ลูกจ้างร้อง! ผอ.ประกันสังคมคนใหม่ หวังได้รับเงินค่าชดเชย

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554 สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้จัดสัมมนาเวทีวิเคราะห์สถานการณ์ในรอบ 16 ปี ของการบังคับใช้ พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคและประสบอันตรายจากการทำงานในภาคอุตสาหกรรม ได้รับผลดีหรือผลเสียอย่างไร สนับสนุนโดยโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขบวนการแรงงานเพื่อคุ้มครองสุขภาพและสวัสดิการแรงงาน ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ราชดำเนิน กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน กล่าวเปิดงานโดย รศ.ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย

ในวันดังกล่าวได้มีลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน และโรคเนื่องจากการทำงานเข้าร่วมอภิปรายในเรื่องปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิ และผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537

คสรท.ยื่นเรียกร้องให้คนงานมีสิทธิเลือกตั้งส.ส. ส.ว. ในเขตพื้นที่ทำงาน

วันนี้(7 เมษายน 54) เวลา 10.00 น. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นำโดยนายชาลี ลอยสูง ประธานฯนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานฯ นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ รองประธาน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการประสานงานฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล เพื่อให้มีการบรรจุพิจารณาข้อเสนอของแรงงานในประเด็นสิทธิการเลือกของผู้ใช้แรงงาน

นายชาลี ลอยสูงประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)กล่าวว่า เนื่องจากการเลือกตั้งที่จะมาถึงในไม่ช้านี้ และวันนี้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระสำคัญคือการพิจารณากฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้ง 3 ฉบับ ทางคสรท.ได้มีข้อเสนอให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชนที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ ซึ่งอยู่นอกทะเบียนบ้านของตน สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ซึ่งตนอาศัยหรือทำงานอยู่ได้ เนื่องจากมีคนทำงานจำนวนมากที่อพยพจากภูมิลำเนาเดิม เพื่อเข้ามาทำงานประกอบอาชีพต่างถิ่น โดยที่พวกเขาไม่สามารถย้ายทะเบียนบ้านเข้ามายังพื้นที่ซึ่งตนมาทำงานได้

เครือข่ายแรงงานยื่นส.ส.ให้ผ่านร่างพ.ร.บ.เงินทดแทน

แรงงานยื่นประธานคณะกรรมการประสานงานฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ลงมติเห็นชอบแปรญัตติ มาตรา 10 ร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ …)พ.ศ. …. พร้อมทั้งสนับสนุนการแก้ไขความม. 28 ให้จัดสรรเงินกองทุนร้อยละยี่สิบของดอกผลอุดหนุนกองทุนความปลอดภัยฯ

เมื่อวันที่ 7เมษายน 2554เครือข่ายคุณภาพชีวิตแรงงาน โดย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยเนื่องจากงาน เครือข่ายปฏิบัติการแรงงานข้ามชาติ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการประสานงานฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีการพิจารณา ลงมติเห็นชอบในวาระ 2-3ในมาตรา 10 ร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ได้มีกรรมาธิการวิสามัญร่างฯเสียงข้างน้อย ได้ขอสงวนการแปรญัตติ โดยให้มีการแก้ไขความในมาตรา 28วรรคสอง คือ “คณะกรรมการต้องจัดสรรเงินกองทุนอีกร้อยละยี่สิบของดอกผลของกองทุนต่อปีอุดหนุนกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามมาตรา 45(2) ของพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวิอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554”

องค์กรแรงงานร้องรัฐจัดระเบียบรถโดยสารคนงานให้ปลอดภัย

องค์กรด้านแรงงานเรียกร้องให้ภาครัฐจัดระเบียบความปลอดภัย ตรวจสอบ และเยียวยาผู้เสียหายจากอุบัติเหตุรถบรรทุกแรงงานข้ามชาติชนพลิกคว่ำ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายสิบคน

เมื่อเช้าวันที่ 4 เมษายน ได้เกิดเหตุการณ์รถสองแถวที่บรรทุกแรงงานพม่ากว่า 70 คน ถูกรถบรรทุกสิบล้อชนพลิกคว่ำ บริเวณตลาดกุ้ง ต.มหาชัย จ.สมุทรสาคร จนมีผู้เสียชีวิตจนถึงปัจจุบันรวม 16 คน และได้รับบาดเจ็บเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอีกเป็นจำนวนมาก

5 สหภาพรถยนต์นิสสัน มติควบรวมเป็นหนึ่งเดียว

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา สหภาพแรงงานนิสสัน ประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ของประเทศ ได้มีการเปิดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 อย่างเป็นทางการ ณ.ร้านอาหารหมูยิ้ม ซ.วัดศรีวารีน้อย บางโฉลง สมุทรปรากร ในการประชุมใหญ่ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 5 หลังจากที่มีการเปลี่ยนชื่อมา มีผู้เข้าร่วมอย่างมากมายทั้งหน่วยงานของรัฐบาลตัวแทนบริษัทและองค์กรพันธมิตรต่างๆ

เครือข่ายแรงงานแถลงร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับกรรมาธิการ) หล่อไม่เสร็จ

“ประกันสังคมยังไม่อิสระ ไม่ถ้วนหน้า” ผู้นำแถลงร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับนี้ หล่อไม่เสร็จ ได้บ้าง แต่ไม่ได้มากกว่า หาความพร้อมในการบริหารจัดการยังไม่ได้ หลังประกาศนำแรงงานนอกระบบเข้าสู่ประกันสังคม ประกาศเดินหน้าต่อร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับขบวนการแรงงาน ล่าลายมือชื่อ 14,000 รายชื่อ ในรัฐบาลหน้า หวังปฏิรูปประกันสังคมเต็มรูปแบบ

ในวันนี้ (วันที่ 5 เมษายน 2554) โดย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ได้มีการจัดแถลงข่าว จุดยืน ต่อร่างประกันสังคมและก้าวต่อไปของขบวนการแรงงานต่อการปฏิรูปประกันสังคม

ได้เวลาส่งมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย

หลังจากที่สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย (TEAM )มีนโยบายเร่งด่วนจาก ประธานสมานฉันฑ์แรงงานไทย (นาย ชาลี ลอยสูง)ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย สึนามิ และแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที 1 เมษายน 54 ทางคณะกรรมการบริหาร TEAM ได้มีมตินำเงินบริจาคทั้งหมดนำไปมอบให้ทางสถานทูตประเทศญี่ปุ่น และนำไปมอบผ่าน ทีวีไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาคใต้ ซึ่งเงินส่วนนี้จะแบ่งเป็นสองส่วนและจะนำมอบ ในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 54 โดยยอดบริจาคทั้งหมดเป็นเงินจำนวน 239,923.00 บาท โดยที่สถานฑูตญี่ปุ่นเวลา 10.00น. และที่ThaiPBS เวลา 13.00 น.

สร.ไม้อัดไทยระดมทุนต่อสู้ คัดค้านการยุบ เลิก กิจการไม้อัดไทย

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 ณ. โรงานไม้อัดไทยบางนา สหภาพแรงงานไม้อัดไทย ได้จัดงานเลี้ยงโต๊ะจีน และเป็นการพบปะเพื่อนผู้ใช้แรงาน วัตถุประในการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อหารายได้สนับสนุนกิจกรรม การต่อสู้เพื่อคัดค้านการยุบ เลิก กิจการไม้อัดไทย

ประธานสหภาพแรงงานไม้อัดไทยได้กล่าวว่า โรงานไม้อัดไทยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหน่วยงานหนึ่งของรัฐ ที่ดำเนินกิจการมาเป็นเวลานานแต่มาวันนี้เราสหภาพแรงานและเพื่อนสมาชิกต้องออกมาร่วมกันต่อสู้เพื่อที่จะคัดค้านการยุบ เลิก กิจการไม้อัดไทย และต่อต้านการขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน

จี้รัฐบาลขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกลางปีอีก 5%

เมื่อวันที่ 31มีนาคม 2554 นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงค์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในการเสวนา

“ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ: แรงงานไทยดีจริงหรือ?” ที่อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดโดยมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงันร่วมกับกระทรวงแรงงาน เพื่อดูภาพรวมการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ เป็นการสร้างหลักประกันให้แรงงานใหม่ ทำให้มีกำลังใจทำงาน แต่จะไปกระทบต้นทุนสินค้าโดยเฉพาะที่ใช้แรงงานจำนวนมาก“รายได้ของลูกจ้างในกรุงเทพฯเฉลี่ยวันละ 303 บาท แต่กระทรวงแรงงานกำหนดไว้ 215 บาท ส่วนที่เกินมาจากการทำงานล่วงเวลา”

แรงงานยานยนต์ย้ำแรงงานต้องเตรียมพร้อมก่อน ASEAN เปลี่ยนเป็น AEC

สหพันธ์แรงงานยานยนต์เปิดเวทีอภิปรายเจาะลึกประเด็นประชาคมคมเศรษฐกิจอาเชียน(AEC)กับผลกระทบด้านแรงงานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม

สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เห็นว่าการพัฒนาไปสู่กลุ่มอาเชียนเป็นโอกาศทางการค้าที่สร้างอำนาจการต่อรองได้ ในส่วนของกระบวนการแรงงานจึงมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ร่วมกันถึงผลได้ผลเสียที่อาจตามมา เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับขบวนการในการพัฒนาบุคลากรให้ก้าวไปพร้อมอุตสาหกรรม และได้จัดสัมมนาเรื่อง “ความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ :สิทธิแรงงานในกฎบัตรอาเชียน สิ่งที่แรงงานควรรู้”ในวันที่ 31 มีนาคม 2554 ณ โรงแรมแกรนด์อินคำ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาที่เป็นผู้นำแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์กว่า 60 คน และมีผู้ทรงคุณวุฒิคือ นางสาวโชติมา เอียมสวัสดิกุล ผู้อำนวยการยุทธศาสตร์ประชาคมเศรฐกิจอาเชียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพานิชย์ มาให้ความรู้เรื่องของ AEC ต่อมาเวลา13.00น.มีการเปิดเวทีอภิปรายมี นายสิงหเดช ชูอำนาจ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ร่วมอภิปราย ดำเนินการอภิปรายโดยมีนายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุทธยา

จับตาครั้งใหญ่ 7 เมษาสภาผู้แทนราษฎรเร่งนำกฎหมายแรงงาน 3 ฉบับ เข้าพิจารณาก่อนยุบ

จับตาครั้งใหญ่ 7 เมษายน 54 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเร่งนำกฎหมายแรงงาน 3 ฉบับ เข้าสู่การพิจารณาก่อนยุบสภา ทั้งร่างประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน พิจารณาก่อนลงมติวาระ 2-3 ส่วนกองทุนการออม พิจารณาร่างที่ผ่านวุฒิสภา วาระ 3 มาแล้ว

ถ้าวันที่ 7 เมษายน 2554 สภาฯไม่ล่มเสียก่อน นับเป็นอีกครั้งของประวัติศาสตร์ที่ผู้ใช้แรงงานจะได้เห็นการพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพี่น้องแรงงานรวม 3 ฉบับ กล่าวคือ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 23 ปีที่ 4 ครั้งที่ 22 (สมัยสามัญทั่วไป) เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ตึกรัฐสภา จะมีการพิจารณารายงานที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ประกอบด้วย (1) ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….. (2) ร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาก่อนลงมติในวาระ 2-3 ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของวุมิสภาต่อไป นอกจากนั้นแล้วยังมีร่างกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่จะหยิบยกมาพิจารณารอบสุดท้ายด้วยเช่นกัน คือ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติรับรองในวาระ 3 ไปแล้วเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554

คสรท.มีมติไม่ร่วมจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ

คสรท.ทบทวนมติไม่เข้าร่วมจัดงานวันแรงงาน หลังคณะกรรมการจัดงานมีมติเดินหน้าประกวดเทพธิดาแรงงาน ไม่ฟังเสียงค้านจากกลุ่มแรงงานหญิง สรส.รับลูกร่วมกันจัดวันกรรมกรสากลเอง เพื่อเชิดชูศักดิ์ศรีแรงงาน

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2554 ในการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้มีการนำวาระการเข้าร่วมจัดงานวันแรงงานแห่งชาติมาทบทวนมติเข้าร่วมจัดงานกับคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ

1 3 4 5