คนไร้บ้านคือใคร. ?

Untitled-2

โดยอรรถพล พรมหา นักสื่อสารแรงงานกลุ่มเวลโกร์ว

“แลกเปลี่ยนการผลิตสื่อต้องมีความรู้ในพื้นที่สนามหลวง ที่มีคนไร้บ้านอาศัยอยู่จะมีเวลานอนถึง 4 ทุ่มก่อนที่จะถูกเทศกิจไล่ให้ออกจากสนามหลวง กลุ่มคนเหล่านี้จะใช้เวลานอนประมาณ 4 ชั่วโมง จากเวลาประมาณ 5 โมง เพื่อที่จะเอาแรงเดินเท้าไปที่อื่นต่อ ในช่วงเวลากลางวันผู้คนเหล่านี้ก็จะทำงานทั่วไป เช่น เก็บของเก่า เร่ขายของตามงานวัด รับจ้างทั่วไป”

สาเหตุที่ออกมาเป็นคนไร้บ้าน คือ
1. ครอบครัวแตกแยก พ่อ แม่ หย่าร้าง
2. สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
3. ผู้สูงอายุ ที่คิดว่าเป็นภาระของครอบครัว
4. ผู้ป่วยติดเชื้อ
5. ผู้ต้องขังที่พ้นโทษแล้วไม่เปิดเผยตัว
6. ผู้พิการ หูหนวก

เหตุผลหนึ่งที่เลือกมาอยู่ที่ศูนย์คนไร้บ้านของเอกชน คือ ไม่ต้องมีบัตรก็เข้าไปพักอาศัยได้  ช่วงโดนเจ้าหน้าที่ของรัฐจับ ไม่ได้รับสิทธิ์ขั้นพื้นฐานเพราะไม่มีบัตรจะต้องมีผู้รับรองระดับ C7 ไปประกันเอาตัวออกมาซึ่งคนไร้บ้านไม่มี จึงเข้าร่วมเครือข่าย องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)ช่วยจะติดต่อ คือเลข 13 หลัก ที่รัฐบาลต้องการ

Untitled-1

ศูนย์-ของรัฐ บ้านอิ่มใจ ตั้งอยู่เลขที่ 2/22 สี่แยกแม้นศรี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย บริเวณสำนักงานการประปา สาขาแม้นศรี (เดิม) เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ไร้บ้าน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง รวมทั้งครอบครัวที่เดือดร้อน หรือมีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อช่วยเหลือด้านสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่ผู้รับบริการ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับภายในบ้านพักอิ่มใจ มีพื้นที่ใช้สอยรวม 10,000 ตารางเมตร เป็นอาคารสูง 3 ชั้น แบ่งเป็นห้องพักรวมหญิง และห้องพักรวมชาย รองรับการเข้าพักได้วันละ 200 คน โดยผู้ที่จะเข้าพักได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง จะมีการเตรียมกิจกรรม และฝึกอาชีพเสริมให้กับผู้เข้าพัก ไม่ว่าจะเป็นการร้อยลูกปัด กรอบรูปวิทยาศาสตร์ กัดลายกระจก นวดแผนไทย ช่างจักรยานยนต์ กิจกรรมนันทนาการและสังคมสงเคราะห์

โด่ง  ปัญหาใหญ่ของคนไร้บ้านเป็นปัญหา ที่เป็นปัญหาของครอบครัวยิ่งชุมชนไม่เข้าร่วมก็จะยิ่งผลักดันให้ออกมา เช่น ผู้ต้องขังพ้นโทษ ทำให้สังคมไม่เกิดการยอมรับ ไปสมัครงานที่ไหนก็ยากจึงทำให้ต้องออกมาจากสังคม พอเมื่อที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ก็ขาดโอกาสที่จะทำ การทำงานก็จะไม่ได้การรับรอง อาจจะถูกโกง การหางานก็ต้องหาการความสัมพันธ์ จ่ายค่าจ้างรายวัน การสร้างความปลอดภัย ความไว้เนื้อเชื่อใจยากที่จะเข้าถึงได้เพราะนานจนลืม

คนไร้บ้านส่วนมากยึดอาชีพ เก็บขวด เก็บกระป๋อง รับจ้างทั่วไป เป็นอาชีพที่ไม่ต้องลงทุน แรงงานนอกระบบ รับจ้าง ล้างจาน เด็กเสริฟ รับจ้างทุบตึก รับจ้างโบกธงตามปั้ม บางที่จะต้องดูคุณสมบัติ เป็นคนขยัน ตรงต่อเวลา มีการประเมินดูจากผลงานต่อค่าแรงงานการทำงาน อาชีพอื่นมีค่าจ้างที่ไม่แน่นอนคือโดนโกงค่าจ้างเพราะมองว่าไม่กล้าที่จะเรียกร้องอะไรได้ ก็เป็นเหตุทำให้เกิดความท้อ จึงต้องหยุดไปทำงานนั้น พอได้หยุดนานๆก็ไม่อยากที่จะไปทำอีก

ลุงพงษ์ คนไร้บ้านเล่าประวัติว่า อดีตเคยรับราชการเป็นทหารเรือ ยศต่ำ ได้รับค่าจ้างอย่างต่ำมาก จนไม่พอที่จะมาเลี้ยงชีพ ก็จำเป็นต้องไปกู้เงินมาเลี้ยงครอบครับ จึงทำให้เป็นหนี้ พอมีหนี้มากก็อยู่ไม่ได้จึงลาออกจากราชการ มีครอบครัวก็เริ่มที่จะเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว ไหนจะค่าเช่าบ้าน เดือนละ 3,000 บาทของหลวง ในเมื่อค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอก็ทำให้ครอบครัวต้องแยกทางกันไป ในช่วงอายุ 30 ปี ก็ใช้เวลาเที่ยวเตร่ พอเลิกรับราชการก็ได้รับเงินบำนาญ ได้มาก็ชำระหนี้หมด ก็เลยไม่เหลือเลย เคยอาศัยอยู่ที่ป้อมพระจุลเช้ามาก็ออกไปหาข้าวกินเพราะที่หัวลำโพงไม่มีข้าวฟรี พอเดินทางไปก็ได้เจอคนไร้บ้านก็บอกว่าที่วัดสังฆทาน เมืองนนท์มีข้าวให้กินฟรี ที่นั่นไม่มีใครที่รู้จักใครเลย อยู่ด้วยกันก็จะไปรู้จักกันที่นั่นแหล่งรวมคนไร้บ้านที่สนามหลวง

ลุงแดง คนไร้บ้าน  กรรมการบริหารของเครือข่าย เป็นช่างเรือนไทยป่วยเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ครอบครัวต้องรับภาระจึงอยากออกจากบ้าน มาอาศัยอยู่ที่สนามหลวง ที่มีไฟสว่าง ปลอดภัย ดูผู้ที่นอนอยู่เป็นผู้สูงอายุหน่อย ก็เลยทำความรู้จักกันไว้ ทำงานในเครือข่ายเกี่ยวกับการเกษตร การเก็บขวดเป็นงานประจำที่ได้เงินเร็ว ถ้ามีงานเข้ามาใน หลักแหล่ง แต่หลังจากได้เข้าไปแรกสัมผัสและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้สึกก็เปลี่ยนไปทันที เพราะการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้ก็เหมือนการดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติทุกคนก็ไม่อยากเลือกที่จะเป็น แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่จำเป็นจึงเหลือมาใช้ชีวิตแบบคนไร้บ้าน เหมือนวิถีชีวิตของลุงพงษ์ ที่เคยรับราชการทหารเรือแล้วก็ยังไม่มีความสุข ถึงแม้บางคนเคยคิดว่าอาชีพรับราชการจะมั่นคง จะทำให้มีความสุข หรือมีเงินพอใช้ แต่ลุงก็ยังต้องมาอยู่กับคนไร้บ้าน ถึงแม้ว่าลุงพงษ์จะเลือกอยู่อย่างไม่มีบ้าน ไม่มีคนดูแล แต่ก็ยังคิดที่จะช่วยเหลือสังคม และยังสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ถึง