คสรท.ถกด่วน!โต้กระแสต้านค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยระดมแกนนำและนักวิชาการหารือเครียด หลังกระแสต้านหนักจากนายทุนอุตสาหกรรมทำรัฐบาลใหม่เริ่มเขว หวั่นแรงงานชวดหลังเทคะแนนเลือกตั้งหนุนนโยบายขึ้นค่าแรง เตรียมบุกทวงสัญาหาเสียงพรรคเพื่อไทยและจัดเวทีวิชาการโต้ข้อมูลหนุนรัฐบาลใหม่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทตามสัญญาหาเสียง

นายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท.กล่าวว่า นโยบายหาเสียงพรรคเพื่อไทยเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศได้คะแนนเสียงอย่างเป็นกอบเป็นกำจากผู้ใช้แรงงานกำลังถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายนายจ้างและสภาอุตสาหกรรมรวมทั้งนักวิชาการบางส่วน คำถามคือ การคัดค้านตั้งอยู่บนพื้นฐานการกลัวเสียผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มหรือคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และประเทศชาติโดยรวม

วีดีโอ สิทธิเลือกตั้งในสถานประกอบการ

หลังจากที่ทราบผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ที่ผ่านมา ก็จะได้เห็นโฉมหน้าของผู้นำประเทศไทยคนต่อไป ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองไทยที่จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศ ชื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และประชาชนมีการตื่นตัวทางการเมืองสูง ในส่วนของคนงานนั้นมีการออกไปใช้สิทธิ ใช้เสียงเป็นจำนวนมากต่างจากครั้งก่อนๆที่ผ่านมา แต่ผู้ใช้แรงงานก็มีปัญหาหลายเรื่อง 1.เรื่องการเดินทางไปเลือกตั้ง 2.เลือกไปแล้วเขาช่วยอะไรเราไม่ได้โดยเฉพาะในส่วนของผู้ใช้แรงงาน และอยากให้รัฐบาลชุดใหม่เน้นเรื่องการเลือกตั้งในสถานประกอบการเพราะส่วนมากจะเป็นคนต่างจังหวัด อยากให้รัฐบาลใหม่ช่วยดูแลเรื่องนี้เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้สิทธิพลเมืองได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีอุปสรรค รายงานโดย สราวุธ ขันอาสา นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์สื่อสารแรงงาน จ.ระยอง – ชลบุรี

“300 บาท เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสค่าจ้างทั่วประเทศ “

จากการประกาศใช้นโยบายขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ทันทีที่ได้เป็นรัฐบาล โดยภาพรวมค่อนข้างแน่ที่หลายฝ่ายอาจมองเห็นสถานการณ์ปัญหาที่จะตามมาในสามประการใหญ่คือ ประการที่หนึ่ง นายจ้างต้องหันไปใช้แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองแบบผิดกฎหมายจำนวนมาก เนื่องจากที่ผ่านมาแรงงานเหล่านี้มีราคาถูก ขาดอำนาจการต่อรอง ถูกเดียดฉันท์จากสังคมไทย จนเป็นช่องว่างให้เกิดการแสวงประโยชน์จากการค้าแรงงานและการค้ามนุษย์ เป็นเป้าโจมตีของประเทศมหาอำนาจในการจ้องตัดสิทธิประโยชน์ทางการค้าในข้อหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน จนอาจทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหาการเลิกจ้าง

ปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำ และการกำหนดค่าจ้างในประเทศไทย: ถึงเวลาต้องทบทวน

ปัญหาของการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย ที่ผ่านมาด้วยนโยบายรัฐที่ต้องการรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการควบคุมต้นทุนด้านค่าจ้างแรงงานให้ต่ำอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความอ่อนแอไม่เป็นเอกภาพของขบวนการแรงงานในประเทศไทยทำให้อัตราการเติบโตของค่าจ้างในประเทศไทยมีอัตราที่ช้ามาก จากการวิเคราะห์ของสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง กระทรวงแรงงานพบว่าเมื่อเปรียบเทียบการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศกับการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั้งประเทศ ตั้งแต่ ปี 2002 – 2011 พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั้งประเทศสะสม 10 ปี มีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศสะสม อยู่ร้อยละ 1.9