ขบวนการแรงงาน-ภาคประชาชนร่วมค้าน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ

วันนี้ (20 เมษายน 2554) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน ศูนย์ประสานเยาวชนสังคมนิยม-ประชาธิปไตย กลุ่มเพื่อนประชาชน และ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ คุณวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และ คุณวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล

ตามที่สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. ในวันที่ 10 มีนาคม 2554 และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. … โดยมีนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานนั้น บัดนี้คณะกรรมาธิการได้พิจารณาแล้วเสร็จ และจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ในวันพุธที่ 20 เมษายน 2554

คสรท.จับมือสรส.จัดงานวันกรรมกรสากลไม่ร่วมสนามหลวง

ยัน…แรงงานไม่แตกแยกแค่เห็นต่างเรื่องธิดาแรงงาน ไม่มีการเดินสวนกันแน่นอน

เมื่อเวลา14.00 น.ของวันที่ 4 เมษายน 2554 ที่โรงแรมบางกอกพาเลซ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)ได้มีการหารือร่วมกับสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)ในการเตรียมงานวันกรรมกรสากล 1พ.ค.ที่จะมาถึงนี้ โดยได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะตั้งขบวนแรงงานที่หน้ารัฐสภา และสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งมีการร่วมกันประกาศเจตนารมณ์วันกรรมกรสากล คาดว่าจะมีผู้ใช้แรงงานที่ร่วมเดินประมาณ 1,500 คน และช่วงบ่ายจะมีการจัดเวทีวิชาการประเด็นข้อเรียกร้องของแรงงาน และประวัติศาสตร์วันกรรมกร เพื่อเป็นการให้ความรู้กับผู้ใช้แรงงาน ในวันเดียวกันที่ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา บริเวณสี่แยกตอกวัว

แรงงานเตรียมจัดงานรำลึกวันความปลอดภัย 10 พค.นี้

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯร่วมกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ได้มีการจัดประชุมเตรียมงานวันความปลอดภัยแรงงานแห่งชาติ ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554

สืบเนื่องจากวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 นี้ จะครบรอบ 18 ปี ของโศกนาฏกรรม ครั้งยิ่งใหญ่ที่สะเทือนขวัญของผู้คนทั้งในและต่างประเทศ นั่นคือ โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ไฟไหม้ ตึกถล่มที่มีคนงานเสียชีวิตถึง 188 ศพบาทเจ็บ 649 ราย ที่พื้นที่อ้อมน้อยอ้อมใหญ่ จ.นครปฐม จนทำให้สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯสมัชชาคนจน ขบวนการแรงงาน นักวิชาการ NGOได้ร่วมกันเคลื่อนไหวรณรงค์ประเด็นสุขภาพความปลอดภัยมาตลอดในระยะเวลา 18 ปี ที่ผ่านมา จนมีการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายหลายเรื่องที่สำคัญได้แก่ เพราะ”พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554” จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16กรกฎาคม 2554 ถือเป็นพระราชบัญญัติ ด้านแรงงานภายใต้รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้บรรจุให้มีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใน หนึ่งปีหลังกฎหมายบังคับใช้ และกำลังอยู่ในชั้นอนุกรรมการยกร่างกฎหมาย ดังกล่าว ที่มีฝ่ายผู้ใช้แรงงานร่วมร่างอยู่ในขณะนี้ ไป 2 ครั้งและครั้งที่ 3 นี้ คือ วันที่ 4 พฤษภาคม 2554

สองเดือนกับความเงียบ…จากรัฐ ถึงชาลี:แรงงานพม่ากับโซ่ตรวนที่ไม่มีคนปลด

แรงงานข้ามชาติที่ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน เป็นเหนื่อระบบคุ้มครองเเรงงานที่ล้มเหลวของรัฐบาลไทย ประสานกับเสียงเงียบยิ่งกว่าของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ เเละกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่สามารถประกันการคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงานขั้นต่ำ เเละการเลือกปฏิบัติกับแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนเอาผิดกับนายจ้างตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้แรงงานข้ามชาติ เป็นเหยื่อการละเมิดสิทธิ์ รีดไถ และความอยุติธรรม ซ้ำเเล้วซ้ำเล่า

นาย ชาลี ดีอยู่ อายุ 28 ปี เเรงงานข้ามชาติชาวมอญ จากเมืองเมาะลำไย เข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อหลบหนีการความยากจนเเละโอกาสที่ริบหรี่ในประเทศเมียนมาร์ เข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่อายุประมาณ 7 ปีจนปัจจุบัน โดยอาศัยกำลังกายทำงานก่อสร้างย่านปทุมธานีกับบริษัทรับเหมา เพือต่อเติมอาคาร บริษัท ซีพี ค้าปลีกและการตลาด จำกัด เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2554 ระหว่างทำงานกำลังฉาบอยู่หล่นทับร่างนายชาลี จนลำไส้เเตกทะลักออกมานอกช่องท้อง มีคนผู้คุมงานของบริษัทรับเหมาที่นายจ้างพานายชาลีไปทำงานด้วย นำตัวนายชาลีส่งโรงพยาบาลปทุมธานี เเพทย์ตรวจพบว่าลำไส้ใหญ่เเตกทะลักออกมานอกช่องท้อง ต้องทำการรักษาโดยด่วน ซึ่งผู้คุมงานเหมาช่วง บอกว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เช่นเดียวกับที่มีคำสัญญาปากเปล่ากับแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนเเล้วอีกหลายคน

แพทย์อนุญาต ชาลี เหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงานกลับบ้านได้

เมื่อเวลา 11.00 น. ของวันที่ 18 เมษายน 2554 คณะเเพทย์โรงพยาบาลตำรวจอนุญาตให้ นายชาลี ดีอยู่ เเรงงานข้ามชาติเหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงาน ได้รับบาดเจ็บสาหัสลำใส้ใหญ่เเตกและกระดูกสะโพกซ้ายหัก ออกจากโรงพยาบาลได้ หลังต้องเข้ารับการรักษาตัวเป็นเวลากว่า 3 เดือน เเม้อาการทั่วไปจะดีขึ้น แต่ลำใส้ใหญ่ของนายชาลียังอยู่นอกช่องท้อง โดยเเพทย์ได้นัดกลับมารับการผ่าตัดเพื่อนำลำใส้ใหญ่กลับเข้าช่องท้องอีกในอีก 2 สัปดาห์

ก่อนหน้านี้ในวันที่ 9 มกราคม 2554 นายชาลี ถูกผนังปูนหล่นทับระหว่างทำงานให้กับผู้รับเหมาต่อเติมอาคารสำนักงานบริษัท ซีพี ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ต่อมาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลปทุมธานี จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2554 โรงพยาบาลเเจ้งตำรวจให้เข้าควบคุมตัวนายชาลีด้วยข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมายและเกือบถูกส่งกลับประเทศพม่าทั้งที่ยังป่วยหนัก แต่โดยการเรียกร้องของมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาและเครื่อข่ายแรงงานข้ามชาติอื่นๆ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 นายชาลีถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลตำรวจที่ซึ่งนายชาลีถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงในสถานะผู้ป่วยต้องกัก ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวนายนาชาลีเและให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองชดเชยค่าเสียหายจากการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะใบอนุญาติทำงานของนายชาลียังไม่หมดอายุ

ก.แรงงานทำประชาพิจารณ์แผนแม่บทก่อนคลอดพ.ค.นี้

แรงงานติงควรส่งแผนฯ ให้ศึกษาก่อน เสนอให้ตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง หวังคนงานเข้าถึงสิทธิเงินชดเชยหากถูกเลิกจ้าง

กระทรวงแรงงานจัดทำประชาพิจารณ์ร่างแผนแม่บทด้านแรงงานครั้งที่ 3 ในวันที่ 31 มีนาคม 2554 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยเชิญผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง นายจ้างและเจ้าหน้าที่แรงงานในเขตปริมณฑล 5 จังหวัด ตัวแทนหน่วยงานต่างๆของกระทรวงแรงงาน รวมทั้งภาคประชาสังคม ร่วมแสดงความคิดเห็นก่อนจะปรับให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2554นี้ กระทรวงแรงงานได้จัดทำแผนแม่บทมาแล้ว 2 ฉบับ ฉบับที่1 เป็นแผนยุทธศาสตร์กระทรวงแรงงาน(พ.ศ.2548-2551) ฉบับที่ 2 เป็นแผนแม่บทด้านแรงงาน(พ.ศ.2550-2554) สำหรับฉบับที่ทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้เป็นฉบับที่ 3 ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2555-2559 เพื่อให้แผนสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการจากกระทรวงแรงงานในช่วง 5 ปีข้างหน้า

บ.นิเด็ค อยุธยา ประกาศปิดกิจการ ลอยแพสหภาพ

บริษัทนิเด็ค อีเล็คโทรนิคส์ อยุธยา เรียนแบบNTNนิเด็ค ระยอง ประกาศปิดลอยแพสหภาพแรงงาน บอกหางานที่เหมาะสมให้ทำไม่ได้กว่า 200 คน ประธานกลุ่มตั้งคำถามบริษัทมีปัญหาหรือไม่ต้องการพนักงานส่วนนี้กันแน่

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2554 สหภาพแรงงานนิเด็ดประเทศไทย ได้ประชุมร่วมกับประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและใกล้เคียง นาย อุดม ไกรราช และนาย สมเกียติ ลอยโต รองประธานกลุ่มฯ ณ.ที่ทำการกลุ่มผู้ใช้แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อหาทางช่วยเหลือพนักงานประมาณ 600 คน ของบริษัท นิเด็ค อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด วังน้อย อยุธยา เนื่องจากบริษัทประกาศจะปิดกิจการทั้งหมด และได้มีการโยกย้ายพนักงานบางส่วนไปยังโรงงานต่าง ๆ ของเช่นบริษัท นิเด็ค อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) สาขาโรจนะและบริษัท นิเด็คอีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด. รังสิต ปทุมธานี แต่ยังมีพนักงานอีกประมาณ 200คนที่ทางบริษัท บอกว่าไม่สามารถหาส่วนงานที่เหมาะสมได้

“16 ศพแรงงานพม่า กับการถามหาความปลอดภัย”

เมื่อไม่กี่วันมานี้มีความเคลื่อนไหวในเรื่องความตายของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในเขตอุตสาหกรรมมหาชัย 16 คนที่เสียชีวิตจากการถูกรถบรรทุกเสยชน กับรถขนส่งแรงงานขณะรับส่งคนงานเพื่อมาทำงาน มีคำถามเกิดขึ้นมากมายถึงความรับผิดชอบ และระบบป้องกันการเกิดอุบัติภัยความไม่ปลอดภัยของแรงงาน กับการเดินทางทั้งระบบในพื้นที่อุตสาหกรรม ความจริงที่ต้องพูดถึงโศกนาฎกรรมชีวิตความตายในครั้งนี้ มิใช่เพียงครั้งแรกที่เกิดขึ้น ถ้าย้อนหลังกลับไปเกือบยี่สิบปีมีตัวอย่างความตายจากการเดินทางไป-กลับของแรงงานทั้งคนไทยและข้ามชาติหลายกรณี เช่น รถสองแถวขนส่งคนงานชนกับรถบรรทุกที่สงขลาทำให้คนงานเสียชีวิต และบาดเจ็บหลายสิบคน กรณีรถสองแถวใหญ่ส่งคนงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่กลับบ้านหลังฉลองปีใหม่มีคนงานเสียชีวิตสามคนและบาดเจ็บอีกนับสิบคน อาจกล่าวได้ว่ากรณีความไม่ปลอดภัยจากการเดินทางของคนงานในย่านอุตสาหกรรมนั้นเกิดขึ้นมากมาย เพียงแต่ไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นข่าว และให้ความสำคัญป้องกันแก้ไขปัญหาในระดับนโยบาย และพื้นที่อย่างจริงจัง การเกิดเหตุการณ์แต่ละครั้งกลับกลายเป็นเรื่องการดำเนินคดีความระหว่างบริษัทประกันภัยรถ กับตัวแรงงาน หรือครอบครัว

โชว์วิสัยทัศน์ ประธานกลุ่มภาคฯคนใหม่ 5 ประเด็นเร่งด่วน

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 35/2554 และได้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารชุดใหม่ โดยทีประชุมมีมติให้นาย สมพร ขวัญเนตร ประธานสหภาพแรงงานแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าชธรรมชาติ แห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่ง ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก

หลังจากเข้ารับตำแหน่ง ประธานกลุ่มฯภาคตะวันออก นาย สมพร ขวัญเนตร กล่าวกับสมาชิกพร้อมแสดงวิสัยทัศน์การทำงาน “ก่อนอื่นก็ขอขอบคุณพี่น้องทุกท่านที่สนับสนุนให้เข้ามาเป็นประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก จะพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด สิ่งที่ผมอยากจะแก้ไขปรับปรุง มีอยู่ 5 ประเด็น

เครือข่ายแรงงานข้ามชาติออกแถลงการณ์ให้รัฐดูแลแรงงานข้ามชาติ

เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มนำโขง (MMN) และเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM) แถลงแสดงความเสียใจกับครอบครัวแรงงานพม่า 16 ศพ และผู้บาดเจ็บ ร้องรัฐดูแลค่าชดเชย การเดินทางอย่างปลอดภัย

แรงงานท่ามกลางความเสี่ยงความโลภความแออัดยัดเยียดและการขาดระบบขนส่งมวลชนโดยเครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง(MMN) และเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ(ANM) ในวันจันทร์ที่4 เมษายนพ.ศ. 2554 ประเทศไทยได้รับรู้ถึงอุบัติเหตุทางถนนที่ร้ายแรงอีกครั้งหนึ่งที่ทำให้แรงงานข้ามชาติชาวพม่าเสียชีวิต16 คนและมีผู้บาดเจ็บอีกราว50 คนเมื่อรถบรรทุกคันที่แรงงานเหล่านี้กำลังเดินทางมาด้วยได้ชนกับรถบรรทุกอีกคันหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาครในขณะที่แรงงานฯอยู่ระหว่างการเดินทางไปทำงานที่โรงงานแปรรูปอาหารในมหาชัยแรงงานหลายคนในกลุ่มนี้ได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงและนโยบายใหม่ด้วยการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติและได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวเรียบร้อยแล้ว

35ปีกลุ่มภาคตะวันออก สู่บริบทใหม่ ต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อขบวนการแรงงาน

วงเสวนาชี้ หากต้องการเปลี่ยนแปลง ต้องมีจิตสำนึกทางชนชั้น ต้องพัฒนาไปสู่สหภาพแรงงานแบบทั่วไป ต้องทำงานสหภาพแรงงานอย่ามาเล่นสหภาพแรงงาน หากต้องการความเข็มแข็งต้องปฏิบัติไม่ใช่แค่พูด

วันที่ 3 เมษายน 2554 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครแหลมฉบัง จ.ชลบุรี กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 35/2554 โดยมีวาระสำคัญ เลือกตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการชุดเก่าที่หมดวาระลง โดยช่วงเช้าได้จัดเวทีเสวนา “อุดมการณ์และจุดยืนสหภาพแรงงานกับทิศทางการต่อสู้ของขบวนการแรงงานไทย” โดยได้รับเกรียติจากผู้นำแรงงานที่ได้รับการยอมรับร่วมเสวนา นำโดย นาย สมศักดิ์ โกศัยสุข อดีตผู้นำแรงงานที่ผันตัวเองไปเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ นาย สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นาย ยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย และนาย จรัญ ก่อมขุนทด ที่ปรึกษากลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก นำเดินรายการโดย นางสาวเสน่ห์ หงส์ทอง นายทะเบียนพรรคการเมืองใหม่

นายกรัฐมนตรี หวังเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 25% ภายใน 2 ปี

นายกรัฐมนตรีเปิดงานและร่วมเสวนาเรื่องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แรงงานไทยดีจริงหรือ นายกรัฐมนตรีคาดหวังเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 25% ภายใน 2 ปี โดยพิจารณา 2 ส่วน คือเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ลดต้นทุนให้ธุรกิจ ลดภาษี ฝ่ายลูกจ้างเสนอควบคุมราคาสินค้า

วันที่7 เมษายน 2554เวลา 08.30 น. ณ ห้องมหิตลาธิเบศร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการเสวนาทางวิชาการเรื่อง”ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แรงงานไทยดีจริงหรือ” (ครั้งที่ 2) จัดโดย มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ร่วมกับกระทรวงแรงงาน ผู้ร่วมงานประกอบด้วย หน่วยงานจาก ภาคเอกชนทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง นักวิชาการ ผู้นำแรงงาน อาทิ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายมนัส โกศล ประธานองค์การสภาลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อดังกล่าว ให้ได้มุมมองที่หลากหลาย รอบด้านมากยิ่งขึ้น

1 2 3 4 5