กลุ่มอ้อมน้อยฯอบรมเสริมความเข้มแข็งอุดมการณ์สหภาพแรงงาน

การจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องบทบาทและหน้าที่ในองค์กรสหภาพแรงงาน เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่จะทำให้สมาชิกและกรรมการสหภาพฯได้เข้าใจถึงภาระหน้าที่ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีองค์กรที่จะคอยปกป้องรักษาและแสวงหาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ให้กับสมาชิกเพื่อให้มีสวัสดิการและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งยังทำให้เกิดความเข้มแข็งและเกิดความสามัคคีในองค์กร วันที่ 18 มีนาคม 2555 กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ จึงได้จัดอบรมเสริมสร้างความรู้ให้สมาชิกกลุ่มฯ เรื่อง การสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร ณ สำนักงานที่ทำการกลุ่มฯ โดยมีสมาชิกสนใจเข้าร่วมกว่า 30 คน
รายงานโดย พรทิพย์ ยันตะพันธ์
นักสื่อสารแรงงาน อ้อมน้อย-อ้อมใหญ

คนงานถุงยางทวงส่วนต่างค่าจ้างขั้นต่ำ

คนงานผลิตถุงยาง เดินถือป้ายขอปรับส่วนต่างค่าจ้างขั้นต่ำ อ้างนายจ้างงดรถรับส่งเวลา 17.00 น. ส่งผลคนงานเดินกลับบ้านเอง คนงานโอด นายจ้างไม่ยอมปรับเพิ่มขึ้นค่าจ้างคนที่ทำงานเก่า เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 55 คนงานSSL Manufacturing (Thailand) Co., Ltd. ผลิตถุงยางอนามัย ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทราประมาณ 500 คน ได้ออกมาเดินเท้าจากบริษัทฯเพื่อกลับบ้านมาแล้ว 3 วัน เนื่องจากนายจ้างได้งดรถรับส่งในช่วงเวลาดังกล่าว

วิดีโอ รายการวาระประเทศไทย Thai PBS : ปฏิรูปโครงสร้างประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ

รายการวาระประเทศไทย สถานี Thai PBS : ปฏิรูปโครงสร้างประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ

ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2555

ข้อเสนอเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ ก็ถูกมองว่าภาคการเมืองและภาคราชการอาจถูกลดทอนอำนาจการบริหารกองทุนและเมื่อแยกเป็นอิสระแล้ว ภาคการเมืองก็จะเข้าไปตรวจสอบการบริหารงานได้ยาก แต่สำหรับกลุ่มผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กลับมองว่าการเป็นองค์กรอิสระนั้นจะเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ซึ่งก็หมายถึงตัวผู้ประกันตนสามารถที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุนได้มากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการนำเงินกองทุนไปใช้อย่างไม่เหมาะสม อย่างเช่นกรณีการนำกองทุนประกันสังคม 2,800 ล้านบาท ไปจัดซื้อคอมพิวเตอร์ในกระทรวงแรงงานจนนำมาสู่การร้องเรียน

วิดีโอ รายการวาระประเทศไทย Thai PBS : เส้นทาง พ.ร.บ. ประกันสังคม

รายการ วาระประเทศไทย ทางสถานี Thai PBS : เส้นทาง พ.ร.บ. ประกันสังคม

ออกอากาศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2555

1 ใน 7 ของร่างกฎหมายภาคประชาชนที่ถูกติดตามและออกมาเคลื่อนไหวมากที่สุดฉบับหนึ่ง โดยเฉพาะจากภาคแรงงานก็คือร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม นั่นเป็นเพราะว่าเป้าหมายของรัฐ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คือการปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงาน แต่ว่าเส้นทางในการผลักดันกฎหมายที่ผ่านมานั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนกว่า 14,264 รายชื่อ เพื่อผลักดันกฎหมายฉบับนี้มาตั้งแต่ปี 2550 โดยในรัฐบาลที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ลงนามรับรองไว้ก่อนที่จะมีการยุบสภาทำให้ในครั้งนี้จำเป็นที่จะต้องติดตามและออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเป็นวาระเร่งด่วน

คนงานผลิตอุปกรณ์ป้องกันภัยทางทะเลล่ารายชื่อร้องนายจ้างปรับปรุงสวัสดิการและอาชีวอนามัยในโรงงาน

หนึ่งในพนักงานบริษัทดังที่มาร่วมชุมนุมเปิดเผยว่า บริษัทนี้ตั้งมาได้ประมาณ 10 ปีมีพนักงานประมาณ 600 คน ผลิตอุปกรณ์ป้องกันภัยทางทะเลและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ผมทำงานเป็นพนักงานฝ่ายผลิตมา 6 ปี ที่ผ่านมารู้สึกว่าคนงานไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากถูกโยกย้ายกลั่นแกล้ง อีกทั้งสวัสดิการและเรื่องของอาชีวอนามัยในโรงงานอยากให้บริษัทปรับปรุงให้ดีกว่าที่เป็นอยู่

สรส.ยื่นทวน มติปรับค่าจ้างรัฐวิสาหกิจ

พนักงานรัฐวิสาหกิจ ยื่นรมว.แรงงาน ให้ทบทวนมติครม.ปรับค่าจ้างรัฐวิสาหกิจเงินเดือนไม่เกิน 50,000 บาทปรับขึ้นร้อยละ 5 ส่วนข้าราชการปรับให้ร้อยละ 5 ไม่มีเงื่อนไข พ้อไม่มีความเป็นธรรม มีผลต่อโครงสร้างเงินเดือน และไม่เคารพหลักการไตรีภาคี

อบรมอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ หวังช่วยลดการละเมิดสิทธิ

25 มี.ค.55 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับ มูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า จัดฝึกอบรมสิทธิแรงงานให้กับอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ ที่ห้องประชุม สนค.กรุงเทพฯ มีนายตุลา ปัจฉิมเวช และ น.ส.ชนญาดา จันทร์แก้ว เป็นวิทยากรฝึกอบรมในประเด็นสิทธิแรงงานตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่นเรื่องของการคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม ความปลอดภัยในการทำงาน กองทุนเงินทดแทน กิจกรรมฝึกอบรมนี้อยู่ภายใต้โครงการเครือข่ายความช่วยเหลือและฟื้นฟูเพื่อแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม ครอบคลุมกลุ่มแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครให้มีความสามารถในการช่วยเหลือแรงงานที่ประสบปัญหาได้

เปิดปมสิทธิประกันสังคมแรงงานข้ามชาติยุค MOU

ข้อมูล ณ สิ้นปี 2554 พบว่า มีแรงงานต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติและได้รับพาสปอร์ตกับใบอนุญาตทำงานแล้ว 505,238 คน นำเข้าตาม MOU อีก 72,356 คน และอยู่ระหว่างผ่อนผันอนุญาตให้ทำงานเพื่อรอพิสูจน์สัญชาติอีกราว 1,248,064 คน เมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนจะพบว่า อัตราการใช้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติต่อจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมดจะอยู่ที่ 4.04% หรือทุก 100 คนจะเป็นแรงงานสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา ประมาณ 4 คน(1)

แรงงานต่างด้าวหรือแรงงานข้ามชาติที่หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติ พม่า กัมพูชา และลาวที่มีเอกสารแสดงตัวและใบอนุญาตทำงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ จะเปลี่ยนสถานะเป็นผู้เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย ผลที่ตามมา คือ นายจ้างมีหน้าที่ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่พิสูจน์สัญชาติแล้วเป็นลูกจ้างตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 และเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ภายใน 30 วันที่ลูกจ้างนั้นมีหลักฐานครบถ้วน

คำถาม จากแรงงานกับการบริหารประกันสังคม

สิ่งที่แรงงานต้องการและอยากเห็นจากประกันสังคมคือ การให้บริการที่เป็นธรรม เหมาะสมกับค่าเงินที่พวกเขาและนายจ้างได้ส่งเงินสมทบอยู่ทุกเดือน นี่ยังไม่รวมเงินภาษีที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นเงินส่งสมทบรวมอีกร้อยละ2.5 ฉะนั้นการบริการที่แรงงานไปใช้จึงเป็นสิทธิและสวัสดิการที่ไม่ใช่ระบบสงเคราะห์ที่ผู้ประกันตนผู้ใช้แรงงานไม่ได้จ่าย เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เขาหามาได้และจ่ายสมทบประกันสังคมนั้นเป็นเงินที่พวกเขาแลกมาด้วยหยาดเหงื่อของพวกเขา ฉะนั้นเขาก็ควจะต้องได้ใช้ประโยชน์จากเงินนั้นให้มากที่สุด ไม่ใช่ถูกรัฐนำไปใช้ตามนโยบายอื่นแทนการพัฒนาระบบสวัสดิการ เช่น การดูงาน การจัดทำเสื้อวันแรงงาน การประชาสัมพันธ์แบบไม่ถึงผู้ประกันตนทั้งหมดเกือบ 10 ล้านคน

ไทยเตรียมเปิดเส้นทางสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558

เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 55 มีการจัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการเรื่อง จังหวัดฉะเชิงเทราและกลุ่มจังหวัดเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 ที่อาคารราชนครินทร์ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อ.เมือง จ. ฉะเชิงเทรา โดยมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากทั้ง ข้าราชการครู ทหาร ตำรวจ พ่อค้า คนขับรถ กลุ่มแรงงาน ภาคเกษตรกรรม ชุมชมในเขตพื้นที่

วิดีโอ 8 มีนา วันสตรีสากล

8 มีนา วันสตรีสากล ปีนี้ เครือข่ายองค์กรผู้หญิงในประเทศไทยได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อเสนอปัญหาของผู้หญิง ทำงานทุกกลุ่มอาชีพ เช่น การช่วยเหลือคนงานหญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม การตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในย่านอุตสาหกรรม การรับรองอนุสัญญาที่คุ้มครองความเป็นมารดา สิทธิในการเข้าถึงกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอย่างเท่าเทียม แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญเพราะไม่ส่งผู้แทนที่เป็นที่ยอมรับออกมารับข้อเสนอ จนต้องใช้วิธีขว้างปาแผ่นป้ายข้อเสนอต่างๆเข้าไปในทำเนียบ โดยหวังว่า เสียงของผู้หญิงทำงานทุกคนจะดังไปถึงนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้หญิงเหมือนกัน

วิดีโอ นักข่าวพลเมือง Thai PBS : วันสตรีสากล

นักข่าวพลเมือง Thai PBS ออกอากาศวันที่ 22 มีนาคม 2555
เครือข่ายผู้หญิงในประเทศไทยได้จัดเดินรณรงค์เพื่อสะท้องปัญหาเรื่องสิทธิและสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมพร้อมยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา

1 2 4