ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ … ก้าวใหม่ของนโยบายค่าจ้าง โดยรัฐ ??

เนื่องจากสถานประกอบการจำนวนมหาศาลไม่มีหลักเกณฑ์การปรับค่าจ้างประจำปีที่โปร่งใสเป็นธรรมและมีส่วนร่วมจากฝ่ายลูกจ้าง ทำให้ “ค่าจ้างขั้นต่ำ”ที่กระทรวงแรงงานประกาศบังคับใช้ในแต่ละปี กลายเป็นฐานค่าจ้างที่นายจ้างหลายแห่งนำไปใช้เป็นค่าจ้างของลูกจ้างหรือเกณฑ์การปรับค่าจ้าง โดยไม่คำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อ-ค่าครองชีพ, ทักษะฝีมือและการแบ่งปันกำไรจากผลประกอบการอย่างแท้จริง หลายโรงงานที่ไม่มีสหภาพแรงงานหรือมีสหภาพแรงงานไม่เข้มแข็ง ค่าจ้างของคนงานจำนวนมากจะใกล้เคียงค่าจ้างขั้นต่ำหรืออ้างอิงค่าจ้างขั้นต่ำมาตลอด ส่งผลให้คนงานต้องทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ ทำงานในวันหยุดหรือควงกะ อาจต้องทำงานแบบเหมางานรายชิ้นปริมาณมากตามคำสั่งซื้อของลูกค้าและความต้องการของนายจ้าง เพื่อให้มีรายได้มากเพียงพอแก่การเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว

เจตนารมณ์การผลักดันองค์กรอิสระ กับความปลอดภัยในการทำงาน

หากมองย้อนไปในอดีต 17 ปีที่ผ่านมา มีการเกิดโศกนาฏกรรม ซ้ำซากที่ทำให้เกิดการสูญเสียสุขภาพร่างกาย จิตใจ คนงาน แล้วยังนำมาสู่การเกิดความหายนะมาสู่ครอบครัว ซ้ำร้ายยังเกิดการกล่าวขาน ไปในทางไม่ดีไปทั่วโลก กับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่สะเทือนขวัญของแรงงานไทยได้แก่ * ชุมชนคลองเตยถูกผลกระทบจากสารเคมีระเบิดที่คลองเตย (2 มี.ค.34) มีผู้เสียชีวิต 4 คน บ้านเรือน 642 หลังคาเรือนเสียหายในกองเพลิง*โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ตึกถล่ม จังหวัดนครปฐม จนทำให้คนงานวัยหนุ่มสาว ต้องตายถึง 188 ศพและบาดเจ็บถึง 469 ราย (ในวันที่ 10 พ.ค. 36)*โรงงานรอยัลพลาซ่าถล่ม (วันที่ 13 ส.ค.36 ) มีคนงานข้าราชการ นักท่องเที่ยวตายรวม 167 รายบาดเจ็บกว่า 200 ราย กรณีไฟไหม้โรงแรมรอยัลจอมเทียน (11 ก.ค.40) ทำให้คนงาน นักท่องเที่ยว และพนักงานไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ตายรวมจำนวน 91 รายบาดเจ็บกว่า 50 ราย โรงงานอบลำไยแห้งบริษัทหงษ์ไทยระเบิด (19 ก.ย. 2542) คนงานเสียชีวิต 36 คน บาดเจ็บ 2 ราย ชุมชนสันป่าตองบริเวณรอบโรงงานรัศมี 1 กิโลเมตร บ้านเรือน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล เสียหายกว่า 571 หลังคา เรือน และชาวบ้านบาดเจ็บ 160 ราย จะเห็นว่าผลกระทบเหล่านี้ยังขยายตัวออกมาสู่คนในชุมชน เช่น ชุมชนแม่เมาะ จ.ลำปาง

7 ตุลานี้แรงงานนัดลางานรวมพลบุกทำเนียบเรียกร้องค่าจ้าง 421 บาท

คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คโทรนิค ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานต่างๆ จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน “ในการลงแรง ลงขัน หยุดงาน 1 วัน เพื่อรณรงค์ให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เพื่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพี่น้องผู้ใช้แรงงานไทย” โดยกำหนดรณรงค์ใหญ่ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2553 รวมตัวหน้าสำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน เวลา 09.00 น.

ลูกจ้าง นายจ้างจังหวัดภูเก็ต จับมือภาครัฐสร้างเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงาน

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต โดยนายวิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรม และบริการภูเก็ต ได้ร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดภูเก็ต และตัวแทนนายจ้าง และลูกจ้าง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดการเสวนาเรื่อง “การสร้างเครือข่ายแรงงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนมัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ (สสส)

ส.ว.ตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยฯภายใน 7 วัน

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553ที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯและมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯภายใน 7 วัน จำนวน 29 คน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) 24 คน และโคต้ารัฐบาลอีก 5 คน ทั้งนี้จะต้องพิจารณาแล้วเสร็จภายในวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เพื่อเข้าสภาฯพิจารณาอีกครั้ง

พนักงานตรวจแรงงานสั่งนายจ้างมิชลินจ่ายค่าทำงานวันหยุด

นาย ธนกร สมสิน ประธานสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 ได้รับหนังสือจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน มีคำสั่งให้บริษัทสยามมิชลินจำกัด(แหลมฉบัง) จ่ายเงินให้แก่แกนนำ 15 คนเป็นเงินจำนวน 92,996 บาท หลังจากที่แกนนำทั้ง 15 คน ได้ยื่นร้อง คร7.ต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่่ 19 เมษายน 2553 ในกรณีที่บริษัทไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุด

สหภาพเลอเมอริเดียนภูเก็ตร่วมกับผู้บริหารปลูกป่าชายเลน

คณะกรรมการสหภาพแรงงานเลอเมอริเดียนภูเก็ตนำโดยนายณัฐวุฒิ กางกฤษณ์ ประธานสหภาพแรงงานร่วมกับตัวแทนฝ่ายบริหารนายรูดอล์ฟ บูกีเซียส ผู้จัดการทั่วไป หัวหน้าแผนกต่างๆ ตลอดจนคณะกรรมการสิ่งแวตล้อมได้ร่วมกันปลูกป่าชายเลนในพื้นที่คลองบุดง ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยทางสหภาพแรงงานและผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของป่าชายเลนที่สามารถช่วยป้องกันภัยธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

ลูกจ้างสระบุรี บุกจวนผู้ว่า ! เรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรม 421 บาท

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 เวลา 18.00 น. นำโดย นายบุญสม ทาวิจิตร ประธาน กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง ร่วมกับผู้นำแรงงานในจังหวัดสระบุรี เดินทางไปที่ศาลากลางจังหวัดสระบุรี เพื่อยื่นหนังสือต่อ นายถาวร มีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เมื่อไปถึงจึงได้ทราบว่า นายถาวร มีชัย ผู้ว่าฯ ติดราชการ จึงมอบหมายให้ นายรณรงค์ จันทร์ประสิทธิ นายอำเภอเมืองสระบุรี รักษาการแทนผู้ว่าราชการ ลงมารับหนังสือกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง นายบุญสม ทาวิจิตร ได้พูดถึง จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ราคาสินค้าเครื่องอุปโภคและบริโภค มีราคาที่สูงขึ้นมาก ในขณะที่มีค่าจ้างที่ต่ำไม่พอต่อการดำรงชีวิต ทำให้ลูกจ้างต้องทำงานมากขึ้นไม่มีเวลาพักผ่อนหรือศึกษาหาความรู้ตามหลัก สามแปด

พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯผ่านสภาฯ หวัง ส.ว.ผ่านฉลุย

แรงงานลุ้น! จับตานัดสำคัญ 4 ตุลาคม 2553 วุฒิสภา พิจารณาเห็นชอบรับหลักการวาระ 1 ร่างพรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. …. ซึ่งได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และ 3 ด้วยคะแนนเสียง 279 ต่อ 12 เสียง งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนน 14 เสียง

ข้อมูลเพื่อประกอบการผลักดัน “ค่าจ้างที่เป็นธรรม”

“ค่าจ้าง” ไม่ได้เป็นเพียงตัวชี้วัดค่าตอบแทนสำหรับคนงานเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวชี้วัดสินค้าและบริการที่เข้าออกในระบบเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากการดำเนินงานของกลไกการผลิตด้วยเช่นกัน เศรษฐกิจจะมั่นคงอยู่ได้ก็เพราะค่าจ้างของคนงานที่ส่งผลต่อเนื่องถึงสมาชิกในสังคมกลุ่มอื่นๆ และส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

DECENT WORK งานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

งานที่มีคุณค่าสรุปอยู่ในความใฝ่ฝันของผู้คนในชีวิตการทำงานของพวกเขา — แรงบันดาลใจของพวกเขาสำหรับโอกาสและรายได้สิทธิการรับรู้เสียงและความมั่นคงของครอบครัวและการพัฒนาส่วนบุคคลและความเป็นธรรมและความเสมอภาคหญิงชาย ในที่สุดเหล่านี้สัดส่วนต่างๆของงานที่มีคุณค่าหนุนความสงบสุขในชุมชนและสังคม งานที่มีคุณค่าสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของรัฐบาลที่คนงานและนายจ้างที่ร่วมกันให้องค์การแรงงานระหว่างประเทศที่มีเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำกันของไตรภาคี

1 2 3 4