ประกันสังคมอยุธยามอบข้าวสาร พร้อมแก้ปัญหาแรงงาน

เมื่อวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน นางชะลอลักษณ์  แก้วพวง หัวหน้าสำนักประกันสังคม พระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะ ได้เดินทางมาที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม สอบถามเบื้องต้นกับ นายอำนาจ  หัวเสือ เลขาธิการศูนย์ฯ ถึงความต้องการสิ่งของ และมีข้อมูลสภาพปัญหา โดยได้ฝากว่าหากมีปัญหาแรงงานเกี่ยวกับประกันสังคมให้โทรศัพท์แจ้งหรือสอบถามเจ้าหน้าที่ประกันสังคมได้ที่โทรสัพท์ 035-213416-8 ได้ตลอดเวลาทำการ   ในวันเดียวกันเวลา 16.30 น.เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้นำข้าวสารมาบริจาคให้ที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม บางปะอิน จำนวน 8 กระสอบ ประมาณ 300 กว่ากิโลกรัม อัยยลักษณ์  เหล็กสุข นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

แม่ขอนมให้ลูกสาวพิการ นอนรพ.3 ปีตกงานไม่รู้ตัว

แม่สาวโรงงานพิการเดินเท้าหลายกิโล ขอนมให้ลูกกิน หลังป่วยหนักนอนโรงพยาบาลรักษาตัวนาน 3 ปีกว่า ไม่รู้กฎหมายสุดท้ายต้องตกงานไม่รู้ตัว

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีชาวบ้าน 2 คน เดินทางมาจากโรงพยาบาลบางปะอิน พระนครรศรีอยุธยา เพื่อมาขอสิ่งของยังชีพที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม ทางเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯได้ซักถามข้อมูลเบื้องต้นเพื่อไว้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตามข้อมูลที่ได้กรอกไว้

อธิบดีกรมสวัสดิ์ฯมอบที่กรองน้ำ แจงเงินช่วยนายจ้าง2พัน3เดือน

อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน แวะศูนย์ช่วยเหลือแรงงานบางปะอินมอบเครื่องกรองน้ำ 3 เครื่องหวังช่วยแรงงานมีน้ำสะอาดดื่ม แจงเงิน 2 พันบาทช่วยนายจ้างจ่ายค่าจ้างนาน 3 เดือนแลกไม่เลิกจ้าง
เมื่อเวลา 18.10 น.วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พร้อมคณะผู้ติดตาม ได้นำที่กรองน้ำจากประปา จำนวน 3 อัน

แรงงานตะวันออกระดมของช่วยศูนย์แรงงานบางปะอิน

กลุ่มสหภาพแรงงานบ่อวินจัดระดมสิ่งของบริจาคจากสมาชิกสหภาพ มอบให้ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานบางปะอิน หวังช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ทั่วถึง

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สหภาพแรงงานเซ็นโกเบน ซีคิวริท ได้รวบรวมเงินซื้อข้าวสารและนมเด็ก มาบริจาคที่ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมที่บางปะอิน โดยมี นายเสมา สืบตระกูล เจ้าหน้าที่ศูนย์จัดตั้งสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย และคณะทำงานบ่อวินเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขนสิ่งของมาให้ ซึ่งทางศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมที่บางปะอิน ได้ทำหนังสือเพื่อขอรับริจาคสิ่งของที่กำลังขาดแคลนอยู่ในขณะนี้ คือ ข้าวสาร,มาม่า,ปลากระป๋อง,นมเด็ก,น้ำและอื่นๆ ที่จะนำใส่ถุงยังชีพได้ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผูใช้แรงงานทั้งในระบบ นอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ชาวบ้าน และลูกหลานที่ประสบภัยน้ำท่วม

คนงานบ.เซไดคาเซ รอค่าจ้าง หลังนายจ้างกลับญี่ปุ่น

นายจ้างบริษัทเซไดคาเซ ประเทศไทย ไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย อ้างน้ำท่วมนายจ้างกลับญี่ปุ่น ให้คนงานรอ คนงานทนไม่ไหวร้องสวัสดิการฯ หาทางช่วย ปัญหาหนี้สินรุงรัง นายจ้างติดเงินค่าจ้างบ่อย อย่าอ้างน้ำท่วม

เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 มีพนักงานจำนวนหนึ่งรวมตัวกันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเขียนคำร้อง คร.7 ซึ่งเป็นพนักงานของ บริษัท เซไดคาเซ ประเทศไทย จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมโรจนะ ต.คานหาม อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ เป็นตัวฟีดกระดาษ เครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องปริ้นเตอร์ นายจ้างเป็นชาวญี่ปุ่น มีพนักงานทั้งหมดประมาณ 160 คน เป็นพนักงานเหมาค่าแรง 10 กว่าคน พนักงานประจำจะได้รับฐานเงินเดือนที่ 7,000 กว่าบาท ในส่วนของรับเหมาค่าแรงจะได้เป็นรายวันวันละ 191 บาท ค่าล่วงเวลาต่างหาก

วีดีโอ นักข่าวพลเมือง:แรงงานย่านอ้อมน้อยจ.สมุทรสาคร ประสบภัยน้ำท่วม

รายการ นักข่าวพลเมือง  สถานี Thai PBS ออกอากาศวันที่ 11 พ.ย. 54 กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ช่วยกันจัดสิ่งของและข้าวสารอาหารแห้งแพ็คเป็นถุงยังชีพเพื่อไปแจกจ่ายให้กับสมาชิกที่ประสบภัยน้ำท่วมหลายคนยังต้องทำงานอยู่ในโรงงานขณะที่อีกหลายคนนายจ้างสั่งหยุดงานโดยไม่มีกำหนด พวกเขาจะไม่ได้รับค่าแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อการยังชีพ แต่ก่อนจะนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายต้องลงพื้นที่สำรวจดูว่ามีสมาชิกกระจายอยู่ในเขตใดบ้าง เพื่อของถึงมือทุกคนอย่างเท่าเทียม  ซึ่งแรงงานทั้งหมดในย่านนี้พร้อมใจกันเปิดไฟไม่ลงกลอนเพื่อให้รัฐเข้ามาเยียวยาโดยไม่โอบอุ้มผู้ประกอบการเพียงฝ่ายเดียว  รายงานโดย นักข่าวพลเมืองเครือข่ายนักสื่อสารแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่

วีดีโอ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม:ผลกระทบแรงงานในนิคมอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา

ข่าวรายการ Thai PBS ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม ออกอากาศวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกน้ำท่วมเสียหายอย่างมาก กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัย โดยเฉพาะเรื่องของการจ้างงานในขณะที่แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็มั่นใจหลังสถานการณ์น้ำท่วมนั้นโรงงานส่วนใหญ่จะเรียกลูกจ้างกลับมาทำงาน เพราะว่าพื้นที่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมีความต้องการแรงงานจำนวนมาก

วีดีโอ ที่นี่Thai PBS:เสวนา กู้นิคมอย่างไรให้ปลอดภัย?

รายการ ที่นี่Thai PBS ออกอากาศวันที่ 9 พ.ย. 54 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำตัวอย่างน้ำและกิ่งไม้ที่เต็มไปด้วยคราบน้ำมันจากรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาแสดงในเวทีเสวนา “กู้นิคมอย่างไรให้ปลอดภัย” โดยชาวบ้านบอกว่ามีความกังวลกันว่าการกู้เขตนิคมอุตสาหกรรมที่รัฐบาลประกาศว่าจะเริ่มสูบน้ำออกในวันที่ 11 พฤศจิกายน  จะเป็นการสูบน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีอันตรายออกมาสู่เขตชุมชน เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เคยเปิดเผยข้อมูลสารเคมีต่อสาธารณะและขณะนี้ทางนิคมโรจนะ นิคมบางปะอิน นิคมไฮเทค ได้เริ่มสูบน้ำบ้างแล้วทำให้น้ำที่บนเปื้อนคราบน้ำมันไหลเข้าไปในเขตชุมชน ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดตั้งคณะทำงานฟื้นฟูเขตนิคมอุตสาหกรรมถึง 7 ชุด และกำหนดแผนงานไว้หมดแล้ว แต่ชาวบ้านยืนยันว่าไม่ได้รับการแจ้งหรือชี้แจงจากหน่วยงานรัฐ และเรียกร้องว่าคณะทำงานชุดนี้ควรให้ชุมชนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมเพราะเป็นผู้ถูกกระทบโดยตรง

วีดีโอ นักข่าวพลเมือง:แรงงานข้ามชาติเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม จ.สมุทรสาคร

รายการ นักข่าวพลเมือง สถานี Thai PBS ตอน แรงงานข้ามชาติเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม  ออกอากาศวันที่ 7 พ.ย. 54 ใบปลิวแจ้งข้อมูลเพื่อเตรียมตัวรับกับสถานการณ์น้ำท่วม จ.สมุทรสาคร ถูกนำมาแจกจ่ายให้กับคนไทยและกลุ่มแรงงานข้ามชาติ แม้วันนี้ปริมาณน้ำยังมาไม่ถึงแต่ข้อมูลเหล่านี้จะเอื้อประโยชน์ให้กับประชากรหลายแสนคน มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานจึงร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย ได้จัดทำเอกสารเป็น 3 ภาษา มี ภาษาไทย ,มอญ และพม่า  โดยลงพื้นที่บริเวณตลาดโพธิ์แจ้ ถนนเอกชัย  เพราะนอกจากคนพื้นที่แล้วจังหวัดสมุทรสาครยังมีแรงงานข้ามชาติอาศัยอยู่มากกว่า 2 แสนคน รายงานโดย นักข่าวพลเมือง เครือข่ายสื่อสารแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร

สพ.ปิโตรเลียมฯเข้าพบอธิบดี-เสนอแก้ไขที่มา คปอ.ฝ่ายลูกจ้าง!

สหพันธ์แรงงาน(สพ.)ปิโตรเลียมจับมือหลายองค์กร เสนออธิบดีแก้ไขประกาศที่มา คปอ.ฝ่ายลูกจ้าง – หลังคนงานไม่ได้รับความปลอดภัยฯ ถูกฝ่ายบริหารสอดไส้ส่งผู้แทนมาเป็นฝ่ายลูกจ้าง! ลดอำนาจต่อรอง สร.!!!

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10.00 น. คณะกรรมการบริหารสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย (PCFT.) ผู้แทนกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียงและ (กสค.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) จำนวน 15 คนได้เข้าพบอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายอาทิตย์ อิสโม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสนับตำแหน่งใหม่และติดตามความคืบหน้าตามข้อเสนอของสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมฯในการขอให้มีการแก้ไขประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนลูกจ้างในคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ซึ่งอธิบดีได้มอบหมายให้รองอธิบดี นายสมชาย วงษ์ทอง มาต้อนรับและรับเรื่องเพื่อดำเนินการต่อไป