สปสช.จัดประชุม สานต่อความร่วมมือกลุ่มสหภาพ สร้างศูนย์ประสานงานในพื้นที่

หลังจากทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้จัดเวทีประชุมร่วมกับผู้นำกลุ่มย่านฯต่างๆถึง 2ครั้งจนเกิดการกำหนดการดำเนินการเบื้องต้นดังนี้

1. จัดตั้งศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพด้านแรงงาน
2. งานเผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้ใช้แรงงาน ในเรื่องสิทธิและการเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพ
3. การตรวจสุขภาพคัดกรองความเสี่ยงทั่วไปและความเสี่ยงจากการทำงาน
4. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
5. พัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพให้กับผู้นำแรงงาน
6. รวบรวมศึกษาวิจัยเพื่อเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย

บทเรียนเตือนใจแรงงานจากอุบัติเหตุในการทำงาน

เมื่อวันที่ 16 มี.ค.54 เวลา 07.30 น. ได้เกิดอุบัติเหตุกับ นายสาคร เส็งมา พนักงาน แผนกตรวจสอบ ( FPP) บริษัท แห่งหนึ่งในเขตพื้นที่สระบุรี สุขภัณฑ์ทับนิ้วมือ ได้รับบาดเจ็บเย็บ 6 เข็ม

นายสาคร เส็งมา พนักงาน ที่ได้รับอุบัติเหตุ กล่าวว่า ขณะนั้นตนเองได้เข้ากะดึก เวลา 24.00 – 08.00 น. ได้เกิดอุบัติเหตุเวลา 07.30 น. ขณะปฏิบัติงาน ได้เคลื่อนย้ายสุขภัณฑ์ประเภทอ่างที่วางบนแผ่นไม้รองสุขภัณฑ์ ให้เคลื่อนบนสายพานลำเลียงไปใกล้รถเล็ด ขณะเคลื่อนผ่านจุดที่สามสามารถ ปิด-เปิดได้ ขณะนั้นไม้รองได้ตกร่องและเข้าไปอยู่ใต้ลูกกลิ้งของสายพานลำเลียง ทำให้สุขภัณฑ์บนแผ่นไม้ล้ม เอามือไปรองรับไว้ ทำให้สุขภัณฑ์ทับที่นิ้วมือซ้ายได้รับบาดเจ็บ ไปตรวจรักษาที่ รพ. เกษมราษฎร์ จังหวัดสระบุรี แพทย์ตรวจเอ๊กซเรย์ กระดูกไม่แตก เป็นแผลฉีก แพทย์ทำการเย็บทั้งหมด 6 เข็ม

คนงานผลิตอาหาร โชคร้าย เครื่องจักรบดมือเละ!! ทุกข์ซ้ำนายจ้างไม่ใยดี แถมทวงเงินค่ารักษา

คนงานผลิตอาหารในโรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังโชคร้ายถูกเครื่องจักรบดมือ ขาดสามนิ้วอีกสองใช้การไม่ได้ ทุกข์หนักไม่มีค่ารักษา หวั่นนายจ้างลอยแพไม่เหลียวแล ซ้ำทวงค่ารักษา อ้างไม่จ่ายจะไม่ช่วยดูแล ลูกจ้างขอคุย กลับถูกปฏิเสธอ้างไม่ว่างคุย ผู้นำแรงงานรุดชี้แนะ พร้อมหาทางช่วยเหลือ พี่สาวมีความหวัง หลังทำใจน้องคงเสียมือฟรี

นางสาว คำใส ผลทับทิม อายุ 31 ปี ชาวจังหวัดยโสธร คนงานผลิตอาหารประเภทเครื่องปรุง ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ต.ทุ่งศุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เปิดเผยว่า ตนเองเป็นคนจังหวัด ยโสธร เดินทางมาทำงานในโรงงานผลิตอาหารแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ปัจจุบันยังไม่มีครอบครัว พักอยู่กับพี่สาว และพี่เขยทำงานมา 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2554 เวลาประมาณ 09.00 น. ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุขณะที่ตนทำงานอยู่กับเครื่องจักรซึ่งเป็นเครื่องบดเนื้อ ในวันดังกล่าวเครื่องดึงถุงมือเข้าไปแต่ตนหยุดเครื่องได้ทัน มือยังเข้าไม่ลึกเท่าไหร่ และมีคนงานกัมพูชาได้เข้ามาช่วยเหลือตน แต่ด้วยการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน คนงานกัมพูชาได้กดปุ่มปิด-เปิดเครื่องอยู่หลายครั้งเพื่อให้เครื่องทำงานและหมุนย้อนกลับ แต่เครื่องกลับดึงมือเข้าไปลึกยิ่งกว่าเดิมอีก

จังหวัดสระบุรี ! เตรียมพร้อมแรงงานเรื่องความปลอดภัย

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2554 สวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี ได้จัดโครงการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติตามมาตรฐานกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 โดยมีนายจ้าง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ( จป. ) และกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( คปอ. ) กว่า 100 คน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารงานส่วนจังหวัดสระบุรี (หลังเก่า)

นายนรินทร์ บุญพร้อม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 จะมีผลบังคับในวันที่ 16 กรกฎาคม 2554 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ฉบับนี้มีข้อแตกต่างไปจาก หมวดที่ 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 25541 อยู่มาก เนื่องจากมีคำสั่งที่ชัดเจน และบทลงโทษที่สูงขึ้น และยังมีบางข้อที่บทลงโทษเกี่ยวข้องลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติเกี่ยวกับการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล ( PPE ) ด้วย

แรงงาน ! เรียนรู้การบริหารงานองค์กรอย่างไรให้ยังยืน

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2554 กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียงได้จัดสัมมนาโครงการเวทีเสวนา บริหารองค์กรสหภาพแรงงานอย่างไรให้ยังยืน สนับสนุนโดยมูลนิธิเอเชีย มีกรรมการและสมาชิกจากสหภาพแรงงานสหกิจวิศาล สหภาพแรงงานกะรัตสุขภัณฑ์ สหภาพแรงงานสหโมเสค สระบุรี สหภาพแรงงานปูนซีเมนต์นครหลวง สหภาพแรงงานปูนซีเมนต์เอเชีย สหภาพแรงงานแฟชั่นเอ็กซ์เพรส และสหภาพแรงงานน้องใหม่สหภาพแรงงานวีนาการ์เมนต์ รวม 40 คน ณ โรงแรมสระบุรีอินน์