แรงงานข้ามชาติฟ้องนายจ้างฟาร์มไก่ และร้องสมาคมสัตว์ปีก อ้างใช้แรงงานบังคับ

14138685_1096216123804021_8664044845772408377_o

แรงงานข้ามชาติยื่นฟ้องบริษัทเบทาโกรยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมไก่ส่งออกไทย อ้างมี การใช้แรงงานบังคับ เรียกค่าเสียหาย 46 ล้านบาท –  นักกิจกรรมทั่วโลก 45, 285 ราย ร่วมลงชื่อในจดหมายร้องเรียนถึงสมาคมสัตว์ปีกไทย เบทาโกร แจงไม่มีการบังคับใช้แรงงานหรือกระการละเมิดสิทธิ

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2559 แรงงานข้ามชาติชาวพม่า 14 คน ที่ได้เข้าสู่กระบวนยื่นคำร้องต่อสำนักสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่ามีการใช้แรงงานบังคับ และการละเมิดสิทธิแรงงาน ในฟาร์มไก่ จังหวัดลพบุรี และเจ้าหน้าที่รัฐสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยความเสียหายรวม 46 ล้านบาท ที่ศาลแรงงานภาค 1 จังหวัดสระบุรี

ในวันเวลาเดียวกันโครงการรณรงค์ Walk Free ได้รวบรวมรายชื่อนักกิจกรรมนานาชาติ 45,285 คน ที่ร่วมลงชื่อในหนังสือที่ยื่นต่อสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ ชั้น 22 ของ อาคารซีพี ทาวเวอร์ ถนนสีลม กรุงเทพฯ โดยมีตัวแทนของแรงงานข้ามชาติ 14 คน ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ STOP THE TRAFFIK เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ ฟินน์วอทช์ คณะกรรมการสมานฉันท์ แรงงานไทยและ เครือข่ายประชากรข้ามชาติ ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อผู้สนับสนุน เรียกร้องให้ สมาคมผู้ผลิตไก่ เพื่อส่งออกไทยใช้ ความพยามในการช่วยเรียกร้องให้ บริษัทเบทาโกรซึ่งเป็นอุตสาหกรรมไกส่งออก ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ประกันว่า แรงงานข้ามชาติทั้ง 14 คน จะได้รับค่าชดเชยที่คงค้างจ่าย  ดำเนินการตรวจสอบสภาพการทำงานตลอดห่วงโซ่อุปาทาน และ มีกลไกการรับเรื่องและตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่ มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ แรงงานทาสสมัยใหม่

ด้านการฟ้องคดีของแรงงานต่อศาลแรงงานภาค 1 สืบเนื่องจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายชดเชยค่าจ้างรวม 1.7 ล้านบาท สำหรับค่าจ้างที่ค้างจ่ายในอดีต แต่แรงงานเห็นว่าค่าชดเชยนี้ไม่เพียงพอเนื่องจากไม่ได้เป็นการชดเชยการทำงานในสภาพที่มีการละเมิดสิทธิเป็นระยะเวลาถึง 5 ปี

ทั้งนี้ แรงงานอ้างว่า ต้องทำงานอย่างหนักเป็นเวลานานถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน เเละถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลา ต้องนอนในเล้าไก่ข้ามคืน เเละแรงงานทั้ง 14 คน อ้างด้วยว่า ถูกหักเงินค่าจ้างโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ถูกขู่ว่าจะหักค่าจ้าง มีการยึดเอกสารประจำตัว และสามารถเดินทางได้จำกัดเพียงสองชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อไปตลาดโดยมีผู้ ควบคุมไปด้วย

ที่ผ่านมา บริษัทดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองในเชิงบวกต่อการร้องขอ ให้ประกันว่า มีการจัด ที่พักฉุกเฉินและค่ายังชีพให้ แรงงานหลังจากลาออกจากฟาร์มไก่ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2559 และมีการชดเชยความเสียหายอย่างเพียงพอให้แรงงานเมื่อทราบว่า บริษัทฯมีการซื้อสินค้าจากจากฟาร์มที่อ้างว่ามี การละเมิดสิทธิ กลับว่าได้ปฏิบัติ ตามหลักการชี้แนะขององค์ การสหประชาชาติเรื่องธุรกิจ และสิทธิมนุษยชน ที่เรียกร้องให้บริษัทใช้ อำนาจที่มีอยู่เพื่อประกันว่า จะมีการชดเชยเยียวยาเมื่อมี การละเมิดสิทธิของแรงงานในห่วงโซ่อุปาทานของบริษัท อย่างเหมาะสม

นอกจากแรงงานทั้ง 14 คน ที่อ้างว่าไม่ได้สิทธิตามกฎหมายแล้ว ยังมีแรงงานถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า ลักทรัพย์นายจ้าง ซึ่งอาจจะทำให้ถูกลงโทษจำคุกสูงสุด  7 ปี หากพบว่ามีความผิดจริง เนื่องจากนายจ้างได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าบัตรลงเวลาปฏิบัติงานได้ถูกเอาไปจากการครอบครองของนายจ้าง ซึ่งบัตรลงเวลาปฏิบัติงานนั้นได้ถูกส่งมอบให้เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานลพบุรีเป็นหลักฐานว่า มีการละเมิดสิทธิของคนงาน หลังจากที่นายจ้างแจ้งความลูกจ้างแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการจับกุม และควบคุมตัวแรงงานคนหนึ่งในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2559

หลังจากที่แรงงานได้รับทราบข้อกล่าวหาและให้การต่อพนักงานสอบสวนแล้ว บริษัทดังกล่าวได้จ่ายเงิน 75, 000 บาท เพื่อเป็นหลักทรัพย์การประกันตัวแรงงานที่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ต่อมาในเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาแรงงานเพิ่มอีกหนึ่งรายว่า สมรู้ร่วมคิดในการลักทรัพย์ของนายจ้างหลังจากที่แรงงานคนที่สองถูกตำรวจกล่าวหาแล้วก็ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องใช้หลักประกัน ในเดือนสิงหาคม 2559 เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) พร้อมกับตัวแทนของแรงงาน 14 คน ยื่นหนังสือ ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเรียกร้องให้มี การตรวจสอบกรณีนายจ้างกล่าวหาลูกจ้างว่าหาลักทรัพย์ของนายจ้าง

14125547_1096215633804070_5231961876795743026_o

จากการรายงานข่าวจากสื่อมวลชนในกรณีนี้ และผู้ซื้อสัตว์ปีกในต่างประเทศมีความกังวลลึก ๆ เรื่องสภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรมนี้ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยจึงได้มีการเปิดตัววิธีปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน (Good Labour Practice: GLP) ร่วมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและกรมปศุสัตว์  และเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม  2559 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้เคยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนต่อปัญหาของแรงงานชาวพม่าทั้ง 14 คนว่า มิได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงแต่เป็นกรณีของข้อพิพาททางแรงงานระหว่างคนงานกับนายจ้าง มิใช่เป็นกรณีของการใช้แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ การทำงานเกินช่วงเวลาทำงานหรือลูกจ้างถูกยึดเอกสารไปโดยมิ ชอบด้วยกฎหมาย

กรณีการละเมิดสิทธิของแรงงานข้ามชาติ 14 รายนี้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ธุรกิจระหว่างประเทศ วงการการทูตและประชาคมนานาชาติ   เนื่องจากการละเมิดสิทธิ ของคนงานกลุ่มนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาประชาคมโลกตรวจสอบการจัดการแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย นโยบายการคุ้มครองแรงงาน เช่นเดียวกับประวัติการค้ามนุษย์ของไทย

ต่อมาในวันเดียวกันทางบริษัทเบทาโกร ได้แถลงชี้แจงโดยนายรุ่งโรจน์ ตันติเวชอภิกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เครือเบทาโกร ต่อกรณีแรงงานข้ามชาติยื่นฟ้องและกล่าวอ้างบริษัทในเครือเบทาโกรใช้แรงงานบังคับนั้น ในกรณีพิพาทแรงงานประเด็นดังกล่าวนั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดลพบุรี และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับทราบและดำเนินการสอบสวนเป็นที่สิ้นสุดโดยมีข้อสรุปว่า ระบุตรงกันว่านายจ้างไม่ได้มีการกระทำที่เข้าข่ายการค้ามนุษยไม่ใช่การใช้แรงงานทาส ไม่พบการกักขังหน่วงเหนี่ยว หรือยึดพาสปอร์ต และไม่พบการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือเป็นประเด็นที่มีลักษณะการบังคับใช้แรงงานตามความในพ.ร.บ.การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และตั้งแต่เกิดเหตุการณ์บริษัทเบทาโกรไม่ได้นิ่งนอนใจ และยังมองเป็นโอกาสในการยกระดับการจัดการด้านแรงงานทั้งภาคอุตสาหกรรมจึงร่วมกับหน่วยงานภาครัฐจัดประร่วมกับเกษตรพันธสัญญา เพื่อให้เกษตรกรตระหนักและยกระดับการจัดการด้านแรงงานโดยเร่งด่วนเป็นไปตามมาตรฐานของเบทาโกร เป็นต้น

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน