มติสยท.ในที่ประชุมใหญ่ ผ่านฉลุย สมาชิกรับรองทุกวาระ

ในกรประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 13/2553 ของสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย (สยท.) วันอาทิตย์ที่ 13มีนาคม 2554 ณ ห้องประชุมศูนย์ฝึกอบรมการไฟฟ้าฝ่ายผลิต บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีสมาชิกจากสหภาพแรงงานต่างๆเข้าร่วม

การประชุมใหญ่ของสหพันธ์แรงงานยานยนต์ในครั้งนี้ มีการแก้ไขข้อบังคับของสหพันธ์ฯถึง 4 ข้อ โดย นาย ยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ประธานในที่ประชุมเสนอไห้มีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของสหพันธ์ฯ ในการดำรงตำแหน่งของกรรมการจาก 2 ปี เป็น 3ปี เหตุการณ์เปลี่ยนครั้งนี้ เพื่อต้องการไห้กรรมการของสหพันธ์แรงงานยานยนต์ มีผู้นำในแต่ละองค์กรสมาชิก เข้มแข็ง และทำงานต่อเนื่อง เพื่อไห้บรรลุเป้าหมายที่สหพันธ์แรงงานกำหนด

มูลนิธิเพื่อสิทธิรายงานสถานการณ์สิทธิแรงงานข้ามชาติ

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ส่งรายงานสถานการณ์สิทธิฯ กลุ่มเเรงงานข้ามชาติ

ให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ เพื่อประกอบการตรวจสอบสถานการณ์สิทธิฯ ในประเทศไทย (UPR)

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเเห่งสหประชาชาติ (HRC) จัดตั้งขึ้นในปี 2549เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของสหประชาติ มีหน้าที่ในการสอดส่องตรวจสอบ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด

สหภาพแรงงาน ทีไอดี ยื่นหนังสือช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม54 นาย ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยว่า จากเหตุภัยพิบัติต่อพี่น้องชาวญี่ปุ่น (สึนามิ แผ่นดินไหว) ในส่วนของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ต้องทำหนังสือแจ้งเจตนาต่อบริษัท ที่ทำงานอยู่เพราะส่วนใหญ่แล้วบริษัทที่เราทำงานกันอยู่เป็นบริษัทมาจากประเทศญี่ปุ่น การไห้การช่วยเหลือในส่วนของพี่น้องแรงงานไทย ให้แต่ละสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงานต่างๆ ที่สังกัดคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อนำไปสมทบกับพี่น้องภาคีอื่นๆในประเทศไทย และในส่วน คสรท. จะนำไปมอบไห้กับสถานทูตประเทศญี่ปุ่น และขอให้รวบรวมก่อนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2554 นี้

ผู้หญิงกับยุคโลกาภิวัฒน์

ในอดีตผู้หญิงเป็นเพศที่มีบทบาทน้อยที่สุดหรือไม่มีเลยก็ย่อมได้ เพราะในอดีตแนวความคิดที่ปลูกฝังมาช้านานนั้น ทำให้ผู้หญิงจะต้องอยู่กับบ้านเป็นแม่บ้านแม่เรือน ต้องเป็นช้างเท้าหลัง เป็นผู้ตามไม่แสดงความคิดเห็นใดๆในทุกเรื่อง ผู้หญิงในอดีตถูกมองว่าเป็นเพียงเพศที่อ่อนแอและต้องอ่อนหวานสวยงามเท่านั้น

แต่ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าผู้หญิงได้ออกมามีบทบาทมากขึ้นในสังคม การเมือง แรงงาน ผู้บริหารหรือสาขาอาชีพอื่นๆ รวมถึงกระบวนการเคลื่อนไหวต่างๆล้วนแต่มีบทบาท และได้รับการยอมรับมากขึ้น ในฐานะผู้นำเช่นในกระบวนการแรงงานในปัจจุบัน คุณ วิไลวรรณ แช่เตีย ได้รับการไว้วางใจให้เป็นประธานสมานฉันท์แรงงานไทยถึง 2สมัย และนี่คือ ภาพสะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นเพศที่มีความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสอดคล้องการการดำเนินชีวิตตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงตามพลวัฒน์ ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า แนวความคิดของคนในสังคมเริ่มมองผู้หญิงในยุคนี้อีกมุมคือความสามารถ ความรู้ การศึกษา ความเท่าเทียมเสมอภาค จนทำไห้มีผู้หญิงเก่งๆมีทั่วทุกมุมโลก ทุกสาขาอาชีพ

แรงงานเสนอศูนย์เลี้ยงเด็กต้องเพียงพอ เสนอรัฐปกป้องสิทธิการเป็นมารดา

ในงาน 100ปีสตรีสากล เมื่อวันที่ 7มีนาคม 2554ได้มีการจัดเสวนา ศูนย์เลี้ยงเด็กคนทำงานสู่อนุสัญญา ไอ แอล โอ 183ณ ห้อง ประกอบ หุตะสิงห์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยคณะกรรมการจัดงาน 33 องค์กร ซึ่ง กลุ่มบูรณการสตรีและฝ่ายสตรีสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โดยมีผู้เข้าร่วมราว 100 คน

คุณ PONG SUL AHN ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านกิจกรรมแรงงาน ไอ แอล โอในนาม ไอ แอล โอ ขอระลึกถึงแรงงานสตรี ที่อุทิศแรงกาย แรงใจ เพื่อความเสมอภาคในสังคม สหภาพแรงงาน กลุ่มพลเรือน ที่ได้ร่วมการต่อสู้ เพื่อสิทธิความเท่าเทียม

นายกฯ อภิสิทธิ อึ้งคาดไม่ถึง เจอป้ายดีแต่พูด งาน 100 ปี วันสตรีสากล

ผู้ใช้แรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ ประมาณ 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 6 มีนาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( ท่าพระจันทร์ ) ตึกอเนกประสงค์ชั้น 3 เครือข่าย 37 องค์กรร่วมจัดงานครบรอบ 100 ปีวันสตรีสากล โดยมีผู้เข้าร่วมราว 200คน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถา ให้ความสำคัญประเด็นของผู้หญิง โอกาสในการทำงานของผู้หญิง ต้องผลักดันให้มีนโยบายสวัสดิการตั้งแต่เกิด – ตาย โครงการการดูแลแม่และเด็ก มีมาตรการเรื่องศูนย์ดูแลเด็กเล็กโดยได้เชิญชวนองค์กรภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการฯ มีการสำรวจศูนย์ดูแลเด็กเล็กทุกจังหวัด จะให้มีครบทุกตำบล ผลักดันให้ผู้ชายลาเพื่อดูแลบุตรได้ โดยให้ภรรยาเป็นผู้เซนต์รับรองให้ลางานเพื่อดูแลบุตรจริง โครงสร้างของสังคมมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนค่าจ้างต้องมีการเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อให้ค่าจ้างสูงขึ้นเศรษฐกิจจะได้แข็งแรง ต้องไม่หวังพึ่งทุนต่างประเทศ จากนั้นคณะทำงานได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี

นางสุนี ไชยรส ที่ปรึกษากลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ได้อ่านบทกวี ในการต่อสู้ของสำราญ คำกลั่น กรรมกรหญิงกระทุ่มแบน

เมื่อความเลวร้ายเข้าครองโลก ความวิโยคก็เข้าเยือนทุกหย่อมหญ้า

คนกับคนที่เคยอยู่คู่กันมา คนกับคนก็หันหน้าฆ่ากันเอง

อำนาจความเลวร้ายในวันนี้ อัปยศกดขี่และข่มเหง

เหมือนยักษ์มารไม่เคยกลัวไม่เคยเกรง คอยแต่เร่งให้ร้อนรุมทุ่มให้แบน

เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น เธอตายเพื่อผู้อื่นอีกหมื่นแสน

คือดินก้อนเดียวในดินแดน แต่จะหนักและจะแน่นเต็มแผ่นดิน