ประชุมเครือข่ายผู้ประสบภัยจากการทำงานในเอเซีย

รายงานการเข้าร่วมประชุมเครือข่ายผู้ประสบภัยจากการทำงานในทวีปเอเซีย ANROAV ANNUAL CONFERENCE 2010
 
18-20 October 2010,Bandung West Java Indonesia
 
สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ซึ่งมี  รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายบารมี   ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน  ดิฉันนางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย นายลิขิต ศรีลาพล เจ้าหน้าที่สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ นายจะเด็จ   เชาน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง นายสุชาติ  ตระกูลหูทิพย์ ฝ่ายแรงงานมูลนิธิเพื่อนหญิง  ได้เข้าร่วมประชุม ANROAV ประจำปีครั้งนี้ที่เมือง  บันดุง  ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 16-21 ตุลาคม 2553 โดยมี 13 ประเทศในทวีปเอเชีย  และ ปีนี้มีคนมาร่วมมากกว่าทุกปีเพราะมีประเทศทางยุโรปมาร่วมประชุมด้วย  เช่น ประเทศแคนนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย  อิหร่าน  ภายในงานได้มีการประชาสัมพันธ์งานด้วยป้ายในงานขนาดใหญ่และเสื้อรณรงค์  ว่าด้วยเรื่องของสถิติคนงานทั่วโลกที่เสียชีวิตและประสบอันตรายจากการทำงาน  ที่มีการประสบอันตรายจากการทำงานและเสียชีวิตทั่วโลกดังนี้  1,100,000 คนต่อปี  30,000 คนต่อวัน   125  ต่อชั่วโมง  และ 2 คนทุกหนึ่งนาที
 
ในฐานะตัวแทนประเทศไทยดิฉันได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำงานเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในประเทศไทยกับประเทศต่างๆที่นำผลงานเรื่องสุขภาพความปลอดภัยมานำเสนอแลกเปลี่ยนกัน  และดิฉันได้ร่วมออกไปกล่าว  ในพิธีการเปิดงานร่วมกับประเทศจีนอินโดนีเซีย  และคุณเอินบราว ดังนี้   “นับ  17 ปีหลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ตึกถล่ม  ทำให้คนงานวัยหนุ่มสาว ต้องเสียชีวิต 188 ศพ บาดเจ็บ 469 ราย  เป็นเพราะความบกพร่องปล่อยประละเลย  เรื่องสุขภาพความปลอดภัย และไม่ใส่ใจของสถานประกอบการณ์  ทำให้เป็นข่าวสลดไปทั่วโลก หลังจากนั้นได้มีนักวิชาการแรงงาน NGO และกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานได้รวมตัวกันก่อตั้งองค์กร    ANROAV   ขึ้นที่ในประเทศไทย หรือ เรียกชื่อว่าเครือข่ายผู้ประสบภัยจากการทำงานในทวีปเอเชียขึ้นมา  ซึ่งขณะนั้นมี 13 ประเทศที่รวมตัวกัน  และได้ร่วมกันทำการรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานมาตลอดทุกปีเพื่อสนับสนุนกลุ่มคนป่วยและรณรงค์ป้องกันในระดับภูมิภาค  ตัวอย่าง กลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้ายในประเทศไทย  ก็ได้รวมตัวกันต่อสู้คดีกับนายจ้างมาตลอด เช่นกัน  จึงอยากจะบอกเพื่อนพี่น้องทุกประเทศวันนี้ว่าผลของการต่อสู้คดีที่ยาวนานที่สุดถึง 15 ปีนี้ของผู้ป่วยปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้าย  กำลังจะมีคำตัดสินพิพากษาคดีในวันที่  8 พฤศจิกายน 2553 เวลาบ่ายโมง  ที่ศาลแรงงานกลาง  ซึ่งอยากจะบอกว่าการชดเชยตามกฎหมาย ของกองทุนเงินทดแทนนั้นไม่เพียงพอต่อการเยียวยารักษาและการดำรงค์ชีวิตของคนป่วย  ที่ต้องพิการสูญเสียทั้งสุขภาพกายและสภาพจิตใจ และโอกาสในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างปกติ 
 
ดังนั้นการประชุมแอลโรปในแต่ละปีนี้  ก็จะเป็นการมารายงานสถานการณ์เรื่องสุขภาพความปลอดภัยใน ของแต่ละประเทศ และจะมีการร่วมวางแผนการทำงานร่วมกันว่าจะทำงานรณรงค์ร่วมกันต่อไปอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนงานทั้งหลายในแต่ละประเทศดิฉันจึงหวังว่าทุกท่านคงจะมีความสุขกับการประชุมในครั้งนี้และได้ผลสมกับความคาดหมายไว้ทุกคน” และในการประชุมครั้งนี้ได้ร่วมกันสรุปคำประกาศร่วมกัน  ณ. เมืองบันดุง  
 
ดังนี้ คนงานต้องการความปลอดภัย  ต้องการความเป็นธรรม สถานการณ์ของโลกมีปัญหาเรื่องสุขภาพความปลอดภัย  วิกฤตสุขภาพความปลอดภัยครั้งนี้  มีปัญหาสุขภาพความปลอดภัย  มีการตัดความปลอดภัยออกไป เพื่อประหยัดต้นทุน คนงานส่วนใหญ่ที่ป่วยต้องถูกเลิกจ้าง ถูกไล่ออก ต้องทนทำงานในที่ที่ไม่มีความปลอดภัย  ไม่มีความมั่นคง  มีซัฟคอนแท็ก ซึ่งกฎหมายไม่ได้คุ้มครอง  และคนงานส่วนใหญ่จะออกไปทำงานอยู่นอกระบบ คนส่วนใหญ่ทำงานในบ้าน  ทำให้มีผลกระทบต่อครอบครัว  ต่อลูกน้อย ไม่มีสิทธิอะไรต่างๆ  นโยบายของรัฐยังไม่มีการตอบสนอง   ILO  มีกฎหมายที่ดี  แต่กฎหมายไม่ถูกบังคับใช้ การประชุมกัน  พวกเราพยายามทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาคเอเชีย  สถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียคือปัญหาความไม่ปลอดภัย  คนงานรวมกลุ่มกันไม่ได้  มีคนที่ไม่ค่อยรู้ข้อมูลสถานการณ์เรื่องโรค  ที่เกิดจากการทำงาน  รัฐบาลก็ตอบไม่ได้  ไม่บังคับใช้กฎหมาย  เวลาคนงานไปร้องเรียนก็ โอเค แต่ไม่ทำอะไร ไม่แก้ไขปัญหาจริงจัง  บางทีก็บอกว่าไม่มีงบประมาณ ไม่มีเงิน
 
สถานการณ์รัฐมีปัญหาคอรัปชั่นไม่โปร่งใส ทำงานเชื่องช้า  คนงานอยู่ภายใต้ค่าแรงขั้นต่ำ รัฐพยายามพูดถึงการค้าเสรีที่มีแต่ผลกระทบโดยตรงต่อคนงาน มีบางประเทศพยายามทำมาตรฐานแรงงาน SO ต่างๆออกมามากมาย แต่แท้จริงแล้วเขาพยายาม รณรงค์เพื่อผลประโยชน์ทางผลผลิตมากกว่า ความปลอดภัยอย่างแท้จริง  ฝ่ายรัฐและนายจ้างพยายามเอาเงินไปทุ่มเรื่องมาตรฐาน    แต่ไม่สนใจการดูแลสุขภาพความปลอดภัยของคนงาน  และไม่จ่ายเงินค่าชดเชยแก่คนงานกลุ่มต่างๆ
 
รัฐบาลเอาเงินลงทุนไปซื้อแบงก์  แต่เวลาช่วยคนงานบอกไม่มีงบ พวกเราต้องการให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา 155 ซึ่งเวลาคนงานเจ็บป่วย  จะต้องได้รับการคุ้มครอง โดยเฉพาะเรื่องของการเจ็บป่วยของคนงานด้วยสารเคมี  คนงานต้องได้รับการคุ้มครองอย่างจริงจัง  โดยไม่แบ่งชาติ เชื้อ เผ่าพันธุ์ รวมถึงแรงงานเด็ก  และควรให้กลุ่มคนป่วยจากการทำงาน  ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพความปลอดภัยให้เกิดขึ้น  เราพัฒนาความสมานฉันท์ในหมู่ผู้ใช้แรงงานทำงานร่วมกันและต้องมีโรงงานที่สะอาดปลอดภัย  การพัฒนาประชาธิปไตย การทำงานร่วมกันของภาคประชาชนในเรื่องสุขภาพความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน นำมาสู่การเมืองภาคประชาชน
 
                                                             โดย สมบุญ สีคำดอกแค
ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย