ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง (ตอน 2)

ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง2
 
จากบทความครั้งที่แล้ว “ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง”ถ้าท่านใดได้ติดตามหลายท่านยังงงอยู่และมีคำถามในใจอยู่หลายข้อ แต่นั้นคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วในภาคอุสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจโรงแรมและบริการเพราะอุสาหกรรมประเภทนี้จะมีกลุ่มทุนข้ามชาติ  ( ส่วนใหญ่ ) ที่เข้ามาทำธุรกิจประเภทนี้ก็จะมาลงทุนสร้างอาคารสถานที่หลายๆแห่งแล้วไปจ้างบริษัทที่ดำเนินกิจการโรงแรมและบริการใหญ่ๆมาบริหารให้ เช่นในกลุ่ม Starwood , Accor ฯลฯ อะไรทำนองนั้น  แต่ไม่ได้ให้การบริหารที่เบ็ดเสร็จแก่บริษัทเหล่านั้นยังคงมีส่วนร่วมในการจัดการอยู่โดยการเข้าไปก้าวก่ายในเรื่องการเงิน และสวัสดิการต่างๆ
 
แต่คงจะไม่เป็นปัญหาอะไรถ้าในการจดทะเบียนบริษัทภายใต้ชื่อกลุ่มทุนเป็นบริษัทนายจ้างเดียวทั้งหมดทุกแห่ง  แต่กลุ่มทุนนี้กลับไปตั้งบริษัทขึ้นมาแห่งหนึ่ง(บริษัทแม่นั้นเอง) มาเป็นนายจ้างของบริษัทที่ว่าจ้างเข้ามาบริหารแล้วให้บริษัทที่ว่าจ้างเข้ามาบริหารเป็นบริษัทจำกัดโดยใช้ชื่อตามกลุ่มบริษัทที่ดำเนินการบริหารโรงแรมแล้วให้รับคนงานเป็นลูกจ้างเอง(โดยตรง) โดยไม่ผ่านบริษัทแม่  และเรื่องทั้งหมดนี้ได้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้เขียนทำงานเอง คือบริเวณพื้นที่หาดบางเทาเป็นที่ตั้งที่ทุกคนในภาคการโรงแรมและการบริการรู้ดีในชื่อ “ลากูน่า ภูเก็ตหรือโรงแรมในเครือลากูน่า*” เมื่อก่อนใช้ชื่อกลุ่มทุนที่มาลงทุนร่วมในชื่อ “บริษัทวาซังหรือไทวา”เป็นกลุ่มทุนที่มาจากประเทศสิงคโปร์ และมี  “บริษัทเทมาเสก”เป็นบริษัทใหญ่  มีการพัฒนามาเรื่อยๆจนเกิดโรงแรมระดับ5 ดาว จำนวน 6 แห่งมีบริษัทสนับสนุนจำนวน 3 แห่ง สปาที่มีชื่อเสียงอีก 1 แห่ง ทั้งหมดนี้ มีการสร้างบ้านเพื่อเช่าชื่ออีกกว่าพันหลัง หลังละไม่ต่ำกว่า 10 ล้าน แต่ละแห่งจะมีลูกจ้างเป็นของตนเอง
 
พอหลังปี43 ทางผู้เขียนได้เป็นผู้ก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาในสถานประกอบการของผู้เขียนเองและได้ร่วมก่อตั้งสหภาพแรงงานที่อยู่ในกลุ่มลากูน่าทั้งหมดได้ 8 แห่ง และแต่ละแห่งก็มีการดำเนินกิจกรรมสหภาพกับนายจ้างของตัวเองมาตลอดสามารถที่จะเพิ่มและเปลี่ยนแปลงสวัสดิการให้ดีขึ้นมาก จนกระทั้งมีการตั้ง “บริษัทลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเต็ล(มหาชน) จำกัด”ขึ้นมา แล้วมีนโยบายดูแลการจัดการบริหารโรงแรมในเครือลากูน่าทั้งหมดโดยเฉพราะการจัดสวัสดิการของพนักงาน
 
ดังนั้นการพูดคุยการทำงานของสหภาพและนายจ้างจึงลำบากขึ้นเพราะการเข้ามาแทรกแซงก้าวก่ายพยายามลด บันทอนอำนาจการต่อรอง และพยายามทำให้ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของสหภาพแรงงานทุกแห่งสะดุด และทำให้นายจ้างตัวจริงไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง  แล้วถ้าเป็นในรูปแบบนี้สหภาพแรงงานเราจะจัดการอย่างไรดี ฉบับหน้าดูวิธีการจัดการและแก้ปัญหาในเรื่องนี้ว่าเสียงของสหภาพฯที่ดำเนินกิจกรรมกับบริษัทแม่จะเป็นอย่างไรและจะมีอำนาจต่อรองได้แค่ไหนและจะสะท้อนปัญหาให้บริษัทแม่ฟังจะดังหรือไม่แล้วค่อยพบกันครับ
(บทความตอนที่ 1https://voicelabour.org/?p=183 )
 
เขียนบทโดยนักสือสารแรงงานศูนย์ภูเก็ต วิเชียร ตนุมาตร 
*www.lagunaphuket.com