106 ชาตกาล ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

106 ปี ชาตกาล ท่านผู้หญิง พูนสุข พนมยงค์ ร่วม”สรรค์สร้างสังคมธรรมาธิปไตยด้วยพลังสตรีและเยาวชน” 

งานครบรอบชาตกาล 106 ปี ท่านผู้หญิง พูนสุข พนมยงค์ วันที่ 6 มกราคม 2561ณ สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสวนาวิชาการ “สรรค์สร้างสังคมธรรมาธิปไตยด้วยพลังสตรีและเยาวชน” ดำเนินรายการโดย รศ.มาลี พฤกษ์พงศาวลี รองประธานโครงการสตรีฯ

นายพิภพ ธงไชย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก กล่าวว่า สังคมธรรมาธิปไตย ช่วงตั้งมูลนิธิเด็กช่วงนั้นก็อ้าง กฎบัตรสหประชาชาติ ด้านสิทธิเด็ก ซึ่งการจะพูดถึงสิทธิเด็กและสิทธิสตรีนั้นจะกล่าวแต่เพียงสิทธิอันใดอันหนึ่งอย่างเดียวคงไม่ได้ทั้งสองสิทธิต้องไปด้วยกัน เมื่อสตรีเข้าใจเรื่องสิทธิก็จะทำให้สิทธิเด็กได้รับการดูแล และช่วงหนึ่งมีการรณรงค์เรื่องการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งทำให้เกิดการแก้ปัญหาแม้รัฐบาลไม่สนใจ วันนี้ก็ดีขึ้นมากแล้ว แต่หากจะทำงานด้านสิทธิเด็ก ต้องมีพลังสตรี เยาวชน ซึ่งเด็กนั้นต้องมีสิทธิตั้งแต่ในครรภ์มารดาแล้วเด็กควรมีสิทธิ คือการดูแลตั้งแต่ตั้งครรภ์ การดูแล การลาคลอด และเมื่อออกจากครรภ์แล้วก็ต้องได้รับการดูแลด้านสิทธิการกินการอยู่ การศึกษา แต่ปัญหาคือการเข้าสู่โรงเรียนกลับไปเข้าสู่ระบบอำนาจนิยมที่ไม่ได้มีธรรมาธิปไตย ไม่มีระบบประชาธิปไตย ถูกกดด้านสติปัญญา ซึ่งยังมีการรณรงค์เรื่องการขาดสารอาหาร

การดูแลที่ไม่มีคุณภาพเพราะครอบครัวยากจน จำได้แต่ก่อนภาพของเด็กในชนบทต้องดื่มนมกระป๋องที่เป็นนมข้นขวาน ซึ่งยังมีเลี้ยงเด็กในกลุ่มของคนจนในชนบท นมข้นหวานมีแต่น้ำตาล และส่งผลทางสติปัญญาชองเด็กซึ่งมีการวิจัยแล้ว และระบบการเรียนของไทย ยังมีเรื่องการเรียนแบบแพ้ตัดออก จึงมีเด็กจบประถม6 อ่านหนังสือไม่ออก และต้องคัดไปอยู่ท้ายห้อง

เรื่องแนวคิดประชาธิปไตยในโรงเรียนไม่มี การเข้าโรงเรียนจะฟังแต่ครูอย่างเดียว โรงเรียนเป็นการบั่นทอนพลัง ซึ่งจะแก้ได้ด้วยการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งการตนร่วมกันตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ก็เพื่อให้เป็นการเรียนแบบสบาย และเด็กที่มาเรียนเป็นเด็กยากจนซึ่งจะต้องแก้ปมทางจิตรวิทยาของเด็กด้วย ต้องมีการส่งเสริมเด็กให้เรียนสิ่งที่อยากเรียนและเขาพอใจ ต้องมีการเสริมพลังให้กับเด็กให้เด็กมีชีวิตตามวัยที่ควรเป็น ให้มีชีวิตที่พัฒนาตามวัย

คุณศิริพร สะโครบาเนค มูลนิธิผู้หญิงกล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ 6 ตุลา 2519ให้ไว้กับสังคม คือมิติมีมากกว่าการเมือง มีการทำงานด้านสิทธิ มีการทำบ้านทานตะวัน มีการทำงานในเวียดนามเรื่องเด็กกำพร้า เด็กขาดสารอาหารและมาจดทะเบียนเป็นมูลนิธิเด็ก โดยมองว่า เด็กต้องได้รับการดูแล ซึ่งมองด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งระบบประชาธิปไตย ที่ทุกคนมองว่าประชาธิปไตยคือ การเลือกตั้ง สำหรับพวกเราประชาธิปไตยต้องมีทิ้งอิสรภาพ เสรีภาพของทุกคนแบบเท่าเทียมซึ่งผู้หญิงทำงานตรงนี้อยู่ และต้องรื้อทำลายเกาะที่จะเข้าถึงโอกาส ที่ผู้ชายสร้างไว้ เพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงความเท่าเทียม ซึ่งก่อนนั้นมองว่าต้องต่อสู้เพื่อชนชั้นก่อนถึงมาพูดเรื่องความเท่าเทียม เมื่อเกิดการปฏิวัติที่เวียดนามเราก็รู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งความต้องการของเรา ซึ่งจากการที่มาทำงานบ้านทานตะวัน การทำเรื่องสิทธิเด็กนั้นมีคนเห็นด้วย แต่เมื่อมีการเสนอเรื่องความเท่าเทียม ด้านสิทธิสตรี กระแสต่อต้านเยอะมากไม่ราบรื่นเหมือนเรื่องสิทธิเด็ก ซึ่งอดมองไม่ได้ว่าเป็นเพราะแนวคิดชายเป็นใหญ่ ที่อยู่ในทุกคนด้วยวัฒนธรรมที่คอบงำมานาน ซึ่งก็ไม่โทษผู้หญิงเพราะอยู่แบบนี้มานาน เราจึงตั้งกลุ่มผู้หญิงแล้วตั้งเป็นมูลนิธิผู้หญิงขึ้นมาทำงานด้านสิทธิสตรี โดยมีการรณรงค์เรื่องผู้หญิงมีการนำเสนอประเด็นปลกระทบของผู้หญิงเพื่อการเรียนรู้ มีการนำกรณีตัวอย่างมาเขียนหนังสือเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน อย่างกรณีคำหล้า และกรณีคำแก้ว การออกจากบ้านของผู้หญิงมาทำงานข้างนอกด้วย การถูกตกเขียวมาเป็นโสเภณี มีแรงต้นขากครอบครัวของเด็กเมื่อเด็กผู้หญิงความรู้ไม่ยอมไปทำงาน พ่อแม่มองว่าเดือดร้อนขาดรายได้ ซึ่งเมื่อเราได้คุยกับครอบครัวของเด็กๆที่ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นคำแก้ว หรือคำหล้ากับพบว่าพ่อ แม่ไม่ได้สนใจกับปัญหาอันเจ็บปวดของลูกสิ่งที่ต้องการและรับรู้คือเงินทองที่ลูกส่งมาให้เท่านั้น

การต่อสู้ของผู้หญิงในการที่จะแก้ปัญหาเรื่องเด็ก สตรีก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งในประเทศไทยเรายังมีผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมน้อยมาก แม้แต่หากเทียบกับหลายประเทศในอาเซียน ช่วงที่มีนายกรัฐมนตรีก็มีกองทุนประชานิยมสำหรับผู้หญิง ซึ่งถูกนำไปใช้ในเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาความรู้ให้กับผู้หญิง

แต่เมื่อมามองเนื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีก็ยังไม่มีผู้หญิงเข้าร่วมการออกมาของแนวคิดก้าวต่อไปของเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องผู้หญิงเลย ซึ่งคิดองค์กรผู้หญิงต้องมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น และการที่เรามองเพียงการได้ผู้นำเป็นผู้หญิงก็ไม่ได้ตอบโจทย์เมื่อได้มา แต่เราต้องมีการกำหนดวาระร่วมกันเพื่อการทำงานด้านสิทธิและความเสมอภาคของผู้หญิงในทุกมิติ

คุณสุนี ไชยรส อาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือกำลังทำให้บทบาทคำว่าการเมืองตีความกว้างขึ้น ซึ่งท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ได้มีการพยายามที่จะทำให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และสิ่งที่สะสมมานั้นทำให้มีการกล่าวถึงบทบาทการมีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นสิทธิเนื้อตัวร่างกายเป็นเรื่องการเมือง และทำให้เห็นภาพว่า การเมืองนั้นการถูกปราบปรามจากรัฐ การเข้าป่าไปแต่การนี้ทำให้เห็นบทบาทการต่อสู้ด้านสิทธิของผู้หญิง และบทบาท 14 ตุลา2516 และ6ตุลา2519 ประวัติศาสตร์การเมืองทุกท่านก็ถูกปราบปรามเท่ากันไม่ว่าจะผู้หญิงหรือชายถูกกระทำเท่ากันไม่ได้แบ่งแยก และมองว่าเป็นความรุนแรงต่อผู้หญิง
สังคมธรรมาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน การต่อสู้ที่เกิดขึ้นเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยด้วย ไม่ใช่เพียงรัฐธรรมนูญเป็นการรวมตัวของทุกขบวน สิทธิหมายถึงความเคารพสิทธิของคนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นประชาชน เด็ก ผู้หญิง แรงงาน ชาวนา ซึ่งต้องใช้การแก้ไขปัญหาด้านความเหลือมล้ำของสังคม ซึ่งสังคมธรรมาธิปไตยต้องเป็นสังคมแห่งการเปิดโอกาสให้ทุกคนเท่าเทียมกัน
สิ่งที่เป็นหลักประกัน คือเราเรียกร้องความเสมอภาคของผู้หญิง แน่นิยมว่าผู้หญิงต้องสู้เพื่อสิทธิของเราเอง การต่อสู้ขององค์กรผู้หญิง องค์เด็ก สู้เพื่อสิทธิสำหรับทุกคนมามาก รัฐธรรมนูญก็ต้องรู้เท่าทันด้วยว่ามีอะไรบ้างในนั้นเพราะเกี่ยวกับเราทุกคน

นายบุญแทน จันสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)กล่าวว่า การทำงานกับนักศึกษา เยาวชนมา 16ปี เกิดอะไรขึ้นในยุค 14 ตุลา เหตุการณ์ 6ตุลา หากไม่ได้ออกจากธรรมศาสตร์ในวันที่5ตุลา ก็คงไม่มีชีวิตในวันนี้เพราะเพื่อนต้องจากไปหลายคน ซึ่งสำนึกเราเกิดขึ้นในช่วงนั้นมากกว่า คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เป็นองค์กรที่ทำงานขับเคลื่อนเรื่องประชาธิปไตยและเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และครป.ยังทำงานแบบนี้มาตลอด การทำงานของตนเองก็เติบโตมาและทำงานด้านเยาวชน นักศึกษา สิ่งที่พยายามทำคือนักศึกษาต้องรับใช้สังคม ซึ่งต้นปี 2527สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สถานการณ์ที่มีเราต้องมีความหวัง คนมีความคิดเพื่อสังคมแต่ไหน แต่เราต้องมีศัทธา

ดร.ชัยวัฒน์ บุนนาค ที่ปรึกษาโครงการสตรีศึกษา มธ. กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ไม่ได้เดินไปข้างหน้าอยู่สิ่งเดียวแต่ประเทศไทยตีลังกาด้วย สมัยท่านปรีดี พนมยงค์ สู้กับสมบูรณาสิทธิราช รุ่นตนสู้กับทรราชทหาร จนถึงปัจจุบันแต่ว่ามีเรื่องโซเซียลมีเดียด้วย เรามีการพูดถึงระบบประชาธิปไตย ระบบสังคมนิยม ระบบประชานิยม และการต่อสู้กับทุนสามาน

ในส่วนปัจจุบัน คิดว่าต้องทอดบทเรียนประสบการณ์ คำขวัญประชาธิปไตยเน้นเสรีภาพและความเท่าเทียม แต่อยากใหมีเรื่องภารดรภาพด้วยเพราะเขาเป็นพี่น้องกับเรา และต้องหลุดจากทัศนคติเชิงลบ ประชาธิปไตยมีมากกว่าการเลือกตั้ง กลุ่มเยาวชนมีความสำคัญที่ต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยน ต้องมีกระบวนเรียนรู้ร่วมกัน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน