แรงงานบุกสภาฯพบวิปฯ-ส.ส.หญิง ช่วยผลักร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแรงงาน

จากการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ปีที่ 1 ครั้งที่ 21 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555 ได้มีการบรรจุวาระการประชุมในเรื่องด่วนลำดับที่ 9 กรณีร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ….ฉบับที่นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264 คน เป็นผู้เสนอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 เมื่อวันพุธที่ 21 ธันวาคม 2454 แต่พบว่าจนบัดนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวในการประชุมครั้งใด คณะทำงานผลักดัน พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ จึงเข้ายื่นหนังสือต่อประธานวิปรัฐบาลและฝ่ายค้านให้เร่งรัดสภาผู้แทนราษฎรนำร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับเข้าชื่อของแรงงานมาพิจารณาโดยเร็ว

โรงงานย่านอ้อมน้อยฯย้ายหนีน้ำท่วม อ้างเครื่องจักรเสียทั้งที่เปิดทำโอทีทุกวัน

โรงงานทอผ้าลูกไม้ย่านอ้อมน้อย 2 บริษัทประกาศปิดโรงงาน อ้างน้ำท่วมเครื่องจักรเสียหายส่งของลูกค้าไม่ทันต้องย้ายโรงงานไปลำพูน บอกลูกจ้างไม่ย้ายตามมีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมาย ลูกจ้างร้องศูนย์อ้อมน้อยฯประสานเจ้าหน้าที่แรงงานฯมาเจราจาแต่เหลวเหตุนายจ้างส่งแค่ที่ปรึกษาไม่มีอำนาจตัดสินใจ ลูกจ้างยื่นถ้าปิดจริงให้จ่ายค่าชดเชยและสิทธิต่างๆให้ครบ เตรียมบุกกระทรวงแรงงานหากจังหวัดแก้ปัญหาไม่ได้

8 มีนาเดือด! ขว้างข้อเรียกร้องเข้าทำเนียบเสนอนายก “ปู”

เครือข่ายองค์กรผู้หญิงเดินรณรงค์วันสตรีสากล ยื่น 5 ข้อเสนอถึงนายกฯ ช่วยลูกจ้างน้ำท่วมโดยขยายสิทธิประกันสังคมว่างงานเป็น 10 เดือน และลดเงื่อนไขกู้เงินประกันสังคม เสนอกองทุนพัฒนาสตรีต้องบริหารอย่างโปร่งใสให้แรงงานหญิงทุกคนมีสิทธิเข้าถึงได้ ด้านสำนักเลขาธิการนายกฯแจ้งส่ง นลินี รับหนังสือแต่กลับลำไม่มา กลุ่มสตรีแถลงโต้ประณามนายกฯไม่ใส่ใจปัญหาคนจนและแรงงานหญิงแต่มีเวลาไปฟื้นฟูเยียวยานายทุนต่างชาติ มีมติส่งข้อเสนอของกลุ่มผู้หญิงให้นายกฯด้วยการขว้างปาเข้าไปในทำเนียบ
.
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

วิดีโอ ลูกจ้างเสียสิทธิ เหตุร้องผิด พ.ร.บ.

ลูกจ้างจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจากหลายบริษัท ได้เข้าร้องเรียนที่ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมแรงงาน สาขาของศูนย์ช่วยเหลือแรงงานกลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมี นายตุลา ปัญฉิมเวช ที่ปรึกษากฎหมายประจำโครงการเครือข่ายความช่วยเหลือและฟื้นฟูแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย มาเป็นผู้รับเรี่องร้องเรียน และแนะนำให้ความรู้ในการดำเนินการด้านสิทธิและกฎหมาย ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ ฝ่ายแรงงานร้องผิด พ.ร.บ. ทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้ายืดเยื้อจนคนงานต้องเสียสิทธิจำนวนมาก

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

แรงงานหน่ายเกมการเมืองสภาฯ แช่แข็งพ.ร.บ.ประกันสังคม เป่านกหวีดดันสภาฯเร่งพิจารณาร่างฯฉบับเข้าชื่อแรงงาน

แรงงานหน่ายสภาฯมุ่งแต่เกมการเมืองดันกฎหมายเอื้อธุรกิจการเมืองเสียบเป็นวาระพิจารณาเร่งด่วนตลอด ขณะเมินกฎหมายภาคประชาชนหลายฉบับ แช่แข็ง ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับเข้าชื่อของแรงงาน คสรท.เตรียมเดินสายพบฝ่ายการเมือง นายจ้าง และสื่อมวลชน หวังให้เห็นความสำคัญและช่วยผลักดันให้สภาฯเร่งพิจารณาก่อนปิดสมัยประชุมเมษายนนี้ ขณะแรงงานพื้นที่ต่างๆเตรียมเคลื่อนไหวปลุกกระแสคนงานยื่นหนังสือ สส.พื้นที่ขอการสนับสนุน

วิดีโอ:เดินขบวนทวง 300 ทั่วประเทศ ชี้พ.ร.ก.กู้เงินช่วยแรงงานได้ถ้าจริงใจ

เครือข่ายแรงงานเพื่อการปฏิรูปค่าจ้างที่เป็นธรรมราว1 พันคนเดินรณรงค์ยื่นหนังสือถึงนายกฯให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ จัดเวทีเสวนาวิชาการถกค่าจ้างถูกเปลี่ยนจากหลักคุ้มครองแรงงานเป็นเครื่องมือกดค่าจ้­างเพื่อแข่งขันผลิตสินค้าส่งออก ชี้นโยบาย 300 บาททั่วประเทศเป็นนโยบายเด่นสุดเป็นประโยชน์ต่อประเทศต้องรีบทำ แนะ พ.ร.ก.เงินกู้ทำรัฐบาลอู้ฟู่แบ่งช่วยแรงงานได้ แรงงานนอกระบบบอกค่าจ้างต้องมาตรฐานเดียว ขณะประธาน คสรท.ย้ำนักการเมืองหาเสียงแล้วทำไม่ได้ต้องกล้าขอโทษแรงงาน ขณะ รมว.รับหนังสือแทนนายกฯยัน 1 ม.ค.56 ได้ 300 เท่ากันทั่วประเทศแน่ ฝ่ายแรงงานแถลงค้านมติ ครม.ไม่ปรับค่าจ้างอีก 3 ปี

รมว.ตำหนิแรงงานร้องเรียน-ขึงขังห้ามนายจ้างรวมสวัสดิการเป็นค่าจ้าง

เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2555 สื่อมวลชนหลายสำนักได้รายงานกรณีนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ปะทะคารมกับแกนนำแรงงานที่พาคนงานมายื่นหนังสือร้องเรียน แต่กลับถูก รมว.แรงงานฯ ตำหนิว่าออกมาเคลื่อนไหวทำให้ภาพพจน์ของประเทศเสียหาย ซึ่งนักข่าวรายงานว่าสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มแรงงานที่เดือดร้อนจนพากันโห่ไล่ และแกนนำสภาองค์การลูกจ้างจะร้องนายกฯให้เปลี่ยนตัว รมว.แรงงานฯเพราะมีท่าทีดูถูกคนงาน ขณะที่นายเผดิมชัยกล่าวห้ามนายจ้างนำสวัสดิการมาคำนวณรวมเป็นค่าจ้าง

1 3 4