ค่าจ้างถึงเวลาที่จะต้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำกันได้หรือยัง?

ถึงเวลาที่จะต้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำกันได้หรือยัง? การปรับขึ้นค่าจ้างเป็นเรื่องน่าอภิรมย์สำหรับคนทำงานการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นเรื่องระทมทุกข์ของผู้ประกอบการ สาวิทย์ แก้วหวานประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) การปรับขึ้นค่าจ้างเป็นข้อถกเถียงมาเป็นเวลาช้านาน และทุกครั้งที่จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างจะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยขึ้นมาโต้เถียงกันด้วยเหตุผลของฝ่ายตน และแทบทุกครั้งในการปรับขึ้นค่าจ้างต้องใช้เวลานาน ด้านหนึ่งสัญญาณการปรับขึ้นค่าจ้างก็จะเป็นเครื่องชี้นำให้ราคาสินค้าปรับราคาขึ้นไปรอไว้ล่วงหน้า และจะปรับขึ้นอีกครั้งเมื่อค่าจ้างได้ปรับขึ้นจริง ในท่ามกลางการถกเถียงที่เกิดขึ้นคนที่นั่งรับฟังหรือคนกลางคือรัฐ ก็คือ รัฐบาลและกลไกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาชี้ขาดว่าค่าจ้างควรเป็นเท่าใด ซึ่งจะชี้นำทางความคิดและการตัดสินใจของคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งมีผู้แทนสามฝ่าย คือ รัฐ ผู้ประกอบการ และ ฝ่ายคนงาน ที่เรียกว่า “ไตรภาคี” และแทบทุกครั้งเช่นกันข้อเสนอราคาในการปรับขึ้นค่าจ้างที่ฝ่ายคนงานเสนอ จะไม่ได้ตามที่ต้องการด้วยข้ออ้าง ด้วยสูตร ด้วยหลักคิดมากมายแม้จะมีการโต้แย้งกัน แต่ในที่สุดก็จะจบลงตรงที่ว่า ฝ่ายผู้ประกอบการ กับ ฝ่ายรัฐสามัคคีกันลงมติตามที่สองฝ่ายต้องการ ฝ่ายคนงาน ก็ต้องยอมรับเสียงข้างมากที่มักบอกตอกย้ำกันบ่อย ๆ ว่าประชาธิปไตย คือ เสียงข้างมาก ความไม่สอดคล้องลงตัวกันของค่าจ้าง กับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางสังคม นั่นหมายถึงผลลัพธ์ของความยากจน ความเหลื่อมที่ทอดยาวต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยถูกจัดลำดับให้เป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงสุดเป็นเวลาติดต่อกันมาหลายปี *ค่าจ้าง เป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมเศรษฐกิจ ระหว่างคนงาน กับ ผู้ประกอบการ หรือผู้จ้างงาน เมื่อคนงานขายแรงงานของตนและผู้ว่าจ้างตกลงซื้อแรงงานนั้น ผลผลิตที่เกิดจากแรงงานของคนงานก็จะกลายเป็นทรัพย์สินของผู้จ้างงาน แรงงานของคนงานจึงหมายถึงผู้มีรายได้หลักจากการขายแรงงานของตนแรงงานแลกค่าจ้างดำรงอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมานานหลายพันปีในหลากหลายสังคม ภายใต้ระบบทุนนิยมได้แปรเปลี่ยนให้แรงงานกลายเป็นแรงงานแลกค่าจ้าง จนกลายเป็นรายได้หลักของคนส่วนใหญ่ แรงงานแลกค่าจ้างภายใต้ระบอบทุนนิยมเป็นประเด็นที่ถูกนำมาวิเคราะห์ แรงงานแลกค่าจ้างหากไม่นิยามเป็นอย่างอื่น ก็จะถูกถือว่าเป็นมิติที่อยู่ในระบอบทุนนิยม แรงงานแลกค่าจ้างถูกนิยามภายใต้ระบอบทุนนิยมว่า คือการที่คนงานขายกำลังแรงงานของตนในฐานะสินค้า […]

ประวัติศาสตร์ของนโยบายและการบริหารแรงงาน ในสมัยรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม (2491-2500)

บทบาทของรัฐบาลไทยสมัย ป. พิบูลสงคราม แสดงให้เห็นว่าชนชั้นปกครองไม่มีมุมมองต่อแรงงานในฐานสิทธิมนุษยชนและความต้องการพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต แต่มองบนฐานการกุศลและบริจาคทานเพื่อให้ความช่วยเหลือและเยียวยาในการประทังชีวิตอยู่ต่อไปวัน ๆ อีกทั้งมองว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงาน เป็นภัยความมั่นคงประเทศและกระทบต่อเสถียรภาพการปกครอง วิธีคิดเช่นนี้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เหมือนกับกรณีของอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 จึงสรุปประเด็นควรขบคิดและนำเป็นบทเรียนต่อการขับเคลื่อนขบวนการแรงงานไทยต่อไปที่ไม่ได้มีความหมายจำกัดเฉพาะแรงงานในสถานประกอบการประเภทโรงงาน แต่ขบวนการแรงงานหมายถึงคนทุกกลุ่ม สาขาอาชีพ และพื้นที่

มองผ่านปรากฏการณ์ “ศรีพันวา” เห็น “6 เรื่อง” น่าสนใจของการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุน

“ศรีพันวา” กับ “ประกันสังคม” “6 เรื่อง” น่าสนใจที่สะท้อนถึง “การลงทุนของสำนักงานประกันสังคม”

COVID-19: บทสนทนากับผู้ค้าข้างทางรายหนึ่งย่านสีลม

กรณีของเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลนำเสนอมาตรการช่วยเหลือแรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน กักบความสงสัยและไม่เข้าใจการสื่อสารของภาครัฐว่า ใครจะได้รับสิทธิประโยชน์นี้ บทสะท้อนความต้องการของแรงงานนอกระบบ

“3 ปี ผ่านไป บอกรักให้จำใจจากฯ” 12 ก.ค. 2559 ค่าย TOYOTA VS 12 ก.ค. 2562 ค่าย FORD & MAZDA

“3 ปี ผ่านไป บอกรักให้จำใจจาก บอกจากให้ไปด้วยใจ ไปอย่างไรให้มีคุณค่า”
12 กรกฎาคม 2559 ค่าย TOYOTA VS 12 กรกฎาคม 2562 ค่าย FORD & MAZDA

พี่สพรั่งที่ผมรู้จัก

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2536  พี่สพรั่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่บัดนี้ดำเนินงานรับใช้ผู้ใช้แรงงานและสังคมไทยมาจนจะมีอายุครบ 26 ปี ทุกครั้งที่เราไปที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยอย่าลืมคิดถึงผู้ชายที่ชื่อสพรั่งไว้ด้วย รักพี่สพรั่ง

จับตา 5 สถานการณ์ยานยนต์ “หุ่นยนต์ผงาด เปิดฐานการผลิตแห่งใหม่ ค่ายยักษ์ใหญ่เลิกจ้าง ส่งออกร่วง เรียกร้องขึ้นค่าแรง” แรงงานไทยอยู่ตรงไหน ?

จับตา 5 สถานการณ์ยานยนต์
“หุ่นยนต์ผงาด เปิดฐานการผลิตแห่งใหม่ ค่ายยักษ์ใหญ่เลิกจ้าง ส่งออกร่วง เรียกร้องขึ้นค่าแรง”
แรงงานไทยอยู่ตรงไหน ?

สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ การจ้างงานกลุ่มคนงานที่ทำงานบ้าน สภาพปัญหาการเข้าไม่ถึงการคุ้มครอง

ภายใต้สถานการณ์ความต้องการแรงงานในการเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทยจำนวนมาก และภายใต้ประเทศไทยที่กำลังเข้าสูงสังคมสูงวัยแน่นอนว่า แรงงานที่ประเทศไทยใช้และต้องการมากที่สุดคือ แรงงานข้ามชาติ ที่เข้ามาทดแทนโดยเฉพาะในส่วนที่แรงงานทำงานในบ้านที่ถือว่ามารองรับความต้องการของครอบครัวคนทำงานสมัยใหม่ หรือสังคมคนทำงานนอกบ้าน เขามาทำงานดูแลครอบครัวตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยทีเดียว ไม่ว่าจะ ดูแลเด็ก ผู้แลผู้สูงวัย แต่คำถามที่น่าสนใจคือเราดูแลเขาด้วยกฎหมายใดที่คุ้มครองแรงงานที่ทำงานในบ้านบ้าง และความต้องการของเขาคือสิ่งใด

ส่องการสร้างความสุขผู้สูงอายุโลก กับ การพัฒนาความสุขผู้สูงอายุไทย

การจะพัฒนาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ให้ขึ้นไปอยู่ในขั้นบันไดของ ประเทศที่ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นอันดับต้นๆ ของโลกนั้น เราทุกคนคือพลังสำคัญ โดยต้องเริ่มจากตัวเรา ที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของผู้สูงอายุ จากรายงานของ “สำนักงานสถิติแห่งชาติ” มีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2583 ประชากรผู้สูงอายุ จะเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 32.1 จากประชากรทั้งหมด ในขณะที่ประชากรวัยทำงาน เหลือเพียงร้อยละ 55.1 งานวิจัยจาก “สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล” แสดงให้เห็นชัดเจนว่า จำนวนผู้สูงอายุที่ต้องดูแลตนเอง มีถึงร้อยละ 89 รองลงมา คือ ลูกสาวคนโตที่ต้องรับผิดชอบในการดูแลผู้สูงอายุเป็นหลัก ผู้หญิงแกร่งทั้งหลายจึงต้องรับผิดชอบทั้งงานและผู้สูงอายุวัยพึ่งพิง

1 2 27