ขบวนแรงงานสามัคคีทอดผ้าป่าบำรุงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

13516445_1218873821458962_4732362715234365155_n

นักวิชาการย้ำ รำลึกถึงผู้นำต้องมีการศึกษาเจตนารมณ์และช่วยกันสืบสาน ด้านผู้นำแรงงาน ชวนกันสร้างเอกภาพบนพื้นที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

วันที่ 26 มิถุนายน 2559 พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้จัดทอดผ้าป่า และทำบุญรำลึกถึงอดีตผู้นำแรงงาน โดยมีญาติ ผู้นำแรงงาน นักวิชาการและผู้แรงงานทั้งรุ่นใหม่รุ่นเก่าเข้าร่วมทอดผ้าป่า และกล่าวรำลึก รวมวางดอกไม้ด้วย

นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า การจัดงานผ้าป่าพิพิธภัณฑ์ฯและการรำลึกถึงผู้นำแรงงาน และผู้มีคุณูปราการในอดีตก็เพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของอนุชนรุ่นหลังถึงคุณงามความดี ซึ่งมีต่อมวลผู้ใช้แรงงานในการขับเคลื่อนสวัสดิการต่างๆ และการจัดทอดผ้าป่าของพิพิธภัณฑ์ฯก็ด้วยเพื่อการบริหารจัดการ ด้วยการทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับสังคม แรงงาน นักเรียนนักศึกษา และบุคคลทั่วไทยทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศโดยไม่ได้มีการเก็บค่าเข้าชม การทอดผ้าป่าจึงเป็นการมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แรงงานให้กับสังคม

13498096_1218873888125622_2131972428189970753_o

จากนั้นได้มีการเชิญให้ผู้นำแรงงาน นักวิชาการมาพูดถึงผู้นำแรงงานในอดีตถึงหลักคิด และการทำงาน เพื่อการสืบสานให้ผู้นำแรงงานรุ่นหลังได้เรียนรู้และนำไปสู่การสานต่อเจตนารมณ์ร่วมกัน โดยสรุปได้ดังนี้ว่า หลายท่านมีความกังวลเรื่องสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย หลังข่าวการโอนพื้นที่มักกะสันให้กับกระทรวงการคลัง ซึ่งจะโอนส่วนแรก 105 ไร่ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ โดยกล่าวถึงพื้นที่ความเป็นประวัติศาสตร์ของอาคารสถานที่ ที่มีการต่อสู้ด้านสวัสดิการ และการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งอาจารย์ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงาน ชี้ให้ดูร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่เห็นได้ชัดเจนในห้องที่ 2 แรงงานจีน ที่ประตูมีรอยขวานจาม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเผด็จการ 6 ตุลาคม 2519 การรำลึกเพื่อการสืบสานเจตนารมณ์ผู้แรงงาน ต้องไม่ใช่แค่การรำลึกต้องมีการศึกษาถึงแนวคิดของผู้นำในอดีต เพื่อนำไปสืบสานด้วย

โดยผู้นำแรงงานได้กล่าวถึงการสืบสานเพื่อสร้างเอกภาพให้กับขบวนการแรงงานเพื่อการสืบสานเจตนารมณ์ผู้นำแรงงานผ่านความร่วมมือในการทำงาน ดูแลพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยร่วมกัน เริ่มจากการขับเคลื่อนเรื่องพื้นที่ตั้ง ที่ต้องอยู่ในพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ และต้องช่วยให้พิพิธภัณฑ์ฯอยู่เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ ที่จัดการศึกษาให้กับผู้ใช้แรงงาน

13502863_1218873931458951_464567988153779490_o

ด้านพื้นที่นั้นมองว่า พื้นที่แห่งนี้แห่งนี้มีประวัติศาสตร์ด้านการต่อสู้ของคนงานรถไฟมักกะสันจนซึ่งเห็นได้จากภาพผู้นำแรงงานที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏมักกะสัน และถูกจับกุมขังคุกในช่วงของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งการาต่อสู้ของผู้นำแรงงานในอดีตมีความเข้มข้นมาก วันนี้พื้นที่โรงงานมักกะสันแห่งนี้กำลังจะถูกรัฐบาลสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบให้กระทรวงการคลังเพื่อใช้หนี้ ซึ่งไม่รู้ว่าหนี้อะไร ใครเป็นหนี้ใคร 1 กรกฎคมนี้ส่งมอบพื้นที่แรก 105 ไร่ ในฐานะผู้นำแรงงานรุ่นหลังต้องสืบสานปกป้องพื้นที่ประวัติศาสตร์ไว้ และพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยตั้งอยู่ในพื้นที่มักกะสัน พื้นที่แห่งประวัติศาสตร์ และต้องอยู่ที่นี่ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเราในการที่จะต้องร่วมมือกันในการรักษาและให้ดำลงอยู่ตรงนี้ หากย้ายก็ต้องอยู่ที่นี่ในพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ และมีพิพิธภัณฑ์คนงานรถไฟเพื่อการให้เห็นคุณค่าคนทำงานในประวัติศาสตร์ด้วย ในฐานะผู้นำต้องช่วยกัน และจะทำหน้าที่รักษาพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยไว้อย่าสุดความสามารถอย่างแน่นอน

ด้านผ้าป่าสามัคคีปีนี้ทางกลุ่มพี่น้องผู้ใช้แรงงานแต่ละพื้นที่ทั้งสภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงาน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจฯ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย รวมทั้งเครือข่ายต่างๆที่ร่วมรวมมาเป็นเงิน 423,200 บาทในขณะนี้ ซึ่งยังมีอีกหลายที่ที่แจ้งว่าไม่สะดวกมามอบในวันนี้และจะมามอบให้ที่หลังอีกด้วย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน