แรงงานนอกระบบรวมพลขวาง ก.แรงงานรุกคืบรวมกอช.กับประกันสังคม ม.40 18 มิย.นี้

P1121128P1121155

18 มิ.ย. 56 ที่จะถึงนี้กระทรวงแรงงาน ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทประโยชน์ทดแทนฯ ให้ครม.เห็นชอบเพิ่มทางเลือกที่ 3 ในมาตรา 40 แก่แรงงานนอกระบบการบูรณาการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่วนภาคประชาชนมีมติร่วมกันวันที่ 18 มิ.ย. 56  เวลา 10.00-12.00 น.นัดรวมพล ณ หน้าทำเนียบรัฐบาลฝั่งตรงข้าม กพ.  เพื่อทวงถามคำตอบจากรัฐบาล และการไม่บังคับใช้กฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติถือเป็นการละเลยการทำหน้าของรัฐ

P11800438 มี.ค. 3

นางสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า ต่อประเด็นที่ทางกระทรวงแรงงาน ได้มีความคืบหน้าการดำเนินการบูรณาการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เข้ากับกองทุนประกันสังคม ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 40 ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 มิถุนายน2556นี้ โดยกระทรวงแรงงานจะเสนอร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่…) พ.ศ…ให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบการเพิ่มทางเลือกที่ 3 ในมาตรา 40 แก่แรงงานอกระบบ (อาชีพอิสระ) ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพอย่างเดียว ซึ่งเป็นแบบ กับพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อเป็นหลักประกันในการดำรงชีพของผู้ประกันตนมาตรา 40 อย่างยั่งยืน รวมถึงการกำหนดให้โอนงาน กอช.และบุคลากรที่มี 9 คน ให้มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม (สปส.)ที่มีความพร้อมทั้งด้านสำนักงาน บุคลากรและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณไม่ต้องตั้งสำนักงานใหม่ และไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ กอช.ในระยะยาว และ สำหรับกรณีสิทธิประโยชน์มาตรา40 ในทางเลือกที่ 3ประกันสังคมมาตรา 40 นั้นจะให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีชราภาพเท่านั้น โดยคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิกต้องมีอายุ 15-60 ปี แต่ปีแรกจะออกบทเฉพาะกาลให้ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60ปี สามารถเข้าสู่ระบบการคุ้มครองได้ รวมทั้งกำหนดให้ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบ 100บาทต่อเดือน และรัฐบาลจ่ายสมทบเพิ่มให้ 100 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ จากการประมาณการว่าภายใน 5 ปี (2557-2561) จะมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ทั้ง 3 ทางเลือก จำนวน 21.4 ล้านคน และจะรัฐบาลจะต้องส่งเงินอุดหนุนเข้ากองทุนจำนวน 61,000 ล้านบาท.- สำนักข่าวไทย

นางสุจิน กล่าวถือเป็นอีกทางเลือกของผู้ประกันตนมาตรา 40 หากถามว่าเป็นผลดีหรือไม่ก็ถือว่าดีต่อผู้ที่ต้องการออมเงินเข้าสู่ระบบ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่รัฐสมทบให้ แต่ปัญหาคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40  ที่อยู่ในทางเลือกที่ 1 ที่จ่ายสมทบ 100 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท รัฐบาลสนับสนุน 30 บาท และได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย  เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ  เงินค่าทำศพ และทางเลือกที่ 2 จ่าย 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท  รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย  เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ  เงินค่าทำศพ  เงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออมกรณีชราภาพ) ในส่วนของทางเลือกที่ 3 นั้น จ่าย 200 บาท ผู้ประกันตน 100 บาทรัฐบาลสนับสนุน 100 บาท ได้บำนาญ

บำนาญ

อยากถามแบบไม่รู้กฎหมายว่า หากผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่อยู่ในทางเลือกที่หนึ่ง กับทางเลือกที่ 2 ต้องการจะมีบำนาญด้วย สามารถสมัครเข้าสู่ทางเลือกที่ 3 ได้หรือไม่ เพราะคนที่อยู่ในทางเลือกที่ 2 มีเรื่องบำเหน็จ แต่ไม่มีบำนาญ หากต้องการเข้าทั้ง 2 ทางเลือกเพื่อการออมเงินไปใช้ในช่วงสูงอายุ หากทำได้ก็ถือเป็นทางเลือกต่อคนที่ไม่มีสวัสดิการ แต่อยากถามว่าทำไมไม่ปรับแก้ทางเลือกที่ 2 ให้มีความครอบคลุมถึงบำนาญชราภาพแล้วการส่งเงินสามารถทำได้ตามศักยภาพ โดยมีรัฐสมทบ เพื่อให้เกิดความชัดเจนทางกฎหมาย การสมทบ กับการสนับสนุนภาษาทางกฎหมายทำไมไม่เหมือนแรงงานในระบบที่ประกันตนในมาตรา 33 ที่ใช้คำว่าสมทบ

“ส่วนการที่รัฐไม่บังคับใช้กฎหมายกองทุนการออมแห่งชาตินั้นถือว่า เป็นการกระทำที่ละเลยหน้าที่ของรัฐใช้หรือไม่หากภาคประชาชนต้องการฟ้องร้อง เพื่อให้เกิดความชัดเจน และให้รัฐทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย คิดว่าก็คงต้องทำ เพื่อให้เห็นว่า การที่รัฐละเลยที่จะบังคับใช้กฎหมายมีความผิด หากผิดควรต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน เพราะเวลาประชาชนทำผิดก็ถูกทำโทษทุกครั้ง และความต่างของการบริหารกองทุนการอมที่มีมืออาชีพมาบริหาร มีความเป็นอิสระ แต่ประกันสังคมไม่มีความเป็นอิสระ บริหารภายใต้รัฐ หากถามประชาชนว่าอะไรดีกว่ากันคงรฦู้ว่าจะได้คำตอบเช่นไร” สุจิน กล่าว

ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทประโยชน์ทดแทนฯ ให้ครม.เห็นชอบเพิ่มทางเลือกที่ 3 ในมาตรา 40 แก่แรงงานนอกระบบ โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนเฉพาะกรณีชราภาพ ซึ่งได้รับเป็นเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปี โดยมีรูปแบบ 1. ให้มีการรับสมัครผู้ประกันตนตามกองทุนการออมและรับเงินผ่านช่องทางของสปส.ที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ  2. ในการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่สปส.ที่ปฏิบัติงานรองรับมาตรา 40 อยู่แล้วมาสานงาน กอช.ด้วย  3. แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่สปส.มีอยู่เพื่อรองรับการดำเนินงาน 4. โอนย้ายพนักงานและลูกจ้างของ กอช.มาเป็นบุคลากร สปส. ส่วนการบริหารเงินกองทุนกอช. จะให้ สปส.บริหารกองทุนทั้งหมด ส่วนงบประมาณคงเหลือที่ กอช.มีอยู่จำนวน 677 ล้านบาทต้องส่งคืนคลัง

ทั้งนี้ประมาณการว่าภายใน 5 ปี (2557-2561) จะมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ทั้ง 3 ทางเลือก จำนวน 21.4 ล้านคน และจะรัฐบาลจะต้องส่งเงินอุดหนุนเข้ากองทุน

สปส.โปร่งใส

ส่วนนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า การที่กระทรวงแรงงานเสนอเรื่องการรวมกอช.กับประกันสังคม มาตรา 40 เพื่อเพิ่มสิทธิบำนาญชราภาพนั้น เป็นการหลบเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมายอย่างชัดเจน และอยากตั้งคำถามกับรัฐาลเหมือนกันว่ากฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติที่ภาคประชาชนส่วนใหญ่ต่างเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการที่จะสร้างสวัสดิการให้กับผู้ที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุได้มีบำนาญชราภาพ ทำไมจึงไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดีๆเช่นนี้ ไม่อยากให้ใช้อคติมาดับโอกาสประชาชนในการออมเงินเพื่ออนาคต

“การที่จะให้แรงงงานนอกระบบไปอยู่ตรงโน่น ตรงนี้ เคยถามความต้องการเขาหรือไม่ อีกคำถามรัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ผิดหรือ แล้วจะไปบังคับให้คนอื่นทำตามกฎหมายได้อย่างไร เพราะตัวเองยังไม่ยอมทำ รัฐไม่ควรทำอย่างนี้กับประชาชน แล้วทำให้เขาต้องเสียประโยชน์เช่นนี้”

P1230486บำนาญ4

นางสาววิไลวรรณ ยังกล่าวอีกว่า การที่จะนำกองทุนการออมมารวมกับประกันสังคมโดยอ้างความซ้ำซ้อนนั้นกฎหมายกองทนฯเองก็กำหนดชัดว่า เฉพาะผู้ที่ไม่มีสวัสดิการรองรับ และไม่ได้อยู่ในการคุ้มครองของกฎหมายประกันสังคม และไม่ใช่ข้าราชการ หรือลูกจ้างของรัฐ แล้วจะซัำซ้อนได้อย่างไร คิดว่ารัฐบาลยังใช้อคติว่า กฎหมายนี้ใครเป็นคนเสนอ ไม่ใช่กฎหมายของตนก็ไม่บังคับใช้ อยากให้ถามประชาชนบ้างว่าต้องการแบบไหน อย่าคิดและเสนอแทนทุกเรื่อง และวันนี้ระบบประกันสังคมก็มีปัญหา อยู่ระหว่างการปรับแก้ และร่างกฎหมายใหม่ ยังไม่มีความลงตัว การไม่รับร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับของภาคประชาชน ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่เลวร้ายทำลายความรู้สึก และเราก็ไม่ยอมให้เรื่องเป็นเช่นนี้ ต้องสู้กันให้ถึงที่สุด ขณะนี้ก็มีการปรึกษาทั้งทางกฎหมาย นักวิชาการ องค์กรภาคประชาชน องค์กรแรงงาน เพื่อการขับเคลื่อนต่อไป

ทั้งนี้เครือข่ายบำนาญภาคประชาชน องค์กรภาคประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้แก่ ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ กลุ่มแม่ค้าหาบเร่แผงลอย เครือข่ายแท็กซี่อาสา เครือข่ายภาคประชาชน 9 ด้านภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ  สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงันได้กำหนดการยื่นหนังสือติดตามหนังสือที่ได้ยื่นต่อนายกรัฐมนตรีรวม 3 ครั้ง ได้แก่ 12 มกราคม  20 มกราคม  และ  1 พฤษภาคม 2556   และ ยื่นต่อรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง 2 ครั้ง ได้แก่ 19 ธันวาคม 2555 และ  22 มีนาคม 2556 เพื่อให้รัฐบาลดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ   แต่รัฐบาลยังไม่มีการดำเนินการใดๆตามหนังสือที่ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ได้ยื่นไป ทำให้แรงงานนอกระบบ และ ประชาชนที่มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติจำนวนมากต้องเสียสิทธิไปมากกว่า 1 ปี ประชาชนเหล่านี้ต่างเฝ้ารอคอยวันที่รัฐบาลจะเปิดโอกาสให้สมัครเป็นสมาชิกกองทุนตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554  เพราะเป็นความหวังของประชาชนที่จะมีรายได้ในยามชราภาพ

ดังนั้นศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ  จึงขอเชิญประชาชนผู้สนใจร่วมผลักดันเรื่องกองทุนการออมแห่งชาติ  ในวันที่ 18  มิถุนายน  2556  เวลา  10.00 – 12.00 น. ณ หน้าทำเนียบรัฐบาลฝั่งตรงข้าม สำนักงาน ก.พ. เพื่อให้การตามทวงถามจากรัฐบาลได้บรรลุตามวัตถุประสงค์

นักสื่อสารแรงงานรายงาน