คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ( สสส. ) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรแรงงาน ภายในคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมกานต์มณีพาเลซ ถนนประดิพัทธ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2554 โดยมีศูนย์แรงงาน 6 พื้นที่ ร่วมกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์การดำเนินงาน
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่าการประชุมวันนี้ เป็นครั้งที่ 2 เป็นการมาร่วมกำหนด และจัดทำแผนการทำงานร่วมกัน ที่ต้องทำให้แล้วเสร็จ การทำแผนนั้นต้องให้เกิดความสอดคล้องกับการทำงานในพื้นที่ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อจะได้ช่วยเหลือพี่น้องแรงงานหากมีปัญหา และสามารถนำยุทธศาสตร์ นโยบายไปกระจายสู่พี่น้องผู้ใช้แรงงานอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ซึ่งการทำงานที่ผ่านมาคนงานเริ่มตื่นตัว แต่ยังขาดความเข้าใจต่อประเด็นปัญหาแรงงาน การขับเคลื่อนกฎหมายประกันสังคม ความตระหนักรู้ต่อประเด็นเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ประเด็นการขับเคลื่อนนโยบายของขบวนการแรงงาน
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ยังต้องลงพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจกับสมาชิกเพิ่มขึ้น การสื่อสารของแรงงานมีความก้าวหน้ามาก ที่สามารถทำข่าวของผู้ใช้แรงงาน ให้สังคมได้รับรู้สภาพปัญหา และการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา สามารถเขียนข่าวสื่อสารเรื่องของตนเองได้ และยังสามารถสร้างพื้นที่ในการเป็นข่าวในสื่อกระแสหลัก เป็นการเขียนข่าวเล่าถึงสภาพปัญหาความเป็นจริงของผู้ใช้แรงงานแต่ละพื้นที่ จนได้รับกระแสตอบรับจากสื่อต่างๆที่เข้ามาช่วยทำข่าว นักสื่อสารสามารถเป็นแหล่งข่าว เป็นฐานข้อมูล ซึ่งมีบางกรณีที่ได้รับการแก้ไขปัญหาจากรัฐด้วย
วันนี้ต้องมีการวางแผนเรื่องการสื่อสารของขบวนการแรงงานให้มากขึ้นด้วย ปัญหาการจัดทำข้อมูลถึงจะช้าไปบ้างก็ต้องค่อยปรับกันไป เพราะเราไม่ใช่นักวิชาการ คงต้องใช้เวลาพอสมควร ซึ่งต่อไปคงต้องพัฒนาเพื่อให้เกิดข้อมูลด้านแรงงานด้วยการทำงานเองของแรงงานให้ได้
นายนิติรัฐ ทรัพย์สมบูรณ์ ดำเนินรายการ สรุปถึงภาพรวมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ครั้งที่ 1 มี 3 เรื่องหลัก 1. ระดมการทำงานของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย 2. เป้าหมายร่วมการทำงาน 3. การลงแผนปฏิบัติการ
นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงาน ให้ความเห็นความเข้มแข็งของขบวนการแรงงานที่ผ่านมาการทำงานเชิงข้อมูลยังขาดประสบการณ์ในการทำงาน ต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถ โดยการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ผู้นำแรงงาน เรื่องการทำข้อมูล บัญชี และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เรื่องฐานข้อมูลต้องมีการทำกันอย่างจริงจัง และต้องมีการอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอด เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ เมื่อมีโครงการสนับสนุนด้านงบประมาณหากงบหมด แรงงานต้องสามารถพึ่งตนเองได้แบบยั่งยืน ต้องกำหนดการทำงานให้ชัดเจนว่า จะเดินไปทางไหน องค์กรต้องฝันร่วมกัน ฝันให้ไกลไปให้ถึง เป็นองค์กรที่ยอมรับมีความเข้มแข็งเป็นเอกภาพ พึ่งตนเองได้
นางอรพิน วิมลภูษิต ผู้จัดการแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ( สสส. ) กล่าวว่าเป้าหมายแผน คือการรวมตัวของแรงงานในระบบ นอกระบบ เกษตรกรพันธสัญญา และแรงงานข้ามชาติ เพื่อการเข้าถึงสิทธิและบริการด้านอาชีวอนามัย หลักประกันทางสังคม และสัมมาอาชีพอย่างเป็นธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์ และพลวัตรของการจ้างงาน แรงงานต้องทำงานแบบไม่แยกส่วน ทุกกลุ่มต้องทำงานร่วมกัน เสริมศักยภาพของแกนนำให้มองปัญหาให้ทะลุ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกันทำงานกับเครือข่ายแรงงานทุกกลุ่ม ไม่ใช่ให้เครือข่ายนำปัญหามาทิ้งไว้ให้สมานฉันท์ฯ ทำ ทุกกลุ่มต้องร่วมมือกันทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน คือความเข้มแข็งของขบวนการแรงงาน การสร้างการเรียนรู้ให้กับแกนนำในพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องทำทั้งหมด เลือกประเด็นที่พื้นที่ทำได้เพียง 1 เรื่องก็ได้
นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวถึงข้อดีของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยในการทำโครงการฯ สามารถทำงานได้หลายเรื่องของขบวนการแรงงาน สามารถขับเคลื่อนได้หลายประเด็นที่มีการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายได้
นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ต้องยอมรับตัวของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ว่าทำได้แค่ไหน และจะทำอะไรก่อน การรับโครงการแยกทำให้แยกกันเป็นเจ้าภาพต่างคนต่างทำ ไม่คิดรวมกัน การทำงานที่ผ่านมา ไม่ตอบโจทย์ การทำงานของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรสหภาพแรงงาน
นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า การที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เกิดขึ้นมาเป็นองค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียน มาจากการที่สภาแรงงานต่างๆ ไม่สามารถขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ของแรงงาน ที่นอกกรอบของกฎหมายได้ จึงเกิดเป็นตัวตนของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนประเด็นแรงงาน และยังยืนหยัดต่อสู้อยู่ได้
หลังจากนั้นมีการแบ่งกลุ่มเพื่อวางแผนการทำงาน โดยสรุปได้ดังนี้
*กลุ่มที่ 1.การบริหารจัดการองค์กรเพื่อพัฒนากลไกการทำงาน การบริหารทรัพยากร และการจัดระบบข้อมูล
วิสัยทัศน์ คสรท. เป็นองค์กรภาคประชาชนด้านแรงงานที่มีอิสระ เอกภาพ และศักยภาพ (มุ่ง) สร้างความเป็นธรรมและขจัดความเหลื่อมล้ำในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของแรงงานทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน
เป้าหมายการบริหารจัดการ
เป้าหมายการบริหารจัดการองค์กร |
ระยะเวลา |
คนรับผิดชอบ |
1. การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 1. กำหนดภาระหน้าที่โครงสร้างให้ชัดเจน 2. การกระจายความรับผิดชอบไปสู่ศูนย์พื้นที่ 3. การจัดทำแผนปฏิบัติงานและการกำกับติดตาม |
(ภายใน 3 เดือน ก.ค.-ก.ย. 54) |
|
2. การพัฒนาผู้นำและองค์กรสมาชิกในระดับพื้นที่(มีคนในพื้นที่เข้ามาช่วยงานส่วนกลาง (พิจารณาเรื่องค่าตอบแทนคนมาช่วยงาน – สะท้อนเรื่องการจัดเก็บค่าบำรุง) |
|
|
3. แผนการสร้างและพัฒนาระบบสมาชิก การสร้างความเป็นเจ้าขององค์กร (การวางระบบสมาชิก การจัดเก็บค่าบำรุง จัดกิจกรรมระดมทุน การสร้างแบรนด์ การสื่อสารกับสมาชิก เช่น กิจกรรมประชุมสัญจรและการประชุมใหญ่) |
|
ชาลี ลอยสูง, ธนพร วิจันทร์ ยงยุทธ เม่นตะเภา |
4. การพัฒนาการสื่อสาร การผลิตสื่อ |
|
วิชัย นราไพบูลย์ |
5. การจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ นำไปใช้งานได้จริง (เช่น ฐานข้อมูลสมาชิก ภายใน 3 เดือน และข้อมูลในประเด็นต่างๆ) |
|
|
6. การจัดทำแผนดำเนินงานของ คสรท. ที่เป็นภาพรวมโดยพื้นที่มีส่วนร่วม (ศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ ร่วมวางแผนการทำงานร่วม เช่น High light งานนโยบายความปลอดภัย) |
|
|
กลุ่มที่ 2 การรวมตัวเพื่อพัฒนาแกนนำและการขับเคลื่อนนโยบาย
เป้าหมายการรวมตัว |
ระยะเวลา |
คนรับผิดชอบ |
ความชัดเจนของตัวเอง(มีจิตสำนึกร่วมของความเป็นเจ้าขององค์กรสมานฉันท์แรงงานไทย) |
3 ปี |
|
การจัดตั้งสมาชิกต้องการเห็นสมาชิกมีเพิ่มขึ้น และฟื้นฟูสมาชิกเก่าให้กับคืนมาและอยากเห็นการจัดตั้งแรงงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ |
|
|
มีกลไกภายในการติดตามสื่อสารของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย มีโรงเรียนผู้นำ(ระดับพื้นที่ มีการจัดการตนเองช่วยเหลือตนเองได้)มีการควบรวมสหภาพ 1 อุตสาหกรรม 1สหภาพ และประสานความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรในการขับเคลื่อนนโยบายระดับท้องถิ่นและระดับชาติ |
|
|
มีการพัฒนากลไกปกป้องคุ้มครองสิทธิในระดับพื้นที่ |
|
|
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87,98 (พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับที่.. ขบวนการแรงงาน) ค่าจ้างที่เป็นธรรม ประกันสังคม สถาบันส่งเสริมสุขภาพความปลอดภัยฯ |
1 ปี |
(แต่ละพื้นที่ออกแบบเอง) |
รูปแบบการจัดการความรู้แรงงาน |
* อนึงข้อมูลบ้างส่วนจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
ดาวเรือง ชานก นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ รายงาน