แรงงานเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ต้องดูงานที่มีคุณค่าและเป็นธรรม

img_1672

แนวการพัฒนากรอบแนวคิด “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ ปี 2558  “ข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ” การสร้าง “งานที่มีคุณค่า” และงานที่มีคุณภาพ จากเยอรมนีถึงประเทศไทย เพราะ”ไม่มีการจ้างงานบนดาวเคราะห์ที่ตายแล้ว”

ในการสัมมนาวิชาการ “สู่เศรษฐกิจสีเขียว – การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน (Creen Economy : A Just Transition)” วันที่ 21 ตุลาคม 2559 ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) Ms. Stine Klapper ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวว่า มูลนิธิฯ เห็นว่า กรอบแนวคิดและประสบการณ์ของขบวนการแรงงานเยอรมัน เรื่อง “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” ทั้งความสำเร็จและไม่สำเร็จ น่าจะเป็นบทเรียนที่เป็นประโยชน์สำหรับสังคมไทย เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นประเด็นความท้าทายร่วมสมัยที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก นานาประเทศต่างเห็นพ้องกันว่า จะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกร้อนดังกล่าว โดยได้กำหนดไว้ใน “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ปี 2558 และ “ข้อตกลงปารีสว่า ด้วยสภาพภูมิอากาศ

ด้านMr. Daniel Schneider ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ สมาพันธ์แรงงานเยอรมัน (DGB) ได้นำเสนอเรื่อง “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม –การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศเยอรมนี :มุมมองของพนักงาน และสหภาพแรงงาน” ว่า ในส่วนของประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านพลังงานในประเทศเยอรมนีนั้น การใช้พลังงาน เริ่มขึ้นในพ.ศ. 2533 เมื่อมีพระราชบัญญัติเรื่องมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านทางรัฐสภา เป็นการตัดสินใจออกจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ซึ่งในระยะแรก ซึ่งโดยการกระตุ้นจากพระราชบัญญัติพลังงานทดแทน ซึ่งการตัดสินใจออกจากระบบเดิมนั้นไม่ได้ง่าย เป้าหมายเพื่อกำจัดคาร์บอนในอุปทานพลังงานการออกจากระบบนิวเคลียร์ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่ต้องรักษาระดับความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ โดยมีการเพิ่มแหล่งของพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีผลกระทบกับการจ้างแรงงานบางส่วนที่ต้องตกงาน แต่ก็เกิดตลาดแรงงานใหม่ในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน

แต่ว่าปัญหาคือ พลังงานหมุนเวียนก็มีราคาที่สูงอยู่ บริษัทขนาดใหญ่ มีการพูดถึงความคุ้มทุน ซึ่งส่งผลต่อผลกำไรที่ลดลง มีการขยายโครงข่ายไฟฟ้า มีบางคนที่ไม่อยากใช้พลังงานทางเลือก เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยน ซึ่งรัฐบาลต้องมีการสนับสนุน และปล่อยช่วงเวลาให้มีการปรับตัวเป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ด้านสหภาพแรงงานก็ต้องการปรับตัวกับการเปลี่ยนผ่านซึ่งต้องมีความยุติธรรม คือหนึ่งโอกาสในการจ้างงานมากขึ้นและต้องเป็นงานที่มีคุณค่าได้รับการคุ้มครองแรงงาน ในการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น ซึ่งมีการประเมินว่า จะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานและการจ้างงาน ทั้งด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ต้องมีการคุ้มครองดูแลแรงงานให้ยุติธรรม และมีมิติทางสังคม

img_1659

ในสถานการณ์ดังกล่าวนี้ จึงได้ร่วมกันพัฒนากรอบแนวคิด “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” และประสบความสำเร็จในการรณรงค์ให้ “ข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ” ยอมรับว่าจะต้องคำนึงถึงการสร้าง “งานที่มีคุณค่า” และงานที่มีคุณภาพ ซึ่งรัฐใช้การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดข้อตกลงร่วม และสภาพการทำงานที่ดี คือคำตอบต่อการได้มาซึ่งแรงจูงใจและความพึงพอใจของแรงงาน รวมทั้งการแข่งขันในอุตสาหกรรมใหม่ แรงงานในภาคอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนที่มีระยะเวลาในการทำงานเฉลี่ยมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แม้ว่าจะผูกพันกับการทำงานในสถานประกอบการ แต่มีเพียงร้อยละ 20 ของแรงงานเท่านั้นที่จินตนาการได้ว่าจะทำงานจนถึงเกษียณอายุ มีการปฏิบัติตามมาตรฐานระดับสูงของความปลอดภัยในการทำงาน การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม คือเพิ่มความเป็นไปได้ของการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคประชาสังคมด้วย สหภาพแรงงานทั่วโลกต้องการความเปลี่ยนแปลงนี้ สมาพันธ์แรงงานนานาชาติ (ITUC) มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการประชุม สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (COP) ที่กรุงปารีส และได้มีการรณรงค์ร่วม เนื่องจาก “ไม่มีการจ้างงานบนดาวเคราะห์ที่ตายแล้ว” และเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ตัวอย่างที่ดี ด้านการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสีเขียว ซึ่งสหภาพแรงงานในประเทศเยอรมนี เรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมัน และชุมชนโลกให้ดำเนินงานปารีสเพื่อให้ได้ซึ่งสนธิสัญญาที่มีเป้าหมายที่มุ่งมั่น และได้รับการยอมรับทั่วโลก

20161021_104800

ต่อมาได้มีการเสวนา“การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” ในบริบทของสังคมไทย 

นางพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนผ่านของแรงงานนอกระบบคงเป็นประเด็นงานที่มีคุณค่า และการจ้างงานที่คง มีการกระทบบ้างในส่วนของผู้ประกอบการขนาดเล็กในประเภทกิจการฟอกย้อม กิจการผลิตเกมไม้  และเครื่องทองลงหิน งานประเภททักษะฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้านที่อาจถูกมองว่าต้องดูแล นำเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวกำหนดเป็นมาตรฐาน ให้การพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ดูแลสิ่งแวดล้อม หลายอาชีพอาจสูญเสียหากไม่ได้รับการส่งเสริมดูแล ด้านโอกาสเชื่อว่า จะมีการจ้างแรงงานนอกระบบอาจมีสูงขึ้น เนื่องจากระบบอุตสาหกรรมที่ยังคงต้องการที่จะลดต้นทุนด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของระบบอุตสาหกรรมและหันมาจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพราะแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงพิษภัยของสารตะกั่วมองแต่เรื่องปากท้อง และไม่ได้รับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งในอนาคตหลังจากที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวคงมีการนำงานที่มีความเสี่ยงภัยออกมาให้แรงงานนอกระบบทำจำนวนมากเพิ่มขึ้น อาจเป็นทั้งโอกาสและอันตรายที่แฝงมาอย่างแน่นอน ซึ่งรัฐต้องดูแลให้มาตรฐานงานที่มีคุณค่าต้องมีเทียบเท่ากับระบบโรงงาน ให้นายจ้างจัดหา หรือจัดการ

นายวิสุทธิ์ เรืองฤทธิ์ รองประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยกล่าวถึงปัญหาของขบวนการสหภาพแรงงานไทยว่า การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสีเขียว ด้านอุตสาหกรรมรถยนต์มีแผนแม่บทของการลงทุน ในอุตสาหกรรมรถยนต์มีการจัดการศึกษาวิจัย โดยสถาบันยานยนต์ เพื่อดูแนวทางการปรับปรุงอุตสาหกรรม หากจะดูการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี 2504 จนถึงปัจจุบันนี้เริ่มผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า จนปี 2550 เป็นต้นมา ฐานการผลิตของทุนในประเทศไทยปรับเป็นผลิตเพื่อการส่งออกดูเหมือนว่า เกิดการจ้างงานและประเทศไทยได้ประโยชน์ เป็นบวกต่อเศรษฐกิจ แต่สิ่งเกิดเป็นผลกระทบต่อภาคของคนงานไม่มีคนกล่าวถึง โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ ก็เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน มาลงทุนผลิตเพื่อส่งออกไปตลาดยุโรปและเอเชีย ดูจากข้อมูลผลประกอบการของแต่ละบริษัทจะเห็นว่าบริษัทเหล่านี้ได้ประโยชน์ จากการมาลงทุนที่ประเทศไทย และมีการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ค่าตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า รายได้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไหนไม่มีการทำงานล่วงเวลา(OT)แรงงานจะอยู่ไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้หากต้องเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวในอุตสาหกรรมรถยนต์ คิดว่าตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา มาตรการ มาตรฐานอุตสาหกรรมต่างๆที่ได้รับรู้ คุณภาพเรื่องสิ่งแวดล้อมISO 14000 ที่มีการกล่าวมานั้น ทุนมีวิธีคิดในการดูแลสภาพแวดล้อมปรับปรุงสถานที่ทำงานให้ปลอดภัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี แรงงานก็คงดีใจกับมาตรการต่างๆแต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง บริษัทเหล่านั้น ซื้อเพียงต้นไม้สีเขียวมาจัดมุมสวนหย่อมให้พักผ่อน แต่โดยมาตรการต่างๆคือ ต้องการที่จะมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานแล้วปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ด้วยบริษัทที่มีตรวจสอบให้ใบรับรองต่างๆ ตามมาตรฐานที่เอกสารกำหนด คือให้ปรับปรุงสภาพการทำงานในโรงงาน พอสหภาพแรงงานยื่นเป็นข้อเรียกร้องให้เกิดการปรับปรุงดูแลด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้มีชีวิตที่ดีมีคุณภาพความปลอดภัย ในการยื่นข้อเรียกร้องเจรจาต่อรองกับบริษัท เพราะบริษัทต้องลงทุนด้านอุปกรณ์ป้องกันแต่ก็หาวิธีการง่ายๆ คือเอางานที่เป็นเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมไปให้แรงงานนอกระบบทำพยายามหลีกเลี่ยงทุกอย่าง เพื่อที่จะได้การรับรองมาตรฐานการค้าระหว่างประเทศ เพื่อการส่งสินค้าออก

แนวคิดสหภาพแรงงานก็มีปัญหา ยื่นข้อเรียกร้องเพียงค่าความร้อนในการทำงาน ค่าทำงานเสี่ยงภัยเพิ่ม ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิด ยื่นข้อเรียกร้องให้บริษัทปรับปรุงแก้ไข เพราะทำให้เกิดสภาพที่ดีต่อสังคม แต่ส่วนใหญ่อยากได้เงินเพิ่มเนื่องจากค่าจ้างไม่พอค่าใช้จ่ายซึ่งเงินตรงนี้จะชดเชยเพิ่มเข้าเป็นรายได้ แรงงานไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตระยะยาว แต่ทุนได้ประโยชน์มหาศาลเพราะการปรับปรุงต้องใช้เงินทุนสูง จ่ายเพิ่มค่าความร้อนให้แค่ 4-5 บาทเล็กน้อยมากสำหรับนายจ้าง ด้านการศึกษาของสหภาพแรงงานเป็นเรื่องเดิมๆ เช่นเทคนิคการเจรจาต่อรอง แนวรัฐบาลในการส่งเสริมไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งในส่วนของรถยนต์อาจไม่เร็วเหมือนกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลไทยไม่ได้ส่งเสริมเรื่องการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในส่วนของแรงงาน ภาคประชาชน มีการเชิญทุนเข้าไปคุยเรื่องการปรับเปลี่ยน อุตสาหกรรมซึ่งจะกระทบกับแรงงานอย่างไร พลังงานที่ใช้ในรถจากน้ำมัน เปลี่ยนเป็นแบตเตอรี่ ไฟฟ้า มีผลกับมลภาวะอย่างไร มีการปรึกษาหารือแค่สองฝ่ายคือนายทุนกับรัฐผลประโยชน์คุยกันรัฐมองเรื่องภาษี แต่อาจไม่ได้เต็มด้วยเนื่องจากมีการยกเว้นภาษีการลงทุนอีก การสร้างมลภาวะให้กับประเทศใครรับผิดชอบ และขบวนการแรงงานไทยถูกตัดขาด ตัดตอนจากการรับรู้เนื่องจากความอ่อนแอ ขาดการรวมตัวที่เข้มแข็ง

ด้านนางเพชรรัตน์ สินอวย ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงานนำเสนอว่า เป็นปัญหาของภาครัฐด้วยในการที่จะสร้างการเรียนรู้กับภาคประชาชน และแรงงานน้อยไป กรณีที่ทุนกับรัฐต้องจับมือกันเนื่องจากทุนเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในส่วนของแรงงานเรื่องความปลอดภัยอาชีวอนามัย หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงาน และหลายหน่อยงานที่ต้องเข้ามาดูแลอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้มีการตั้งสถาบันความปลอดภัย เป็นสถาบันระดับชาติที่เป็นองค์กรมหาชนเป็นครั้งแรก และมีผู้อำนวยการสถาบัน ที่จบด้านอาชีวอนามัย ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานจากต่างประเทศมาแล้ว มาพัฒนางานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับแรงงาน และสำนักงานประกันสังคมได้จัดงบประมาณมาบริหารจัดการแล้วราว 50 ล้านบาท เพื่อทำงานให้ความรู้ และสร้างเรื่องการป้องกันในปี 2560 วาระในการปฏิรูปแรงงานที่สำคัญ เรื่องSafety Thailand มองถึงเรื่องคนต้องทำงานที่มีความปลอดภัย นำไปสู่สุขภาพดี คือร่างกายสุขภาพแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นประเด็นวาระเร่งด่วนที่กระทรวงแรงงานต้องทำ และการขับเคลื่อนที่จะทำให้ประเทศไทยปลอดภัยซึ่งเป็นเรื่องที่สอดรับกับสิ่งที่นำเสนอกันคือเศรษฐกิจสีเขียว โดยเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้มีการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงาน กับกระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงเกษตร เรื่องของสารเคมีทั้งหลายที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และยังมีกระทรวงมหาดไทย เป็นกระทรวงที่เริ่มบูรณาการทำงานร่วมกัน

ประเทศไทยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ผ่านมาการทำยุทธศาสตร์ชาติโดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติตั้งแต่แผน 1-11 ที่จะหมดในปี 2559นี้แล้วแผน 12 ที่จะเริ่มในปี 2560-2564 ที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ข้าราชการทุกคนรู้ว่าหากไม่ถูกกำหนดเป็นพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ยุทธศาสตร์ชาติ พอรัฐบาลใหม่มาจะมีการเปลี่ยนได้ หากรัฐบาลไหนไม่ทำต้องไปแก้พ.ร.บ.นั้นคือกรอบที่รัฐบาลวางไว้ แต่เป็นกรอบคราวๆ ซึ่งแต่ละกระทรวงต้องทำแผนของตนเอง ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ทุกกระทรวงส่งแผนภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ และมีตัวแทนของแรงงานเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่แล้ว กรอบ 20 ปี ที่จะพัฒนาไปข้างหน้า คือ ไทยแลนด์ 4.0 สิ่งที่ต้องการความมั่นคงให้กับประเทศ มั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ มั่นคงทางด้านสิ่งแวดล้อม สถานการณ์การเมืองต้องมีเสถียรภาพสิ่งแวดล้อมที่กล่าวถึงคือ เศรษฐกิจสีเขียว ที่ต้องมีความมั่งคั่งยั่งยืน คนมีรายได้สูง คุณภาพชีวิตดี เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของกระทรวงแรงงานดูเรื่องของงานที่มีคุณค่า แรงงานต้องมีผลิตภาพ เป็นแนวคิดในการพัฒนาเพื่อการก้าวพ้นประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการจ้างงานเต็มศักยภาพที่มีปัญหาคนว่างงานน้อย มีสุขภาพความปลอดภัย อาชีวอนามัยดีมีการคุ้มครองแรงงานที่มีประสิทธิภาพ มีสวัสดิการสังคม เป้าหมายที่จะเดินไปสู้ยุค 4.0 อุตสาหกรรมแรกคือยานยนต์ เรื่องท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เรื่องของเกษตร เทคโนโลยี่ด้านสุขภาพการแปรรูปอาหาร แผนแม่บท ระยะปฏิรูปที่หนึ่งต้องมีการอัฟเกรดแรงงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และแรงงาน เพื่อทำงานร่วมกันในการเพิ่มความรู้ วิทยาการ และทักษะให้กับแรงงาน หน่วยหลักที่ทำคือกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ต้องมีการปรับ และปฏิรูปองค์กร

ส่วนศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรมหาวิทยลัย กล่าวถึงเศรษฐกิจที่ว่าหมายถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับผู้คน การประกอบอาชีพของคนเอเชีย หรือน่าจะเป็นทั้งโลกประเทศไทยประกอบอาชีพในการดำรงชีวิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด โดยเฉพาะคนไทยนั้นพยายามที่จะดำเนินชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะคน สัตว์หรือพืช หากเป็นนายก็จะประกอบอาชีพเมตตาธรรม อยู่กับคนที่ด้อยกว่าในลักษณะที่เอื้อเฟื้อ เจือจุนต่อกัน นี้คือการเคารพต่อมนุษย์ คนตาย วัด ป่าช้า สัตว์ ในเพื้นที่วัดเป็นเขตอภัยทาน เชื่อว่าต้นไม้ ป่าไม้มีวิญญาณมีรุกขเทวดาบวชต้นไม้เอาผ้าเหลืองไปห่มทำให้คนไม่กล้าตัดต้นไม้ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักประกันว่า จะอยู่กับสิ่งแวดล้อมและอยู่กันมาไม่น้อยกว่า 700 ปี ก่อนที่จะมีการพัฒนาอุตสาหกรรม ก่อนที่ระบบทุนนิยมเข้ามาทำลายและทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกมองข้ามไป วันนี้ก็คิดว่าจะกลับไปที่เดิมได้อย่างไรแม้ว่าใช้คำใหม่ เศรษฐศาสตร์สีเขียว คำถามคือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสังคมมีคนหลากหลายอาชีพ มีหลากหลายฐานะมีอำนาจที่แตกต่างกันสามารถจะรับความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่เริ่มพัฒนาประเทศปี 2500 เป็นต้นมา คนที่จ่ายคือชาวไร่ ชาวนา เกษตรกรที่ต้องทิ้งที่ดินเลือกสวนไร่นา ทิ้งความสามารถที่เคยมีที่สิบทอดมาจากบรรพบุรุษกลายมาเป็นกรรมกรในโรงงาน จากผู้เชี่ยวชาญในการทำมาหากิน กลายมาเป็นคนที่ไร้ฝีมือในโรงงาน เป็นคนที่มีฝีมือชั้นครูในการเป็นช่างทอง ทอผ้าไหมวันหนึ่งเอาโรงงานญี่ปุ่น กลายเป็นคนที่คอยโยกคันชัก ไม่ใช่แค่ฝีมือที่หายไป แต่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คนเหล่านี้เป็นคนที่จ่ายให้กับการเปลี่ยนแปลง

หากมีนวตกรรมใหม่ๆเข้ามา สิ่งที่รัฐต้องดูแลคนเหล่านี้มีรองรับไม่ให้ตกจากที่สูงโดยไม่เจ็บตัวบ้างหรือไม่ มีสวัสดิการทางสังคมดูแลเขาหรือ ซึ่งต้องคุยกันให้มากขึ้น วันนี้จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนทราบหรือไม่ว่าใครจะเดือดร้อนชาวบ้านเดือดร้อน ผู้ประกอบการ หรือเอกชนที่มาลงทุน ก็ทราบกันอยู่แล้วว่า มีต้นทุนสูงกว่าต้นทุนถ่านหินลิกไนต์มาก การที่จะให้เอกชนทำรัฐบาลก็ต้องอุดหนุน หากเป็นพลังงานแสงอาทิตย์อุดหนุนที่ยูนิคละ 12 บาทหากเป็นกระแสลมต้องอุดหนุนอยู่ที่ยูนิคละ 8 บาท ขายได้ที่ยูนิคละ 3 บาท แล้วเงินที่รัฐอุดหนุน 8 บาท และ 12 บาทนั้นไปอยู่ที่ค่า FT ที่บวกอยู่กับค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ ส่วนเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจไม่เคยต้องรับผิดชอบ รัฐบาลเอาเงินมาอุดหนุนแล้วก็มาบวกให้กับคนใช้ไฟคนที่รับค่าเปลี่ยนแปลง คือชาวบ้าน ประชาชน เช่นกัน การที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไปใช้เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งคนที่ต้องรับการเปลี่ยนแปลงคือคนงานที่สูงอายุและเปลี่ยนอาชีพไม่ได้แล้วอายุ 40-50 ปีจะเปลี่ยนปรับตัวอย่างไร และรัฐมีการเตรียมตัวในการรับ ดูแลอย่างมีศักดิ์ศรีได้อย่างไร เพราะระบบที่ไม่สามารถรองรับให้คนเกษียณได้ดีพอ การสร้าง CSR การบริหารธุรกิจเชิงสังคม เคยมองแรงงานรับใช้ทำงานให้กับโรงงานมานานหลายสิบปีเกษียณอายุออกไปรัฐเคยให้นายทุนตามไปรับผิดชอบชีวิตหลังเกษียณบ้างหรือไม่ ทุกการเปลี่ยนแปลงมีคนได้ และคนเสีย ทุกการเปลี่ยนแปลงมีต้นทุน รัฐจะให้ใครรับผิดชอบต่อต้นทุนนั้น ระบุหรือไม่ว่าใครรับผิดชอบ ใครจ่ายกับการที่จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองตามที่รัฐต้องการ ความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ต้องไร้อนาคตจะได้รับค่าชดเชยอย่างทันท่วงทีหรือไม่ มาตรการสิ่งเหล่านี้เป็นพันธะที่รัฐละเลยไม่ได้ ต้องมีมาตรการก่อนที่จะไปนำเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวหรือว่าอุตสาหกรรม 4.0 รัฐต้องมีคำตอบที่ชัดเจนก่อน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน