ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท: บางบทสนทนาหน้าทำเนียบรัฐบาล

เปลวแดดที่ร้อนระอุกำลังลามเลียไปทั่วผิวกายและใบหน้าของผู้ใช้แรงงานที่มาจากต่างสารทิศและรวมตัวกันอยู่ ณ ที่แห่งนี้ หลายคนเพิ่งออกจากงานกะดึกมาเมื่อรุ่งสางและมุ่งตรงมาที่นี่ทันที ความอ่อนล้า ความเพลียแดด เหงื่อไคลที่ไหลชะโลมทั่วแผ่นหลัง ผสานกับความง่วงที่เป็นผลมาจากการทำงานหนักมาทั้งคืนแฝงอยู่ทุกอณูของเรือนกาย แต่นั่นเอง! คำว่า “ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ต้องเท่ากันทั่วประเทศ” ได้สร้างความหวังและกำลังใจให้ผู้ใช้แรงงานอย่าง “เขา” ยิ่งนัก

เสียงเพลงศักดิ์ศรีกรรมกรท่อนหนึ่งที่ถูกร้องบนรถระหว่างเดินทางมาว่า “ทำงานทุกวันขันกล้า ค่าเลี้ยงชีพไม่พอ ลูกและเมียร้องเรียกหาพ่อ หิวข้าวตัวงอระงมไป หากดวงดาวพราวสดใส แม้สอยกินได้จะสอยไว้ให้ลูกกิน” ทำให้เขาน้ำตาแอบรินและสะอื้นอยู่ข้างใน ย้อนนึกถึงเมื่อวันก่อน จูงมือลูกไปที่ตลาดเพื่อหาซื้ออาหารเย็นไปเตรียมไว้ให้ครอบครัวยามที่แม่-ลูกต้องอยู่กันเพียงสองคนในยามค่ำคืน

เครือข่ายแรงงานผลิตยางปิโตรเลียมจัดสัมมนาหวังสร้างความเข้มแข็ง

PCFT ร่วมกับ ICEM Aisa Pacific จัดสัมมนาสหภาพฯกลุ่มยางรถยนต์ มากันล้นเกินเป้าหมาย คนงานยาง 3 กลุมใหญ่ กู๊ดเยียร์ มิชลีน บริดจสโตน ไม่พลาด แม็กซิส โยโกฮามา ซุปเปอร์สโตน ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2555 ณ. รร.นารายณ์ กทม. สหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย(PCFT) ร่วมกับองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ICEM Asia Pacific ได้จัดให้มีการสัมมนา “เครือข่ายสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มยางรถยนต์”

คนงานโตชิบานวนครร้อง ถูกขายพร้อมโรงงาน

คนงานโรงงานชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ในนิคมอุตสาหกรรมนวนครกว่า 4 พันคน ร้องถูกนายจ้างขายพร้อมโรงงานที่ทำอยู่เดิมแต่ไม่ยอมชี้แจงชัดเจน ลูกจ้างครวญถูกโอนพร้อมโรงงานมาแล้วครั้งหนึ่ง หวั่นครั้งนี้อนาคตวูบค่าจ้างลด สวัสดิการหายหรืออาจตกงาน ร่วมเดินรณรงค์งาน 8 มีนา วันสตรีสากล เรียกร้องรัฐบาลหันมาใส่ใจดูแลปัญหาคนงานหลังน้ำลดบ้าง
.
วิดีโอข่าว-นักสื่อสารแรงงาน

คนงานยาง ทำเสียว ขอมตินัดหยุดงาน สุดท้ายบรรลุข้อตกลง

หลังจากที่สหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างบริษัท สยามมิชลิน จำกัด (แหลมฉบัง)เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสหภาพการจ้างประจำปี 2555 มีการเจรจามาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ นำมาสู่การเปิดประชุมใหญ่วิสามัญขอมตินัดหยุดงานของสหภาพแรงงานเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 ผลมติเป็นเอกฉันท์ แต่ทั้งสองฝ่าย

DSI เชิญ วิไลวรรณ ให้ข้อมูลสอบทุจริตประกันสังคม

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ให้สัมภาษณ์ว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้เชิญให้เข้าไปให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ DSI เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบการบริหาร การทำงาน การใช้งบประมาณของทางสำนักงานประกันสังคม

โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้มีการตั้งข้อสังเกตเห็นความไม่โปร่งใสด้านการบริหารงานของสำนักงานประกันสังคม ในการนำเงินไปใช้ซึ่งอาจผิดต่อวัตถุประสงค์ของการประกันสังคมในหลายเรื่อง เช่นการทำสัญญาเช่าจัดหาและดำเนินการระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ(คอมพิวเตอร์)แรงงานของสำนักงานประกันสังคม มูลค่า 2,800 ล้านบาทเมื่อปี 2549

แรงงานเคลื่อนทวงสัญญาค่าจ้าง 300 ทั่วประเทศ

กลุ่มแรงงานดินขบวนทวงสัญญาค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตามที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้ และประกาศเป็นนโยบายเมื่อได้เป็นรัฐบาล

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า เครือข่ายแรงงานเพื่อการปฏิรูปค่าจ้างที่เป็นธรรม ประกอบด้วย สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานในย่านอุตสาหกรรมต่างๆ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ นำโดย นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นัดรวมตัวเพื่อเคลื่อนไหวรณรงค์แสดงจุดยืนสนับสนุนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ มีผู้เข้าร่วม กว่า 1,000 คน

ลูกจ้างร้องนายจ้างส่งSMSแจ้งจ่ายค่าจ้างไม่ชัดกลัวเหลว

ในความไม่ชัดเจนในสถานประกอบการจึงทำให้ลูกจ้างบริษัท ไซโก้ อินทรูเมนท์ ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดประทุมธานี ได้รวมตัวเพื่อขอความเป็นธรรมที่กระทรวงแรงงาน

จากวันที่ 23 ตุลาคม 2555 ทางบริษัท ไซโก้ อินทรูเมนท์ ได้ออกประกาศคำสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเนื่องจากอุทกภัยท่วม พนักงานที่มีบ้านอยู่ที่ต่างจังหวัดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องกลับบ้านเกิดอย่างคนที่หมดสิ้นทุกอย่างเพราะว่าน้ำได้จมเอาสิ่งของที่หามาด้วยความลำบากต้องจมอยู่ที่ห้องพัก และต่อมาในวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ทางบริษัทได้ส่งข้อความ sms ผ่านทาโทรศัพท์มือถือว่าจะจ่ายค่าจ้างในช่วงอุทกภัยน้ำท่วม เพียง 50% ของค่าแรงพนักงาน บางคนก็ไดรับข้อความและพนักงานบางคนก็ไม่ได้รับข้อความ ความไม่ชัดเจนของการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือไม่สามรถ

ผู้ประกันตนเมินใช้สิทธิประกันสังคม เหตุไม่ประทับใจ หันใช้บริการโรงบาลเอกชน

ผู้ประกันตนหญิงรายหนึ่งเปิดเผยถึงสาเหตุที่เลือกใช้บริการโรงบาลเอกชนแทนโรงพยาบาลประกันสังคม “เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เชื่อว่าเกิดจากโรคกรดไหลย้อนกำเริบ จึงไปตรวจรักษาที่โรงบาลเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชา ซึ่งวิธีการตรวจรักษาแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนกับโรงพยาบาลของประกันสังคมที่เคยเข้ารับบริการด้วยอาการเดียวกันเมื่อประมาณกลางปีที่แล้ว ถึงแม้การมารักษาที่โรงพยาบาลเอกชลจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควรแต่ที่บริษัทที่ทำงานอยู่ก็สามารถนำค่ายใช้จ่ายไปเบิกคืนได้ถึงจะไม่เท่ากับจำนวนที่จ่ายไปก็ตาม แต่มันก็ทำให้เรามั่นใจในคุณภาพของการรักษา”

“ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนนี้เพื่อใคร “

นับแต่นี้ไปคำถามที่รัฐบาลจะต้องเผชิญถูกทดสอบแบบเสียงดังดัง ภายใต้การขับเคลื่อนของเครือข่ายสตรีที่ต้องการความโปร่งใส เป็นธรรม และเข้าถึงทุกระดับ พวกเธอต้องคาดหวังที่สูงมากต่อท่านนายกที่เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศไทยเป็นธรรมดา ว่าจะที่นำเงินกองทุนพัฒนาสตรีจังหวัดละ 100 ล้านบาท มาเป็นกองทุนพัฒนาสตรีต้นแบบ เป็นกลุ่มสตรีเพื่อความยั่งยืนต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน อย่าให้พวกเธอต้องผิดหวัง และอย่าให้พวกเธอต้องหวาดระแวงว่า “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนนี้ทำเพื่อพรรคเพื่อไทย หรือเพื่อใครกันแน่ “

สร.ซิลเวอร์ไอซ์ ยื่นรัฐมนตรีฯ ขอความเป็นธรรม

สหภาพแรงงานซิลเวอร์ไอซ์ ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555 นัดเจรจากันหลายครั้งแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 นายจ้างได้ยื่นหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องยกเลิกและลดสวัสดิการพร้อมทั้ง ใช้สิทธิปิดงานพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ จำนวน 245 คน

ปัญหาแรงงานอ้อมน้อยฯปะทุ นายจ้างอุทธรณ์คำสั่งพนักงานตรวจ-ย้ายโรงงาน

ปัญหาแรงงานอ้อมน้อยฯส่อบานปลาย นายจ้างไดนามิคยื้ออุทธรณ์คำสั่งพนักงานตรวจ พนักงานเคว้งบริษัทปิดประกาศปรับปรุงเลื่อนเปิดโรงงาน ขณะโรงงานทอผ้าลูกไม้อ้างน้ำท่วมประกาศย้ายโรงงานแต่เปิดโอทีตลอด ทำเท่สมัครใจออกรับเงินแล้วให้ทำงานไม่ต้องปั๊มบัตร ให้บริษัทเครือญาติรับช่วงคนงานแต่นับอายุงานใหม่

เปิดผลสำรวจหญิงชายก้าวไกล ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างระหว่างน้ำท่วม

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 55 ณ ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จัดสัมมนาเรื่อง “ชีวิตแรงงานหญิงหลังเผชิญวิกฤติปัญหาอุกภัยปี54” สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งมีการรายงานผลการสำรวจจากแบบสอบถามแรงงานหญิงที่ประสบอุทกภัยในเขตอุสาหกรรมอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เขตจังหวัดปทุมธานี เขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 273 คน อายุระหว่าง 36-50 ปี ส่วนใหญ่ต้องการให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างระหว่างน้ำท่วม

1 2 3 4