ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ300 บาท คุณภาพลูกจ้างอยู่ดี กินดี จริงหรือ?

หลังจากที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน เรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท กับ 7 จังหวัดนำร่องโดยจะมีการปรับในวันที่ 1 เมษายน 2555 นั้น

นักสื่อสารแรงงานได้ทำการสอบถามลูกจ้างกลุ่มชายบริษัทแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมรมบางพลี จากการสอบถามความคิดเห็น ลูกจ้างได้กล่าวว่า "ดีใจที่ทีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ" แต่จากการสังเกตได้พบว่า จากการปรับค่าจ้างในอดีตที่ผ่านมา ลูกจ้างจะได้ปรับค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณปีละ 10 บาทเท่านั้น ยังไม่เคยได้รับการปรับค่าจ้างสูงถึงร้อยละ 40 มาก่อน ซึ่งการปรับขึ้นค่าจ้างครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นแบบก้าวกระโดด และในส่วนของลูกจ้างยังมีข้อกังวลเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้มีการปรับราคาขึ้นล่วงหน้าก่อนการปรับค่าจ้างในวันที่ 1 เมษายนแล้ว เช่น ซื้อข้าวหนึ่งถุง เดิม 5 บาทกินอิ่ม ปัจจุบันราคาถุงละ 6 บาท และกินไม่อิ่ม ราคาแกงถุงละ 25 – 30 บาท นี้แค่มื้อเดียวค่าใช้จ่ายตกอยู่ราว 31-36  บาทต่อคนแล้ว ซึ่งในความจริงคนหนึ่งคนต้องกินอาหารครบห้าหมู่วันละวัน 3 มื้อ เฉพาะค่าอาหารอยู่ที่ประมาณวันละ 100 กว่าบาท ค่าเดินทางไปทำงานตกวันละประมาณ 50 บาท รวมกันแค่ 2 อย่าง อยู่ที่ 150 บาทต่อวัน ยังไม่รวมค่าเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ค่าเช่าบ้าน ค่าสินค้าอปโภคบริโภค แฟ๊บสบู่ยาสีฟัน ค่าไฟ ค่าน้ำค่าโทรศัพท์ ซึ่งทุกอย่างเป็นความจำเป็นที่ต้องใช้และอยู่ในชีวิตประจำวัน รวมถึงหน้าที่ของพ่อ สามี และลูก ที่ต้องส่งเงินกลับไปบ้านต่างจังหวัด  ทำให้ลูกจ้างบริษัทดังกล่าวต้องทำงานล่วงเวลา (OT) เพื่อที่จะได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นแข่งขันกับค่าใช้จ่ายที่ยังเพิ่มขึ้นไม่หยุดในตอนนี้

หนึ่งในลูกจ้างให้ข้อมูลว่า “สัปดาห์หนึ่งผมทำงาน 6 วันถ้าวันใดวันหนึ่งผมป่วยมาสามารถไปทำงานได้ผมก็ขาดรายได้เพราะสาเหตุที่ผมเป็นลูกจ้างรายวัน แล้วความมั่นคงในชีวิตจะมีจริงหรือ”

หลังจากนั้นนักสื่อสารแรงงานยังได้ทำการสอบถามกลุ่มลูกจ้างหญิง ก็ได้คำตอบที่ใกล้เคียงกับลูกจ้างชายแต่ลูกจ้างหญิงแจ้งอีกว่า นอกจากค่าใช้จ่ายหลักแล้วลูกจ้างหญิงก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องของใช้ส่วนตัวของผู้หญิงอีก เช่น ค่าผ้าอนามัย 

 “ลูกจ้างอย่างหนูเข้าใจเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างในครั้งนี้ แต่อย่าลืมจะไม่การปรับค่าจ้างเพิ่มอีกจนถึงปี 2558 จึงอยากให้ผู้ที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง ขอให้มีการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคอยู่ในราคาที่กำหนดอย่าให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าหรือมีการกักตุนสินค้าเลย” ลูกจ้างหญิงคนดังกล่าวระบุ

ประสิทธิ์  วิจิตรไพบูลย์ นักสื่อสารแรงงานศูนย์สมุทรปราการ รายงาน