ตอนที่ 2 “หากว่าที่นี่เป็นบ้านเรา..นี่คือเหมืองถ่านหิน นี่คือโรงไฟฟ้า…”
บทความนี้ผู้เขียน อยากตั้งคำถามตัวเองว่า หากมีการสร้างโรงไฟฟ้า และเหมืองถ่านหินที่บ้านจะคิดอย่างไร? แต่ก่อนอื่นอาจต้องรับรู้ถึงข้อมูลในพื้นที่ภูมิภาคเลาซิทซ์ก่อนว่าการเป็นเมืองถ่านหินนั้นเป็นอย่างไร และหากต้องจบอาชีพการงานในเหมืองหรือโรงไฟฟ้าถ่านหิน เขาต้องการอะไรบ้าง? กระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือว่าควรเป็นแบบทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในรั่วโรงงาน และเมื่ออยู่นอกรั่วโรงงาน
วันที่ 9 ตุลาคม 2561 คณะดูงานจากประเทศไทย เรื่อง”การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม-แรงงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมออากาศ ” มุมมองด้านแรงงานและการจ้างงาน การบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จัดโดยมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ได้ลงไปดูงานที่ภูมิภาคเขต เลาซิทซ์พบ
เซบาสเตียน โซบบ์ ผู้อำนวยการSpree Academy กล่าวว่าภูมิภาคเลาซิทซ์ว่า มีประชากรทั้งหมดราว 1.3 ล้านคน โดย 3 แสนคนอยู่ในโปรแลนด์ ช่วงของการพัฒนาประเทศ เยอรมันต้องการแรงงานข้ามชาติเพื่อจำนวนมากที่อพยพเข้ามา ในเลาซิทซ์ช่วงแรกก็มีแรงงานอพยพมาทำงานในโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเหมืองแร่ถึง 1 แสนคน ชาวเมืองเลาซิทซ์นั้น นอกจากเป็นแรงงานในเหมืองและโรงไฟฟ้า ยังทำการเกษตรกรรมปลูกข้าวสารี สวนแตงกวา มะเขือเทศ ปลูกป่าสน เลี้ยงสัตว์ เช่น หมู และวัว ฯลฯ โดยมี ทั้งหมด130 หมู่บ้านที่ทำเกษตรกรรม
การรวมประเทศอุตสาหกรรมในภูมิภาคเลาซิทซ์จากอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบเดิมหายไป มีการเปิดเหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าโดยเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และจากเดิมที่มีแรงงานจำนวนมาก เมื่อมีการเริ่มปิดถ่านหินแรงงานหายไปจากภูมิภาคนี้เหลือเพียง 2 หมื่นคน ช่วงนั้นมีคนตกงานจำนวนมาก จากนโยบายปิดโรงงานไฟฟ้าฯ มีการปรับทักษะให้กับแรงงานเพื่อการทำงานอื่นๆได้ ซึ่งกรมแรงงานจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการอบรม มีบริการจัดหางาน มีการทำงานวิจัย งานวิชาการ เขตLusatiaปรับเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบพื้นเมือง ด้วยชาว Saxon-Bohemian ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเป็นการนำชมนำท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยตอนล่างเป็นพื้นที่ลุ่มที่ปกคลุมไปด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ป่าขรุขระและป่าบีชโอ๊ก หนอง บึงและคลอง
ปัจจุบันในเลาซิทซ์มีแรงงานในเหมืองแร และโรงงานไฟฟ้าราว 7,000-8,000 คน ซึ่งจะลดลงอีก 5 ปี อาจเหลือคนทำงานเพียง 2- 3 พันคนเท่านั้น และปรับตัวของแรงงานหากต้องปิดเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าจะต้องได้รับการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ ส่วนที่หางานได้อาจเป็นแรงงานฝีมือ งานใหม่ที่เกิดขึ้นคืองานอะไร จะเกิดงานในพื้นที่นี้ หรือต้องอพยพไปทำงานที่อื่น ซึ่งยังห่วงเรื่องสภาพเมืองที่อาจร้าง อาจเหลือคนในเมืองนี้เพียง 2,000 คนเท่านั้น ปัญหาหนักที่สุดอาจไม่ใช่เรื่องการจ้างงานแต่เป็นการสูญเสียกำลังคน กำลังแรงงานในอนาคตอีก 20 ปีภูมิภาคนี้อาจขาดทรัพยากรมนุษย์
ทั้งนี้ บริเวณโรงไฟฟ้าและเหมืองแร่ลิกไนต์ ในภูมิภาคเลาซิทซ์ มีพื้นที่ราว 4 แสนตารางเมตร ช่วงที่บริษัทต้องการสร้างโรงงานไฟฟ้าได้มีการขับไร่ชาวพื้นเมืองซึ่งเป็นชนเผ่าราว 3 หมู่บ้านออกจากพื้นที่ โดยมีการสร้างบ้านที่พักพร้อมการชดเชยให้ ซึ่งตอนนี้อยู่ห่างจากเหมืองราว 20 กิโลเมตร ชื่อหมู่บ้าน Raddusch โดยแม้ชาวบ้านมีการต่อต้านอย่างหนักแต่กฎหมายเยอรมันอนุญาตให้มีการสร้างเหมืองแร่ได้ และปัจจุบันมีบริษัทโรงไฟฟ้าขนาดราว 5 แห่ง ซึ่งยังมีการสำรวจเรื่องถ่านหิน มีการจัดทำผลสำรวจ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการอนุมัติ และบางบริษัทขอยุติการทำเหมืองแม้รัฐอนุญาตซึ่งไม่ทราบว่าด้วยเหตุที่ชาวบ้านไม่ยินยอมหรือไม่ โดยถ่านหินที่มีการสัมปทานนี้จะหมดในอีก 30 ปีข้างหน้า
อย่างที่ทราบกันว่า พลังงานจากถ่านหินนั้น ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศอย่างมากเมื่อมีนโยบายเนื่องการปิดเหมือง ปิดโรงไฟฟ้าเพื่อปรับระบบการผลิตไฟฟ้าเป็นพลังงานสะอาด ซึ่งตอนนี้มีทั้งพลังงานลม ที่ทำเป็นฟาร์มพลังงานลม ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน สองต่อคือชาวบ้านสามารถที่จะทำการเกษตรกรมได้เหมือนเดิม และขายไฟฟ้าขากพลังงานลมได้อีกด้วย ยังมีพลังงานจากโซล่าเซลล์ก็สามารถทำได้ ตอนนี้พลังงานส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้ว แต่มาจากพลังงานสะอาด ซึ่งแล้วแต่ภูมิภาคจะใช้พลังน้ำ พลังงานลม และพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งพลังงานถ่านหินมีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ใช้ในเยอรมันเมื่อปิดเหมืองแล้ว และคิดว่า ต้องมีระบบมาดูแลคนทำงานที่อาจไม่สามารถเข้าสู่ระบบการจ้างงานใหม่ได้ด้วยส่วนใหญ่ใกล้เกษียณอายุแล้ว ซึ่งระบบประกันสังคมของเยอรมันนั้นกรณีว่างงานจะต้องมีการเข้าระบบรายงานตัว และมีระยะเวลากำหนดสิทธิในการรับเงินชดเชยการว่างงาน และรายได้ไม่เท่าเดิม ซึ่งการพัฒนาพื้นที่รองนับการท่องเที่ยวเพื่อการสร้างงานให้กับแรงงานท้องถิ่น จะทำให้ที่นี่ยังมีงานทำและคนไม่ย้ายจากถิ่นไปทำงานที่อื่น
ด้วยมองเห็นว่า กระบวนการด้านการเปลี่ยนผ่านต้องมีส่วนร่วมทุกฝ่าย ไม่ควรทิ้งฝ่ายใด การรับฟังและจัดทำข้อเสนอเพื่อให้เห็นถึงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก กระบวนการผลิตไฟฟ้า การทำเหมืองน้ำที่ดูดขึ้นมาจะถูกนำเข้าไปใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า และบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ จะต้องมีกระบวนการดูแลผลกระทบ และการที่แรงงานจะต้องเปลี่ยนผ่านเมื่อระบบต้องเปลี่ยน ซึ่งการจ้างงานปัจจุบันมีการปรับตัวแล้ว หากไม่มีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน แรงงานที่ทำงานในเหมืองลดลง แรงงานมีการไปทำงานนอกพื้นที่มาขึ้นต้องมีระบบในการดูแลเรื่องคมนาคม การเดินทาง แม้ว่าทางสหภาพแรงงานในท้องถิ่นจะยังไม่เห็นด้วยในการเลิกใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าด้วยกังวลเรื่องอาชีพรายได้ แต่ว่าองค์กรแรงงานใหญ่ที่สกภาพเป็นสมาชิกเขาเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงระบบไปใช้พลังงานสะอาด แต่ว่า ต้องมีการดูแลแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ให้ได้รับค่าจ้างสวัสดิการเหมือนเดิมไม่ว่าจะทำงาน หรืออยู่ที่ไหน เขาต้องได้รับการดูแล ซึ่งเราทุกคนเห็นด้วย
ทั้งนี้ ช่วงการเดินทางไปยังหมู่บ้านเราพบป้ายขนาดใหญ่ที่รณรงค์ไม่เอาถ่านหินอีกด้วย
จากนั้น คณะฯได้เดินทางไปยังที่หมู่บ้าน Raddusch เพื่อแลกเปลี่ยนพูดคุยกับ แฟรงค์ มุลเลอร์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ Future Lab Lausitz ถึงแนวคิดการวิจัยเพื่อการพัฒนาเลาซิทซ์ในอนาคต ซึ่งภูมิภาคนี้มีทั้งหมด 6 อำเภอ ได้ร่วมมือกันให้งบประมาณในการทำข้อเสนอซึ่งมีแนวติดเพื่อการพัฒนาเหมืองเป็นแหล่งท่องเที่ยว
แฟรงค์ เล่าถึงการทำงานของ Future Lab ว่าได้รับทุนจากรัฐท้องถิ่นใน 6 อำเภอในภูมิภาคเลาซิทซ์ในการทำข้อมูลวิจัยเรื่องการเปลี่ยนผ่าน โดยดูปัญหาภาพรวมว่าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งเหมืองที่ถูกปิดไปมีการดำเนินการบ้างแล้ว ดูเรื่องความเป็นธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบ เช่นดูเรื่องธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ชุมชน ศักยภาพของท้องถิ่นในภูมิภาค การคมนาคม ความสะดวกสบายในการเดทางหากต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อการขนส่ง การเดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ หรือการท่องเที่ยว ซึ่งเลาซิทซ์นั้นอยู่หากจากเบอร์ลิน หากทำการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวจะมาเที่ยวหรือไม่ ซึ่งรัฐวางไว้เพื่อให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจท่องเที่ยวแต่นี่คือพื้นที่ชายแดนการเดินทางต้องใช้เวลามากนักท่องเที่ยวคงไม่มา
หากดูเรื่องชีวภาพภูมิภาคเลาซิทซ์มีความหลากหลายทางธรรมชาติ มีทั้งป่า ภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง และชุมชนที่เป็นชาติพันธ์ มีทั้งเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แรงงานที่เข้ามาทำงานเริ่มแรกไม่ใช่คนพื้นเมืองในพื้นที่ ซึ่งเศรษฐกิจแรกที่เลาซิทซ์ คือ การเป็นแรงงานในเหมือง มีค่าตอบแทนที่สูงซึ่งคนในหมู่บ้านนี้เป็นแรงงานในเหมือง และโรงไฟฟ้า การจะเปลี่ยนผ่านอาจต้องใช้เวลาพอสมควร ซึ่งส่วนใหญ่แรงงานในเหมืองใกล้เกษียณอายุแล้ว ส่วนคนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นแรงงานฝีมือ แต่ส่วนใหญ่ออกไปทำงานนอกพื้นที่ โดยการเปลี่ยนผ่านสหภาพแรงงานได้เสนอแล้วให้ดูแลเรื่องพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อหางานรองรับ ซึ่งรายได้ต้องเท่าเดิม
เอเวอลิน โบเด็นไมเออร์ ผู้อำนวยการบริหารองค์กร Lausitzer Perspectives และอีกท่านคือ กัสมาร์ สวิท ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานในพื้นที่เลาซิทซ์ โดยบทบาทของภาคประชาสังคมได้ทำงานด้านข้อมูลผลกระทบ และในข้อเสนอในการเปลี่ยนผ่านเพื่อความเป็นกับทุกฝ่าย โดยมีการตั้งองค์กรมามีสมาชิกเข้ามาทำงานร่วมกันกลายฝ่ายโดยจะเป็นแกนนำชุมชนชาวบ้าน ภาคแรงงาน เด็กเยาวชน ผู้หญิง และผู้สูงอายุ เป็นสมาชิก โดยตั้งเป็นสมาคม เพื่อให้เป็นพื้นที่กลางในการแลกเปลี่ยน ถกถียงและพูดคุยกันในชุมชนแห่งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจและทำข้อเสนอร่วมกัน เป็นเวทีสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพราะการพัฒนาไม่ใช่ฟังเสียงใครคนใดคนหนึ่ง หรืองานวิจัย หรือวิชาการต้องไม่มีการกำหนดไว้ก่อนที่จะพัฒนาเพราะถือว่า มีการตั้งเป้าไว้แล้วว่าจะมีทิศทางไปทางไหน โดยความเป็นตัวแทนของสหภาพแรงงานก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นตัวแทนที่เสนอสำหรับความต้องการของทุกคน จึงเกิดสมาคมขึ้นมาเพื่อรับฟังทุกฝ่าย และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม
โดยชาวเลาซิทซ์เขารู้สึกว่าการทำงานในเหมืองคือความมั่นคงในอาชีพและรายได้ การที่จะมีการเปลี่ยนผ่านต้องเป็นธรรมนี่คือข้อเสนอของสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเหมืองแร่และไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้มีสมาชิกราว 7 พันคน ในส่วนของชุมชน องค์ประกอบมีความหลากหลาย ต้องรับฟังทุกฝ่าย การทำประชามติร่วมกันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเห็นภาพอนาคตด้วยกัน ไม่ใช่เสนอแล้วถูกผู้คนโห่ร้องไม่ยอมรับ ซึ่งสมาคมดังกล่าวจะมีการเลือกตัวแทนจากสมาชิกเป็นแกนนำในการเข้าร่วม ซึ่งแกนนำต้องสามารถนำเรื่องราวที่พูดคุยไปนำเสนอต่อสมาชิกในชุมชนได้ การที่จะสร้างนวตกรรมแห่งอนาคตนั้นจะสร้างร่วมกันแบบไหน เด็กเยาวชน คนสูงอายุ ต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สภาพแวดล้อม 16 ชั่วโมงนอกรั่วโรงงาน เพราะว่ามนุษย์ไม่ได้มีมิติทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ทั้งนี้ได้มีการตั้งกองทุนเพื่อการทำงานของภาคประชาสังคมร่วมกันอีกด้วย
โดยสรุปกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมอาจไม่ใช่เพียงสหภาพแรงงานเป็นผู้กำหนด แต่ความเป็นธรรมในความหมายของภูมิภาคเลาซิทซ์ คือ การมีส่วนร่วมของตัวแทนชุมชนที่ประกอบด้วย เพศหญิง เพศชาย เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ แรงงาน รวมถึงผู้สูงอายุ ว่าการเปลี่ยนผ่านนั้นเป็นอย่างไร อาจเป็นนวตกรรมทางสังคมที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีนอกรั่วโรงงาน 16 ชั่วโมง ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนนี่คือภาพอนาคตที่ต้องเห็นไปด้วยกัน
(โดยวาสนา ลำดี)