เวทีสานเสวนา กรณี “บทเรียน 15 ปี คดีกลุ่มผู้ป่วยปอดอักเสบจากโรงงานทอผ้า สังคมไทยได้เรียนรู้อะไร กับสิทธิทดแทนที่เป็นธรรม”
วันที่ 5 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 จัดโดย สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมฯ สมัชชาคนจน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิบูรณนิเวศ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มูลนิธิอารมณ์พงษ์พงัน และ โครงการนิติธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนโดย โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนแรงงานเพื่อคุ้มครองสุขภาพและสวัสดิการแรงงาน สถานที่ ณ .ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร
บนเวทีวิทยากรคนแรก คุณสมบุญ สีคำดอกแค ได้ฉายภาพการรวมกลุ่มผลักดันการเข้าถึงสิทธิในนามสมัชชาคนจนเพราะระยะแรกผู้คนไม่เข้าใจ การเข้าถึงสิทธิยากมาก และการดำเนินการทางขบวนการศาลที่ต้องใช้ความอดทนระยะยาว ทั้งที่คนป่วยต้องศูนย์เสียสุขภาพและสภาพจิตใจ มีปัญหามากมาย การเรียกร้องนำมาสู่การเรียกร้องในระดับนโยบาย สิ่งที่คนป่วยมิลืมที่หลายท่านได้ให้การสนับสนุนและกำลังใจกับกลุ่มผู้ป่วย จึงทำให้ผู้ป่วยไม่โดเดี่ยว โดยเฉพาะ คุณจะเด็จ พี่มด วนิดา ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน อาจารย์วรวิทย์ เจริญเลิศและแพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุลที่ยังอยู่ในใจผู้ป่วยเสมอ ถ้าไม่มีอาจารย์หมอก็คงไม่มีวันนี้ คุณจะเด็จ เชาน์วิไล ได้เข้ามาเจอปัญหาผู้ป่วย โดยเฉพาะคุณการเกต พวงจำปี ที่ทำงานในโรงทอแถวสมุทรปราการ ที่สูญเสียปอดไปถึง 70% และลงมาช่วยกลุ่มผู้ป่วย อย่างท่านอาจารย์ไพโรจน์ พลเพชร ได้อภิปรายให้ข้อคิดเห็นว่าประเด็นที่กลุ่มคนป่วยเรียกร้องทีแรกนั้นได้หายไปคือการให้โรงงานปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และความเป็นธรรมกระบวนการศาลที่ต้องมีการพัฒนาการที่สะดวกรวดเร็วและเป็นธรรมมากขึ้น ท่านอาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปะกุล แสดงความเห็นว่าเมืองไทยเรายังไม่มีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ศาลไม่เหมือนในต่างประเทศ ต้องพูดแบบวิชาการแต่ผู้ถูกผลกระทบพูดไม่ได้ คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้งให้ความเห็นว่าประเด็นที่สำคัญในการได้รับชัยชนะของคนป่วยที่สามารถต่อสู้มาได้ถึง 15 ปีเพราะต้องมีความสมัครสมานสามัคคีพร้อมใจกันมุ่งมั่น ท่านอาจารย์วรวิทย์ เจริญเลิศ ให้ความเห็นว่า
ท่านอาจารย์วรวิทย์ เจริญเลิศ แสดงความเห็นว่าการรวมตัวกันตั้งองค์กร เป็นสิ่งสำคัญ และต่อไปคนป่วยก็ต้องดูแลสุขภาพ กฎหมายเงินทดแทนก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข การเรียกร้องสิทธิ และทำงานเผยแพร่ป้องกัน นโยบายจึงเป็นกฎหมายหลายฉบับ เช่น พรบ.ความปลอดภัยฯการให้เกิดการจัดตั้งสถาบันฯที่เข้าไปเป็นกรรมาธิการนับว่าเป็นการตั้งองค์กร เพื่อมาทำงานด้านการส่งเสริมป้องกัน ยังมีกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 44 ที่ระบุให้คนงานต้องได้รับสวัสดิการด้านความปลอดภัยและการได้รับค่ายังชีพทั้งระหว่างทำงานและเมื่อพ้นสภาพการทำงานแล้ว ซึ่งบนเวทีอภิปรายผู้ทำหน้าที่ดำเนินการอภิปรายได้ดีมากคือ คุณบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ที่สำคัญในวันนี้มีพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ร่วมงานนี้เกือบ 200 คน ทั้งมีนักข่าวสื่อมวลชนสนใจมาทำข่าวกันมาก ในวันนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์จาก สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์มาถ่ายทอดสดรายการวิทยุเสียงกรรมกร ด้วยในนามสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยต้องขอขอบคุณทุกๆท่านที่มาร่วมงาน และขอบคุณโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนแรงงานเพื่อคุ้มครองสุขภาพและสวัสดิการแรงงาน ที่สนับสนุนเวทีครั้งนี้
สมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย