รับลูกเตรียมขยายเกษียณอายุ 60 ปี ปรับฐานเงินชราภาพ พร้อมเดินหน้าปฏิรูปประกันสังคม

google.co.th/search

สปส. ร่วมมือ ILO เดินหน้าปฏิรูปกองทุนประกันสังคม เสนอ 5 แนวทางสร้างเสถียรภาพกองทุนบำนาญชราภาพ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นเสนอขยายเกษียณอายุ และพัฒนาศักยภาพแรงงานแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

วันที่ 14 กันยายน 2016 กระทรวงแรงงานรายงานว่า สำนักงานประกันสังคม(สปส.) กระทรวงแรงงาน ร่วมมือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เดินหน้าปฏิรูปกองทุนประกันสังคม นายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในปี 2554 มีอัตราส่วนพึ่งพิงผู้สูงอายุต่อประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15 – 59 ปี) อยู่ที่ 20 ต่อ 100 และอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 41 ต่อ 100 ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกองทุนประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมได้เริ่มจ่ายเงินบำนาญชราภาพในปี 2557 จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกันตนที่อายุครบ 55 ปี และส่งเงินสบทบครบตามกำหนด ได้ยื่นขอรับสิทธิแล้วกว่า 87,000 คน เป็นเงินกว่า 1,450 ล้านบาท ในปีหน้าคาดว่าจะมีผู้รับบำนาญเกือบ 200,000 แสนคน และภายใน 10 ปีข้างหน้าจะมีตัวเลขผู้รับบำนาญเพิ่มถึง 1 ล้านคน สำนักงานประกันสังคมได้เล็งเห็นสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคมในอนาคต จึงได้ร่วมมือกับองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประเมินค่าทางคณิตศาสตร์ประกันภัยของกองทุนชราภาพ ผลการวิเคราะห์พบว่า หากไม่ดำเนินการปฏิรูประบบบำนาญประกันสังคม รายรับจะไม่เพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละปี ทำให้ต้องดึงเงินกองทุนสะสมออกมาใช้ภายใน 28 ปี และเงินสะสมจะหมดภายใน 38 ปี นับจากปี 2559 และเพื่อไม่ให้ภาระทั้งหมดตกไปถึงมือรุ่นลูกรุ่นหลาน โดย ILO ได้มอบข้อเสนอแก่สำนักงานประกันสังคม 5 แนวทาง ดังนี้

1.) ปรับฐานค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบจาก 1,650 -15,000 บาท เป็น 3,600-20,000 บาท เนื่องจากค่าครองชีพมีแนวโน้มสูงขึ้น

2.) ขยายอายุเกษียณ จากเดิม 55 ปี  60 ปี โดยจะขยายในปี 2565 เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ประกันตนที่อยู่ในช่วงใกล้เกษียณ (อายุ 55 ปี)

3.) ปรับสูตรคำนวณบำนาญจากค่าจ้าง 5 ปีสุดท้ายของการทำงาน เป็น 15 หรือ 20 ปีสุดท้ายของการทำงานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกันตน และกองทุนประกันสังคมมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายเงินบำนาญตลอดไป

4.) ปรับอัตราเงินสมทบกรณีชราภาพจาก  ร้อยละ 3 เป็นไม่เกินร้อยละ 5

5.) ปรับนโยบายการลงทุนให้เหมาะสม โดยให้แยกหน่วยลงทุนเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้กำกับของสำนักงานประกันสังคม (SDU) เพื่อสร้างเสถียรภาพและความคล่องตัวในการลงทุน

เลขาธิการสปส. ได้กล่าวเพิ่มเติมในกรณีการยกเลิกบัญชีแนบท้ายประกาศการทันตกรรม ว่า “เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา คณะกรรมการการแพทย์ได้พิจารณาเห็นชอบยกเลิกประกาศดังกล่าว และเสนอต่อคณะกรรมการสำนักงานประกันสังคม ในวันที่ 13 กันยายน 2559 โดยคณะกรรมการประกันสังคม มีมติเห็นชอบดังนี้

1.) ยกเลิกบัญชีแนบท้ายประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2599 เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

2.) กำหนดให้สถานพยาบาลคู่สัญญาของสำนักงานประกันสังคมให้บริการในอัตราตามความเป็นจริง

3.) ขยายหน่วยบริการรับทันตกรรมเพิ่มเติม โดยจะประสานขอความร่วมมือสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ทั้งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และสังกัดอื่นๆ ให้ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทันตกรรมไม่ต้องสำรองจ่ายในวงเงิน 900 บาทต่อปี และให้สถานพยาบาลนั้นๆ เบิกจ่ายสำนักงานประกันสังคมได้โดยตรง โดยล่าสุด มีสถานพยาบาลรัฐและเอกชน สมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 78 แห่ง ซึ่งจะเริ่มโครงการนำร่องและการให้สิทธิการเบิกค่าทันตกรรมคนละ 900 บาทต่อปี ในเดือน ต.ค.นี้ หลังจากนั้นจะขยายผลโครงการนำร่องฯให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560”

%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b8

เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นเสนอขยายเกษียณอายุ และพัฒนาศักยภาพแรงงาน

วันที่ 16 กันยายน 2559 สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์รายงานว่า พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานการสัมมนาความร่วมมือญี่ปุ่น – ไทย เรื่อง การจ้างงานผู้สูงอายุ (Japan – Thailand Collaboration Seminar for the Elderly Employment) ว่า เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วและเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชีย รองจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลคุ้มครอง และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดช่วงวัย เพื่อให้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเองได้ ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะส่งเสริมการจ้างงานให้ผู้สูงอายุและผู้พิการ ได้มีงานทำ มีรายได้ มีสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เหมาะสม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสอดรับกับนโยบาย และเพื่อนำไปสู่การพัฒนากลไกการดูแลผู้สูงอายุและปรับปรุงกฎหมายจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสร้างการเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ อย่างเท่าเทียม

ด้านนายชิโร ชาโดชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 26.7 ของประชากรทั้งประเทศ แต่ญี่ปุ่นได้มีการเตรียมการอย่างต่อเนื่องจนสามารถกำหนดมาตรการดูแลผู้สูงอายุได้ดีและเป็นที่ยอมรับ โดยได้มีการปรับการเกษียณอายุจาก 60 ปี เป็น 65 ปี และขยายเวลาการรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

“ทั้งนี้ประเทศไทยยังไม่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ควรมีการเตรียมการและมีการจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น โดยการขยายอายุเกษียณให้เพิ่มขึ้น และกำหนดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะทำให้ประเทศไทยรับมือกับผลกระทบได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหากมีอัตราการเกิดน้อยลง ควรพัฒนาแรงงานที่มีในระบบให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม” นายชิโรกล่าว