​4.0 ความมั่นคงในการทำงาน – ความท้าทายและทางออก

นักวิชาการเสนอแรงงานต้องพัฒนาตนเอง รัฐควรรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ประเทศต้องเป็นประชาธิปไตย ประชาชนต้องมีส่วนร่วมจริง ไม่ใช่ ม. 44 แรงงานรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง

วันที่ 19 มิถุนายน 2560 ได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องความมั่นคงในการทำงานยุค 4.0- ความท้าทายและทางออก จัดโดย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ร่วมกับมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร

คุณสตีเน่อ คลัพเพอร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิFES กล่าวเปิดว่า ตอนนี้เราก้าวมาถึงปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่ 4 แล้ว ซึ่งยุคที่ 1 เป็นการใช้เครื่องจักรไอน้ำ ยุคที่ 2 เครื่องจักรอุตสาหกรรม และยุคที่ 3 การใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งในพัฒนามาถึงยุคที่ 4 หรือ 4.0 นั้นหน้าตาของอุตสาหกรรมนี้นั้นเป็นอย่างไร จะมีทิศทางการจ้างงานแบบไหน ความมั่นคงในการมีงานทำจะยังอยู่หรือไม่ และผละกระทบจะน่ากลัวกับผู้ใช้แรงงาน หรือว่าที่มีการกล่าวถึงทิศทางการจ้างงานแบบใหม่ หรืออาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น มีระบบอะไรมารองรับ ดูแลสภาพการจ้างงาน สวัสดิการที่มีครอบคลุมหรือยัง หรือว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุค 4.0 ที่เกี่ยวกับการรวมตัว สหภาพแรงงานควรมีบทบาทอย่างไรกับระบบการจ้างงานใหม่ หรือแรงงานที่ได้รับผลกระทบในอนาคต การเปลี่ยนแปลงในระบบเทคโนโลยีใหม่เราทุกคนคงไม่ปฏิเสธแต่ว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเป็นโอกาสใหม่ที่ทุกคนเข้าถึงโอกาสด้วย

ต่อมามีการนำเสนอกรณีศึกษา เรื่อง “เทคโนโลยีกับผลกระทบต่อแรงงาน” เริ่มด้วย กรณีศึกษา-การลดผลกระทบจากการนำตั๋วอัตโนมัติมาใช้ในรถเมล์

นายวิระพงษ์ วงศ์แหวน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจขสมก. กล่าวว่า การต่อสู้เรื่องรถเมล์ในการนำรถใหม่มาใช้ ซึ่งภาครัฐได้มีการหารถใหม่มาเพื่อปรับปรุงระบบบริการ ด้วยรถไม่เพียงพอ และสภาพที่เก่า แต่ว่า วันนี้ยังมีปัญหาไม่สามารถนำรถมาใช้ได้ ด้วยปัญหาเรื่องสัญญา เกิดความล่าช้า มีการชะลอไว้ กรณีแนวคิดรัฐในการนำรถเมล์ที่จะใช้ตั๋วอัตโนมัติ หรืออีทิกเก็ต ในมุมมองคิดว่า รัฐพยายามที่จะลดบทบาทแล้วผลักภาระให้กับประชาชน และเมื่อรถใหม่เข้ามาก็จะมีการใช้ตั๋วอีเล็กทรอนิกส์ แต่ว่าก็ยังมีปัญหาอยู่ และกระทรวงการคลังก็จะใช้แนวนโยบายรัฐในการยกเลิกการใช้รถเมลฟรี และนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ขณะนี้ที่รัฐกำหนดไว้จะใช้รองรับฟรีเพียงผู้มีบัตรผู้มีรายได้น้อยที่มีการขึ้นทะเบียนไว้ โดยมีการยกเลิกระบบรถเมล์ฟรีในปัจจุบันไป ซึ่งสหภาพแรงงานมีการค้านตลอด ด้วยความจริงแล้วเคยมีการนำเรื่องแฟร์บ็อกมาใช้ในรถเมล์แล้ว แต่ว่ามีการยกเลิกเนื่องจากมีปัญหา หนึ่งผู้โดยสารคนไทยไม่มีระเบียบ ไม่เข้าแถวตามระบบ มีการแย้งกันขึ้นรถ ระบบยังมีปัญหา มีคนหยอดฝากระป๋องแทนเงินค่าโดยสารเป็นต้น และตอนนี้มีการปรับปรุงเพื่อใช้ระบบอีทิกเก็ตเพื่อการอำนวยความสะดวกเป็นระบบตั๋วอัตโนมัติ มีการนำรถครีมแดง 800 คัน มาติดตั้งระบบตั๋วอัตโนมัติ หรืออีทิกเก็ต คำถามคือ ระบบแฟร์บ็อกจะมีระบบการทอนเงินหรือไม่ การหยอดเงินลงไปแล้วทอนเงินอย่างไร หากมีการนำระบบอิทิกเก็ตเข้ามา ใครจะรับผิดชอบเรื่องแรงงานที่อาจต้องเกิดผลกระทบจำนวนมาก ซึ่งอาจใช้การเกษียณอายุแรงงานจำนวนมาก ซึ่งจะกระทบกับทั้งครอบครัว และยังมีเรื่องฝ่ายสนับสนุนพนักงานเก็บค่าโดยสาร (พกส.) ที่จะต้องตกงาน

ควรปรับอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งสหภาพแรงงานไม่ได้คัดค้านการปรับเปลี่ยนของระบบ แต่เห็นว่า ต้องมีการทดลองก่อนไหมว่าระบบใหม่ที่เข้ามาจะส่งผลดี หรือเสียอย่างไร กับทั้งองค์กร และประชาชน เพราะการติดอีทิกเก็ตเป็นสิ่งที่ดี ต้องมีการปรับเปลี่ยน แต่ว่าแรงงานเก็บค่าโดยสารกลุ่มนี้จะให้เขาไปอยู่ตรงไหน และการเกษียณก่อนกำหนดต้องไม่บังคับให้ออก และต้องจ่ายค่าชดเชยให้เขาอย่างเป็นธรรม คือต้องมีการพูดคุยกับพนักงานก่อนไม่ใช่มีการประกาศปลดกันกลางอากาศ และความพร้อมมีการเตรียมหรือยัง ต้องมีการนำรถออกมาวิ่งบริการในตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นรถครีมแดง 800 คัน ที่จะมาจัดการด้านสวัสดิการให้กับประชาชนที่ขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้น้อยตามที่กำหนดไว้ และเงินส่วนต่างรัฐจะยังสนับสนุนหรือไม่  จะต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป มีการปรับตัวเตรียมความพร้อมของแรงงานหรือไม่ การที่พัฒนาเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งมีการกล่าวถึงผลกำไรที่จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะตอนนี้หนี้ของขสมก.มีอยู่จำนวนมาก กระทรวงการคลังจะมีนโยบายหนุนช่วยเรื่องเงินสนับสนุนอย่างไร หรือเพิ่มหนี้ให้กับขสมก.อีกแล้วระบบก็ใช้ไม่ได้เพราะคนยังไม่มีความพร้อม

“กรณีศึกษาอูเบอร์ VS แท็กซี่” นายอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยอิสระ กล่าวว่า แนวคิดในการทำรายงานเรื่อง แท็กซี่ กับอูเบอร์นั้น เกิดจากการที่ใช้รถในการเดินทางของตนเองในการใช้บริการแท็กซี่จากสนามบิน ที่มีราคาที่แพงมากในจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้มาคิดว่า สาเหตุที่ต้องจ่ายแพงนั้นมาจากอะไร พบว่า เนื่องจากแท็กซี่ และรถแดงไปตกลงกับทางการท่าอากาสยานในการเอื้อประโยชน์กัน และทำให้ต้องมีการจ่ายเงินให้ แล้วจึงทำให้ในส่วนของประชาชนเองก็ได้มีการใช้บริการที่แพง และระบบขนส่งมวลชนก็มีปัญหามาในเชียงใหม่ และมีค่าใช้จ่ายที่กระทบต่อประชาชน และการไปไม่ไปต้องสอบถาม จึงมีระบบรถในการขนส่งแบบใหม่อย่างแก็บ  อูเบอร์ เมื่อรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในการมีระบบใหม่เข้ามา ก็ทำให้คนขับรถแดงกับส่วนของรถแท็กซี่ ออกมาประท้วง และมีการล้อมรถที่ส่งสัย แจ้งขนส่งมาตรวจจับรถแก็บ และอูเบอร์ ถามว่ารถแดงกับแท็กซี่ที่ออกมากระทำการล้อมรถ หรือประท้วงผิดหรือไม่ แน่นอนสังคมอาจมองว่าไม่ถูกต้องแต่จริงแล้วรถแก็บ อูเบอร์นั้นเป็นการวิ่งแบบผิดกฎหมาย ไม่ได้มีการจดทะเบียนขนส่ง แต่ว่าก็เป็นทางเลือกสำหรับสังคมตอนนี้ ในการอำนวยความสะดวกและความรู้สึกว่าทำไมต้องจ่ายแพง ทำไมต้องดูว่ารถแดงจะไปเส้นทางที่ไปหรือไม่หากเคยไปเชียงใหม่ทุกคนก็จะประสบการณ์ใช้รถแดง ซึ่งรัฐเองควรต้องเข้าไปแก้ปัญหา มีการปรับระบบให้เกิดการปรับตัวในส่วนของรถแดง และแท็กซี่ด้วย

เรื่องแอพพลิเคชั่น ที่มีการสมัครนั้นข้อมูลที่กรอกไปจะถูกนำไปใช้อย่างไร และการที่เรานำรถมาวิ่งในช่วงของการว่างงานเพื่อหารายได้พิเศษ ซึ่งการบริหารเวลาของผู้ขับรถแก็บ หรืออูเบอร์กลายเป็นแอพพลิเคชั่นในการบริหารจัดงานเวลา และบริษัทก็ล่อหลอกให้คนขับรถต้องทำงานหนักมากขึ้น และเป็นคนทำงานโดยไม่มีกฎหมายรองรับด้านสวัสดิการ และสวัสดิภาพเท่าไร คนที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่น ต้องมาดูเรื่องแรงงาน คิดว่า ต้องมีความรับผิดชอบกับธุรกิจมากขึ้น และภาครัฐก็ต้องคิดมาตรการในการป้องกันและคุ้มครองแรงงานกลุ่มนี้ด้วย

นางสตีเน่อ คลัพเพอร์ ผู้อำนวยการFES กล่าวว่า เราไม่สามารถที่จะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ และความเปลี่ยนแปลงในเยอรมันที่เกิดขึ้น ก็มีการจ้างงานใหม่ๆ โดยไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมาย และมีคนงานบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ได้ก็อาจไม่มีงานทำ ส่วนงานที่ยากและอันตรายระบบอุตสาหกรรมจะใช้หุ่นยนต์เข้ามาทำงานนั้นแทน ซึ่งต้องมีการปรับตัวกันอยู่มาก มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาของแรงงานกลุ่มใหม่ อาชีพใหม่ที่เกิดขึ้น พร้อมกับการลดการจ้างงานแรงงานซึ่งก็มีผลกระทบบ้างในส่วนของคนที่ปรับตัวไม่ได้ ซึ่งก็อย่างที่กล่าวถึงได้มีงานวิจัยกันว่า มีงานใหม่ๆเกิดขึ้นในยุค 4.0 และงานร้อยละ 42 เป็นงานออโตเมติกมากขึ้น มีการจ้างงานแบบมีทักษะ และงานไร้ทักษะ ซึ่งการจ้างงานไม่ได้ลดลงมาก คืองานบางส่วนอาจลดลง แต่งานบางส่วนก็เพิ่มมากขึ้น จากผลของการศึกษาวิจัยเองยังมีความต่างกันบ้าง และยังไม่มีความแน่ชัดหากเกิดการปรับเปลี่ยนระบบเทคโนโลยีเข้าสู่ยุคดิจิตัลจริง แต่ก็มีวิสัยทัศน์ เรื่องงานที่มีคุณภาพหรืองานที่มีคุณค่า และผลการศึกษาคือแรงงานต้องมีการปรับตัว ต้องมีการทำงานรวมกลุ่มรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน ในส่วนของสหภาพแรงงานก็มีการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อแนะนำข้อมูลให้กับคนงาน ด้วยว่า ตอนนี้ต้องมีการจัดการศึกษา และมีการเชิญองค์กรต่างๆในการแนะนำองค์กรแรงงานต่อไป ประเด็นการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นในระบบธุรกิจ องค์กรแรงงานยังมีการจัดเสนอนโยบายรัฐ และสังคม มีการเข้าไปเป็นคณะทำงานในส่วนของต่างๆด้วย มีการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระทรวงแรงงาน ทางด้านดิจิตัลด้วย และกระทรวงแรงงานก็มีการประชาสัมพันธ์ผลงานด้านแรงงาน รวมถึงไปให้ความรู้กับแรงงาน และการศึกษาด้านแรงงานด้วย สหภาพแรงงานจะมีการกล่าวถึงหัวข้อหลักคือ ด้านการศึกษา และการฝึกอบรมด้านการเจรจาต่อรอง การสร้างอำนาจการต่องรองในการรวมตัวกัน มีการพูดถึงระดับนโยบายด้านรัฐสวัสดิการ การจัดการศึกษาในโรงเรียนในทุกระดับ ในรูปแบบงานใหม่ๆ มีการเข้าไปให้ความรู้กับแรงงานในสถานประกอบการ เป็นความร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างอำนาจต่อรองกับนายจ้าง การทำงานในรูปแบบนี้จึงได้ผล เพราะเยอรมันตระหนักถึงความเข้มแข็งด้านเทคโนโลยี และธุรกิจที่มีการขึ้น

สหภาพแรงงานได้มีการสร้างอำนาจต่อรอง และแรงงานควรมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น มีการระบุเป็นกฎหมายว่า จะมีการดูแลอย่างไร เมื่อมีการจ้างงานแบบยืดหยุ่นมากขึ้น และการตัดสินใจกระทำอย่างไรลูกจ้างควรมีบทบาทมากขึ้นในการร่วมตัดสินใจ สิ่งที่สหภาพแรงงานเสนอคิอเรื่องความสม่ำเสมอ และน่นอน ความรู้สึกของแรงงานเมื่อมาเจอความกดดันจากระบบเทคโนโลยีที่คนทำงานต้องมาทำงานผ่านแพลตฟอร์มต่างๆที่ไม่ได้สวัสดิการ หรือค่าจ้าง การจ้างงาน เวลาการทำงานจะดูแลกันอย่างไร ซึ่งตรงนี้สหภาพแรงงานก็เป็นห่วงและมีความพยายามที่จะให้เกิดการดูแล และตอนนี้เยอรมันเองมีการใช้แอพพลิเคชั่นอูเบอร์ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก และมีการจัดทำให้ถูกกฎหมายในระบบขนส่ง สหภาพแรงงานได้เรียกร้องให้มีการดูแลด้านสิทธิ ด้านการศึกษา และการทำงานในสถานประกอบการด้านการศึกษา แล้วสหภาพแรงงานยังมีแนวการทำงานเพื่อผลักดันด้านนโยบายที่จะมาดูแลคนทำงานที่ทำงานที่ไม่มีกฎระเบียบ หรือมีความยืดหยุนให้รับการดูแลมากขึ้น อีกอย่างที่ไม่ได้ทำคือ การแบ่งผลกำไรให้กับทุกภาคส่วน

ผศ.ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 คือการเข้าอุตสาหกรรมยุคที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมนั้นเป็นการเริ่มจากประเทศเยอร์มันก่อนในแต่ละยุคสมัย ซึ่งประสบการณ์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เข้ามาก่อน เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี ICT เป็นการพัฒนาของเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นการนำข้อมูลสารสนเทศผสานเข้ากับเทคโนโลยีชั้นสูง ในการผลิตอุตสาหกรรม เราจะได้ยินการพูดถึงการพัฒนาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม 4.0 ในหลายที่ ซึ่งเทคโนโลยีต้องเพื่อทุกคน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงติดอันดับต้นๆของโลก ความเหลื่อมหล้ำมาจากหลายสาเหตุก็จริง แต่การพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น รัฐมีหน้าที่ต้องทำให้คนทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยี ไม่เช่นนั้นความเหลื่อมล้ำจะสูงมากขึ้นด้วยคนไม่สามารถที่จะพัฒนาเพื่อเข้าสู่ยุคของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีใหม่ได้ ซึ่งการลดความเหลื่อมล้ำคงต้องทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยก่อน ซึ่งประชาธิปไตยต้องไม่มีมาตรา 44 และต้องส่งเสริมให้แรงงานเข้าสู่ระบบเทคโนโลยี  มีอำนาจต่อรอง โดยมีการรวมตัวในการเจรจาต่อรอง กำหนดนโยบายด้วย ซึ่งต้องมีการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อเป็นการส่งเสริมสิทธิในการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน และสร้างอำนาจเจรจาต่อรอง ต้องทำให้คนเข้าถึงเทคโนโลยีให้ได้ทุกคนเพื่อการส่งเสริมการจ้างงานที่เท่าเทียม ไม่ถูกเปรียบ เกิดทักษะใหม่ๆ เกิดงานใหม่ หากว่าแรงงานไม่สามารถที่จะปรับตัวได้ ต้องตกงาน เกิดการว่างงานนำไปสู่การเหลื่อมล้ำ แรงงานจึงต้องมีการปรับตัวเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ สอดคล้องกับการผลิตใหม่ ซึ่งการจ้างงานแบบเดิมอาจหายไปจากตลาดแรงงาน การทำงานในระบบเทคโนโลยีใหม่ต้องไม่กระทบกับแรงงาน ซึ่งการพัฒนาเชิงทักษะทำให้ลดชั่วโมงการทำงานภายใต้การผลิตได้เท่าเดิม ซึ่งการลดชั่วโมงการทำงานต้องไม่ลดค่าจ้าง ซึ่งไม่มีทางที่การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีแล้วคนปรับตัวได้ และไม่มีผลกระทบ ซึ่งจะทำให้เป็นอย่างนั้นได้ต้องมีการจัดการด้านดุลยภาพ โดยต้องให้สหภาพแรงงานมีการเรียกร้อง ต่อรอง คือยอมรับการเปลี่ยนแปลงแต่ต้องมีการเรียกร้องต่อรองให้มีการดูแลด้านการเปลี่ยนที่เกิดผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยี ต้องมีการให้การศึกษาอบรม จัดสวัสดิการ และหากมีการพัฒนาแล้วคนยังเกินก็ต้องมีการดูแลจัดสรร ดูแต่ละจุดว่า กระทบตรงไหน มีการดูแลเชิงนโยบาย ต้องมีการมองเชิงปัชญาก่อนว่าเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นเพื่อคน ก็ต้องเอาคนมาเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ซึ่งต้องมีส่วนผสมของทุนนิยม กับสังคมนิยมมารวมกัน หากไปดูปรัชญาของทุนนิยมบางส่วนก็กำลังเคลื่อนเข้าสังคมอุดมคติมากขึ้นไม่ว่า จะเป็นแนวความคิดแบบไหนก็ตาม ในส่วนสังคมนิยม แบบคอมมิวนิสต์คือการแบ่งปันกัน สังคมแห่งความเท่าเทียม แต่ว่า สังคมคอมมิวนิสต์แบบจีนก็มีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบลูกผสม อย่างไรแรงงานต้องสร้างอำนาจต่อรอง มีการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีพรรคการเมืองต้องต่อรองทางการเมือง และมีการจัดระบบสวัสดิการใหม่ แบบประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ที่เป็นระบบรัฐสวัสดิการ การเก็บภาษีที่สูง ค่าจ้างสูง ชั่วโมงการทำงานน้อย

ดร.วรประภา นาควัชระ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การทำงานแรงงานต้องหาจุดเปลี่ยนในการทำงาน แม้แต่อาจารย์ ก็ต้องหาวิธีการสอนแบบใหม่ที่ไม่มีในGoogle โลกตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว มีการใช้แอพพลิเคชั่น เทคโนโลยีมาแล้ว การใช้อินเตอร์เน็ตในการสั่งสินค้า ระบบธนาคาร การใช้โดรนส่งของ รถอูเบอร์ และรถในอนาคตไม่ต้องมีคนขับแล้ว ระบบไอบีเอ็มวสัน มีการใช้ระบบแชทบอท เพื่อการวินิจฉัยโรคได้อีก ตอนนี้มีการพัฒนาเพื่อเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยของแพทย์  เป็นระบบแอพพลิเคชั่นใหม่

เรื่องการปรับเปลี่ยนระบบเทคโนโลยี การปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรมไม่ได้เพิ่งมีการเปลี่ยนแต่มีการเปลี่ยนมาตลอด ทั้งด้านการสื่อสาร การปรับทางเทคโนโลยี ซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนมาทั้งหมด 3 ยุคแล้ว ซึ่งการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งผู้คนก็ตกใจ แต่ว่า ก็อยู่กันมาได้ และมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวเองได้ จากเดิมทำงานมากว่า 12 ชั่วโมง มีการปรับเอาเครื่องจักรมาใช้ทำให้ทำงานไม่หนักเหมือนเดิม มีการปรับตัวให้ทัน พัฒนาเสมอ พร้อมเรียนรู้เรื่องใหม่ๆตลอดเวลา ต้องคิดว่า เป็นเด็กที่พร้อมเรียนรู้เสมอ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้ ไม่มีเงินก็มีในGoogleที่เรียนฟรี เรียนออนไลน์ได้ทุกที่ ซึ่งทุกคนมีเวลาเท่ากันไม่ควรคิดว่าแก่เกินไป ซึ่งตอนนี้มีอาชีพใหม่ๆมากมายในอินเตอร์เน็ต เช่นการแต่งหน้า พอมีคนติดตามมากก็มีบริษัทเครื่องสำอางมาจ้างงานได้ หากแข่งไม่ได้ก็ไปร่วมมือกับเขาในการใช้เทคโนโลยี อาชีพใหม่ๆมีให้คนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเสมอ

การมีเทคโนโลยีทำให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีการลดชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้างเท่าเดิม หรือเพิ่มมากขึ้นก็ต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเรา จากงานจากหน้าที่ของเรามาทำให้มีการเพิ่มจำนวนชิ้นจำนวนงานของแรงงาน

การที่จะปรับตัวคน ปรับเทคโนโลยีหากคนไม่สามารถเข้าถึงได้ ก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และทุกคนต้องเข้าถึงได้ ซึ่งการศึกษาต้องทำให้ทุกคนเข้าถึงได้

จากนั้นได้มีการแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อคุยเรื่อง “แนวทางในอนาคต?” ถึงสถานการณ์ผลกระทบในภาคส่วนต่างๆ ข้อเสนอแนะและแนวทางในการทำงานของฝ่ายแรงงาน โดยมีการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม สรุปได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 นำเสนอว่า หากมีการนำเทคโนโลยีมาใช้จะทำให้เกิดผลกระทบกับแรงงานที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น และนายจ้างจะมีการกำหนดเรื่องชิ้นงานที่ต้องเพิ่มมากขึ้น และลดเวลาการทำงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ และการจ้างงานก็ไม่มั่นคง มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ แรงงานอายุกว่า 30 ปี แล้วหางานคงอยาก และการไม่มีงานล่วงเวลาทำให้แรงงานอยู่ไม่ได้ลาออกไปเอง และการจ้างงานเหมาค่าแรง การไม่ต่อสัญญาแรงงานเหมาค่าแรง การนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานแม่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่รักาความปลอดภัย (รปภ.) ก็เป็นผลกระทบที่จะมาในอนาคต ปัญหาการจ้างแรงงานข้ามชาติมาทดแทนแรงงานไทยในส่วนของผลิตงานอุตสาหกรรมก่อสร้างและมีการนำเครื่องจักรมาใช้แทนคนมากขึ้น ในส่ฝวนของอุตสาหกรรมสิ่งทอยังไม่เห็นเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้

ข้อเสนอของกลุ่มที่ 1 คือ ต้องแก้ไขนโยบายภาครัฐ ด้านกฎหมาย ส่งเสริมด้านการศึกษา  การใช้กฏหมายของภาครัฐยังไม่เอื้อต่อผู้ใช้แรงงาน ยังมีการเลี่ยงกฎหมาย ด้านการศึกษายังไม่ได้ส่งเสริมให้สอดคล้องต่อการจ้างงาน และกฎหมายที่เกี่ยวโยงกับแรงงานมีอะไรบ้าง มีแรงงานจำนวนน้อยมากที่รู้ถึงสิทธิที่มี ต่อมาต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมแรงงาน สร้างอุดมการแรงงาน ต้องสร้างความสามัคคีให้กับขบวนการแรงงาน ลูกจ้างต้องมีการปรับตัวให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้น และสุดท้ายต้องยึดคนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งปัจจุบันภาครัฐไม่ได้มองว่าคนมีความสำคัญในการพัฒนาอย่างสมดุลย์เป็นธรรม

กลุ่มที่ 2 นำเสนอว่า ในด้านผลิตภัณฑ์เซรมิกส์นั้น เห็นว่าใช่งานฝีมือมากว่าเทคโนโลยี ส่วนงานก่อสร้างก็มีการปรับตัวใช้เทคโนโลยี ในส่วนของยานยนต์มีการใช้หุ่นยนต์แทนคน ทั้งเพื่อความปลอดภัย และแทนคนในการทำงาน หุ่นยนต์หนึ่งตัวแทนแรงงานได้ 8 คน มีการใช้พาร์คในการผลิตที่จะเข้ามาของรถไฟฟ้า เห็นว่า น่าจะส่งผลกระทบต่อแรงงานเช่นกัน ในส่วนของธนาคารก็มีการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วในหลายส่วน ส่วนราชการยังไม่มีการปรับตัว ด้านข้อเสนอ ต้องการให้รัฐสนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์ มีการบังคับใช้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยปรับเป็นภาคบังคับ และนายจ้างต้องมีการชี้แจงให้ความรู้กับบุคคลากรถึงระบบที่จะเข้ามาในอนาคตเพื่อการเตรียมตัว

ข้อเสนอกลุ่มที่ 2 มีดังนี้ ให้มีการเสนอให้รัฐรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ98 และสุดท้ายรัฐต้องดูแลเรื่องการจัดรัฐสวัสดิการ เช่นบ้านพักสวัสดิการ การศึกษาฟรีจริงๆ ประชาชนต้องได้รับปัจจัย 4 การจัดตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อการจัดการด้านการเงินของแรงงาน มาตรการด้านภาษี ใครที่นำเทคโนโลยี มาใช้ให้มีการจัดการใช้มาตรการด้านภาษี เพื่อมาจัดสวัสดิการ และการตจัดสวัสดิการด้านการศึกษา แรงงานต้องมีส่วนร่วมทุกเรื่องในเชิงนโยบาย และมีการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

กลุ่มที่ 3 นำเสนอว่า ปัญหาที่มีการพูดในกลุ่มคือเรื่องการนำโรบอท(หุ่นยนต์)มาใช้ในการกระบวนการผลิต ซึ่งมีผลกระทบต่อการจ้างงาน และมีการนำเครื่องจักร์ต่างๆมาใช้ในกิจการผลิตชิ้นส่วน และมีการลดจำนวนแรงงานเหมาค่าแรง ส่วนลูกจ้างประจำมีการปรับย้ายในแผนกยังไม่ได้เลิกจ้าง หรือให้ลาออก การที่มีการปรับกระบวนการผลิตด้วยเป็นเรื่องการผลิตที่เป็นอันตราย เนื่องจากคนทำงานมีความเป็นอันตรายเป็นมุมมองต้องการให้เกิดความปลอดภัย เป็นการดูแลแรงงานแต่ก็มีผลกระทบต่อคนที่ลดน้อยลง กลุ่มแรงงานยานยนต์มีการใช้แรงงานเหมาค่าแรงจำนวนมาก กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีการจ้างเป็นลูกจ้างประจำ ก็ต้องดูความต้องการของบริษัทว่าต้องการจ้างประจำหรือไม่ เท่าไร

ข้อเสนอกลุ่มที่ 3 คือ การแก้ไขปัญหา คือต้องเพิ่มทักษะแรงงาน รัฐบาลควรมีการส่งเสริมให้คำแนะนำในการเพิ่มเติมทักษะ  กรมพัฒนาฝีมือแรงงานต้องมาพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่วนของแรงงานที่เกษียณไปยังไม่มีเงินก้อนหลังเกษียณ รัฐต้องดูแลตรงนี้ และปีนี้กระทรวงแรงงานได้เห็นข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติยังเป็นข้อเรียกร้องพื้นฐานแบบเดิมยังไม่ได้มีการเรียกร้องเรื่องเชิงนโยบาย 4.0 คงต้องมีการผลักดันว่าจะมีการผลักดันเรื่องอะไร เรื่องสุดท้ายคือระบบการศึกษาที่ต้องมีการเริ่มพัฒนาเพื่อการรองรับอนาคต

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน