ประชุมกธ.วิสามัญร่างประกันสังคมไม่คืบ

ตัวแทนแรงงานบ่นประธานที่ประชุมแกล้งมองไม่เห็นมือคนงานยกขออภิปรายร่าง ส่วนส.ส.ตัวแทนกรรมาธิการฯปล่อยเกรียว่างลดบทบาท หวังรวบหัวรวบหางสรุปตัดตอนทันการยุบสภาฯ ให้แรงงานข้าราชการว่ากันไป ซ้ำไม่บันทึกความเห็นแย้งของแรงงาน เตรียมนัดแถลงข่าวแจงชำแหละผลประชุมกรรมาธิการวิสามัญฯให้สังคมรับรู้ 12 มีนาคม นี้

วันนี้ (7มีนาคม 2554) คณะกรรมการผลักดันนโยบายร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. …. (ฉบับที่..) ได้มีการประชุมเพื่อรับฟังการสรุปการประชุมของตัวแทนแรงงานในคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ….ซึ่งมีนายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย และทีมที่ปรึกษา

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตียเล่าว่า จากการประชุมคณะกรรมาธิการฯ 2ครั้งพบว่า การประชุมร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (สปส.)มีการพิจารณาไวมาก และไม่มีการหยิบร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมที่ได้มีการรับหลักการพร้อมๆกันอีก 3ร่างมาพิจารณาไปพร้อมๆกันไปด้วยแม้ว่าทางตัวแทนแรงงานและที่ปรึกษาจะพยายามยกมือขออภิปราย ประธานที่ประชุมก็จะทำเป็นมองไม่เห็นทำให้รู้สึกว่าเหมือนกับกรรมาธิการฯชุดนี้จะเร่งให้ร่างมีการพิจารณาจบลงอย่างรวดเร็วอาจด้วยเหตุผลประเด็นใกล้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเข้ามา

ประกาศเจตนารมณ์ ผู้หญิงทำงาน สู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

ประกาศเจตนารมณ์ “ผู้หญิงทำงาน สู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคน” ในวาระการฉลอง ๑๐๐ ปี วันสตรีสากล ๘ มีนาคม (พ.ศ.๒๔๕๔-๒๕๕๔) แถลงต่อ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดย ๓๓ เครือข่ายองค์กรแรงงาน องค์กรทำงานประเด็นผู้หญิง และองค์กรสิทธิมนุษยชน๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๘ มีนาคม ๒๕๔๔ เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว คนงานหญิงในภาคอุตสาหกรรมหลายประเทศพร้อมใจกันเดินขบวนแสดงพลัง เรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรม ลดชั่วโมงการทำงาน และ เพิ่มสวัสดิการ คือเรียกร้องการทำงานระบบสามแปด“ทำงาน ๘ ชั่วโมง พักผ่อน ๘ ชั่วโมง และแสวงหาความรู้ ๘ ชั่วโมง” เรียกร้องให้ค่าจ้างหญิงชายต้องเท่ากันในงานประเภทเดียวกัน ต้องคุ้มครองสวัสดิภาพผู้หญิงและเด็ก และเรียกร้องสิทธิทางการเมืองของผู้หญิง การแสดงพลังต่อเนื่องจนสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 8 มีนา เป็นวันสตรีสากล “ ๘ มีนา” จึงเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของผู้หญิง และความเสมอภาคหญิงชาย

เครือข่ายผู้ป่วยฯจัดเวทีสาธารณะสถานการณ์สุขภาพความปลอดภัย

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยเนื่องจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยร่วมกับ ผู้ใช้แรงงานในพื้นที่รังสิต ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยาและแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ร่วมกันเปิดเวทีสาธารณะ เรื่อง “สถานการณ์สุขภาพความปลอดภัยในการทำงานกับทางออก จะไปทิศทางไหน” โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้ร่วมเวทีเสวนา คุณสมบุญ ศรีคำดอกแค, คุณเสน่ห์ ชุ่มหฤทัย กลุ่มรังสิต, คุณสมเกียรติ ลอยโต กลุ่มอยุธยา , คุณอัสวุฒิ สินทวี กลุ่มภาคตะวันออก

100 ปีสตรีสากล33องค์กรเสนอผู้หญิงทำงานต้องมีคุณชีวิตที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2554 ณ,ห้องประชุม ประกอบ หุตะสิงห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่าย 33 องค์กรประกอบด้วย 33 องค์กรทำงานประเด็นผู้หญิง และองค์กรสิทธิมนุษยชน ได้มีการจัดเสวนาขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อแสดงถึงการให้ความสนใจในการครบรอบ 100 ปีสตรีสากลที่จะครบรอบในวันที่ 8 มีนาคม 2554 นี้ในการเสวนาในครั้งนี้ได้เรียนเชิญ ฯพณฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มาเป็นกล่าวเปิดงานด้วย

ครั้งนี้ทางกลุ่มได้เสนอข้อเรียกร้องเพื่อการขับเคลื่อนร่วมกันต่อรัฐบาลในโอกาส 100 ปีวันสตรีสากล ต่อหน้านายกรัฐมนตรีซึ่งมีใจความว่า “ ผู้หญิงทำงาน ต้องการคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน เพื่อผู้หญิง และทุกคน”