นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม-แรงงาน ให้ความรู้ผู้นำแรงงานเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ชี้กระทบแหล่งอาหาร การเกษตร และแรงงาน หลังการปรับเทคโนโลยีใหม่ ตามนโยบายสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ ตามข้อตกลงปารีส และเกียวโต ไทยต้องปรับกระบวนทัศน์ การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เพิ่มศักยภาพแรงงาน
วันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2561 มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องภาวะโลกร้อนคืออะไร… เกี่ยวกับแรงงานตรงไหน? ที่โรงแรมรอยัลฮิลส์ รีสอร์ท แอนด์ จังหวัดนครนายก โดยมีผู้เข้าร่วม 40 กว่าคน ประกอบด้วย สหภาพแรงงานในประเภทกิจการอะไหล่ ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็กโลหะ ปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ ก่อสร้างอุปกรณ์ และการขนส่ง
นางสาวปรีดา ศิริสวัสดิ์ ผู้แทนมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) กล่าวว่า การที่ทางมูลนิธิฯให้ความสนใจประเด็นเรื่อง ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวของกับคนทุกคน ซึ่งถือเป็นประเด็นความท้าทายร่วมสมัยที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก นานาประเทศต่างเห็นพ้องกันว่าจะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกร้อน โดยได้กำหนดไว้ใน“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ปี 2558 และ “ข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ” ปี 2558 ในส่วนของประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนข้อตกลงทั้งสอง และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (2540-44) จนถึงปัจจุบัน จึงต้องมีการรณรงค์เพื่อความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งในการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น มีการประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานและการจ้างงาน ทั้งด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่เช่นนั้นก็อาจเกิดการกีดกันทางการค้า จะทำให้เกิดตลาดแรงงานใหม่ๆและเป็นโอกาสสำหรับการจ้างงาน แต่ในอีกด้าน ปัจจุบันยังมีอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนเข้มข้น และเป็นแหล่งจ้างงานของแรงงานจำนวนมากถึงร้อยละ 38 ของแรงงานทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ และมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบ เช่น ว่างงานหรือมีรายได้น้อยลง
ขบวนการแรงงานในระดับสากลตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโลกร้อน แต่ก็มีความกังวลว่าการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในการจ้างงาน รวมทั้งการดำรงชีวิตของแรงงานและครอบครัว จึงได้ร่วมกันพัฒนากรอบแนวคิด “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” หรือ just transition และประสบความสำเร็จเบื้องต้นในการรณรงค์ให้ “ข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ” ยอมรับว่าจะต้องคำนึงถึงประเด็นนี้ รวมทั้งการสร้าง “งานที่มีคุณค่า” และงานที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ในปี 2015 องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้รับรองแนวปฏิบัติว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อสังคม และผู้ใช้แรงงานด้วย
นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า แนวคิดการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยคือต้องการที่จะเป็นองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เพื่อให้สังคมเห็นคุณค่าของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งจะเห็นความพยายามของคนในอดีตที่ต้องการผลักดันให้เกิดศูนย์กลางด้านแรงงานที่เรียกว่า สถาบันกลางด้านแรงงานในการให้ความรู้ด้านการศึกษา งานวิชาการด้านข้อมูล โดยมองว่า จะเริ่มต้นพัฒนาจากโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition) ซึ่งหวังว่าจะเป็นการเริ่มต้นในการศึกษาเรื่องโลกร้อนผลกระทบต่อแรงงาน โดยได้มีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วและได้มีการเผยแพร่ซึ่งพวกเราหลายคนได้ไปรับฟัง และมีการสื่อสารออกไปให้เว็บไซต์ ซึ่งจากการที่ต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อลดภาวะโลกร้อนนั้น กระทบต่อการจ้างงาน และต้องมีการปรับตัวของแรงงานเพื่อการจ้างงานใหม่ๆด้วย การมาร่วมกันวันนี้ของกลุ่มแรงงานที่จะมีการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีในอนาคต ทางพิพิธภัณฑ์ฯ จึงอยากชวนมาทำ TOR ร่วมกันพัฒนาด้านการให้ความรู้ในพื้นที่ การพัฒนาข้อมูลด้านผลกระทบ ด้วยยังไม่ชัดเจนด้านผลกระทบมีเพียงบางอุตสาหกรรมที่นายจ้างได้มีการนำเทคโนโลยีมาทำงานและมีแนวคิดในการลดการจ้างงานบ้างแล้ว ซึ่งต้องนำข้อมูลนี้มาสังเคราะห์วิเคราะห์โดยผู้มีความหรือนักวิชาการร่วมกัน เมื่อได้ข้อมูลแล้วจะนำมาเป็นข้อเสนอด้านนโยบาย หรือว่าจะรณรงค์กันอย่างไร ซึ่งการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีใหม่นั้นมันเปลี่ยนไปพร้อมกันหลายเรื่อง เช่นขณะนี้ประเทศไทยก็เข้าสู่สังคมสูงวัยอีกด้วย อาจต้องช่วยกันคิดว่าจะทำงานร่วมกันอย่างไร
นางนารีรัตน์ ธนะเกษม นักวิชาการชำนาญการศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่าจะนำเสนอข้อมูลเรื่องที่ว่า โลกร้อน เป็นเรื่องจริงหรือไม่?? เพราะอะไร เนื่องจากรู้สึกว่าโลกร้อนขึ้น และมีการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก
เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ซึ่งเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เห็นได้ชัดเจน คือ กรณีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 การที่น้ำท่วมนั้น เกิดจากน้ำแข็งละลายที่ขั้วโลกเหนือส่งผลให้น้ำทะเลหนุนสูง เมื่อปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามีจำนวนมากไม่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ด้วยนำทะเลหนุนสูงจึงส่งผลให้น้ำท่วมเป็นต้น และภาพที่อยากให้ทุกคนเห็นชัดเจนมาขึ้นคือ ภาพหมีขั้วโลกที่ผอมเนื่องจากน้ำแข็งละลายเร็วมา ส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารหมีด้วยที่ไม่สามารถหากินได้เหมือนเดิม ผลกระทบจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านชีวภาพแหล่งอาหารสัตว์จำพวกแพลงก์ตอน ปลา แมวน้ำ และการเปลี่ยนดังกล่าวยังทำให้เกิดโรคระบาด โรคภัยพิบัติใหม่ที่เกิดขึ้น ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดโรคระบาดใหม่ ยุง และเชื้อโรคเจริญเติบโตเร็ว ส่งผลต่อโรคระบาดที่เคยหายไปกลับมาอีกครั้งและรุนแรงมากขึ้นด้วย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกภาพที่ชัดเจนคือในพื้นที่ทะเลทรายกลับมีหิมะตก และหากวันหนึ่งข้างหน้าประเทศไทยหนาวจนหิมะตกแบบในเวียดนามก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งสภาพภาวะอากาศในกรุงเทพช่วงที่ผ่านจะมีหมอกควันหนามากส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ มีผู้คนจำนวนมากป่วย นี่ก็คือผลจากภาวะโลกร้อน
จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนทำให้เกิดปัญหาทางทะเล คงได้เห็นข่าวสาร หรือข้อมูลเรื่องที่มีปะการังฟอกขาว หากมีเห็นการแบบนี้ปะการังจะตายหมด ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล ซึ่งกระทบกับมนุษย์คืออาหารทะเลที่มีน้อยลงราคาสูงขึ้น ด้วยปะการังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำต่างๆ เมื่อไม่มีปะการังก็ไม่มีสัตว์น้ำ ทำไมปะการังจึงฟอกขาว เนื่องจากน้ำทะเลเป็นกรด ทำไมน้ำทะเลเป็นกรด ก็เนื่องจากมลพิษในอากาศสูง เมื่อกระทบกับภูมิอากาศที่เหมาะสมเป็นน้ำฝนตกลงมาก็เป็นน้ำกรดสู่ทะเลจึงจะเห็นภาพของปะรารังที่ฟอกขาว หรือแพลงก์ตอนบลูมเป็นต้น ผลจากภาวะโลกร้อนน้ำท่วมสัตว์มีพิษคุกคามที่อยู่อาศัยประชาชน และผู้คนจะป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ
อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาด้านการเกษตร เมื่อเกิดภาวะฝนแล้ง และน้ำท่วมกระทบกับภาวะผลผลิตด้านเกษตรอย่างมากตอนนี้ก็มีความคิดในการปรับวิธีการทำการเกษตรเพื่อการอยู่รอด และยั่งยืน ซึ่งภาวะโลกร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วมยังทำให้เกิดความสูญเสียด้านพันธุ์พืชต่างๆที่มีผลด้านชีวิภาพด้วยเช่นกัน ปัญหาด้านความร้อนที่สูงมากถึงขีดสุด ส่งผลให้เกิดอาการฮีทสโตรก ซึ่งที่รัสเซียมีคนเสียชีวิตจำนวนมาก
ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร ภาวะก๊าซเรือนกระจกที่มีการรับรังสีความร้อนที่เข้ามาในโลกแต่ไม่สามารถสะท้อนออกไปได้ ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วย 7 ตัว ที่ประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง กับพิธีสารเกียวโต ด้วยประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบกับภาวะโลกร้อนอีกประเทศหนึ่ง ในเกียวโต โทนาคอมีก๊าซเรือนกระจก 7 ตัว ประกอบด้วย หนึ่งคาร์บอนไดออกไซต์ การหายใจ มีเทรน น้ำหมัก สองไนตรัส ออกไซด์ และอีก 4 ตัวเกี่ยวกับอุตสาหกรรม คือ ไฮโดรฟลูออโร คารบ์อน เปอรฟ์ ลูออโร คารบ์อน ซัลเฟอร์เอกซะ ฟลูออไรด ไนโตรเจนไตรฟูลโอไรต ซึ่งในประเทศจีนเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ซึ่งก็ช่วงชิงอันดับต้นๆกับอเมริกาอยู่ การที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ยกเลิกการเข้าร่วมกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ศักยภาพในการทำให้โลกร้อน คือ ประเทศจีนปล่อยเอฟ แก๊สมากที่สุด และค่าศักยภาพการเกิดภาวะโลกร้อนว่าเรามีการปล่อยก๊าซตัวไหนมากที่สุดในกระบวนการผลิตของประเทศไทย ซึ่งการเพิ่มขึ้น ในประเทศไทยคาดการว่า ปล่อย 0.9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี มีคาร์บอนต่ำ เมืองลดคาร์บอนต้องมีการวางแผนการมีส่วนร่วมในการบริหาร และมีการตรวจวัดร่วมกัน หากปรับเปลี่ยนไม่ใช่ในเมือง ทางเท้าริมถนน นิคมอุตสาหกรรม หากมีการปรับภูมิทัศน์ก็จะสามารถลดความร้อนได้ ทางจักรยานก็เช่นกัน หากมีการปรับภูมิทัศน์ก็ทำให้อากาศดีได้ อาคารโรงงานก็สามารถปรับได้ด้วยโครงสร้างอาคาร การปรับภูมิทัศน์ที่พักอาศัยตึกสูงต่างมีการปลูกต้นไม้ มีการจัดทำนวตกรรมป่าล้อมเมือง มีการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์รอบๆให้ดีขึ้น
เรื่อง “สถานการณ์ก๊าซเรือนกระจกและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ”
นายจิณณวัตร แท่นนาค นักวิชาการ สำนักยุทธศาสตร์ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก นำเสนอว่า ปัญหาจากภาวะโลกร้อนผลกระทบที่ชัดเจนคือหมีขั้วโลกเหนือต้องออกมาหาอาหารในบ้านผู้คนกิน เพราะว่า อาหารที่เป็นแมวน้ำหายากมากขึ้น ด้วยน้ำแข็งละลายรวดเร็วขึ้น ใน ขั้วโลกใต้ก็เช่นกันที่เกิดปัญหา จากข้อมูลที่มีการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ซึ่งหน่วยงานที่ต้องลดก๊าซเรือนกระจกจะมีการกำหนดนโยบายให้แต่ละประเทศกำหนดเรื่องของการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งประเทศไทย ก็คือหน่วยงานสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ที่มีการรวบรวมข้อมูลไว้ ซึ่งสามารถที่จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพูดคุยกันได้
United Neighborhoods of Santa Clara County ( UNSCC) ได้ออกเป็นกรอบอนุสัญญาในการที่จะลดโลกร้อน และชั้นบรรยากาศมีความหนาขึ้นของภาวะโลกร้อน ประเทศไทยได้เข้าร่วมอนุสัญญา ประเทศไทยได้รับพิธีสารเกียวโตมา แม้ว่า ประเทศไทยไม่ได้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คำถามคือประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรจากพิธีสารเกียวโต คือประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่ขายคาร์บอนเครดิตให้กับประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก ซึ่งลดได้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ว่าการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อขายเท่านั้น จึงมีการประชุมพิธีสารปารีส มี 174 ภาคี จาก197 ภาคี ในความตกลงปารีส ประเทศไทยก็ร่วมอยู่ด้วย และประเทศไทยได้ยื่นเจตจำนงไว้ 2 ข้อ ในการประชุมร่วมกันเพื่อควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 2 องศา หากไม่ได้ก็ขอที่ 1.5 องศา แต่ว่า ยากมาก ตอนนี้ความร้อนโลกกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งหากลดไม่ได้ก็ต้องเพิ่มความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้อยู่กับภาวะโลกร้อนได้ ซึ่งแผนการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ได้มีการทำแผนเรื่องการปรับตัว ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือผ่านองค์กร JCC (หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ) เพื่อสนับสนุนการซื้อเครื่องจักร เทคโนโลยีใหม่ ในการที่ปรับลดก๊าซเรือนกระจกลง ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศที่จะปรับลดก๊าซเรือนกระจกลดลง หลังจากที่นายกรัฐมนตรีไปประกาศเพื่อลดลง 2 องศา และตอนนี้ขั้นต่ำร้อยละ 7 ก็เพิ่มเป็นการลดให้ได้ร้อยละ 20 ซึ่งตอนนี้แค่ ร้อยละ7 ยังทำไม่ได้เพิ่มเป็นร้อยละ 20 -25 ซึ่งตอนนี้ในส่วนของอุตสาหกรรมต่างๆก็พยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซมากขึ้น
ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 22 ของโลก ประเทศในอาเซียนที่ปล่อยก๊าซมากที่สุดคือ อินโดนีเซีย การที่ใช้ข้อมูลเริมจากการประติวัติอุตสาหกรรม 1970- 2010 ซึ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีการปล่อยเพิ่มขึ้นทุกปี
ทำไมประเทศไทย จึงเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากที่สุด ภาพที่ส่งผลกระทบที่สุดคือภาคอุตสาหกรรม อุณหภูมิโลกจะเปลี่ยนมากที่สุดตั้งแต่ปี 2511 การที่จะไม่เพิ่มให้สูงขึ้น แนวโน้มสูงขึ้น ตั้งแต่ปี 1950 ประเทศบราซิลมีการเพิ่มขึ้นและทุกประเทศมีการเพิ่มเกิน 1 องศา
เรื่องต่อมาคือค่าเฉลี่ยน้ำฝน ที่เพิ่มขึ้นทุกปี จนเกิดภาวะน้ำท่วมทุกพื้นที่ และประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น ยิ่งเมื่อเศรษฐกิจดีมีการปล่อยก๊าซเพิ่มมากขึ้น น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม และเมื่อปี 2013 ที่ก๊าซเรือนกระจกมีค่าการลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะเศรษฐกิจช่วงนั้นไม่ดีก็ได้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับความเติบโตของเศรษฐกิจด้วย ซึ่งป่าไม้ไม่สามารถที่จะดูดซับให้เกิดความร้อนให้ลดลงได้ จากการตรวจวัดอุณหภูมิที่สูงสุดในประเทศไทยคือ 44 องศา ที่จังหวัดแม่ฮองสอน และที่สกลนครที่อุณหภูมิต่ำสุด 14 องศา สภาพอากาศผลกระทบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกน้อยตกมากแต่ละปี
ฝนตกทั่วไปของประเทศไทยโดยเฉลี่ยของปริมาณน้าฝนต่อปี คือ 1,300-2,000 มิลลิเมตร ต่อปี ประเทศไทยฝนฤดูฝนจะเป็นช่วง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
การที่ประเทศไทยได้มีการไปรับมาว่าจะเปลี่ยนแปลง เพื่อการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ จะลดให้ได้ร้อยละ 7-20 นั้นถึงหรือไม่คงไม่ถึง ทำได้เพียงร้อยละ 15 ซึ่งในส่วนของข้อเสนอ
- การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนประเภทพลังงานธรรมชาติ
- การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพ
- การผลิตพลังงานความร้อน จากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานธรรมชาติ
- การผลิตพลังงานความร้อนจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพ
- ใช้ไบโอดีเซลในภาคการขนส่ง
- ใช้เอทานอลในภาคการขนส่ง
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)
- การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีสะอาด
- เกณฑ์มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ 5
ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ.2558 จากภาคพลังงาน ทั้งสิ้น 40.14 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 11 การมีส่วนร่วมก็มีข้อเสนอของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี ค.ศ. 2020
การดำเนินงานด้านการปรับตัวที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ
- ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสาน
- สร้างความมั่นคงทางอาหารภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนและการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม
- สร้างศักยภาพในการจัดการกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพ
- เพิ่มพื้นที่ป่าเป็นร้อยละ 40
- ป้องกันผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและฟื้นคืนความยั่งยืนทางนิเวศ
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- ลดความรุนแรงจากภัยพิบัติและลดความเปราะบางของประชากร
- เสริมสร้างศักยภาพในการใช้แบบจาลองระบบภูมิอากาศ
- ติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ
- ศูนย์ความรู้ในระดับภูมิภาค
ซึ่งมีการแบ่งเป็น 3 สาขา ที่มีการแบ่ง คือการจัดการของเสีย และพลังงานพลังงานขนส่ง มีพลังงานลม พลังงานทดแทนว่า มีเทคนิคกระบวนการใช้พลังงานเหล่านี้อย่างไร ซึ่งรัฐบาลจะมีการบังคับใช้ในปี 2564 แล้วแรงงานเกี่ยวตรงไหน คือ การปฏิบัติงานที่ร้อนขึ้น ทำให้ศักยภาพการทำงานที่ลดลง การเคลื่อนย้ายของแรงงานภาคเกษตร ภาคแรงงานนอกระบบ เมื่อทำการเกษตรทำไม่ได้ก็ต้องมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน สุดท้ายคือการเข้าสู่สังคมไร้คาร์บอน หรือสังคมคาร์บอนต่ำ หากเปลี่ยนแปลงวันนี้ไม่สามารถแก้อดีตในข้างหน้าได้ แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีชีวิต ตั้งรับร่วมสร้างอนาคตข้างหน้าได้
“ภาพรวมของกลไกการลดก๊าซเรือนกระจก”
นางนารีรัตน์ ธนะเกษม นำเสนอว่า อะไรคือ กลไกการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งต้องมีการคิดค้นเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของกรอบนโยบายของประเทศนั้นๆ ประเภทของกลไกการลดก๊าซกระจก
- มีการใช้เบื้องต้นของกลไกตลาด ในการนำมาซื้อขาย ซึ่งบางส่วนที่ไม่ใช่การตลาดก็มีเรื่องภาษีการใช้คาร์บอน ซึ่งเราได้เข้าสู่พิธีสารเกียวโต ซึ่งกลไกมีหลายระดับ ความรู้เบื้องต้น กลไกการตลาดก็มีบางประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก ซึ่งเขาปล่อยมากอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็มาเป็นการสนับสนุนการเงินกับการซื้อขายการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งตรงนี้ต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งเมื่อมีการกำหนดเป้าหมายแล้วต้องไปให้ถึงเป้าหมายนั้น และต้องมีความต่อเนื่องในการลดก๊าซเรือนกระจก
- กลไกสนับสนุนทางการเงินด้าน (Subsidy) คือ ทุกประเทศที่มีการลดก๊าซเรือนกระจกก็จะได้รับการสนับสนุนทางการเงิน ซึ่งตอนนี้มีการเน้นพลังงานและขนส่ง
- กลไกตลาดด้านการซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading) ภาคพลังงาน จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากก็จะมีการเปลี่ยนกระบวนการบางส่วนในการนำพลังงานทดแทนมาใช้ เช่น กรณีฟาร์มหมูที่มีการเปลี่ยนจากการใช้ไฟฟ้ามาใช้ไบโอแก็สและมีการซื้อขายได้ด้วย และมีเป้าหมายที่แสดงให้เห็นถึงการที่จะเริ่มลดก๊าซเรือนกระจก
- กลไกที่ไม่ใช่ระบบตลาด กลไกอื่นๆ มีการวิจัย หาเทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีมาใช้ มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาใช้ ซึ่งการที่จะใช้กลไกไหนก็ต้องเหมาะสมกับนโยบายของประเทศนั้นๆ ซึ่งก็ต้องมีแผนการที่จะพัฒนากลไกนั้นๆ มาตรการที่สำคัญคือ ทางการเงินคือ ทั้งพลังงานความร้อน และไฟฟ้า
ส่วนที่ 2 เบื้องต้น ของกลไกตลาดได้ความร้อนพลังงาน และเชื้อเพลิง และกลุ่มjust go fundได้เข้ามาให้การสนับสนุนเพื่อให้ลดความร้อน ซึ่งก็มีเงินที่เป็นกองทุนให้เปล่า แบบไม่ได้เอาคือ กลไกตลาดที่นิยมใช้มาก สามารถสรุปได้สองส่วนหลักๆคือ การสนับสนุนด้านการเงิน (Subsidy) และกลไกการซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Emission trading) ซึ่งประเทศโดยเฉพาะในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยกลไกตลาดจะช่วยลด ข้อจำกัดจากการบังคับใช้ตามกฎหมายและนาหลักการซื้อขายทางเศรษฐศาสตร์เข้ามามีส่วนช่วยในกิจกรรมต่างๆ กรณีที่ให้แบบเป็นIRR ที่เป็นการตอบแทนต่ำได้ กรณีไบโอแก็ส มีการให้การสนับสนุนโดยรัฐแบบ 5 ปี ในการพัฒนา ซึ้งตอนนี้ก็จะมีการนำเรื่องภาษีการใช้คาร์บอน ซึ่งตรงนี้กำลังจะดูเรื่องมาตรการภาษี หากมีการลดคาร์บอนได้ก็จะลดภาษีให้เป็นต้น ซึ่งสังเกตได้ว่า ทุนขนาดใหญ่ที่เข้ามาสนับสนุนจะผ่านทางภาครัฐมากกว่าเอกชน ด้วยเป็นเรื่องความน่าเชื่อถือ อย่างกรณีเอสโกฟัน (ESCO)ที่มีการมาสนับสนุนทุน ยังมีกลไกอื่นๆที่มีการแข่งขันด้านราคาด้วย เช่นกรณีการไฟฟ้าก็มีการดูว่าเอกชนท่านใดสามารถลดการใช้ไฟฟ้าเป็นต้น
การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ และบาร์ซิลมีการปลูกป่าเพิ่ม ซึ่งประเทศไทยไม่มีโครงการที่จะลดก๊าซเรือนกระจกโดยขายเรื่องการปลูกป่า เป็นงาน CSR เนื่องจากที่จะต้องไม่มีการตัดต้นไม้ในระยะเวลาหนึ่งที่อย่างน้อย 30 -40 ปี และมีการตรวจสอบได้
อะไรคือคาร์บอนเครดิต เป็นการซื้อขายกันได้ เป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่มีลักษณะการลดก๊าซเรือนกระจก และมีการซื้อขายหน่วยนี้ และมีการคำนวณเป็นตันหนึ่งอยู่ที่ 30 ยูโร ตลาดคาร์บอน ตลาดที่รองรับการซื้อขาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นและมีการกำหนดราคาที่เป็นสากลที่สามารถรับได้ มีตลาดแบบเป็นทางการซึ่งอยู่ในยุโรปเท่านั้น แระเทศไทยเป็นแบบตลาดสมัครใจ ซึ่งไม่ได้แค่ประเทศไทยเท่านั้นจะมีที่ญี่ปุ่น และเกาหลีด้วย เป็นการซื้อขายในประเทศไทยเท่านั้นเริ่มจะมีโครงการต่างๆที่จะเข้ามาแล้ว นอกจากที่จะซื้อขายคาร์บอนเครดิต ยังมีการซื้อขายแบบเป็นทางการ ที่มียุโรปในนิวซีแลนด์ มีคาร์บอนปริ้น เป็นภาคทางการ การซื้อขายเป็นราคาเดียวกัน หากเป็นและสมัครใจก็จะอยู่ที่ประเทศนั้นๆที่กำหนดราคา ซึ่งจะอยู่ในประเทศเท่านั้น ซึ่งก็มีการยื่นตรวจสอบจนกว่าจะมีการประเมินเพื่อการซื้อขายได้
ตอนนี้มีโครงการที่เข้า T-VER และผู้ประกอบการไหนจะเข้าก็ต้องมีการตรวจสอบประเมินเพื่อเข้าโครงการได้ การที่ซื้อขายก๊าซเรือนกระจกๆได้ตัวนี้เขาซื้อขายตรงไหน ซึ่งมีการเน้นเรื่องลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มแรงงานจูงใจ ได้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2557 โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ถือเป็นประเทศแรกของอาเซียน ที่มีการดาเนินการภายในประเทศ อย่างเต็มระบบ มีขั้นตอน 7 ขั้นตอน โดยรองรับลักษณะโครงการได้ 8 ประเภท ทั้งด้านพลังงาน เกษตรและป่าไม้ ไม่จำกัดขนาดของโครงการ และการซื้อขายและระบบการให้เครดิตคาร์บอนเครดิตการซื้อขาย คือเครดิตที่มีการโชว์ เป็นการซื้อขายตามการดำเนินการตามปกติ โดยทั่วไป การนาคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกหรือ โครงการ ดูดซับก๊าซเรือนกระจกไปใช้ การซื้อขายคาร์บอนเครดิต ภาครัฐหรือผู้กำหนดระบบ Trading นี้ จะต้องยึดหลักการสำคัญของการซื้อขาย สิทธิ์ที่สำคัญ ดังนี้
- ระบบซื้อขายจะต้องช่วยลดต้นทุนและค่าดาเนินการของผู้ที่อยู่ในระบบได้ (Compliance cost)
- เพิ่มประสิทธิผลในเชิงการลดก๊าซเรือนกระจกได้จริง (Environmental effectiveness)
- สร้างผลรางวัลให้กับโครงการที่มีประสิทธิภาพได้จริง
- มุ่งสู่การเชื่อมโยงและสร้างผลตอบแทนให้กับเทคโนโลยีใหม่ที่ดีขึ้นในอนาคต
กลไกตลาดในด้านการซื้อขายก๊าซเรือนกระจก มาตรการที่ 8 การซื้อขายใบรับรองด้านพลังงานทดแทน หรืออนุรักษ์พลังงาน แนวทางการสนับสนุน: ระดับโครงการ (Project based) หรือระดับภาคส่วน และรองรับการซื้อขายในตลาดระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยไม่มี มีแต่ในอเมริกา อินเดีย ที่ประเทศจีนมีแคบแบร์นเทรด ซึ่งมีการลดก๊าซกระจกในหลายมณฑลเหมือนกัน ในการลดการใช้ถ่านหิน กรอบการทำงานก็ไม่ยาวมาก หนึ่งปีก็ได้ ซึ่งกลไกเหล่านี้จะมีในประเทศที่มีการปล่อยก๊าซจำนวนมาก ประกอบด้วย แนวคิดการออกใบรับรอง (Certificate) ด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy certificate: REC) มีมานาน โดยที่เพื่อให้พื้นที่ (เช่นรัฐ หรือประเทศ) ที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนต่ำให้สามารถเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงาน (โดยปรกติจะเป็นการผลิตไฟฟ้า) ให้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
- ในบางประเทศจะมีการจัดทา REC รองรับการดาเนินการตามกลไก Renewable Purchase Obligations (RPOs)
- ยังมีการนาแนวคิด REC ไปใช้ในกรณีด้านประสิทธิภาพพลังงานด้วย นิยมเรียกว่า Energy efficiency certificate (EEC)
มาดูกลไกอื่นๆบ้างเช่น ภาษีคาร์บอนซึ่งมีตั้งแต่ปี 1920 ที่มาใช้ในประเทศที่ประสบปัญหาต่างๆ ที่ยูเครน ฝรั่งเศส ที่มีการประกาศไม่ใช้ถ่านหินในอนาคต
กลไกตลาดในด้านการซื้อขายก๊าซเรือนกระจก มาตรการ 9มาตรการ Cap-and-Trade แนวทางการสนับสนุน: ระดับโครงการ (Project based) หรือระดับภาคส่วน และรองรับการซื้อขายในตลาดระหว่างประเทศ แนวคิด Cap and Trade ถือเป็นแนวคิดภายใต้กลไกตลาดที่มีความสำคัญมาก ในการซื้อขายนี้ เริ่มต้นจากผู้มีอำนาจหน้าที่ซึ่งโดยมากจะเป็นรัฐบาล จะกำหนด จุดสูงสุดที่อนุญาตให้ปล่อยคาร์บอนได้ (อาจเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นแต่เทียบสัดส่วนกับคาร์บอนไดออกไซด์) แต่ละโรงงานก็จะได้สิทธิที่จะสามารถปล่อยได้ในจำนวนหนึ่ง โรงงานที่ปล่อยคาร์บอนเกินจุดที่กำหนดจึงต้องไปซื้อสิทธิมาจากโรงงานที่ปล่อยไม่ถึง สิทธิของตนนั้น ถ้าปล่อยเกินโดยไม่ซื้อจะได้รับการลงโทษหรือการปรับ การดำเนินการ ด้านการซื้อขายก๊าซเรือนกระจก ผ่านกลไก Cap-and-trade ในทุกประเทศของโลก เน้นบทบทไปที่ภาคพลังงาน โดยเฉพะในส่วนโรงไฟฟ้า และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะปูนซีเมนต์ เหล็ก กระดาษ เคมี และปิโตรเคมี เป็นต้น การทำระบบ Emission Trading Scheme (ETS) เพื่อรองรับการซื้อขาย มีความจำเป็นมาก และแต่ละประเทศมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ต่างกันในรายละเอียด เช่น ดำเนินการ ETS ในระดับเมือง รัฐ หรือ ระดับประเทศ การกำหนด Allowances เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน และ มีแนวคิดในการกำหนดระดับ การปล่อยที่แตกต่างกัน มีการศึกษาอย่างละเอียด และใช้ข้อมูลมาก การดำเนินการไม่จาเป็นต้องดาเนินการพรอ้มกันทั้งประเทศ ในบางประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น จีน ได้เริ่มดาเนินการ Cap-and-Trade ทำพื้นที่สาธิตเป็นบางเมืองและบางมณฑลก่อน
คาร์บอนแทรก แต่ละประเทศมีการรณรงค์การลดการใช้ถ่านหิน และลดในการใช้ในอุตสาหกรรม เช่นนิวซีแลนด์ เกาหลี ออสเตเรีย ซึ่งมีหลายประเทศที่ทำไปแล้ว หากประเทศไทยเก็บภาษีคาร์บอนแทรก จะเก็บตรงไหน ตอนนี้ยังไม่มีการดำเนินการ หากไม่ใช่ตรงนี้จะมีมาตรการ หรือกลไกตรงไหน ทั้งชีวมวล ชีวภาพ ซึ่งตรงนี้ได้อยู่ในกระทรวงพลังงานแล้ว ซึ่งกลไกทั้งสองแบบยังไมได้รับการยอมรับ ทำให้ไม่ได้ถูกบังคับใช้ ซึ่งกลไกการทำสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ และการใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มี อย่างฉลากเบอร์ 5 เป็นต้น
การจัดเก็บ Carbon Tax ในประเทศต่างๆ การเก็บภาษีและการผลักภาระภาษี คือรัฐเก็บภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งวิธีเก็บ ก็เก็บภาษีผู้ซื้อ และผู้ขาย เป็นภาษีต่อหน่วยคาร์บอน โดยคิดจากราคาของ
เทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจก ที่นำมาให้เห็นคือการที่ดึงมาจากไกด์ไลน์ที่แบ่งเรื่องก๊าซเรือนกระจก การที่จะลดก็ใช้แต่ละสาขานั้นๆ ของประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูล ซึ่งก็อยู่กับว่าข้อมูลนั้นๆที่ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาขาพลังงานเป็นหลัก ซึ่งมีเทคโนโลยีการใช้พลังงานเป็นหลัก ซึ่งมาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งมีการใช้และเหมือนการรั้วไหลข้ามประเทศ
- มุมมองเทคโนโลยีที่จะได้ดีที่สุดคือการปรับปรุงการใช้พลบังงาน และการใช้พลังงานหมุนเวียน
- การปรับเปลี่ยน เพื่อเข้าสู่โครงการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก การCSR การลดการใช้
- คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งถุงยางอนามัยก็มาของเรื่องลดภาวะโลกร้อน เพื่อมีการขายสินค้า การรับรองเรื่องการลดคาร์บอน คาร์บอนฟุตบริ้นขององค์กร อย่างผลิตภัณฑ์ ก็มีการติดผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีการติดฉลากผลิตภัณฑ์คาร์บอนฟุตพริ้น ซึ่งเป็นเกณฑ์เรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
นายศิโรฒน์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการแรงงาน กล่าวว่า จากการที่จัดนิทรรศการภาพถ่ายแววตาชาวบ้าน #เทใจให้เทพา ซึ่งเป็นภาพถ่ายของชาวบ้านที่ถูกจับจากการที่เดินไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีที่มีการลงพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งตอนนี้แม้รัฐบาลจะมีการบอกเลื่อนการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินออกไป แต่ชาวบ้านยังชุมนุมอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาล และการที่รัฐมีการกำหนดนโยบายเรื่อง 4.0 ผลคือประเทศไทยยังใช้นโยบายแบบ0.1 อยู่
แนวคิดการพัฒนาอีสาน ซึ่งมีนโยบายการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ในส่วนของประเทศไทยยังอยู่ในการรถไฟความเร็วนั้นต่ำ และการที่อาจารย์ได้มีการวิจัยเรื่องรถไฟความเร็วปานกลาง ซึ่งการพัฒนานี้ใครได้ประโยชน์ประชาชนได้ประโยชน์หรือว่าใครได้ ซึ่งการพัฒนานี้ทำให้มีการไล่ที่ของการพัฒนาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับประชาชน ซึ่งคนไม่ต้องการฟังเขาต้องการฟังเรื่องการพัฒนาประเทศ ซึ่งการพัฒนาเป็นผลประโยชน์แก่ใคร คนทุกกลุ่มได้ผลประโยชน์จริงหรือ ผลประโยชน์การพัฒนานั้นอยู่กับใครเป็นหลัก
การกล่าวถึงค่าจ้างขั้นต่ำ รัฐมีการกล่าวถึงค่าจ้างขั้นต่ำทำให้ประเทศนี้พัง และมีคนที่กินขนมเค้กต้องมีการกินขนมเค้กไปเรื่อย โดยที่ไม่ต้องการให้ผู้ใช้แรงงานได้กินขนมเค้กเลย ซึ่งรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนของประชากรไทยเฉลี่ยต่ำลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างและทิศทางในประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนลดลง ตัวเลขที่เป็นเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเพียง 9,000 บาท ทิศทางเฉลี่ยต่อครัวเรือนทำให้ประชาชนจนลง แม้มีเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้น และนี่เป็นรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน รายได้ 14,000 บาทต่อคน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6 รายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนปี 54-58 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เท่ากับว่ารายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งการพัฒนาของประเทศไทยทิ้งคนไว้เบื้องหลังจำนวนมาก การเพิ่มรายได้ของประชาชนเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องทำ ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น หากรายจ่ายสูงกว่ารายได้ก็ไม่ต้องเพิ่มดีกว่า เป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐต้องแก้สถานะสภาพคล่อง คนในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่มีเงินฝากประจำ แต่รัฐกับบอกว่าการไม่ทำบัญชีครัวเรือนเลยจน
การที่มีข้อมูลเรื่องคนฝากประจำลดลงเพราะว่า เศรษฐกิจในประเทศมีปัญหา ยกเว้นแต่ว่าจะบอกว่า คนนำเงินไปลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เป็นไปได้ยาก ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มีการมองว่า เกษตรกรจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เกษตรกรเป็นประเภทที่พัฒนาไม่ได้ ภายหลังที่บอกว่า การพัฒนาแล้วทิ้งคนส่วนใหญ่ไว้ข้างหลัง คนส่วนใหญ่ต้องมีพ่อแม่ หรือครอบครัวเป็นเกษตรกรมาก่อน การที่ราคายางตกต่ำ ข้าวราคาตก เป็นการพูดถึงแบบเป็นเรื่องตลก เรื่องรายได้ของภาคเกษตร หรือเกษตรกรเป็นนโยบายทิ้งเกษตรกรอย่างรุนแรง ซึ่งรัฐบาลมีการกล่าวถึงนโยบายแบบเกษตรกรแปลงใหญ่ ต้องมีการรวมตัวกันเพื่อปรับปรุงด้านเทคโนโลยี แต่สองเรื่องนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเกษตร เพราะว่า ประเทศไทยเป็นเกษตรรายย่อย โดยการบอกว่าอาชีพเกษตรกรไม่มี่อนาคต ชีวิตเกษตรกรจะเป็นอย่างไร ซึ่งการที่ภาครัฐคิดแบบนี้ชีวิตเกษตรกรจะเป็นอย่างไร ตอนนี้เกษตรกรไม่ทำนา เพราะไม่มีแรงงาน ราคาเกษตรตกต่ำ ก็ต้องเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ เป็นกลุ่มคนที่ขาดอำนาจต่อรอง สิ่งที่เกิดขึ้นการที่เข้าสู่ตลาดแรงงานแบบไม่มีความพร้อม และขาดอำนาจต่อรอง และนำไปสู่การเสียโอกาสในการพัฒนา เพราะคนที่เป็นแรงงาน ลูก หลานก็ต้องเป็นแรงงาน เพราะคนที่รวยมาจากปูรวย พ่อรวย ลูกก็รวยมากขึ้น ทำให้เกิดให้คนเข้าถึงโอกาสที่จำทำให้เกิดความเท่าเทียม
การที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากกว่าในการพัฒนาเพื่อเกิดความเท่าเทียม และการพัฒนาเพื่อให้คนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีการพัฒนาเพื่อให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีสามารถทำได้ และการพัฒนาในระดับประเทศจะทำอย่างไรในการพัฒนาเพื่อคนส่วนใหญ่ในประเทศ และความเป็นประชาธิปไตยเป็นเป็นอย่างไร ประเทศไทย มีการรัฐประหาร ไม่เป็นระบบประชาธิปไตย เกิดการคอรับชั่น และข้าราชการปกครองประเทศ ซึ่งเขาคิดว่า ประเทศน่าจะดีกว่านี้ เพราะประชาชนไทยมีความสามารถ และภาคธุรกิจไทยมีความสามารถที่จะทำให้ประเทศไทยไปได้ไกลกว่านี้ ประเทศนี้โตได้มากกว่านี้ ประชาชนสามารถรวยได้มากกว่านี้ สิ่งที่เกิดขึ้นประเทศสามารถไปได้ดีกว่านี้หรือไม่ และสาม สี่ปีนี้เสียโอกาสในการพัฒนามากมาย นอกจากคนส่วนน้อยที่เข้าถึงอำนาจรัฐที่ได้ประโยชน์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์ และยังเสียประโยชน์ ภาพรวมเวลานี้เป็นช่วงของคนระดับล่างในประเทศนี้ไม่ได้ตามสิทธิควรจะได้เท่าที่ควรเวลาเป็นรายได้ของคนระดับล่างรัฐจะกดให้ต่ำที่สุด และอ้างผลกระทบกับเศรษฐกิจ แต่หากเป็นเรื่องเดียวกับการปรับค่าจ้างให้ราชการก็จะบอกว่าค่าครองชีพสูงต้องปรับขึ้นด้วยภาวะเงินเฟ้อสูง ขึ้นถึงร้อยละ 47 แต่ว่า แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ก็บอกว่าเศรษฐกิจดีอยู่แล้วหากปรับค่าจ้างสูงจะกะทบต่อเศรษฐกิจ โดยใช้ให้สองมาตรฐาน ซึ่งไม่เป็นธรรม โดยใช้แนวคิดแบบสองแนวคิดที่ไม่เท่ากัน ทั้งที่เรื่องรายได้ประชาชนเป็นเรื่องใหญ่
รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล นักวิชาการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนนั้นกระทบกับทุกส่วนของโลก และอาจมีหลายคนบอกว่า เมื่อโลกร้อนก็เปิดแอร์ เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนอากาศแปรปรวนมากในภูมิอากาศ เกิดอากาศมัวๆซึ่งเป็นเพราะค่าPMในอากาศสูง ซึ่งเมื่อไม่วันที่ผ่านมาในกรุงเทพฯมีหมอกเต็มไปหมด นั้นคือ มลพิษทางอากาศซึ่งการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของรัฐไทย ข้าราชการไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องของการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือสร้างระบบในการดูแลตรวจสอบป้องกันที่ดี และเมื่อเกิดภาวะต่างๆอย่างน้ำท่วมไฟไหม้ ก็จะกระทบต่อระบบนิเวศ ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์บก พันธุ์พืช ก็ได้รับผลกระทบด้วย
ทิศทางการปรับตัวของประเทศ การเพิ่มพื้นที่ป่าในเอกชน การปลูกป่ามีเงินให้ พร้อมกับแจกพันธุ์ไม้ เพื่อให้เกิดการปลูกป่ามากขึ้น ซึ่งหากมีที่ดินอยู่ อยากให้ปลูกไม้ใหญ่ไว้ ได้ทั้งอากาศที่ดี และได้สุขภาพที่ดีด้วย และยังมีราคา เป็นรายได้ในอนาคต เป็นการเตรียมตัวเพื่อการอยู่ได้ในวัยเกษียณ เพราะว่าการอยู่ในเมืองมีมลพิษ การอยู่ต่างจังหวัด เรื่องน้ำ ประเทศไทยเป็นประเทศที่หลักๆจะได้รับผลกระทบ ปี 2579 ที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลง ก็มีการจัดการเรื่องน้ำ ป่าไม้ และการจัดการก๊าซเรือนกระจก แต่ปัญหาคือมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศป่าทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน เป็นเรื่องคดีความ ซึ่งประเทศไทยได้มีการไปรับอนุสารเรื่องการลดภาวะโลกร้อน เพื่อการส่งเสริมเมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งรัฐต้องมีการประกาศเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อม การที่จะเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ก็ต้องมีการส่งเสริมคาร์บอนเพื่อขายสำหรับคนที่ปลูกต้นไม้ แต่ยังไม่พอ
รัฐควรมีการส่งเสริมเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นที่เป็นฉลากสินค้า ซึ่งมีแต่น้อย การส่งเสริมให้คนใช้การเดินทางที่ลดคาร์บอน คู่มือการรักสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาโรงงานไฟฟ้า ซึ่งหากนั่งรถแท็กซี่ก็จะได้ยินการโฆษณาเรื่องถ่านหินสะอาด เมื่อถ่านหินถูกขุดก่อนออกจากเหมืองต้องล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเพราะมีการปนเปื้อนดิน เศษหิน แต่แม้ล้างแล้วก็ยังมีสารหนู สารนิกเกิล สารปรอทในถ่านหิน ซึ่งการล้างถ่านหิน ก็จะมีสารต่างๆที่กระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่และน้ำก็ไหลลงแหล่งน้ำ สัตว์น้ำที่มนุษย์นำมารับประทานก็จะมีสารต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ปลาที่ได้รับสารบ้างก็พิกลพิการกระดูกคดระบบนิเวศเสียสัตว์ขนาดเล็กหรอปลาบางสายพันธ์ถูกทำลาย เรียกว่ากระทบตั้งแต่ต้นน้ำ กระทบต่อหญิงตั้งครรภ์จะมีการห้ามกินปลาก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือนเป็นต้น
ส่วนของไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้อยู่ตอนนี้มีการผลิตเกินอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าไฟฟ้าไม่เพียงพอในการบริโภคของประชาชนตามที่กล่าวอ้าง ซึ่งแนวคิดการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม หากสังเกตเดิมหากเราใช้ไฟฟ้าไม่ถึงค่ากระแสไฟจะสามารถตีกลับไปได้แต่ปัจจุบันจะไม่เป็นเช่นเดิมแล้ว
หากประเทศไทยจะเป็นสังคมคาร์บอนต่ำต้องลด และมีการแยกขยะตั้งแต่ครัวเรือน และในโรงงานต้องสร้างความตระหนักในการประหยัดไฟฟ้า ดูแลสิ่งแวดล้อม วิจัยหานวตกรรมใหม่ๆในการพัฒนาประเทศ และดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องมีการวางผังเมืองเพื่อให้มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลชุดนี้กลับมีการประกาศปลดล็อคผังเมือง ให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเต็มที่โดยไม่ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ หรือบอกประชาชน ตัวอย่างแบบกรณีมาบตะพุดที่มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม เดิมอาจไม่กระทบ แต่ว่า ตอนนี้มีการขยายผังเมืองออกไปจนเกิดพื้นที่สีม่วง แทนที่จะเป็นพื้นที่สีเขียว คำถามว่าทำไมเตาหลอมสแตนเลสที่ใช้อุณหภูมิสูงใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ เป็นต้น
ประเทศไทยไปถึงไหน กำลังมีการปรับกระบวนทัศน์ การพัฒนา และการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงแล้วควรเป็นนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้ซูลาเซล พลังงานไฟฟ้า ซึ่งสหภาพแรงงานสามารถนำความรู้เพื่อปรึกษากับนายจ้างในการส่งเสริมให้ใช้พลังงานไฟฟ้า ส่งเสริมให้หมู่บ้านติดซูลาเซล เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง แต่ว่ารัฐบาลไม่ทำ ไม่ส่งเสริมด้วยกลุ่มพลังงานในประเทศไทยเป็นกลุ่มที่มีพลังมาก ตังอย่างประเทศสเปนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีการใช้วิวัฒนาการในการจัดเก็บพลังงาน ประเทศไทยมีพลังงานแสงอาทิตย์ หรือว่าจะใช้พลังงานจากน้ำก็ได้ ยังมีพลังงานใต้พิภพ พลังงานมูลสัตว์ น้ำเสีย หรือว่าลมสามารถมาผลิตพลังงานได้ เกิดการจ้างงานจำนวนมาก ถึง9.8 ล้านทั่วโลก และประเทศที่นำหน้าคือจีนที่นำในการใช้พลังงานหมุน จากเดิมช่วงที่มีการแข่งขันโอลิมปิกมีมลพิษจำนวนมาก ตอนนี้ปิดโรงงานเอาออกไปนอกเมืองและพัฒนาเป็นพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประเทศไทยในอนาคตเทคโนโลยีมาแน่ และสังคมไทย และทั่วโลกเข้าสู่สังคมสูงวัย ประเทศไทยมีคนสูงวัยเพิ่มขึ้น ปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ปี 2557 ผู้สูงอายุสูงขึ้นร้อยละ 14.9 คือ 10 ล้านคน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สังคมชราภาพส่งผลกับระบบเศรษฐกิจ ช้าลง เพราะว่า เกษียณอายุ และการทำงานก็น้อยลง คนจะติดกับรายได้ปานกลาง และเศรษฐกิจการเงินไม่โต เงินฝากดอกเบี้ยต่ำ และคนก็จะออกจากงานในระบบมาเป็นแรงงานนอกระบบ สัดส่วนการทำงานฟรีแลนด์ หรือน้องระบบมากขึ้น เมื่อเข้าสูงคนสูงวัย คนที่เข้าสู่รั่วแรงงานน้อยลง ทำให้อัตราการเฉลี่ยรายได้ต่ำลง คนเสียภาษีน้อยลง และรัฐคงจะมีการจ่ายสวัสดิการด้านสุขภาพหรือไม่ และรัฐจะนำเงินมาส่งเสริมด้านสวัสดิการผู้สูงวัยต่อไปหรือไม่ ซึ่งอาจต้องมีการพัฒนาโมเดลใหม่ๆขยายปัญญา เช่นการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม ต้องรักษาวินัยการคลัง สร้างนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาการศึกษาในอนาคต เพิ่มผลิตภาพแรงงาน พัฒนาอุตสาหกรรม เชื่อมโยงการผลิต ซึ่งอุปกรณ์ความช่วยเหลือผู้สูงอายุในอนาคตขายได้
เป้าหมายการพัฒนาประเทศ2579 การที่รัฐได้มีการมอบนโยบายว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ปฏิรูปประเทศ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนามั่นคงมั่งคั่ง ยั่นยืน มีการปรับสมดุลในการพัฒนาเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย และคนไทยต้องมีทักษะคิดวิเคราะห์ ใฝ่เรียนรู้ รายได้ประเทศต้องสูงขึ้น แต่ว่าการที่นำคนที่รายได้ต่ำสุดไปหาญต่อหัวกับคนที่ได้ได้สูงสุด คิดได้อย่างไรจริงแล้วควรมีการแยกให้ชัดคนจนต่ำสุดเท่าไร เมืองไทยสีเขียว เมืองน่าอยู่ขยะเป็นศูนย์ ปัญหาว่าเมื่อแยกขยะแล้วการจัดเก็บก็ขังรวมอีก ซึ่งในต่างประเทศจะมีการจัดการเรื่องที่ทิ้งขยะ และมีการแยกขยะชัดเจน
เศรษฐกิจชีวภาพบริการหลากหลายผลิตได้ เข้าสู่สังคมเป็นธรรม มีคุณภาพ ซึ่งชาวบ้านเทพา จังหวัดสงขลาไปขอพบนายกถูกจับ แต่ว่าชาวบ้านที่มีการมาให้กำลังใจบิ๊กป้อม(พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ)ไม่มีใครถูกจับ เศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งก็ไม่มีการส่งเสริม แม้ว่าประเทศไทยจะมีภูมิปัญญาอยู่แล้ว การใช้สมุนไพรในการรักษา ภาครัฐกะทัดรัด ทันสมัยโปร่งใส เรื่องการใช้วัตถุดิบจากประเทศไทยหรือไม่ แรงงาน มีโครงการเพิ่มศักยภาพ
แผนแม่บทด้านแรงงาน 2560-2564 มีวิสัยทัศน์ แรงงานต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีการปฏิรูปเร่งด่วน เพิ่มผลิตภาพแรงงาน ไทยแลนด์ 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของกระทรวงแรงงานที่จะก้าวสู่ Brain Power
ในปี 2560 โดย กระทรวงแรงงานได้ปรับบทบาทสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ศูนย์เทคโนโลยีชั้นสูง เพิ่มขีดความสามารถ ทักษะด้าน STEM นำร่องกระจาย 12 แห่ง ทั่วภูมิภาค จะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ภาคเอกชน+ภาครัฐ แนว “ประชารัฐ” มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วม 180 แห่ง ใน 19 ธุรกิจ เป้าหมาย 10,000 คน การวิเคราะห์ของธนาคารโลก ประเทศไทย พ.ศ. 2557 มี GDP 13,149 พันล้านบาท ซึ่งประเทศไทยเติบโตด้านการจ้างงานภาคบริการมากที่สุดร้อยละ 51.1 จากประชากรผู้มีงานทำที่ 38.12 ล้านคน หากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว สิงคโปร์ ร้อยละ83.9 ประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 70.9 ทิศทางกำลังแรงงานกำลังลดลง แผน 12 กำลังแรงงานลดลงร้อยละ 0.4 และแผน 13 กำลังแรงงานลดลงร้อยละ 0.8 ภาระการคลังเพิ่มขึ้น การผลิตพึ่งพาแรงงานเพื่อนบ้านมากขึ้น ด้วยประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย
ผลิตภาพแรงงานไทยยังต่ำ ความต้องการกำลังคนทำงานที่มีทักษะสูงขึ้น เพื่อเข้าสู่ประเทศที่มีแรงงานค่าแรงสูง แต่ปัญหาประเทศไทยยังติดกับดักความยากจน-ความเหลื่อมล้ำ คนมีทักษะสูง…รายได้เพิ่ม และคนมีทักษะต่ำจะตกงานเพิ่มขึ้น โดยนายทุนนำหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่ในการทำงาน
ปัญหาสังคมที่ถูกครอบงำง่าย ขาดทักษะคิดวิเคราะห์ ไม่สามารถคัดกรองเลือกรับ เช่นวัฒนธรรม การปรับเปลี่ยนเข้ากับ การเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งที่ประชุมในเวทีWorld Economic Forum 2018 แล้วบอกว่า มนุษย์ต้องเตรียมการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆแล้วประเทศไทยก็กำหนดไว้ในการเปลี่ยนแปลง หรือปรับเปลี่ยนในนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเมื่อถามผู้ใช้แรงงานวันนี้ว่า มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานหรือไม่ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แล้วเตรียมตัวอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง และบทบาทของชุมชนต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีโรงไฟฟ้าและท่าเทียบเรือ ซึ่งการที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้า คุณสมบัติถ่านหิน จังหวัดกระบี่จะกระทบมากที่สุด คือ การใช้เรือขนส่งถ่านหิน กระบี่เป็นแลมซาไซร์ มีงานวิจัย 77 ประเทศหากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินก็จะไม่มาท่องเที่ยว และกระบี่ได้มีการโฆษณาเรื่องการท่องเที่ยวเกษตรกรรม มีพื้นหญ้าทะเล มีพระยูน ม้าน้ำ การที่จะนำเรือขนถ่านหิน จุดที่จะสร้างโรงงานถ่านหินคือแหล่งอาหารทะเล การสูบน้ำทะเลก็จะมีตัวอ่อนสัตว์น้ำ ขี้เถ้าถ่านหินมีสารที่ทำให้เกิดปัญหากระดูกสันหลังสัตว์น้ำ ซึ่งพื้นที่เทพา จังหวัดสงขลา มีชาวบ้านอยู่ทั้งวัด โรงเรียน ปอเนาะ มีการสูบน้ำทะเลวันละ 9,000 ลูกบาทเมตร และเมื่อสูบไปแล้วก็ทิ้งน้ำร้อนลงทะเล ซึ่งมีหินและปาการัง ความเป็นอยู่และแหล่งอาหาร
นางสาวปรีดา ศิริสวัสดิ์ นำเสนอ ความหมายของJust Transition(JT)การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม:ขบวนการแรงงานในต่างประเทศ นั้น คือ ภาระในการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต้องไม่โยนให้กับคนกลุ่มเดียว โดยนโยบายเพื่อลดภาวะโลกร้อนต้องมีความเป็นธรรมต่อคนงาน นั่นคือ ช่วยสร้างงานที่ดี เกิดงานที่มีคุณค่า และการคุ้มครองทางสังคม ความเป็นมาของการรณรงค์นั้นมาจากการเรียกร้องของทหารในช่วงของยุโรปที่ต้องการให้มีการจัดสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยได้รับการดูแล ยุคแรก สหรัฐอเมริกา หลังสงคราม ลดกำลังทหาร ทหารผ่านศึกได้รับผลกระทบ ว่างงาน จึงมีการตั้งกองทุนเพื่อคนงาน (superfund for workers) ใช้สำหรับอบรมฝึกอาชีพและช่วยค่าครองชีพระหว่างอบรม
ต่อมาเห็นว่า ชื่อนี้เป็นภาพลบ เปลี่ยนเป็นกองทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม(just transition fund) และถูกใช้กว้างขวาง รวมทั้งการช่วยเหลือคนงานที่ได้รับผลกระทบหรือพลัดถิ่นจากนโยบายสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม กับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย
ยุคที่ 1 ตั้งแต่ปี 1992-2008 ก่อนและหลังการเจรจา “พิธีสารเกียวโต” พูดถึงประเด็นสังคมน้อยมาก กลัวกระทบเศรษฐกิจ
ยุคที่ 2 ปี 2008-2014 สหภาพแรงงานเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น มีีงานวิจัยออกมา พบว่า มีโอกาสของงานใหม่ๆ เกิดแนวคิดเรื่องงานสีเขียว
ยุคที่ 3 ปี 2015 ถึงปัจจุบัน สหภาพแรงงานรณรงค์อย่างเข้มแข็ง จนคำนี้ได้รับการยอมรับใน “ข้อตกลงปารีส” รวมทั้งมีการยอมรับแนวปฏิบัติเรื่องนี้ใน ILO
การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ใน “ข้อตกลงปารีส” ปี 2558 ขบวนการแรงงานสากลเป็นผู้รณรงค์เรียกร้องจนได้รับการยอมรับ โดยข้อความในข้อตกลง กล่าวว่า “ต้องคำนึงถึงความจำเป็นของการ เปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงาน และการสร้าง งานที่มีคุณค่า และอาชีพที่มีคุณภาพ ที่สอดคล้องกับการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาซึ่งกำหนดโดยแต่ละประเทศ”
องค์การแรงงานที่มีบทบาท ITUC (สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล) ได้รณรงค์เรื่องข้อตกลงปารีส สร้างแนวปฏิบัติ รณรงค์ให้นำไปใช้จริง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ให้มีองค์กรไตรภาคียอมรับแนวปฏิบัติ สหภาพแรงงานในประเทศต่างๆ สหรัฐฯ เดนมาร์ก แคนาดา เยอรมัน ออสเตรเลีย ฯลฯ นำหลักการไปปฏิบัติจริงในประเทศ โดยแนวปฏิบัติ ข้อเสนอของ ITUC มีดังนี้การลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนต้องเน้นที่การสร้างงาน/สถานประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การประเมินล่วงหน้าถึงผลกระทบของนโยบายปกป้องสิ่งแวดล้อมต่อการจ้างงาน แล้ววางแผนล่วงหน้า เพื่อชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ มีการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างกว้างขวาง เกิดการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพใหม่ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ เกิดการคุ้มครองทางสังคม และแผนปรับตัวสำหรับผู้ได้รับผลกระทบต้องหลากหลายสำหรับแต่ละพื้นที่ เพื่อคุ้มครองเศรษฐกิจของชุมชนต่างๆ
ตัวอย่างในต่างประเทศ – สหรัฐอเมริกา ข้อแนะนำสำหรับคนงานใช้ต่อรองในการปิดเหมืองถ่านหิน ต้องเจรจาทำข้อตกลงเรื่องงานกับสหภาพที่เป็นตัวแทนคนงานที่ได้รับผลกระทบ อบรมอาชีพใหม่ และหางานใหม่ให้คนงาน ถ้าเขาต้องการ ให้บำนาญที่เป็นธรรม และการดูแลสุขภาพแก่คนงานที่ไม่มีงานใหม่และเลือกที่จะไม่อบรมฝึกอาชีพใหม่ มีการสร้างงานที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูพื้นที่นั้น ต้องให้ทุนส่งเสริมการสร้างอาชีพและพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน และต้องให้ความสำคัญกับ “การสร้างงานที่ดีและเลี้ยงดูครอบครัวได้” มากกว่า การอบรม อย่างเช่น การปฏิบัติ – นโยบายเศรษฐกิจ – เดนมาร์ก คือ มีนโยบายเปลี่ยนการผลิตพลังงานจากถ่านหินเป็นพลังงานลม เริ่มประมาณปี 1970s ถึงปี 2015 ลดพลังงานถ่านหินลงครึ่งหนึ่ง เพิ่มพลังงานลมร้อยละ 40 จ้างงานคนได้กว่า 30,000 คน และยังเป็นผู้ผลิตกังหันลมเพื่อการค้ารายใหญ่ของโลก ในกระบวนการปรึกษาหารือเพื่อปรับโครงสร้าง คนงานมีส่วนร่วม จึงกระตือรือร้นและสนับสนุนนโยบายนี้ เป็นต้น
ตัวอย่าง เยอรมนี คนงานเหมืองถ่านหินและเหล็ก จัดทำนโยบายโดยปรึกษาหารือทุกภาคส่วน ก่อนตัดสินใจนโยบายสำคัญ 4 ข้อ
- อุดหนุนค่าจ้างให้แก่การจ้างคนว่างงานและคนที่เสี่ยงจะว่างงาน
- นโยบายตลาดแรงงานสนับสนุนการพัฒนาสถานประกอบการ
- สนับสนุนการจ้างงานพร้อมกับโครงสร้างพื้นฐาน
- การพัฒนาแบบบูรณาการของพื้นที่เมืองที่เป็นปัญหา
โดยปัจจัยสำคัญ สำหรับคนใกล้เกษียณ – สนับสนุนการเกษียณก่อนอายุกำหนด โดยมีแผนคุ้มครองรายได้ สำหรับคนที่อายุยังน้อย – มีแผนพัฒนาบุคลากรให้สามารถปรับเข้ากับงานใหม่ได้ใช้เวลา 40 ปี ลดจำนวนคนงานจาก 3.9 แสน เหลือ 3.9 หมื่น
การทำงานเรื่อง “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม” ในประเทศไทย ปี 2560 รายงานการศึกษาเบื้องต้น ประเมินผลกระทบ โดย FES ร่วมกับ รศ.ดร. นิรมล และ รศ.ดร. กิริยา (คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์) ปี 2560 การเผยแพร่ข้อมูลความรู้เบื้องต้น ในเว็บไซต์วอยซ์เลเบอร์ โดย พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกัน FES ปี 2561 – โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน