14 ตุลากับขบวนการแรงงาน เพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์

P8250224

เมื่อวันที่ 25สิงหาคม 2556 คณะกรรมการ14ตุลา เพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ครั้งที่ 2 ร่วมกับมูลนิธินิคม จันทรวิทุร ได้จัดเสวนา 14ตุลากับขบวนการแรงงาน ในวาระ 40 ปี 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์

นายจรัล ดิษฐาอภิชัย กรรมการคณะกรรมการ 14 ตุลาฯ กล่าวว่าการเคลื่อนไหวอย่างคึกคักหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม  2519 แม้ว่าผู้นำนักศึกษาจอหลบลงใต้ดิน เข้าป่า แต่ขบวนการแรงงานยังคงต่อสู้อยู่แม้ว่าจะดูซบเซาบ้าง และอาการนี้ยังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน การจัดงานนี้เพื่อต้องการที่จะหาแนวทางฟื้นฟูให้ขบวนการกรรมกรเข้มแข็งขึ้น การจัดงานรำลึก 14 ตุลาในวาระครบรอบ 40 ปี ไม่ควรเป้นเพียงพิธีกรรมเหมือนงานเซงเม้งจัดเพียงวันเดียวเท่านั้น เราจะมีการจัดงานต่อเนื่อง

P8250202P8250203ขบวนการขับเคลื่อนสมัย 14 ตุลา 16 เป็นการทำงานของนักศึกษา ซึ่งได้มีการเข้าไปทำการจัดตั้งขบวนการกรรมกร การรัฐประหารถึง 2 ครั้งของจอมพลสฤษธิ์ ธนรัตน์  คงจำได้ว่า การรัฐประหารครั้งแรก เป็นการรัฐประหารเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งในปลายปี 2500 โดยได้พรรคการเมืองของทหารเข้ามาจอมพลสฤษธิ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาจอมพลสฤษธิ์ก็รัฐประหารตัวเอง ครั้งมีการจับกุมคุมขังผู้นำนักศึกษา ผู้นำกรรมกรเข้าคุก  เช่นจิตร ภูมิศักดิ์ และมีการประหารชีวิตผู้นำกรรมกรคือนายศุภชัย ศรีสติ ด้วยการยิงเป้า

ตอนต้นปี 2515 คำปะกาศปว 103 ให้ลูกจ้างสมารถตั้งสมาคมลูกจ้างได้ แต่ไม่ให้มีการตั้งสหภาพแรงงาน แต่ก็มีการตั้งสมาคมลูกจ้างพระประแดง  ซึ่งก็มีนักศึกษาเข้าไปช่วยจัดตั้ง เป็นการที่นักศึกษาก้าวเดินเข้าไปหากรรมกร และช่วยเรื่องงานจัดตั้งการเป็นเลขา และเป็นหน่วยประชาสัมพันธ์ ซึ่งหลังปี 2500  ปี 2515 ปี 2516 มีการนัดหยุดงานของกรรมกรถึง 500 ครั้งเป็นต้น แต่วันนี้ขบวนการแรงงานไม่มีขบวนการของนักศึกษาที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดตั้งเช่นเคย

P8250218P8250210

นายวิสา คัญทัพ  ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอดีต 13 กบฎนักศึกษา 14 ตุลา 16 กล่าวว่า ตนคือประวัติศาสตร์บอกเล่าที่ยังมีชีวิตอยู่ ขบวนการนักศึกษามีการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อโค้นล้มเผด็จการ

ในอดีตนั้นการต่อสู้เคลื่อนไหวของนักศึกษามีความดุเดือดมาก วันนี้ไม่เห็นนักศึกษา ขบวนการนักศึกษาหายไป หากนับวันนี้มีไม่กี่คนที่มานั่งฟังอดีต เพื่อมองอดีตก็เห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงในส่วนของขบวนการนักศึกษาที่หายไปจากขบวนการทางการเมือง

40 ปี 14 ตุลาที่จะมาถึงนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นของขบวนการนักศึกษา แม้แต่การจัดงานยังเป็นแบบ14 ตุลาสีเหลืองจัด ประชาธิปไตยที่ต้องพูดถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และ 14 ตุลาคม 2516 การเกิดเหตุการณ์ 14ตุลา ก่อเกิดจากกระแสสากล กระแสวรรณกรรม บทเพลง เช่นบอบ มาเลย์  และพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย เป็นกระแสที่ปลุกให้นักศึกษาตื่นตัวต่อสู้กับอำนาจรัฐอย่างเปิดเผย และเป็นอิสระ เคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกเทศรวมตัวกันเป็นปรึกแผ่นทำงานมีบทบาททางสังคมมาตลอด เหตุการสำคัญคือ การล่าสัตว์ป่าที่ทุ่งใหญ่นเรศวร แล้วเกิดเครื่องบินตกจนเป็นข่าวให้ได้รู้ว่ากองทัพมีการนำฮิลิปคอร์บเตอร์ และอาวุธออกไปล่าสัตว์ป่าเปิดปมให้นักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวใหญ่โตจุดเริ่มที่มหาวิทยาลัยรามคำแห่ง โดยมีการจัดทำวารสาร ซึ่งก็ทำเหมือนๆกับที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬามหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่หนังสือของรามคำแห่ง ชื่อว่า มหาวิทยาลัยไม่มีคำตอบ สภาสัตว์ป่าต่ออายุสัตว์ป่าอีก 1 ปี ซึ่งบังเอิญไปตรงกับการต่ออายุราชการของจอมพลสฤษธิ์ จอมพล ป ทำให้นักศึกษา 9 คนรวมตนเองต้องถูกลบชื่อออกจากเป็นนักศึกษารามคำแห่ง และส่งผลให้นักศึกษาออกมาเดินขบวนเสื้อขาวมากที่สุด เพื่อเรียกร้องให้ 9 นักศึกษากลับเข้าเรียน ในวันที่ 21-22 มิถุนายน 2516 จำนวน เรือนแสนคนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีข้อเรียกร้อง  1.ให้รับนักศึกษา 9 คนกลับเข้าเรียน 2. ไล่อธิการบดีออก 3. ให้รัฐบาลคืนอำนาจ โดยให้มีรัฐธรรมนูญให้กับประชน ซึ่งช่วงนั้นยังอยู่ในยุคเผด็จการ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการเคลื่อนไหว 2 ข้อแรก แต่ในส่วนข้อ 3 ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลยุคเผด็จการ ซึ่งหากสรุปได้ว่า หากไม่มี 21-22 มิถุนายน ก็ไม่มีเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 หรือ 6 ตุลา 16 ต่อมา เหตุการณ์ที่นักศึกษาถูกจับกุมคุมขัง 13 กบฎนักศึกษาและนำมาสู่เหตุการณ์ 14 ตุลา

นายวิสา ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนของคำถามต่อบทบาทหน้าที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ในการส่งเสริมขบวนการแรงงานให้เข้มแข็งนั้น จะไม่ขอตอบ เนื่องจากความเข้มแข็งหรือไม่นั้นก็อยู่ที่การรวมตัวของแรงงานเอง และจริงแล้วคนที่มีอำนาจในกระทรวงฯคือข้าราชการ เมื่อจับมือกับผู้นำแรงงานในระดับสภา ทำให้ข้าราชการการเมืองทำอะไรไม่ค่อยได้ จึงอยากพูดในฐานะของอดีตนักศึกษาฯมากกว่า

เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ยังไม่ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่ยังไม่ได้ขุดรากถอนโคนทำให้ได้ประชาธิปไตยแบบไม่สมบูรณ์แท้จริง เมื่อ 14 ตุลา 16 ก็ยังไม่มีการขุดรากถอนโคน เพราะนักศึกษาเองก็ไม่รู้ว่ารัฐธรรมนูญควรเป็นแบบไหน ประชาธิปไตยแบบไหน นักศึกษาเองก็ยังไม่ได้คิดเช่นกัน ใครจะมาปกครอง  การที่รัฐบาลยอมเพราะว่ามีความขัดแย้งกันของทหารเองด้วย ก็อีก 3 ปี ก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งนำมาซึ่งการสังหารโหดนักศึกษา ประชาชน ซึ่งตนเองเข้าป่าตั้งแต่ 7 ส.ค. 2519

ขบวนการที่จะขุดรากถอนโคนโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งก็ไม่สำเร็จ ซึ่งปัจจุบันก็เป็นแนวปฏิรูป การต่อสู้ระหว่างรัฐ กับประชาชน กรรมกรต้องมีการเลือกข้างที่ชัดเจน เพื่อความแหลมคมในการต่อสู้เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนแปลง

P8250221P8250213

นายบุญมี ท่าส่ง อดีตสหภาพแรงงานไทยรุ่งคาร์ เข้าทำงานได้ค่าจ้าง 10 กว่าบาท และได้ร่วมเคลื่อนไหวจนได้ค่าจ้าง 25 บาทต่อวัน ซึ่งการตั้งสหภาพแรงงาน และการเคลื่อนไหวได้รับอทธิพลจากนักศึกษายุคนั้น ที่เข้ามาจัดตั้งสหภาพแรงงาน ให้การศึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน การตั้งสหภาพแต่ก่อนต้องไม่เปิดเผยผิดลับ นาจ้างรู้อีกทีต่อเมื่อมีการประกาศเป็นกฤษฎีกาทางสื่อมวลชนว่า ได้มีการตั้งสหภาพแรงงาน ปัจจุบันนี้ยากกว่าแต่ก่อนมาก จัดตั้งแล้วก็ถูกเลิกจ้างง่าย  และการต่อสู้ของแรงงานปัจจุบันมีความโดดเดี่ยวมาก เดิมการออกมาเดินขบวนเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำที่สนามหลวง การนัดหยุดงานจะมีนักศึกษาคอยช่วยเหลือ และแต่ก่อนนั้นมีสภาแรงงานแห่งเดียวไม่เหมือนปัจจุบันมีสภาลูกจ้าง 13 แห่ง ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน สภาแรงงานเป็นหลักในการเรียกร้อง ออกแถลงการณ์เพื่อชวนคนเข้าร่วมเคลื่อนไหว มีขบวนนักศึกษาคอยช่วยทำให้นายจ้างตอนนั้นตามไม่ทัน นัดหยุดงานกันบ่อยมากๆมีการทำงานเชิงรุก แรงงานมีการชุมนุมใหญ่ที่สนามหลวงตอนมิถุนายน 2517 เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ เดิมค่าจ้าง 12 บาทต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 16 บาท และ เมื่อชุมนุมใหญ่อีกครั้งก็ได้รับการปรับเป็น 25 บาทมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคีค่าจ้างขั้นต่ำมาพิจารณา มีการตั้งศูนย์ประสานงานกรรมกรแห่งชาติ มีประสิทธิ ไชโย เป็นประธาน

P8250225P8250226

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน