ชี้นโยบาย 300 บาทหวังคะแนนเสียง เสนอ “รัฐสวัสดิการ” ดีกว่า “ประชานิยม”

เสวนาวิชาการ“นโยบายค่าจ้างกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย-ไม่เป็นธรรมอย่างไร” ระบุการกำหนดเกณฑ์ค่าจ้างขั้นต่ำก็เพื่อเป็นหลักประกันด้านรายได้ให้คนงานและครอบครัวที่ไร้อำนาจต่อรอง ผู้นำแรงงานเผยทำงานมานานทักษะฝีมือสูงก็ยังได้ค่าจ้างขั้นต่ำแต่ค่าครองชีพที่สูง นักวิชาการ มช.ชี้การใช้แรงงานราคาถูกตอบสนองการผลิตส่งออกทำให้เกิดคนรวยกระจุกตัวและสังคมเกิดความเหลื่อมล้ำ บอกนโยบายขึ้นค่าจ้าง 300 บาทแค่หวังคะแนนเสียงชนะเลือกตั้ง แล้วพลิกเปลี่ยนค่าจ้างว่าเป็นรายได้ และปรับขึ้นเพียงบางจังหวัด เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนนโยบายประชานิยมไปเป็นรัฐสวัสดิการ ใช้นโยบายค่าจ้างเพื่อการพัฒนาประเทศไม่ใช่เพื่อการกดค่าจ้าง
(ข่าวเผยแพร่ใหม่หลังเว็บไซต์ถูกแฮ็ก)

เปิดปม! ชะตากรรมแรงงานสิ่งทอ-อิเล็คทรอนิคส์ เลวร้ายสุดๆหลังน้ำท่วม

การเสวนาเรื่อง “เปิดปม..ชะตากรรมและความไม่เป็นธรรมของแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำ” เผยให้เห็นผลกระทบที่เกิดกับลูกจ้างในอุตสาหกรรมต่างๆจากเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมต้องเผชิญชะตากรรมที่แตกต่างกันออกไป ลูกจ้างสิ่งทอและอีเล็คทรอนิคส์ส่วนใหญ่กินค่าแรงขั้นต่ำและไม่ค่อยมีการรวมตัวหรือมีสหภาพแรงงานไม่เข้มแข็งจะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มลูกจ้างยานยนต์ซึ่งส่วนใหญ่ได้ค่าจ้างสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ และมีโครงสร้างค่าจ้างปรับขึ้นเงินประจำปี มีสหภาพแรงงานในการสร้างอำนาจต่อรองที่เข้มแข็ง แต่ก็ยังคุ้มครองไม่ถึงลูกจ้างเหมาค่าแรงจำนวนมาก ฐานธุรกิจกลุ่มยานยนต์ยังแข็งแกร่งกว่าจึงไม่ค่อยมีการย้ายฐานการผลิตมากนัก
(ข่าวเผยแพร่ซ้ำหลังเว็บไวต์ถูกแฮ็ก)