มองผ่านปรากฏการณ์ “ศรีพันวา” เห็น “6 เรื่อง” น่าสนใจของการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุน

มองผ่านปรากฏการณ์ “ศรีพันวา”

เห็น “6 เรื่อง” น่าสนใจของการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุน

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์

25-09-63

 

เนื่องจากอยากเข้าใจเรื่อง “ศรีพันวา” กับ “ประกันสังคม” เลยนั่งอ่านข้อมูลจากหลายๆแหล่ง พบ “6 เรื่อง” น่าสนใจที่สะท้อนถึง “การลงทุนของสำนักงานประกันสังคม” ดังนี้

  • “แค่เงินสมทบ 3 ฝ่าย แบบรัฐก็ยังตีตั๋วเด็ก ยังไงก็นำมาจ่าย 7 สิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนไม่เพียงพอ ดังนั้นการนำเงินในกองทุนประกันสังคมไปลงทุนจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำ”
  • ประกันสังคมไม่ได้ลงทุนตามใจชอบ แต่มีกฎหมายแม่-กฎหมายลูก กำหนดไว้ว่าให้ลงทุนในกิจการใดๆได้บ้าง ?
  • แล้วตอนนี้ประกันสังคมเอาเงินไปลงทุนที่ไหนบ้าง ? ผลตอบแทนเป็นอย่างไร?
  • ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ คือ ไปลงทุนในประเภทที่เรียกว่า “หน่วยลงทุนอสังหา(REITs)” หรือ “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งเป็นสินทรัพย์เสี่ยง แล้วมันเสี่ยงจริงหรือไม่ ? เพราะลงทุนแค่ 4 % เท่านั้นเอง
  • 86 แห่งที่ประกันสังคมไปลงทุนใน REITs มีติด 10 อันดับอสังหาที่น่าสนใจในปี 2563
  • แล้วปัญหาเรื่องนี้อยู่ตรงไหนกันแน่ เมื่อคำว่า “ประกันสังคมไม่อิสระ” และ “จริยธรรมในการลงทุน” มีความหมาย

 

มีรายละเอียดแต่ละเรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่ 1 : “แค่เงินสมทบ 3 ฝ่าย แบบรัฐก็ยังตีตั๋วเด็ก ยังไงก็นำมาจ่าย 7 สิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนไม่เพียงพอ ดังนั้นการนำเงินในกองทุนประกันสังคมไปลงทุนจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำ”

  • ทุกๆเดือนผู้ประกันตนมาตรา 33 , มาตรา 39 และมาตรา 40 จะถูกหักเงินสมทบทุกเดือน สูงสุดในมาตรา 33 คือ เดือนละ 750 บาท หรือ 5% ของค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท
  • เฉพาะในมาตรา 33 จะมีเงินจากนายจ้างสบทบอีก 5 % ในอัตราเดียวกับลูกจ้าง และ 2.75 % จากรัฐบาล (หากไม่นับว่ารัฐบาลยังคงค้างจ่ายเงินอีกหลายหมื่นล้านบาท)
  • สำหรับในมาตรา 40 จะมีเงินสมทบจากรัฐตามทางเลือกที่ 1-3
  • เงินทั้งสามส่วนนี้จะถูกส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ให้สำนักงานประกันสังคมนำไปบริหารจัดการและนำมาจ่ายสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนในกรณีต่างๆ ได้แก่ เจ็บป่วย พิการ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน
  • ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 กองทุนประกันสังคมมีเงินสะสมจากการจ่ายสมทบของทั้ง 3 ฝ่าย รวมทั้งสิ้น 1,357,119 ล้านบาท
  • ผลจากการนำไปลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับมาจ่ายสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตน นับตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 63 มีผลตอบแทนอยู่ที่ 675,782 ล้านบาท
  • สถานะเงินกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 63 จึงมีเงินรวมกันทั้งสิ้น 2,114,775 ล้านบาท
  • หากพิจารณาดอกผลจากการลงทุนย้อนหลัง 10 ปีมา ก็จะพบว่ากองทุนมีดอกผลสะสมถึง 6 แสนกว่าล้าน เมื่อเทียบกับต้นเงิน 1.3 ล้านล้านบาท
  • สิ่งที่กองทุนประกันสังคม รวมไปถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญ (Pension Fund) ทั่วโลก ทำกันก็คือ การนำเงินที่อยู่ในกองทุน กระจายไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อเพิ่มผลตอบแทน เพราะหากประกันสังคมไม่นำเงินไปลงทุน อนาคตก็จะไม่มีเงินเพียงพอในการจ่ายให้ผู้ประกันตนอย่างแน่นอน

เรื่องที่ 2 : ประกันสังคมไม่ได้ลงทุนตามใจชอบ แต่มีกฎหมายแม่-กฎหมายลูก กำหนดไว้ว่าให้ลงทุนในกิจการใดๆได้บ้าง ?

  • พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ได้ระบุเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกันสังคม ไว้ในวงเล็บ (4) ว่า วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการจัดหาผล ประโยชน์ของกองทุน
  • ทั้งนี้ในมาตรา 26 ระบุไว้ว่า “การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะ กรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง”
  • สำนักงานประกันสังคมจึงได้มีการจัดสรรการลงทุน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกัน สังคมว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ.2559
  • ระเบียบข้อ 5 กำหนดว่า “ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ในการนำเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์ หรือสำนักงานอาจดำเนินการให้บริษัทจัดการกองทุนนำเงินกองทุนย่อยไปจัดหาผลประโยชน์
  • ระเบียบข้อ 6 กำหนดว่า การนำเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์ในประเทศและต่างประเทศ ให้กระทำได้สำหรับการลงทุน ดังต่อไปนี้

(1) ลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงสูง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ดังนี้

© เงินฝากของธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น

© เงินฝากของธนาคารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่น่าลงทุน

© พันธบัตรรัฐบาลหรือตั๋วเงินคลัง

© พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย

© พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่ค้ำประกันโดยรัฐบาล

© หุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่น่าลงทุน

© กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ข้างต้น

(2) ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ไม่สูงกว่าร้อยละ 40

→ เงินฝากของธนาคารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่น่าลงทุน

→ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้รับการค้ำประกันโดยรัฐบาล

→ หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

→ อสังหาริมทรัพย์หรือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs)

→ หน่วยลงทุนของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

→ สินค้าโภคภัณฑ์

→ กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ข้างต้น

  • มีคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน , คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง , คณะกรรมการลงทุน กำกับการดำเนินงานผ่านสำนักงานประกันสังคมที่เป็นผู้นำเงินไปลงทุน ทั้งนี้มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงาน

เรื่องที่ 3 : แล้วตอนนี้ประกันสังคมเอาเงินไปลงทุนที่ไหนบ้าง ? ผลตอบแทนเป็นอย่างไร?

  • ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 สำนักงานประกันสังคมรายงานว่า มีเงินในกองทุนประกันสังคม จำนวนทั้งสิ้น 2,114,775 ล้านบาท
  • ผลตอบแทนจากการลงทุนสะสม ตั้งแต่ปี 2534 – 30 มิถุนายน 63 จำนวน 675,782 ล้านบาท
  • แบ่งไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ดังนี้

1) สินทรัพย์ที่มั่นคงสูง จำนวน 1,688,446 ล้านบาท ประมาณ 80 % แบ่งเป็น

✅พันธบัตรรัฐบาล ธปท. รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 1,455,976 ล้านบาท คิดเป็น68.85 %

✅หน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 98,388 ล้านบาท 4.65%

✅หุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 96,805 ล้านบาท คิดเป็น 4.58 %

✅เงินฝาก 37,278 ล้านบาท คิดเป็น 1.76 %

2) สินทรัพย์เสี่ยง 426,329 ล้านบาท ประมาณ 20 % แบ่งเป็น

✅ ตราสารทุนไทย (หุ้น) 255,740 ล้านบาท คิดเป็น 12.09 %

✅ หน่วยลงทุนตราสารทุนต่างประเทศ 69,316 ล้านบาท คิดเป็น 3.28 %

✅หน่วยลงทุนอสังหาฯ ทองคำ โครงสร้างพื้นฐาน 90,809 ล้านบาท คิดเป็น 4.29 %

✅พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน 10,464 ล้านบาท คิดเป็น 0.50%

เรื่องที่ 4 : ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ คือ ไปลงทุนในประเภทที่เรียกว่า “หน่วยลงทุนอสังหา(REITs)” หรือ “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งเป็นสินทรัพย์เสี่ยง แล้วมันเสี่ยงจริงหรือไม่ ? เพราะลงทุนแค่ 4 % เท่านั้นเอง

  • REIT เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หวังผลตอบแทนในรูปเงินปันผลระยะยาว ซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์
  • ย่อมาจากคำว่า “Real Estate Investment Trust”
  • มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” หรือเรียกสั้นๆว่า “ริทต์”
  • เป็นการรวบรวมเงินจากคนที่สนใจหลายๆคน แล้วเอาเงินนั้นไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เช่น โรงงาน โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม เพื่อเก็บค่าเช่า แล้วเอามาจ่ายให้กับผู้ลงทุนตามสัดส่วน
  • คนที่ลงทุนใน REIT ไม่ต้องเหนื่อยกับการดำเนินการใดๆทั้งสิ้น เพราะ REIT จะมี “ผู้จัดการ REIT” ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น ๆ คอยดำเนินการแทนทุกอย่าง
  • REIT จะมีหน่วยงานที่เป็นเหมือนตัวแทนผู้ลงทุน คอยดูแลกำกับตรวจสอบการทำหน้าที่ของผู้จัดการ REIT อีกทอดหนึ่ง ซึ่งเรียกหน่วยงานนี้ว่า “ทรัสตี” (Trustee)
  • หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว REIT จะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนในรูปของเงินปันผล
  • กล่าวโดยง่าย การที่ลงทุนใน REIT ก็เหมือนกับการที่เราไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์แล้วเก็บค่าเช่า แต่มีคนช่วยจัดการงานแทนให้เรานั้นเอง
  • ทั้งนี้ผลตอบแทนในรูปค่าเช่าจะไม่ค่อยมีความผันผวน จึงทำให้ราคาของ REIT ที่อาจจะขึ้นหรือลงมีไม่มาก
  • เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาว เพื่อรับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสได้เงินปันผลมากขึ้นตามรายได้จากค่าเช่าที่เติบโตขึ้น
  • การลงทุนแบบนี้เป็นการกระจายความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี เพราะมีผู้เช่าหลายคน มีความเสี่ยงน้อยกว่าซื้อหุ้นสามัญ
  • ผลตอบแทนอยู่ในระดับดี จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 6 % ต่อปี เช่น ซื้อพันธบัตรได้ผลตอบแทนแค่ 1 % ต่อปี เป็นต้น และ REIT ยังมีหลักประกันคือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นอีกด้วย
  • หุ้น กับ REIT มีความต่างกัน กล่าวคือ หุ้น คือ การมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัท บริษัทกำไรรับส่วนแบ่งกำไร บริษัทขาดทุนรับส่วนแบ่งขาดทุน REIT คือ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท รายรับก็คือ ค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่า
  • การลงทุนในสินทรัพย์ที่จ่ายค่าเช่าเป็นงวดๆ จึงสามารถนำมาจ่ายผลประโยชน์แก่สมาชิกในแต่ละปีได้อย่างแน่นอน
  • กรณีศรีพันวา ก็เหมือน REIT ทั่วไปคือ มีรายได้จากค่าเช่า โดยมี “ศรีพันวา แมเนจเมนท์” คือผู้เช่าที่ต้องจ่ายเงินค่าเช่าให้กับศรีพันวา
  • ศรีพันวา แมเนจเมนท์ เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ชาญอิสสระ โดยชาญอิสสระถือหุ้น 85 %
  • บริษัทชาญอิสสระ ถือหุ้นใหญ่โดย นายสงกรานต์ อิสสระ 29.4 % , นายทวีฉัตร จุฬางกูร 23.5 % และยังมีผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ อีกมากมายรวมกัน 1,750 คน

เรื่องที่ 5 : 86 แห่งที่ประกันสังคมไปลงทุนใน REITs มีติด 10 อันดับอสังหาที่น่าสนใจในปี 2563  

  • ณ วันนี้สำนักงานประกันสังคมมีการลงทุนใน REIT 86 อสังหาริมทรัพย์
  • เป็นการลงทุนในกองทรัสต์ ไม่ได้เป็นการลงทุนในบริษัทนั้นๆแต่อย่างใด
  • 86 อสังหาริมทรัพย์ที่ประกันสังคมไปลงทุน มีติด 10 อันดับอสังหาที่น่าสนใจในปี 2563 ได้แก่ ดุสิตธานี , ภิรัชออฟฟิศ , อิมแพ็คโกรท , ไทยแลนด์ ไพร์ม , รีเทล โกรท , กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
  • 86 อสังหาริมทรัพย์ เรียงตามลำดับเงินลงทุน ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุเมื่อ 22 กันยายน 63 ไว้มีดังนี้
หลักทรัพย์ จำนวนหุ้น % หุ้น
1.       TU-PF ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์ 80,000,000 76.75
2.       QHOP ควอลิตี้ ฮอสพิทอลลิตี้ 63,000,000 32.93
3.       MJLFเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์สไตส์ 102,075,300 30.93
4.       URBNPF เออร์บานา 21,600,000 30
5.       ERWPF เอราวัณ โฮเทล โกรท 50,821,200 28.86
6.       SIRIP แสนสิริ ไพร์มออฟฟิศ 46,820,800 27.54
7.       WHABT ดับบลิวเอชเอ บิสซิเนสคอมเพล็กซ์ 55,017,500 27.24
8.       DREIT ดุสิตธานี 180,826,930 25.41
9.       TLHPF ไทยแลนด์ โฮสพีทาลิตี้ 39,185,700 22.78
10.   SRIPANWA โรงแรมศรีพันวา 63,072,615 22.6
11.   GAHREIT แกรนด์ โฮสพีทาลิตี้ 37,876,100 21.58
12.   KPNPF เคพีเอ็น 37,948,100 21.08
13.   POPF ไพร์มออฟฟิศ 81,059,400 16.83
14.   WHART ดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม 426,630,455 16.7
15.   BCP บางจาก คอร์ปอเรชัน 198,307,697 14.4
16.   BKER บัวหลวง เค.อี.รีเทล 114,870,843 13.14
17.   FTREIT เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ 345,616,673 12.25
18.   PPF ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค 21,351,900 9.51
19.   LHSC แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ 45,121,400 9.24
20.   SPRIME S Prime Growth Leasehold REIT 39,783,300 8.91
21.   B-WORK บัวหลวง ออฟฟิศ 32,585,000 8.84
22.   CPTGF ซี.พี.ทาวเวอร์ โกรท 82,751,000 8.56
23.   BRRGIF โรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์ 25,072,900 7.16
24.   BOFFICE ภิรัชออฟฟิศ 35,870,300 6.96
25.   IMPACT อิมแพ็คโกรท 93,635,800 6.32
26.   BCH บางกอก เชน ฮอสปิทอล 149,908,800 6.01
27.   TU ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ 232,207,008 4.87
28.   TLGF เทสโก้ โลตัส รีเทล โกรท 111,534,210 4.77
29.   LH แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 557,132,040 4.66
30.   LPN แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ 68,616,600 4.65
31.   BBL ธนาคารกรุงเทพ 85,852,300 4.5
32.   SCC ปูนซิเมนต์ไทย 52,932,150 4.41
33.   HPF เหมราชอินดัสเตรียล 20,000,000 4.26
34.   BTSGIF กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท 243,817,100 4.21
35.   RATCH ราช กรุ๊ป 57,719,800 3.98
36.   SPF สนามบินสมุย 35,256,300 3.71
37.   SPALIบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) 78,214,725 3.65
38.   BHบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) 28,847,800 3.63
39.   TOP ไทยออยล์ 73,611,400 3.61
40.   KBANK ธนาคารกสิกรไทย 85,905,100 3.59
41.   EGCO บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด 17,703,300 3.36
42.   BDMS กรุงเทพดุสิตเวชการ 516,688,200 3.25
43.   SCB ธนาคารไทยพาณิชย์ 109,198,100 3.22
44.   GVREIT โกลเด้นเวนเจอร์ 25,820,700 3.17
45.   BEM ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ 480,341,600 3.14
46.   GOLDPF โกลด์ 6,173,300 3
47.   PSH พฤกษา เรียลเอสเตท 62,223,100 2.84
48.   BANPU บ้านปู 146,165,700 2.83
49.   CPF เจริญโภคภัณฑ์อาหาร 242,882,500 2.82
50.   DTAC โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น 66,713,500 2.82
51.   GLOBAL สยามโกลบอลเฮ้าส์ 114,970,999 2.74
52.   HMPRO โฮมโปร 349,028,412 2.65
53.   ADVANC แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 78,504,300 2.64
54.   BTS บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ 343,204,000 2.61
55.   CPN เซ็นทรัลพัฒนา 114,640,700 2.55
56.   TPRIME ไทยแลนด์ ไพร์ม 13,426,700 2.45
57.   IRPC ไออาร์พีซี 497,374,500 2.43
58.   CPNREIT CPN รีเทล โกรท 50,507,300 2.28
59.   FUTUREPF ฟิวเจอร์พาร์ค 12,085,800 2.28
60.   DIF กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล 239,617,225 2.25
61.   CRC เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น 130,020,166 2.16
62.   PTTGC พีทีที โกลบอล เคมิคอล 92,852,651 2.06
63.   CPALL ซีพี ออลล์ 183,627,800 2.04
64.   MINT ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 105,308,759 2.03
65.   PTTEP บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 79,274,677 2
66.   M เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป 17,731,000 1.93
67.   BJC เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ 77,003,500 1.92
68.   PTT ปตท. 538,355,200 1.88
69.   TISCO ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป 14,862,530 1.86
70.   TFFIF กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย 83,027,300 1.82
71.   BCPG บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) 36,229,134 1.81
72.   GPSC บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) 49,150,795 1.74
73.   MAJOR เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ 12,801,700 1.43
74.   IVL อินโดรามา เวนเจอร์ส 79,264,900 1.41
75.   INTUCH อินทัช โฮลดิ้งส์ 42,600,100 1.33
76.   BEC บีอีซีเวิลด์ 24,168,600 1.21
77.   AOT ท่าอากาศยานไทย 164,542,800 1.15
78.   PLAT บริษัท เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 28,000,000 1
79.   BGRIM บี.กริม เพาเวอร์ 23,598,500 0.91
80.   QH ควอลิตี้เฮ้าส์ 78,500,000 0.73
81.   AMATA อมตะ คอร์ปอเรชั่น 6,919,960 0.65
82.   AMATA อมตะ คอร์ปอเรชั่น 6,656,860 0.62
83.   SAWAD บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 8,298,200 0.6
84.   BCHบางกอก เชน ฮอสปิทอล 14,173,440 0.57
85.   EPG บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 15,663,800 0.56
86.   CK ช.การช่าง 8,875,960 0.52

 

  • หากมาดูที่ศรีพันวาจะเห็นว่าสำนักงานประกันสังคมมี 63 ล้านหุ้น มูลค่าการลงทุนประมาณ 505 ล้านบาท
  • ได้รับเงินปันผลจากการลงทุนแล้ว จำนวน 229 ล้านบาท
  • มีคนคำนวณว่าตั้งแต่สำนักงานประกันสังคมลงทุนมา ได้กำไร 96.7 ล้านบาทจนถึงปัจจุบัน
  • การลงทุนในศรีพันวาจึงคิดเป็นเปอร์เซนต์เพียง 0.05 % ของทั้งหน่วยการลงทุนในประเภทนี้

 

(เรื่องที่ 6) แล้วปัญหาเรื่องนี้อยู่ตรงไหนกันแน่ เมื่อคำว่า “ประกันสังคมไม่อิสระ” และ “จริยธรรมในการลงทุน” มีความหมาย

 

  • สิ่งสำคัญในเรื่องนี้ที่มีการถกเถียงกันมาหลายปี นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา คือ กองทุนประกันสังคมนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจหลายหนึ่งรายใด (ที่ไม่ใช่ของรัฐ) หรือไม่ มีผลประโยชน์ทับซ้อนแอบแฝงไหม ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล จริยธรรมการลงทุนมีอยู่ในระดับใด มากน้อยเพียงใด
  • 86 อสังหานี้ สำนักงานประกันสังคมใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ลงทุนที่ใด
  • ความเสี่ยงในการลงทุนจากผลกระทบจากโควิด 19 ทางสำนักงานประกันสังคมได้นำมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุนในอนาคตหรือไม่ อย่างไร
  • มีตัวอย่างจากกรณีของศรีพันวา ที่พบว่า แม้ว่าคนจะมาพักโรงแรมศรีพันวาน้อยลงมาก แต่ศรีพันวาก็จะได้รับค่าเช่าที่ตกลงกันไว้จาก ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ซึ่งอยู่ใต้ชาญอิสสระอยู่ดี แต่กลับมีจดหมายวันที่ 17 กรกฎาคม 2063 ที่ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ขอเลื่อนจ่ายค่าเช่าเดือน 2, 3, 6, 7 ของปีนี้ ออกไปอีก 6 เดือน และขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น ศรีพันวา ให้ยอมงดเว้นจ่ายเดือน 4 และ 5 ของปีนี้ สรุปแล้ว เดือน 2-7 ของปีนี้ผู้ถือ ศรีพันวา ยังไม่ได้รับค่าเช่าจาก ศรีพันวา แมเนจเมนท์ แต่อย่างใด
  • สุดท้ายนี้อาจนำมาสู่เรื่องของ “ความเป็นมืออาชีพของการบริหารงานกองทุนประกันสังคม” ที่ควรเป็นอิสระจากระบบราชการ มีมืออาชีพมาบริหารงาน ผู้ประกันตนมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ มากกว่าเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ทดแทน 7 อย่างเพียงเท่านั้น
  • เพราะเมื่อกองทุนประกันสังคมเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังคงอยู่ภายใต้การบริหารงานในระบบราชการที่ขาดความคล่องตัว ขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตน นี้จึงอาจส่งผลต่อความมั่นคงของกองทุนในอนาคต ที่ผลตอบแทนลดลงเรื่อยๆ ตลอดจนการไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเป็นหลักประกันการบริหารงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสามารถถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองได้อยู่ตลอดเวลา