โศกนาฏกรรมบ่อบำบัดน้ำเสียตาย 5 ศพ

ภาพจากไทยรัฐออนไลน์

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดหลัง ผ่านพ้นวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นวันความปลอดภัยแห่งชาติมายังไม่ถึงเดือน ตามรายงานข่าวมีคนตกบ่อบำบัดเสียชีวิต 5 ราย ที่โรงงานซีพีดังบางนา  ตั้งแต่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 10.30น. มีนิสิตนักศึกษาเข้าไปดูงาน ตกบ่อบำบัดน้ำเสีย คนงานลงไปช่วย 4 คน   เสียชีวิตหมด  คนแรกนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  .  ได้เดินไปเข้าไปดูงานและมีนาย ชาญชัย พันธุนาคินหัวหน้าฝ่ายช่างบำรุง เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมของบริษัท ช่วยฉุกแขน นิสิต แต่แล้วก็จมหายไป  เพื่อนนิสิตอีกคนวิ่งออกมาตามคนงาน  3  คนเข้าไปช่วยและจมเสียชีวิตด้วยกัน  5 ศพ บริษัทจึงโทรมูลนิธิตามทีแรกอีกคนอาการสาหัสแต่สุดท้ายก็เสียชีวิต จากการสอบสวนของ พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผบช.น. ติดตามความคืบหน้า คดีนิสิต สัตวแพทย์จุฬาฯ ตกบ่อบำบัดน้ำเสีย มีผู้เสียชีวิต 5 ราย เผย สอบพยานแล้ว 8ปากแต่ยังเปิดเผยไม่ได้เร่งสอบว่าเกิดจากความประมาทหรืออุบัติเหตุจากกรณีนักศึกษาฝึกงาน พนักงาน บริษัทซีพีเอฟ(ประเทศไทย จำกัด มหาชน) ซอยบางนา-ตราด 20 ถนนบางนา-ตราด ขา (อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/983557#cxrecs_s)

ทางฝ่ายรองผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ได้ชี้แจงว่า  นิสิต 2 คน จากคณะสัตวแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนหนึ่ง คือ น.ส.ปัณฐิกา คาสุวรรณ ที่เป็นคนตกลงไปคนแรก ขอไปดูงานในส่วนบ่อบำบัดน้ำเสียจึงมอบหมายให้ พนักงานบริษัท 2 คนพาไป คือ นาย ชาญชัย พันธุนาคิด หัวหน้าช่าง อายุ 42 ปี และ น.ส.ลักษณ์ชนก แสนทวีสุข ฝ่ายสิ่งแวดล้อมบริษัท ลงไปช่วย  พอเกิดเหตุ นิสิตจุฬา วิ่งไปตามคนงานอีก 3 คนมาช่วย และเสียชีวิตไปด้วยรวม 5 ศพ ฝ่ายบุคคลบริษัทกล่าวว่า  ฝาครอบบ่อบำบัดน้ำเสียปิดหรือไม่ ไม่รู้เพราะไม่ได้มีการติดกล้องวงจรปิดไว้ จึงไม่สามารถเห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุได้ แต่บริษัทยืนยันว่า  จะได้ดำเนินตามมาตรฐานความปลอดภัยแล้วเป็นอย่างดี และจะรับผิดชอบจ่ายชดเชยให้รายละ 3 ล้านบาท เบื้องต้นโอนให้ญาตินิสิต 1 ล้านบาท หลังเกิดเหตุตามรายงานข่าวมีการทำรั้วกั้นและห้ามคนเข้าไปใกล้  (แต่ในรายงานข่าวแต่ละสำนักยังไม่ชัดเจนตรงกันว่าจะจ่ายทุกราย 3 ล้านบาทหรือไม่

รายงานข่าวยังแจ้งว่า นายสุเมธ มโหสถ  อธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานได้เดินทางไปตรวจสอบหากมีความผิดไม่ปฏิบัติตาม พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ซึ่งถ้าบริษัทไม่ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ก่อนปฏิบัติงาน ในการทำงานในที่อับทึบ เช่น จะต้องลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท รวมทั้งสั่งให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทน ประกันสังคม ดูแลค่าทดแทนการเสียชีวิตให้เป็นไปตามกฎหมาย (ซึ่งกฎบังคับว่าจะต้องให้คนทำงานในที่อับชื้นใส่เครื่องช่วยหายใจต้องมีอุปกรณ์ส่งสัญญาณด้านบน ให้เห็นชัดเจนไม่ว่าจะผูกด้วยเชือกหรือไฟฉาย ก่อนปฏิบัติงานต้องรู้ว่าสถานที่นั้นมีก๊าซชนิดใดอยู่บ้าง ก๊าซแต่ละชนิดทำอันตรายแก่ชีวิตคนแตกต่างกัน บำบัดน้ำเสียจะมีก๊าซไฮโครเจนซัลไฟล์หรือก๊าซไข้เน่า ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนเป็นเหตุให้ เวียนหัว ปวดหัว หมดสติ และเสียชีวิต ผู้ช่วยต้องมีอุปกรณ์ มีความรู้ขั้นตอนที่ถูกต้อง)ดังนั้นการเสียชีวิตของนิสิตคณะสัตวแพทย์ หัวหน้าช่าง เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมและคนงานรวม 5 คนมีชื่อดังนี้  1.นางสาวปัณฐิกา คาสุวรรณ์ อายุ 23ปี(นิสิต)2.นายชาญชัย พันธุนาคิด อายุ 42ปี (หัวหน้าช่าง)3.นางสาวลักษณา แสนทวีสุขอายุ 24ปี(เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม) 4.นายสมพร บุญบานอายุ 40ปี ( พนักงาน)5.นายชาตรี ศรีสันดร(พนักงาน)

ด้านนายไชยมงคล ผอ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวิอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สสปท.)กล่าวตามกฎกระทรวงการำงานในที่มีก๊าซพิษหรือเรียกที่อับอากาศ จะเข้าไปทำงานต้องได้รับอนุญาต โดยต้องมีอุปกรณ์ตรวจก๊าซพิษตรวจออกซิเจนว่าจะเข้าไปทำงานได้หรือไม่ซึ่งออกซิเจนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 19.5 ก๊าซไฮโตรเจนซัลไฟด์(AH2)ต้อง มีค่า oppm จึงลงไปทำงานได้โดยมีอุปกรณ์ส่วนบุคคล พร้อมถึงช่วยหายใจ และมีผู้ช่วย อยู่ใกล้ๆเพราะอากาศภายในบ่อสามารถเปลี่ยนได้ตลอด

ในส่วนสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของทุกคนที่ต้องมาสูญเสียบุคคลที่เป็นที่รัก กับเหตุโศกสลดครั้งนี้  และมีความเห็นว่าการให้นักศึกษาฝีกงานดูงาน ควรจะมีมาตรการป้องกันให้มากกว่านี้รวมถึงค่าชดเชยทดแทน หากกรณีที่สถานประกอบการไม่รับผิดชอบ ในเหตุการณ์ครั้งนี้ จะเป็นอุบัติเหตุ หรือ ความไม่มีมาตรฐานความปลอดภัย หรือไม่ก็ตาม แต่ทำไมฝาบ่อบำบัดน้ำเสีย ทำไมถึงทำให้คนพลัดตกลงไปได้ และในสถานที่ซึ่งเป็นบริเวณที่อันตรายเช่นนี้ นั้นทำไมให้เดินเข้าไปได้ยังไง ยังไงเสียสถานประกอบการก็ต้อง   เป็นฝ่ายรับผิดชอบต่อเหตุการณ์การสูญเสีย ที่เกิดขึ้นทั้งหมด และจะต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของทุกคน   รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง น่าจะทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ และ ขอให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายอย่าได้เกิดความสูญเสีย เป็นโศกนาฏกรรม เช่นนี้อีกเลยขอให้ผู้ประสบเคราะห์ร้ายเสียชีวิต จากเหตุการณ์ครั้งนี้จงไปสู่สุขคติด้วยเทอญ …..

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ 26  มิถุนายน 2560

สมบุญ สีคำดอกแค