นานาทัศนะ : แรงงานผนึกพลังสังคมขับเคลื่อนความเป็นธรรมในวิกฤติโควิด

  แรงงานผนึกพลังสังคมขับเคลื่อนความเป็นธรรมในวิกฤตโควิด มานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ข้อกังวลของแรงงานคือตอนนี้นายจ้างเริ่มจะมีผลกระทบจากยอดการผลิตการส่งออกลดลงเกิน 50% เกือบทุกบริษัท ทั้งผู้ผลิตรถยนต์และซัพพลายเออร์ หลายบริษัทให้พนักงานหยุดงาน โดยเฉพาะพนักงานซับคอนแทรคให้ส่งกลับต้นสังกัดแต่ไม่ได้บอกว่าเลิกจ้าง ทำให้พนักงานกลุ่มนี้ซึ่งหลายคนทำงานมา 6-7 ปี จะไปฟ้องศาลแรงงาน แต่นิติกรบอกฟ้องไม่ได้เพราะยังไม่ถูกได้เลิกจ้าง ทำให้ฟ้องศาลเพื่อเอาเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541ไม่ได้ พนักงานที่ถูกส่งกลับบริษัทซับคอนแทรคก็ไม่มีระยะเวลาแน่นอนว่าจะเรียกให้มาทำงานเมื่อใด ส่วนพนักงงานประจำ มีปัญหาจากการที่มีกฎกระทรวงเรื่องเหตุสุดวิสัย คือสถานประกอบการไม่สามารถดำเนินกิจการได้หรือไม่สามารถผลิตได้เป็นบางส่วน แต่นายจ้างได้ให้พนักงานหยุดงานบ้างมาทำงานบ้างโดยที่สายการผลิตยังทำงานอยู่จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวง กลุ่มนี้ไม่ชัดเจนว่าจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายและยังไม่รู้ว่าจะถูกเรียกเข้ามาทำงานเมื่อใด ส่วนพนักงานอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องออกไปเลย ต้องตกงานโดยไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหน ในส่วนของภาคแรงงานจึงต้องเชื่อมโยงประสานความร่วมมือกับภาคเครือข่ายสังคม ทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิชาการอิสระ ซึ่งต่างก็ได้รับผลกระทบ ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด เป็นการรวมกันของหลายๆภาคส่วนที่เวลามาประชุมหารือได้เอาหลายความคิดมารวมกันทำให้ได้มุมมองที่หลากหลาย ถือว่าเป็นประโยชน์มาก แต่การที่จะนำผลสรุปไปเสนอต่อรัฐบาลก็ต้องให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญของภาคีด้วย วิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต ข้อกังวลห่วงใยคือลูกจ้างไม่มีกินไม่มีใช้ จะทำให้ชีวิตพวกเขายากลำบากและเป็นปัญหาสังคมตามมามากมาย ในจังหวัดภูเก็ตก็ได้รับผลกระทบจำนวนหลายแสนคนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม คือกระทบกับครอบครัวของลูกจ้างซึ่งภูมิลำเนาอาจไม่ได้อยู่ที่ภูเก็ตต้องเดือดร้อนไปด้วย ภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิดที่ทำกันขึ้นมา เพื่อระดมความคิดเห็นสะท้อนปัญหาที่ตรงเป้าตรงประเด็นสู่ผู้มีอำนาจในการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดอย่างฉับไว ส่วนในการฟื้นฟูเท่าที่ได้ติดตาม คาดว่าจะได้การช่วยเหลือทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่จะก่อให้เกิดการจ้างงาน ก่อให้เกิดการซื้อขายเงินสะพัด จึงเสนอว่าให้เร่งทำให้เร็วเพราะยิ่งช้าปัญหาจะยิ่งลุกลามบานปลาย แต่ทำเร็วก็อยากให้แก้ปัญหาให้ตรงจุด ไม่ใช้แก้แบบหว่านแหสะเปะสะปะไปเรื่อย เงินมีน้อยอยู่แล้วถ้านำไปใช้จ่ายผิดประเภทหรือผิดทาง ก็จะทำให้การช่วยเหลือมาไม่ถึงผู้เดือดร้อนโดยตรง ศิริจรรยาพร แจ้งทองหลาง เลขาธิการสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ความกังวลต่อสถานการณ์คือจะมีการปรับลดขนาดองค์กรลงในอนาคตอย่างแน่นอน […]

วันงานที่มีคุณค่า แรงงานยื่นหมื่นชื่อ ยกเลิกการจ้างงานที่ไม่มั่นคง

วันงานที่มีคุณค่า คสรท. สรส.และเครือข่ายแรงงาน ร่วมรณรงค์เนื่องในวันงานที่มีคุณค่าสากล หรือ Decent Work Day โดยชูประเด็นเรียกร้อง คือ ขอให้รัฐบาลยกเลิกการจ้างงานที่มีคุณค่า ส่วนเครือข่ายแรงงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม หรือ Just transition ยื่นข้อเสนอภาวะโลกร้อนเช่นกัน

คสรท.ขอพบ”บิ๊กตู่” หวังหนี้ประกันสังคม 5.6 หมื่นล้านเสริมบำนาญชราภาพ

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยชี้ประชาพิจารณ์บำนาญชราภาพรวบรัดไม่เปิดกว้าง เสนอรัฐบาลควรใช้หนี้ค้างจ่ายประกันสังคม 5.6 หมื่นล้าน และต้องจ่ายเงินสมทบ 5%เท่านายจ้างลูกจ้างและสมทบกรณีชราภาพด้วย แทนการปรับขึ้นเงินสมทบเพราะกระทบคนงานรายได้น้อย เตรียมเข้าแจงนายกฯและขอความชัดเจน

เสวนา คสรท.-สรส.ชี้ชัด ประชาธิปไตยสร้างงานที่มีคุณค่า

เครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจฯ จัดกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดงานที่มี คุณค่า เสนอรัฐบาลรับรองสิทธิเสรีภาพการรวมตัวเจรจาต่อรอง ยกเลิกนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และเสนอค่าจ้างขั้นต่ำ712 บาทเพื่อเลี้ยงครอบครัวได้ตามหลักการไอแอลโอ ขณะวงเสวนาชี้งานที่มีคุณค่าจะเกิดขึ้นได้ แรงงานทุกกลุ่มซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมต้องมีสำนึกร่วม และสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองกำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อแรงงาน

รำลึกเงียบ “24 ปี โศกนาฎกรรมคนงานเคเดอร์”

10 พ.ค.60 รำลึก 24 ปี ไฟไหม้โรงงานเคเดอร์ บรรยากาศการรำลึกเป็นไปอย่างเงียบเหงา มีเพียงเจ้าหน้าที่ ชาวบ้านระแวกมักกะสัน และนายสัพพัญญู นามไธสง กรรมการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยร่วมพิธีรำลึกอย่างเงียบๆและเรียบง่าย มีการวางดอกไม้ และถวายอาหารคาวหวานเท่านั้น

สู่เศรษฐกิจสีเขียว – การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน

ขบวนการแรงงานในระดับสากลตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโลกร้อน แต่ก็มีความกังวลว่าการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในการจ้างงาน รวมทั้งการดำรงชีวิตของแรงงานและครอบครัว จึงได้ร่วมกันพัฒนากรอบแนวคิด “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” หรือ Just Transition ขึ้น

ป้าวิร่ำลาแรงงาน ฝากช่วยกันแก้ปัญหาแรงงาน

21 ก.ค.59 เลี้ยงส่งวิไลวรรณ แซ่เตีย ร่ำลาแรงงาน เป็นห่วงปัญหาแรงงานที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและร่วมกันขับเคลื่อนมากับขบวนการแรงงานโดยตลอด แต่คิดว่าผู้ที่ยังอยู่จะช่วยกันทำต่อให้ปัญหาต่างๆได้รับการแก้ไขเพื่อความเป็นธรรม ป้าไม่อยู่ก็ไม่เป็นไรก็จะเอาใจช่วยทุกคน คอยฟังข่าว ขอให้คนที่อยู่ช่วยกันทำงานเพื่อส่วนรวม มีโอกาสก็คงได้เจอกันอีก ขอบคุณทุกคนที่เป็นห่วงและเป็นกำลังใจให้” ป้าวิกล่าวทั้งน้ำตายังคลอเบ้า

8 มีนา ผู้หญิงเรียกร้องสิทธิ เสมอภาคในรัฐธรรมนูญ

เครือข่ายผู้หญิงประกาศ 8 มีนา วันแห่งการต่อสู้ของผู้หญิงทั่วโลก : “คนทำงานหญิงต้องการการปฏิรูปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” “รัฐธรรมนูญที่ดีต้องมีมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ”

นักข่าวพลเมือง ตอน ความหวังแรงงานในปี 2559

นักข่าวพลเมือง ตอน ความหวังแรงงานในปี 2559

สถานี Thai PBS ออกอากาศวันที่ 3 ม.ค. 59

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและการสร้างสวัสดิการแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบให้เท่าเทียมกันที่เป็นข้อเสนอด้านแรงงาน และได้พูดคุยกับตัวแทนแรงงานถึงสิ่งที่พวกเขาอยากเห็นในปีใหม่ ปี 2559
นักข่าวพลเมือง เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน รายงาน

สรุปงานพิพิธภัณฑ์เสริมความรู้เศรษฐศาสตร์การเมือง

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยสรุปงานรอบปี เสริมความรู้วิชาการหวังกรรมการช่วยกันพัฒนาขบวนการแรงงานและทำให้พิพิธภัณฑ์แรงงานอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ITF-Thai สร้างนักสื่อสารรุ่นใหม่เสริมความเข้มแข็งองค์กร

ITF-THAI อบรมสร้างนักสื่อสารแรงงานรุ่นใหม่ เสริมทักษะการเขียนข่าวผลิตสื่อสิ่งพิมพ์หวังพัฒนาระบบสื่อสารองค์กร

เสวนา ขบวนการแรงงาน พลัง เอกภาพ และความเชื่อมั่น

แรงงานไม่เป็นขบวนเหตุผู้นำแตกแยก เสนอรุ่นใหม่ๆเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ปลูกฝังอุดมการณ์แรงงาน
เคลื่อนประเด็นร่วมสร้างเอกภาพ

1 2 38