โดย วาสนา ลำดี
วันที่ 23 สิงหาคม 2563 ห้องประชุมอีสติน แกรนด์บอลรูม โรงแรมอีสติน มักกะสัน กทม.ได้มีการจัดเสวนา แรงงานกับการพัฒนาทักษะสู่อาชีพใหม่หลังโควิด จัดโดย วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)
นางเวสน่า โรดิช ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวว่า การที่ได้มาคุยกัน เริ่มด้วยมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น และการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรรมให้สำเร็จต้องมีการทำงาน ซึ่งคนทำงานต้องมีศักยภาพ รู้สึกประทับใจถึงความร่วมมือทั้งภาคประชาสังคม และภาคแรงงานในการที่มีการกระตือรือร้นในการที่จะพัฒนาทักษฝีมือแรงงาน และความพยายามในการร่วมมือในการรับมือกับโรคระบาดเป็นอย่างดี แม้วันนี้จะมีผลกระทบก็ยังมีความร่วมมือในการที่จะกล่าวถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่องานในอนาคตด้วย
ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เป็นการทำงานหลากหลายภาคีทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน ภาครัฐธุรกิจ และภาคแรงงานที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งอยากคิดดังๆในสถานการณ์ที่โควิคจะอยู่กับเราไปอีกนาน จะมีการปรับสกิวกันอย่างไร การที่จะเปลี่ยนจากแรงงานในระบบเป็นแรงงานนอกระบบ สถานการณ์เปลี่ยนผุ้ใช้แรงงานจะปรับตัวกันอย่างไร ซึ่งด้วยระบบของประเทศยังไม่มีความเอื้อต่อการดูแลแรงงาน เมื่อต้องออกมาอยู่นอกระบบ และคนที่เป็นแรงงานนั้นมีความแตกต่างกับคนที่เป็นเกษตรกรอย่างชัดเจน ด้วยชนบทยังมีปัจจัยการผลิตอยู่ด้วยมีการสร้างความมั่นคงทางอาหารได้ส่วนหนึ่ง แต่คนในเมืองไม่มีตรงนี้เลย แล้วจะมีเศรษฐศาสตร์แบบไหนที่จะสร้างเศรษฐกิจแบบนี้ ซึ่งได้เคยเห็นคนโซลิดาริตี้อีโคดิมี่ที่มีการจับมือกันในหลายภาคส่วนที่จะมีความร่วมมือกันสร้างความร่วมมือกันเพื่อดูแลคุณภาพชีวิต และสวัสดิการร่วมกันได้ เป็นกลุ่มที่ร่วมมือและแรงงานเป็นคนริเริ่ม
หลังจากชมวิดีทัศน์ ปัญหาและความต้องการพัฒนาฝีมือของแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ต่อด้วยการเสวนา การพัฒนาฝีมือแรงงาน และจัดหางาน –ทำไมต้องทำและทำอย่างไร
รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การระบาดของโควิดยังคงอยู่ แม้ว่า ประเทศไทยจะควบคุมได้แล้วก็ตาม ซึ่งตัวตั้งต้นยังเป็นปัญหาหากประเทศไทยเปิดประเทศก็อาจระบาดอีกครั้ง และทำให้กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆยังมีปัญหา และแรงงานทุกคนมีรายได้เฉลียลดลง ช่วงเมษายน – พฤษภาคม 2563 ยังติดลบอยู่ 7.5% แย่กว่าที่คิด ประเทศรอบประเทศไทยก็ติดลบอยู่ เช่นกัน มีแต่ประเทศเวียดนามที่บวกอยู่ 3% เท่านั้น นอกนั้นติดลบหมด
จริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีความล่าช้าที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยว ปัญหาที่สองคือ ภาคเกษตรมีภัยแล้ง การที่แรงงานตกงาน แรงงานไม่มีรายได้ก็ไม่มีกำลังซื้อ เพื่อกระตุ่นเศรษฐกิจ และแรงงานก็มีหนี้ครัวเรือน ปัญหาระดับโลกยังมีสงครามทางการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศจีน เมื่อไม่มีกำลังซื้อภายในประเทศ ส่งออกก็ไม่ได้ อุตสาหกรรมก็ปิดตัวลง ซึ่งคิดว่า หากจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นต้องใช้เวลานานถึง 3-5 ปี ซึ่งลัษณะการฟื้นตัวอาจเป็นแบบตัวไอคือค่อยๆฟื้น แต่การจ้างงานอาจไม่เหมือนเดิม ด้วยเหตุ ที่โรงงานต่างๆปรับตัวไปพร้อมด้วย คือการใช้เทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนการจ้างงานคนแล้ว อาจเป็นเศรษฐกิจผลผลิตโต แต่การจ้างงานลดลง เป็นความน่ากลัวในการที่จะลดการจ้างงาน การลดชั่วโมงการทำงานลง ไม่จ้างงานเต็มเวลา เพิ่มเป็น 2% เพิ่มขึ้น และร้อยละ 54 เป็นคนว่างงานจากภาคบริการ และค้าปลีกค้าส่ง และคนที่ว่างงานส่วนใหญ่อายุมากว่า 40 ปี มีระดับการศึกษาน้อยระดับมัธยมต้นเอง คนที่รับสิทธิกรณีว่างงานเพิ่มมากขึ้น หลังนายจ้างใช้เหตุสุดวิสัยประกันสังคมให้ลูกจ้างรับ 62 %ของค่าจ้าง รัฐบาลให้แรงงานนอกระบบรับ 5 พันบาท รวมถึงกรณีคนงานที่ส่งสมทบประกันสังคมไม่ครบ 6 เดือน ซึ่งกลุ่มที่มีความเสี่ยงอยู่ที่ ที่ถูกเลิกจ้างแน่นอน 2 ล้านคน และยานยนต์ก็น่าจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงด้วย แต่ว่าอาจไม่เลวร้ายถึง 8 ล้านคนที่จะถูกเลิกจ้าง ซึ่งก็มีภาคเกษตรกรรมที่ยังพอจะรองรับกลุ่มคนตกงานได้บ้าง
การวางแผนชีวิต ก็มีกล่าวถึงการทำงานฟรีแลนซ์ งานค้าขาย เป็นต้น และกลุ่มคนแรงงานเริ่มไม่มั่นใจในการมีงานทำ มีแนวคิดหางานเสริมมากขึ้น และมีแนวโน้ม ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ที่จ้างงานเพิ่มขึ้นคือ ดิจิตอลเท่านั้น กลุ่มยานยนต์จะมีการจ้างงานลดลง ตอนนี้อาจมีการรักษา แต่หลังจากนี้ จะมีการปรับองค์กรใหม่ และหลังจากนี้จะมีการลดองค์กร ลดพนักงานลง การจ้างงานแบบจ่ายค่าจ้างสูงขึ้น แต่ต้องเป็นคนที่ทำงานได้ในทักษะหลากหลาย จากการจ้างงานชั่วโมง เป็นรายเดือน เน้นงานออนไลน์ มีการแบ่งงานคนที่มีทักษะให้ทำงานได้หลายที่ และมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะหลากหลาย การใช้เงินจะผ่านอีเพย์เมนต์ อินเตอร์เน็ตโมบายแบงก์กิ้งมากขึ้น ตอนนี้การขยายตัวผลกระทบทั้งสายการบิน การโรงแรมมากขึ้น ระบบแพลตฟอร์มไม่ได้รับผลกระทบ วิกฤตครั้งนี้ต้องเผชิญไปอีก 3-5 ปี ไม่มีฮีโร่ รัฐบาลก็ไม่สามารถช่วยได้ ยอมรับความจริงว่าโลกกระทบ และต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อให้ผ่านไปด้วยกัน
กรณีรัฐจะหางานให้ลูกหลานทำได้อย่างไร ภาครัฐอาจมีลงทะเบียนไทยมีงานทำ ซึ่งก็จะมีการจับคู่กันระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง โดยกำหนดเสร็จกลางเดือนสิงหาคม 2563 เป็นแพลตฟอร์มที่เราทำได้ ซึ่งในต่างประเทศมีเว็บไซต์ในการที่จะต้องการเปลี่ยนงาน หรือตกงานก็หางานได้ ที่อเมริกา ก็จะมีให้กรอกว่าจะอยากเป็นอะไร และมีให้กรอกว่าต้องการพัฒนาฝีมือแบบไหน และหากไม่รู้ก็ให้กรอกข้อมูลความต้องการ มีการประมวลให้เสร็จว่า เหมาะกับอาชีพแบบไหน งานแบบนี้ต้องมีลักษณะแบบไหน ทักษะความรู้แบบไหน ความสามารถด้านภาษา การสื่อสารแบบไหน บุคลิกควรเป็นอย่างไร การศึกษาที่ต้องการ หากไม่มีก็จะมีข้อมูลให้ไปอบรมพัฒนา งานมีอนาคตหรือไม่ และเงินเดือนเท่าไร พื้นที่บริษัทที่จ้างงานตรงนี้อยู่ที่ไหนจังหวัดอะไรก็จะประกอบให้เห็นชัดขึ้น
นายวุฒิศักดิ์ ปฐมศาสตร์ กรมการจัดหางาน กล่าวว่า ช่วงโควิด เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงจริง และคนก็ไม่ได้มีการเตรียมตัวในการที่จะรองรับ และช่วงก่อนโควิดก็มีการคุยกันเรื่องที่มีการเปลี่ยนเทคโนโลยีที่มากระทบกับคน และมีการมองมาที่กระทรวงแรงงานให้มีการดูแล กับคนที่จะสามารถไปต่อได้ และกลุ่มที่ไปต่อไม่ได้จะดูแลกันอย่างไร ซึ่งมองว่า กระทรวงมีข้อมูล ในการที่จะทำงาน การส่งเสริมการมีงานทำ การเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาจะมีการเตรียมความพร้อมอย่างไร ทั้งคนที่ตกงาน และคนที่จบใหม่ ที่จะเข้ามาสู่อาชีพต้องรู้ว่า เขาต้องการปรับเปลี่ยนและทำอะไร ซึ่งทางกรมฯได้ลงพื้นที่เข้าไปดู การจัดหางานก็มีความพยายามที่จะทำให้คนสู่งานที่ต้องการทำได้ และการเข้าไปดูจะพบว่า กลุ่มแรงงานที่ไม่สามมารถไปหางานทำได้ คนที่หางานได้ก็ไม่มาหางานที่กรมฯ ซึ่งคนทำงานภาครัฐก็มีความพยายามที่จะขอเป็นตัวกลางในการจัดหางานให้ทุกคนมีงานทำ และทำให้คนหางานเข้าถึงข้อมูล ซึ่งกรมฯมีการทำแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นฐานข้อมูล เพื่อให้มีการช่วยเหลือได้เร็วมากขึ้น ซึ่งเป็นเพราะข้อมูลกระจัดกระจายทำให้เข้าถึงข้อมูลล่าช้าก็เลยจะมีการขยายให้ถึงนายจ้างที่ต้องการแรงงาน ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะเป็นแพลตฟอร์มเดียวในการสมัครงาน หางาน นายจ้างหาลูกจ้างสามมารถทำได้เลย กรณีที่มีการพูดถึงอาชีพเสริม THAIมีงานทำ เป็นงานที่มีเงินกู้ 4 แสนล้านบาท เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สมัครงานตรงรู้ได้ มี่หลักสูตรอบรมทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ และทุกคนต้องเข้ามาสู่เทคโนโลยีแล้ว
กรมฯมีการส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งก็มีการทำงานกับกลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มคนรับงานไปทำที่บ้านให้เข้าถึงเงินกู้
กลุ่มหนึ่งก็คนงานที่ถูกส่งให้ไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งนายจ้างก็ชื่นชมว่า แรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ แล้วกลับมาจะมีวินัยในการทำงานมากขึ้น แต่ก็มีบ้างส่วนที่เรียกร้องของปรับค่าจ้างที่สูงขึ้น และแรงงานที่ไปส่วนใหญ่อายุมาก การไปทำงานเพราะต้องการให้เป็นงานที่มีฝีมือไม่ใช่รายได้ที่สูงขึ้น
อีกประเด็น คือ การดูแลแรงงานก็อาจต้องดูแลคนไทยก่อน ซึ่งแรงงานต่างด้าวหากงานไหนคนไทยทำต้องให้คนไทยก่อน ซึ่งการจ้างงานหากนายจ้างต้องการต้องรับคนไทยก่อน หากคนไทยไม่ทำค่อยเป็นแรงงานต่างด้าวใ ซึ่งตอนนี้แรงงานต่างด้าวที่มีอยู่ก็ต้องให้เขาทำงานไปก่อน แต่ยังไม่มีการรับเพิ่มเข้ามา ซึ่งอาจมีการดำเนินคดีกับแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานห่วงห้ามที่เป็นงานของคนไทย
นายเฉลิมพงษ์ บุญรอด กรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า การพัฒนาฝีมือแรงงานต้องทำทั้งระดับสูงถึงระดับรากหญ้า รวมหน่วยงานหลากหลายด้วย แต่ภาพรวมของการพัฒนาฝีมือแรงงาน คือ การทำให้คนทำงานมีวิสัย และมีฝีมือการทำงาน และเท่าทันเทคโนโลยี เพื่อการทำงาน มีหน่วยทุกหน่วยมารวมกัน และมาตรฐานฝีมือแรงงาน มีการประกาศการรับรับความรู้ความสามารถ ซึ่งคนที่จะผ่านต้องมีประสบการณ์ การพัฒนาตัวเอง และการอบรม ต้องมีการผ่านมาตรฐานก่อนที่จะออกไปทำงานได้ อย่างการเดินไฟในอาคาร ซึ่งตอนนี้ได้ แสนกว่าคนได้รับการรับรอง ต่อไปก็ช่างแอร์ และช่างรถยนต์ ซึ่งต้องมีการ รับรองการทำงานที่มีมาตรฐานฝีมือ มีสถาบันในการพัฒนาอบรมมี 964 แนวทาง หลักสูตรในการฝึกอบรม มีการกระจายนไปทั่วประเทศ และสามามารถเข้าไปใช้บริการได้ ผ่านศูนย์ มีศูนย์ฝึกคูโบต้าที่พัฒนาคนขับทั้งรถเกี่ยว รถปลูก หากไม่มีรถก้สามารถที่จะเช่า หรือคูโบต้ามีรถให้รับจ้างได้ ยังมีการพัฒนาฝีมือคนทำอาหาร นวดที่มีความต้องการสูงมาก และได้มีการขอเงินไปที่สถาพัฒนาเศรษฐกิจฯ 4 พันกว่าล้านบาทเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ฯลฯ การทำงานออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งเงินกู้ใน 4 แสนล้านจะได้ 1 พันกว่าล้าน ในการที่จะมาดูเรื่องการทำงานผ่านระบบดิจิตอล ระบบออนไลน์ ต้องให้คนได้ใช้สมาร์ทโฟน เพื่อการค้าขายได้
เรื่องการเข้าถึงการพัฒนาฝีมือแรงงานมี 81 ศูนย์ ที่ดูแลหุ่นยนต์ มีสถาบันในการพัฒนาฝีมือแรงงานยานยนต์ และมีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่เข้าถึงทุกสาขาอาชีพ และมีแอพพลิเคชั่นในการทำให้เข้าถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน การพัฒนาอบรมจะทำผ่านนายจ้างทำให้คนงานจำนวนหนึ่งไม่มีโอกาส และไม่ทราบว่า มีการพัฒนาฝีมือแรงงานเหล่านี้ จึงได้มีความพยายามที่จะเข้าถึงกลุ่มมเป้าหมายในการที่จะพัฒนา และอยากให้รวมกลุ่มกันเข้ามามาต้องการพัฒนาฝีมืออะไร เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง
การพัฒนาอาชีพ ฝึกอบรม ซึ่งตอนนี้งบประมาณยังไม่ลงมาที่กรมฯเลย ซึ่งก็มีการตั้งงบพิเศษในการอบรมให้ก่อน ตอนนี้รองบประมาณลงมาอยู่ ในส่วนของต่างจังหวัดมีการตั้งพัฒนาฝีมือแรงงานประจำอำเภอเพื่อให้เกิดความทั่วถึง ซึ่งการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีการประชุม ผู้แทนในอำเภอก็จะมีการเสนอว่า มีการพัฒนาฝีมืออย่างไรบ้าง ซึ่งในพิษณุโลกมีการทำอยู่ ซึ่งจะมีการเสนอผู้ใหญ่ให้มีการปรับดู
นายวิเชียร เจษฎากานต์ เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรณีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นหลังจากอุณหภูมิภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้น และในสัตว์ยังไม่ได้มีวัคซีนในการที่จะรองรับ ต้องช่วยตนเองในการดูแล ก็มีการดูแลและให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันได้ แต่คนไม่ได้ต้องมีการผลิตวัคซีนซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่สามารถพัฒนาได้ และไวรัสก็มีการพัฒนาตนเองที่จะสร้างสายพันธุ์ใหม่ตลอดเวลา และวัคซีนก็ยังไม่ออกมา แม้มีก็ยังคงอาจไม่ได้ครอบคลุมป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ด้วยระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยน การปรับฝีมือแรงงานก็ยังไม่แน่ใจว่าจะทำให้คนมีงานทำ และเงิน 4 แสนล้านบาท ที่รัฐจัดสรรจากพรบ.เงินกู ซึ่งงบประมาณนี้อยู่ในมือรัฐทั้งหมด เป็นการส่งเสริมทั้งหมดทั้ง มองว่าไม่ยั่งยืน ไม่ตอบเจตนาของการร่างแผน แล้วจะทำอย่างไรให้ภาคเอกชนทำ ซึ่งอย่างไรก็เป็นโครงการที่รัฐทำอยู่ดี ซึ่งจะทำอย่างไรให้คนมีทักษะเพิ่ม โดยต้องตั้งดีมานเทียมอย่างเช่นผลิตเสื้อผ้านักเรียนเพื่อแจกเด็กทั่วประเทศ หรือโครงการอะไรที่เกิดการจ้างงาน และมีการใช้จริง ซึ่งตอนนี้มีโครงการทำทางสร้างถนน มีการรื้อถนนที่ดีอยู่แล้ว และสร้างใหม่ให้ดีเท่าเดิมหรือแย่กว่าเดิม ซึ่งมันมีดีอยู่แล้ว ที่ไม่ดีก็ไม่ว่า แต่การนำเงินมาสร้างงาน จ้างคนจริงๆต้องทำอย่างการพัฒนา
ตนได้มีการทำกรอบคิดมา คือท่ามกลางสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นมีคนตกงาน มีกระบวนการผลิตเกิดขึ้น แต่ว่าการขนส่งยังเป็นจุดอ่อน ทำให้ตอนนี้อีคอมเมิร์ชที่มาขนส่งเป็นของคนต่างประเทศ และประเทศไทยยังคงเก็บภาษีเขาไม่ได้และเสียประโยชน์มหาศาล ประเทศไทยต้องมีการปฏิรูประบบขนส่งไปรษณีย์ และงานที่จำเป็นคือ งานที่ทำให้คนไทยเข้าถึงกระบวนการผลิตที่แท้จริง และผักที่กินมีสารพิษ ทำให้คนป่วยเป็นมะเร็งจำนวนมาก จากอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงคิดว่า ควรมีการสร้างระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัยขึ้น และมีการสร้างระบบอีคอมเมิร์ชของไทยเอง มีการสร้างตลาดให้กับชุมชน ซึ่งได้เพียงนิดหน่อยในการเน้นการสร้างอาหารที่ปลอดภัย และมีระบบขนส่งผ่านระบบขนส่งของไทย และสถานีรถไฟควรมีนัดการขายอาหารปลอดภัยในแต่ละจังหวัดนั้นๆ ช่วยทั้งการท่องเที่ยวด้วย และการค้าขายท่องถิ่นด้วย
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ยังคงทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ทำให้ไม่เห็นเนื้องาน ทำให้อาชีพที่อยู่ในชุมชนเป็นงานที่ต้องฝึกอบรม ต้องดูว่าเขาต้องการพัฒนาฝีมือด้านใด เพื่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งบางพื้นที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวก็ควรต้องส่งเสริมอย่างโฮมสเตย์ เป็นหลักคิดที่ดี ต้องส่งเสริม OTOPต้องดึงดูดคนเข้าไปพื้นที่ เพื่อเป็นการจัดการความเสี่ยงและลดต้นทุน คนต้องการที่จะเข้าสู่วิถีชีวิตชนบท ต้องทำจริง ลงทุนจริงไม่ใช่ทำแบบมั่วๆ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างรถไฟฟ้าเราก็ทำเองกันได้ ทั้งมอเตอร์แบ็ตเตอรี่เราสามารถทำได้ เพื่อให้เกิดขึ้นได้จริง และสร้างระบบนิเวศได้ เพราะเราผลิตพลังงานเองได้ผ่านโซล่าเซลที่ทำให้คนเป็นเจ้าของพลังงานเองได้ เรามีไบโอแก้สที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงชาวบ้านผลิตไฟฟ้าได้เอง เพื่อลดการลบริโภคพลังงานได้มหาศาล
ช่วงบ่าย เสวนาเรื่อง ” แรงงานกับการพัฒนาทักษะสู่อาชีพใหม่หลังโควิด ” “ตัวอย่างที่ดีจากฝ่ายแรงงาน
นางสาวอรุณี ศรีโต สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า เคยอยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเกรียง และตกงานปี 2543 ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากต้มยำกุ้ง ตกงานมา 20 กว่าปีแล้ว ก่อนที่จะออกจากงานกฎหมายคุ้มครองแรงงานยังไมมีเรื่องปิดเทอมหยุดงานจ่าย 75% ด้วยไทยเกรียงตอนนั้นมีการปิดงานแล้วนายจ้างจ่าย 50% ช่วงแรกดีใจว่าหยุดแล้วได้เงิน พอ 3 เดือนก็ไม่ไหวไม่มีเงินใช้กัฟนก็มีการชุมนุม และมีการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานปี 2540 พร้อมทั้งมีการเพิ่มเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิมไม่ว่าจะทำงานได้กี่ปีก็ได้รับค่าชดเชยเพียง 6 เดือน เพื่อให้มีการเพิ่มขึ้นของค่าชดเชยซึ่งปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 400 วันหากทำงานมามากกว่า 10 เดือน แต่เรื่องตกงานไม่ใช่เรื่องใหม่ ขอบอกว่าตกงานต้องไม่ตกใจมีสติ โรงงานไม่ใช่ของเรา การที่จะฝึกอาชีพ ชีวิตต้องเดินหน้า รวมกลุ่มกันให้ได้ ปี 2543 คนตกงาน 500 คนอยู่กับเรา คนงานไม่มีทุนไม่มีเงินออมเลย เมื่อออกมาครึ่งเดือนก็แย่แล้ว ตนก็ต้องไปเจรจากับรัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการเพื่อไม่ให้เก็บค่าเทอมลูก ซึ่งครั้งนี้น่าจะอีกหลายปีที่จะมีการเลิกจ้างตกงาน ตอนนี้ก็ทยอยเลิกจ้างบ้างแล้วต้องตั้งสติให้ดี กรมพัฒนาฝีมือแรงงานขึ้นอยู่กับรับมนตรีช่วย ซึ่งเป็นผู้หญิง เพื่อขอให้มีการพัฒนาฝึกอาชีพ เมื่อเราอยู่ในระบบทุนนิยมความแน่นอนในการจ้างงาน การตกงานได้เมื่อนายจ้างรู้สึกว่าเขาขาดทุน การรวมกลุ่มกันเพื่อที่จะมีการเรียกร้องต่อรองให้มีการฝึกอาชีพ การดูแลสิทธิ ซึ่งโดยอาชีพการพัฒนาฝีมือต้องไม่ใช่ทำแบบเดียวกัน เย็บผ้าก็รายได้ไม่พอวันละ 120 บาท อาชีพที่รอดไปได้คือการพัฒนาฝีมือนวดแผนโบราณ เป็นอาชีพที่ยั่งยืน คนไทยเกรียงได้ไปที่มาเล เกาะสมุย ภูเก็ต เปิดร้านนวดเดือนละ 2-3 หมื่นบ้าน ตอนนี้ก็สามารถปรับเป็นนวดสปาด้วย
การจะพัฒนาอาชีพต้องดูว่าอาชีพไหนไปได้ อย่างเคยขอให้มีการพัฒนาด้านซ่อมมือถือ เป็นช่าง แต่ว่าตอนนั้นไม่มีแนวการส่งเสริมตรงนี้ ตอนนี้คนขับรถมอเตอร์ไซค์เพิ่มขึ้นมากในช่งโควิด-19 รายได้น้อยลงกว่าเดิมด้วยคนขับรถรับจ้างเพิ่มขึ้น ส่วนคนที่ยังไม่ตกงาน ต้องตั้งหลักมีการออมเงินไว้บ้าง ซึ่งเงินออมามาจากการลดดื่มเบียร์ กินเหล้า สูบบุหรี่ เพื่อเก็บเงินออม จากการที่ตกงานไม่สามารถกู้เงินได้ก็มารวมกันตั้งกลุ่มออมทรัพย์จากปี 2543 ได้เงิน 1,700 บาทวันนี้มีเงินตั้งหลายล้านบาทในกลุ่ม เพื่อที่จะช่วยเหลือกันในกลุ่ม ตกงานอย่าตกใจ ไปหารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เกิดการดูแลหาทางออกร่วมกัน
นางสาวศิริจรรยาพร แจ้งทองหลาง เลขาธิการสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า ที่มาของการฝึกอาชีพทางเลือก คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ทราบดีอยู่แล้ว ว่าเมื่อปี 2560เป็นต้นมา ออเดอร์ผลิตสินค้าลดลงในส่วนของการใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ในกระบวนการผลิตทำให้โอทีลดน้อยลง ซึ่งต้องยอมรับว่า แรงงานส่วนใหญ่ที่ทำงานในโรงงานอยู่ได้เพราะมีโอที สหภาพแรงงานเมื่อเรียกร้องก็จะเรียกร้องสวัสดิการ ที่เป็นตัวเงินต่างๆ ซึ่งเป็นการขอจากนายจ้างฝ่ายเดียวแต่ก็ขึ้นอยู่กับผลประกอบการจ้างนายจ้างด้วย และไม่มีอะไรที่จะมาบอกถึงความแน่นอนได้ ว่ายอดขายดีหรือไม่ได้เท่าไรต้นทุนการผลิตเท่าไร สหภาพแรงงานจึงได้มีการปรึกษาหารือกันเพื่อที่จะให้สมาชิกสหภาพแรงงานได้ใช้เวลาวันหยุด มีทางเหลือที่จะเพิ่มรายได้ในการทำอาชีพเสริม โดยสหภาพแรงงานฯได้ออกแบบสอบถามกับสมาชิกถึงความต้องการพัฒนาอาชีพเสริมด้านใดบ้าง ซึ่งที่ตอบกลับมาไม่ถึง 50% ซึ่งเราก็นำมาเป็นข้อมูลเพื่อให้เห็นว่าอาชีพที่เขาต้องการทำนั้น โดยมองจากการที่เราเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย และการจ้างงานของนายจ้างที่เปลี่ยนไปด้วยการจ้างงานคนรุ่นใหม่จะเป็นการจ้างงานแบบไม่ประจำแล้ว ใช้การจ้างงานเหมาค่าแรง ทำให้เห็นว่าความไม่มั่นคงในการมีงานทำเริ่มขึ้นแล้ว การทำงานเมื่อเรามีอายุมากขึ้นทำงานหนักขึ้นก็ทำให้สภาพร่างกายเราเองก็ไม่เหมือนเดิมกำลังวังชาลดลง
สหภาพแรงงานเองก็เห็นว่าบทบาทสหภาพแรงงานที่มีการเรียกร้องด้านสวัสดิการ ค่าจ้าง และโบนัส และคิดว่าความรู้ที่เราสามารถให้กับสมาชิกได้นอกจากเงินงบประมาณที่สหภาพแรงงานฯพอมี ด้วยเนื่องจากสหภาพแรงงานฯเก็บค่าบำรุงเป็นระบบเปอร์เซ็นต์ จึงได้มีการแบ่งงบประมาณออกมาเพื่อทำการทดลองในการฝึกอาชีพ แรกเริ่มก็ได้ประสานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้มาช่วยในการพัฒนาฝีมือแรงงานแต่ว่าไม่ได้รับคำตอบที่จะมาช่วยในการพัฒนาฯที่ตอบโจทย์ของคนงานอย่างแท้จริง เช่นต้องกรอกใบสมัคร เงื่อนไขที่ต้องไม่ใช่แรงงานในบริษัทเดียวกัน ซึ่งก็เข้าจ่ากรมพัฒนาฯต้องการที่จะกระจายความช่วยเหลือให้คนงานทุกกลุ่มเข้าถึงสิทธิในการที่จะพัฒนาอาชีพทำให้มีข้อจำกัดเพราะเราก็ต้องการที่จะให้พัฒนาสมาชิกสหภาพฯของเราทั้งรุ่น 20-30 คนซึ่งกรมพัฒนาฯไม่สามารถทำได้ และที่สำคัญคือต้องมีการสอบวัดระดับด้วย ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดของคนงานที่ต้องสอบวัดความสามารถและสอบข้อเขียนอีก
จากการที่ได้ปรึกษากันก็ไปติดต่อในส่วนของวิทยาลัยสาระพัดช่าง ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งก็ได้รับการตอบรับ และได้รับความร่วมมือ แน่นอนก็มีงบประมาณค่าใช้จ่ายเนื่องจากขอให้ทางวิทยาลัยมาช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดจึงมีค่าใช้จ่ายเรื่องค่าอุปกรณ์ และค่าวิทยากร แต่ก็อยู่ในงบประมาณที่สามารถต่อรองกันได้ ซึ่งวิทยาลัยก็แจ้งมาว่าหากสหภาพแรงงานฯไม่มีงบประมาณก็ให้แจ้งได้ ทางวิทยาลัยยินดีที่จะฝึกอบรมให้ ซึ่งหลักสูตรดังนี้ ช่างซ่อมบำรุงเครืองปรับอากาศ หรือช่างแอร์ ทำอาหาร เช่น เบอเกอรี่ ช่างตัดผมชาย และหลักสูตรเหลี่ยมกรอบพระเพิ่มขึ้นด้วย แต่ละหลักสูตรเรียนวันอาทิตย์วันละ 5-6 ชั่วโมง รวมเป็น 30 ชั่วโมง แล้วก็ได้รับใบรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ เงื่อนไขที่ได้มีการคุยกันในส่วนของสหภาพแรงงานคือเงินนี้เป็นเงินจากค่าบำรุงสมาชิก ซึ่งสมาชิกที่ลงชื่อรียนต้องไปเรียนตามวันเวลานั้นให้ครบหลักสูตรด้วยหากไปไม่ครบสมาชิกต้องจ่ายเงินตามที่สหภาพคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อหัวคืนให้กับสหภาพฯด้วย เพื่อเงินนี้จะไดห้ให้สมาชิกที่ไม่ได้ไปฝึกอบรมได้ไปฝึกอบรมต่อ โดยกำหนดว่า สมาชิกหนึ่งคนเรียนได้ 2 อาชีพ ตอนนี้เปิดอบรมช่างแอร์ไป 3-4 รุ่น ช่งตัดผมปีนี้ครบ 3 รุ่น เหลี่ยมกรอบพระเรียนเป็นรุ่นแรก ซึ่งก็มองเรื่องหลักสูตรการทำเกษตรอยู่ ด้วยคนงานยังทำงานแบบปกติอยู่ ช่วงตั้งแต่เมษายน-กรกฎาคม2563 นายจ้างใช้มาตรา 75 กฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นการพลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทำงาน เป็นการบริหารหมุนเวียนม่ได้ให้ใครต้องหยุดรับเงิน 75%ตลอด เพื่อให้เฉลี่ยรายได้กัน เพราะค่าใช้จ่ายยังคงมีเท่าเดิมแต่รายได้ลดลง เมื่อเดือนมิถุนายน2563 ก็ยังมีบางส่วนที่ยังหยุดงานตามมาตรา 75 อยู่บ้าง
หลังจากสหภาพแรงงานได้มีการจัดอบรมพัมนาอาชีพปี 2562 ได้รับการตอบรับที่ดี สหภาพแรงงานก็มีงบประมาณที่จำกัดอยู่ด้วย สหภาพแรงงานฯหจึงได้มีการยื่นเป็นข้อเรียกร้องเมื่อปลายปี 2562 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอาชีพทางเลือกนอกจากการพัฒนาความสามารถตามหน้างานของพนักงาน เช่นช่างแอร์ ช่างเชื่อม การเดินสายไฟฟ้าในอาคาร เป็นต้น ทางบริษัทก็ตอบรับ รวมถึงได้มีการกล่าวถึงการอบรมการวางแผนการเงินให้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะแรงงานมีการออมเงินน้อยมาก พอวิกฤติเกิดขึ้นจะเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเขาอย่างมาก หากไม่มีความรู้ด้านการเงินการบริหารจัดการตัวเขาได้ แม้จะเป็นหนี้หมากแต่ก็สามารถออมเงินได้ ซึ่งบริษัทได้ตอบรับและพร้อมจะจัดอบรมให้ในปี2563นี้ หลังโควิดก็จะติดตามเพื่อให้บริษัททำตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ และการฝึกอาชีพไม่พอ และเราก็ห้ามนายจ้างเลิกจ้างไม่ได้ แต่ต้องมองว่าจะทำอย่างไรให้นายจ้างเลิกจ้างได้ยากมากขึ้น เมื่อบริษัทจะเลิกจ้างคนงานไม่ได้ทำผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 118 แต่นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มอีกหนึ่งเท่า ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโครงการเลิกจ้าง สมัครใจลาออกอะไรก็ตามสหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายเพิ่มจากค่าชดเชยที่ต้องจ่ายตามกฎหมายอีกหนึ่งเท่า ซึ่งก็เป็นข้อตกลง และได้ใช้ไปเมื่อเดือนพฤษภาคม2563ที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทเปิดโครงการสมัครใจลาออก อาจมาจากวิกฤตโควิด-19ด้วย แต่เมื่อมีเงินตงนี้เพิ่มทำให้คนงานได้มีการวางแผนชีวิตได้มากขึ้น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นแบบนี้คุณค่าของแรงงานยังมีอยู่ ด้วยเขาทำงานให้กับนายจ้างมาครึ่งค่อนชีวิต นายจ้างต้องแลเขาเช่นกัน เรื่องการออมก็เป็นเรื่องสำคัญ ด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกฎหมายไม่ได้บังคับให้นายจ้างต้องจัดตั้งขึ้นมา หากสหภาพแรงงานไหนกับนายจ้างพูดคุยกันได้ก็ให้นำเสนอให้จัดตั้งขึ้นมาเพราะว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น เรื่องพรบ.กองทุนการออมแห่งชาติ ที่มีแล้วก็เงียบหายไป เพื่อมาบังคับให้นายจ้างต้องเลือกว่าจะตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือว่าจะเป็นการเข้ากองทุนออมแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมให้ลูกจ้างมีเงินออม เพื่อวางแผนอนาคตของเขา การตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ก็ทำยากหากนายจ้างไม่ร่วมในการที่จะมีสถานที่ตั้ง และการหักเงินให้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วย ซึ่งอาจต้องมีการหาข้อมูลกระทรวงแรงงานต้องมีการสนับสนุน และเข้าไปนำเสนอนายจ้างด้วย การเชื่อมร้อยเครือข่ายระหว่างแรงงาน กับเกษตรกร ชุมชนเพื่อสร้างตลาดชุมชน คนซื้อคือแรงงานเพื่อการเกื้อกูลกัน และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับแรงงานด้วยหากต้องการที่จะเข้าไปเรียนหากอยากเข้าสู่วิถีการเกษตรได้ด้วย