร์อออกไซค์ การดูแลภาพรถก็สามารถที่จะช่วยกันได้ และการใช้รถจากเดิมใช้ดีเซลหากมีการเปลี่ยนมาใช้รถที่เป็นระบบไฮบิดส์ได้ เพื่อลดการใช้น้ำมันฟอสซิล การรอเติมน้ำมันหากแถวรถยาวก็ดับเครื่องยนต์เป็นการช่วยกันในการที่หยุดการปล่อยก๊าซเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ  การปลูกต้นไม้ เพื่อให้เกิดร่มไม้ เกิดอากาศที่สะอาดสดชื่น ลดการใช้เครื่องปรับอากาศได้หากบ้านไม่ร้อน

ในโรงงานหรือบริษัทต้องช่วยกันดูแลเรื่องความร้อนในอาคาร มีการเสนอให้ทางบริษัทฯปรับปรุงอาคารสถานที่ทำงานให้ลดความร้อน เพื่อไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ การใช้น้ำก็สามารถลด ประหยัด หรือรียูทมาใช้ได้อีก มีการลดการใช้โฟม หรือพลาสติ๊ก ลดการใช้กระดาษริไซร์เคิ้ล เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมขยะที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม ด้วยเป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง และใช้เวลานาน การใช้กระดาษสองหน้า เพื่อการลดการตัดต้นไม้ การรณรงค์ใช้แก้วส่วนตัวแทนการสร้างขยะจากแก้วพลาสติ้ก มีการแยกขยะจากที่โรงงาน หรือที่บ้าน เพื่อให้การเข้าสู่ระบบ เป็นต้น

นายกมล รอดประสิทธิ์ รองประธานสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาโตโยต้าประเทศไทย กล่าวว่า ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนนั้น  ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมพิธีสารโตเกียวและพิธีปารีสเพื่อการที่จะร่วมกันลดโลกร้อน ซึ่งประเทสไทยได้กำหนดไว้ว่าจะลดภาวะโลกร้อนร้อยละ 25 ถึงแม้ประเทศไทยอาจไม่ใช่ประเทศที่ปลดปล่อยก๊าวเรือนกระจกสูง แต่ว่า ภาวะโลกร้อนกระทบกับพวกเราด้วยเช่นกัน และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ขายคาร์บอนเคดิตให้กับประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก  ซึ่งในอุตสาหกรรมรถยนต์สามารถที่จะลดการปล่อยก๊าซได้ เช่นกัน อย่างกรณีการพ้นสี หากลดการใช้อุปกรณ์ที่ส่งผลกระทบกับสภาพภาวะอากาศ อย่างทินเนอร์ การใช้เตาอบที่ใช้อุนหภูมิที่สูง การใช้ไฟฟ้า การปิดไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ ปิดเครื่องปรับอากาศ การรณรงค์ด้วยการใช้สินค้าที่มีสัญญลักษ์คาร์บอนฟุตปริ้น ซึ่งจะมีรูปแบบต่างๆ ภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบกับการเกิดโรคระบาดต่างๆ ที่เป็นโรคแปลกๆกลับมาอีกครั้ง ความร้อนส่งผลต่อสุขภาพการเจ็บป่วยเรื้อรัง ป่วยบ่อยขึ้น ความร้อนส่งผลให้ประสิทธิในการทำงานลดลงเป็นต้น จึงต้องมีการเสนอให้นายจ้างมีการปรับปรุงสภาพการทำงานให้สอดคล้องกับการทำงาน หรือปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการทำงานเป็นต้น

ด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน ซึ่งทั่วโลกขณะนี้มีการปรับตัวเรื่องการลดภาวะโลกร้อน ลดการใช้ฟอสซิลมาใช้กระบวนการผลิตสีเขียว หรือขบวนการผลิตสะอาดไม่มีมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อโลกร้อน ซึ่งขบวนการแรงงานในต่างประเทศได้มีการเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี และสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยขบวนการแรงงานต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดด้วย ทั้งในเรื่องการจัดสวัสดิการดูแลแรงงานที่ไม่สามารถปรับตัวด้านอาชีพได้ และรัฐต้องส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้เข้าสู่ระบบการจ้างงานใหม่ได้ ซึ่งมีการวิจัยว่าจะเกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆในอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วย