คนงานไทย-เทศ แห่เข้าศูนย์อ้อมน้อยฯรับความช่วยเหลือ กระอัก!จ่ายค่ารถเรือไปทำงานวันละ400ยังถูกเลิกจ้าง

คนงานอ้อมน้อยทั้งไทย พม่า กัมพูชาทุกข์หนัก กรอกแบบสอบถามร้องขอความช่วยเหลือเพียบ ศูนย์ฯตั้งโต๊ะรับเรื่องร้องทุกข์และให้คำปรึกษาปัญหาทางสิทธิแรงงานตลอดวัน รายหนึ่งน้ำท่วมทางต้องเสียค่ารถเรือไปทำงานวันละ4-500 ติดต่อนายจ้างไม่ได้ 3 วันถูกเลิกจ้าง ขณะบริษัทโยโรซึ ไทยแลนด์ จำกัด ร่วมกับสหภาพแรงงานโยโรซึ ประเทศไทย นำของบริจาคมูลค่า 100,000 กว่าบาท ทำถุงยังชีพแจกจำนวน 250 ถุง พร้อมนมเด็ก และยารักษาโรค

ศูนย์อ้อมน้อยฯวันแรกล้น คนงานลุยน้ำเท้าเปื่อยขอยาเกลี้ยง

กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย–อ้อมใหญ่ เปิดศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ใต้สะพานข้ามแยกอ้อมน้อยฯ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 มีผู้ประสบภัยเข้าคิวลงทะเบียนรับความช่วยเหลือและร้องเรียนปัญหาล้นหลาม คนงานร้องขอยาทาแก้คัน แก้น้ำกัดเท้าหลังลุยน้ำเน่าย่านอุตสาหกรรมอ้อมน้อยฯไปทำงานนานร่วมเดือน

อ๊อฟโร๊ด TOYOTA ลุยแจกของน้ำท่วมอยุธยา

เมื่อเวลา 09.00 น.วันอาทิตย์ ที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม บางปะอิน กิโลเมตรที่ 1 ได้ต้อนรับชมรม อ๊อฟโร๊ด TOYOTA และพนักงาน สมุทรปราการ จำนวน 40 กว่าคน นำข้าวต้มมาเลี้ยงพร้อมสิ่งของที่จะนำมาแพ็คใส่ในถุงยังชีพจากนั้นทางเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานผู้ประสบภัยน้ำท่วม

บริษัทผลิตยางอ้อมน้อยใจดี จ่ายค่าจ้างคูณ 2

บริษัทอุตสาหกรรมผลิตยางไทยสิน จำกัด เปิดโครงการจิตอาสาช่วยป้องกันน้ำท่วมโรงงาน จ่ายค่าจ้างและค่าครองชีพให้กับพนักงาน คูณ 2 และยังช่วยพนักงานที่ถูกน้ำท่วมจ่ายค่าจ้าง 100% พร้อมเบี้ยขยันและเงินช่วยเหลือพิเศษจำนวนหนึ่ง

สถาบันความ(ไม่)ปลอดภัย..ของแรงงาน

สถาบันความปลอดภัยฯ ที่จะต้องจัดตั้งขึ้นตาม พรบ.ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยฯ พ.ศ. ๒๕๕๔ กำลังสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้อย่างแหลมคม ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ฝังตัวอยู่ในระบบราชการของกระทรวงแรงงาน กับ ภาคประชาชนที่ต้องการให้การจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยฯเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่า สถาบันความปลอดภัยฯ จะทำหน้าที่ทางวิชาการในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยราชการ ที่จะใช้อำนาจในการกำกับ ตรวจสอบ ป้องกัน การดำเนินงานในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของคนงาน การดำเนินงานของสถาบันฯ จะอยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุมของรัฐมนตรี

เรื่องเล่าหลังน้ำลดการกลับมาของแรงงานข้ามชาติ

นาย โก โก แรงงานข้ามชาติวัย 18 ปี จากรัฐมอญประเทศพม่าเดินทางเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับพี่สาววัย 23 ปี เมื่อหลายปีที่ก่อน เพื่อทำงานหาเงินส่งไปเลี้ยงครอบครัวที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศพม่า เขาเล่าว่าที่ประเทศพม่าไม่มีงานมากนักให้เขาทำเขาจึงต้องเข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทย

ปัจจุบัน ทั้งคู่รับจ้างขายผักอยู่ที่ ตลาดไท ย่านรังสิต จังหวัดปทุมธานี (จังหวัดหนึ่งในเขตปริมณฑล) ตั้งแต่ 10 โมงเช้า จนถึง 2 ทุ่มทุกวันและไม่เคยได้รับอนุญาตให้หยุดงานแม้ในช่วงเทศกาล โดยได้รับค่าจ้างคนละ 350 บาท (ประมาณ 12 ดอลล่าร์) ต่อวัน พี่สาวของ นาย โก โก ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติและขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่นายจ้างกลับไม่สามารถช่วยพา นาย โก โก ให้เข้าสู่กระบวนการตามระบบเช่นเดียวกับพี่สาวของเขา และเมื่อน้ำเข้าท่วมจังหวัดปทุมธานีในเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา

เครือข่ายแรงงานแถลง รัฐไทย-พม่า นำเข้าแรงงานถูกกฎหมาย

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ออกแถลงการณ์ให้ รัฐบาลไทยและพม่าควรนำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องกฎหมาย เพื่อแก้ไขผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติในสถานการณ์อุทกภัย

จากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยหลายแสนคน แรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากไม่มีเอกสารประจำตัวเนื่องจาก เอกสารได้ชำรุด/สูญหายไปกับน้ำ หรือถูกนายจ้างยึดเอกสาร ต้องทนอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมเนื่องจากไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่จดทะเบียนได้ ถูกนายจ้างเลิกจ้างและต้องเดินทางกลับประเทศพม่า และจากการติดตามการรายงานข่าวจากสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศเป็นไปในลักษณะที่ไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทย กล่าวคือ “ รัฐบาลไทยปล่อยลอยแพแรงงานข้ามชาติทำให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากต้องเดินทางกลับประเทศ และปล่อยให้แรงงานข้ามชาติถูกเอาเปรียบจากขบวนการนายหน้าค้ามนุษย์”

วีดีโอ รายการชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ฝ่าวิกฤติน้ำท่วมThaiPBS ตอน แรงงานกู้ภัย

แรงงานอาสากู้ภัยกลุ่มนี้ เกิดจากการรวมตัวเฉพาะกิจของแรงงานจากโรงงานอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ใช้เวลาว่างระหว่างที่โรงงานหยุดประกอบกิจการมาช่วยกันทำประโยชน์เพื่อสังคมทั้งที่พวกเขาต่างก็ประสบภัยน้ำท่วม แต่พวกเขาเหล่านี้เลือกที่จะไม่รอยคอยความช่วยเหลือจากภายนอก สถานการณ์ที่เริ่มคลี่คลายทำให้ความช่วยเหลือจากภายนอกเริ่มถอยห่าง แต่พวกเขาต่างก็ยังยืนหยัดช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ยังรอคอยความช่วยเหลือ ขณะเดียวกันพวกเขาก็ยังทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับกลุ่มแรงงานที่หยุดงานมานานและยังไม่ได้ติดต่อจากนายจ้างให้กลับเข้าทำงานอีกครั้ง

วีดีโอ รายการเวทีสาธารณะThai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม นิคมโรจนะ

รายการเวทีสาธารณะ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม หน้านิคมโรจนะ ออกอากาศวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 รายการเวทีสาธารณะ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม  สดจาก  อบต.ธนู หน้านิคมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา  บริเวณโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งก็ยังอยู่ในสภาพประสบอุทกภัยอยู่ ถึงแม้สถานการณ์จะดีขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องของน้ำที่ลดระดับความสูงลง แต่ว่าหลังจากน้ำลดลงแล้วยังมีการบ้านมีโจทย์ปัญหาอีกมากมายที่รออยู่ในเวลานี้ ที่นี่มีลูกจ้างแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากกำลังรอคอยความชัดเจนกำลังประสบปัญหา บางคนบอกว่าประสบปัญหาอย่างโดเดี่ยว และไม่มีใครให้คำตอบอย่างชัดเจนกับการดำเนินแนวทางชีวิตต่อพวกเขาได้กับสภาพปัญหาที่ประสบปัญหากันถ้วนหน้า ทั้งประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักลงทุนและทั้งราชการรัฐบาลด้วย แต่ยังไงก็ตามคำตอบสำหรับเสียงเล็กๆที่ไม่ค่อยจะมีใครได้มีโอกาสฟัง ไม่มีโอกาสได้ส่งเสียง ลูกจ้างแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงหลายๆโรงงานที่นี่มีนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง มีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 500-600 โรงงานและมีลูกจ้างประมาณ 300,000 คน มีคนที่ถูกเลิกจ้างแล้วอย่างเป็นทางการประมาณ 3,000-6,000 คน จะเดินไปยังไงต่อหลังจากน้ำลดแล้ว วันนี้จะพูดคุยกับพวกเขาทุกคนรวมทั้งจะมีผู้ช่วยเสนอข้อเสนอทางนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง  จะต้องคิดไปให้ถึงทั้งนักวิชาการ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้นำแรงงาน ดำเนินรายการโดย คุณณาตยา แวววีรคุปต์ 1. รายการเวทัสาธารณะ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วมนิคมโรจนะ 2. […]

ออง แรงงานพม่า เหยื่อจากวิกฤตน้ำท่วม

นายอองหนุ่มชาวพม่าวัย 23 ปี ถูกนายหน้าพาเข้ามาและอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จากเกาะสองซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศพม่า เพื่อทำงานในจังหวัดภูเก็ต (ภาคใต้ของประเทศไทย) ซึ่งในครั้งนี้นายอองต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 130 ดอลล่าร์ให้แก่นายหน้า

ภายหลังจากที่เขาเปลี่ยนไซท์งานก่อสร้าง รวมถึงงานที่โรงแรมไปประมาณ 3 แห่ง นายอองยอมจ่ายอีก 4,500 บาท (ประมาณ 150 ดอลล่าร์) ให้นายหน้าพาเขาเข้ามารับจ้างล้างรถในกรุงเทพฯ ในปีนี้เอง (พ.ศ.2554) นายจ้างที่อู่ล้างรถที่เขาทำงานก็ได้พาเขาไปขึ้นทะเบียนแรงงานและขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ประมาณ 3-4 เดือนให้หลัง นายอองก็ได้ออกจากงานที่อู่ล้างรถไปทำงานก่อสร้างแทน

กลุ่มย่านรังสิตตั้งศูนย์ปันน้ำใจช่วยคนน้ำท่วม

แรงงานปทุมตั้งศูนย์ช่วยเหลือฯรังสิต ปทุมธานี หวังช่วยเหลือแรงงานผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งแรงงานในระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานนอกระบบ รับเรื่องราวร้องทุกข์ รวมถุงยังชีพ
เมื่อเวลา 15.30 น. ของวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต ตั้งอยู่ที่ศาลาพักริมทาง สะพานลอยคนข้าม แยกบางปะหัน ปทุมธานี โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้เตรียมถุงยังชีพที่จะนำไปแจกให้กับคนงานตามพื้นที่ต่างๆ ตามที่คนงานพักอาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ โดยมีคนขับวินมอเตอร์ไซค์ (แรงงานนอกระบบ) ซึ่งอยู่ข้างๆศูนย์ช่วยเหลือได้มาช่วยยกของขึ้นและลงรถให้ตลอดเวลาที่เริ่มตั้งศูนย์ฯจนถึงปัจจุบันนี้

4 องค์กรนำแรงงานยื่นก.แรงงาน เร่งเยียวยาลูกจ้างหลังน้ำลด

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย และสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทย ร่วมยื่นหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หวังช่วยเยียวยาผู้ใช้แรงงาน หยุดการเลิกจ้าง หลังน้ำท่วมกระทบหนักกว่าล้านคน

สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 21 จังหวัดที่เกิดขึ้น โดยภาพรวมทำให้ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบ 1,019,616 คน สถานประกอบการโรงงานได้รับความเสียหาย 28,533 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ 9 แห่ง

1 2 5