เวที สาธารณะ :ปฏิรูปประกันสังคมฉบับใหม่

P2250077

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ที่บริเวณสำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่ 3 กระทรวงแรงงาน ทางไทยพีบีเอสได้จัดเวทีสาธารณะ ประเด็นร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม หลังผ่านการพิจารณาคณะกรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. …. ซึ่งภายในต้นเดือนมีนาคมนี้จะมีการนำร่างพระราชบัญญัคิประกันสังคมฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

P2250086P2250118

ในเวทีสาธารณะครั้งนี้ได้มีการกล่าวถึงประวัติศาสตร์การขับเคลื่อนผลักดันเพื่อให้เกิดการปฏิรูปพระราชบัญญัติประกันสังคมปี 2533 มานานกว่า 10 ปี ด้วยมองว่า การบริหารจัดการขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่มีความโปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ และไม่ครอบคลุมคนทำงานทุกกลุ่ม การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายนั้นได้มีความพยายามผลักดันผ่านทั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และรัฐบาลที่มาจากอำนาจพิเศษ ทั้งการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับภาคประชาชน ผ่านการล่าลายมือชื่อกว่า14,000 รายชื่อ หาบรายชื่อ เดินขบวน ผ่านการลงชื่อเสนอกฎหมายโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 20 ชื่อ ฯลฯ จนถึงปัจจุบัน ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมที่กำลังพิจารณานี้เป็นร่างของกระทรวงแรงงานที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติฯ ซึ่งไม่มีการนำร่างกฎหมายฉบับอื่นมาประกบ การมีส่วนร่วมในฐานะตัวแทนแรงงานที่เข้าไปร่วมในการเป็นกรรมาธิการฝ่ายแรงงาน 1 คน และฝ่ายภาคประชาสังคมเอกชน 5 คน ซึ่งก็มีการตั้งตัวแทนแรงงานเข้าเป็นอนุกรรมการฯ และที่ปรึกษา

P2250093P2250072

นางสาวธนพร วิจันทร์ เลขาธิการคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของคสรท.นั้นจากหลายรัฐบาลยังสามารถที่จะขับเคลื่อนได้หลายรูปแบบ แต่ภายใต้รัฐบาลนี้การนำเสนอเหนื่อยทีเดียวพอไม่สามารถนำร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมเข้าไปประกบเพื่อการพิจารณาได้ เป็นการเสนอแก้ไขร่างพ.ร.บ.ของรัฐฝ่ายเดียว การเสนอแบบมีส่วนร่วมจริงนั้นทำได้น้อยมาก เช่นกรณีล่าสุดที่มีการเสนอยกเลิกการจ่ายเงินกรณีว่างงานเนื่องจากการลาออกที่คสรท.ต้องแสดงพลังออกไปยื่นหนังสือคัดค้าน โดยมองว่าการแก้ขควรมีการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ไม่ใช่การแก้ไขเพื่อลดทอน หรือลิดรอนสิทธิ ซึ่งล่าสุดก็มีผล ทางนายกรัฐมนตรี ได้นำมากล่าวออกสื่อว่า ไม่เห็นด้วยกับการลิดรอนสิทธิ และทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก็เห็นด้วยเสนอต่อคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาหลักการใหม่ในการประชุมคณะกรรมาธิการฯจึงมีมติให้ใช้หลักการเดิมกฎหมายประกันสังคมพ.ศ. 2533 เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ว่า ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมที่กำลังจะออกมาบังคับใช้อาจได้รับสิทธิต่างๆเพิ่มขึ้นในหลายมาตรา แต่ยังไม่ได้เรื่องของโครงสร้างองค์กรที่เป็นอิสระ การเลือกตั้งที่ต้องมีการออกกฎหมายลูกอีกก็ต้องมีการจับตาดูว่า จะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง เพราะยังไม่ผ่านการประชุมสนช. และยังมีการแขวนเรื่องสำคัญเพื่อแปรญัตติการหลายมาตราเช่นกัน

P2250095P2250101

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมที่กำลังจะออกมาบังคับใช้ยังมีอีกหลายมาตราที่ต้องออกเป็นกฎกระทรวง และกฤษฏีกา ซึ่งต้องเฝ้าดูว่าการบังคับใช้จะครอบคลุม เป็นไปตามกฎหมายที่ออกหรือไม่ การที่จะผ่านการประชุมสนช. ซึ่งมีหลายมาตรา เช่น เรื่อง ความคุ้มครองคนทำงานทุกกลุ่มจะได้หรือไม่ เพราะยังมีสนช.บางท่านแขวนไว้ว่ายังไม่ควรให้ความคุ้มครองคนทำงานบ้าน ประเด็นการออกกฎกระทรวงมีความสำคัญมากและคิดว่าควรมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนด้วย

นายบัณฑิต แป้นวิเศษ เครือข่ายปฏิบัติการแรงงานข้ามชาติกล่าวว่า สิ่งที่กังวลคือ เรื่องสิทธิกรณีว่างงานที่มีการเสนอให้ตัดออกและมาใช้หลักการเดิม หากว่าการประชุมP2250108สนช.มองว่าผิดหลักการของกฎหมาย ซึ่งคงต้องมีการนำเสนอข้อมูลต่อสนช.ว่านี่คือสิทธิที่ควรได้ของแรงงาน เพราะหลักการลาออกของแรงงานไทยนั้นมาจากหลายเหตุผล และไม่ใช่จำนวนเงินที่มากเลย

ด้วยเจตนารมณ์ของร่างกฎหมายประกันสังคมเดิมของขบวนการแรงงานต้องการปฏิรูปด้านโครงสร้าง ความโปรงใส ตรวจสอบได้ซึ่งแม้ว่า จะมีกำหนดให้บ้างเช่น สิทธิการเลือกตั้งจากผู้ประกันตน ตัวแทนที่สมัคร การเพิ่มจำนวนตัวแทน มีมิติแรงงานทุกกลุ่มมากขึ้น แต่จะเป็นการเลือกตั้งแบบไหนยังไม่ชัดเจน

ประเด็นของแรงงานข้ามชาติ เรื่องการคุ้มครองสิทธิกรณีชราภาพ ที่มีสนช.ขอสงวนคำแปรญัตติแขวนประเด็นการให้แรงงานข้ามชาติรับสิทธิเงินบำเหน็จได้โดยไม่ต้องรอจนอายุครบ 55 ปี นั้น ด้วยกรรมาธิการสนช.ไม่เห็นด้วยที่จะรับสิทธิบำเหน็จก่อนอายุ 55 ปี มองว่า เป็นความเหลื่อมล่ำระหว่างแรงงานไทยที่ต้องรออายุครบ 55 ปีแล้วรับสิทธิได้ ซึ่งตนได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมิการฯถึงเหตุผลว่าทำไมควรจ่ายสิทธิในกับแรงงานข้ามชาติ เพราะเขาทำงานตามMOU ทำงานเพียง 2-4 ปีต้องกลับประเทศ และยังไม่รู้จะได้เข้ามาทำงานอีกหรือไม่ หากให้รอถึงอายุ 55 ปีมารับสิทธินั้น จึงต้องดูเหตุผลความเป็นจริงด้วยเพราะจำนวนเงินไม่มาก การกลับมารับสิทธินั้นคุ้มหรือไม่

นางนิรมล สุทธิพันธ์พงศ์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบกล่าวว่า การปฏิรูปกฎหมายประกันสังคมครั้งนี้กลุ่มแรงงานบางกลุ่มแม้มีนายจ้างก็ยังไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลเทียบเท่ากัน ยังคงถูกมองว่าเป็นแรงงานนอกระบบ ทั้งแรงงานภาคเกษตร คนทำงานบ้าน ยังไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 33 เหมือนแรงงานในระบบ แม้ว่า จะมีการกำหนดสิทธิแรงงานนอกระบบ มีการกำหนดการจ่ายเงินสมทบของภาครัฐชัดเจนกว่าเดิมที่ไม่ชัดจ่ายแบบเหมาเป็นเมนู แต่ยังต้องมีการกำหนดออกกฎหมายลูกอีก จึงยังคงกังวลใจถึงการได้รับการคุ้มครองดูแลจะเป็นจริงหรือไม่ เพราะเรายังไม่รู้ว่าจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดหรือไม่

นายมนัส โกศล กรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ สายแรงงาน และโฆษกคณะกรรมาธิการฯกล่าวถึง 9 หลักการที่มีการแก้ไข และพิจารณาทั้งหมด 49 มาตรา ซึ่งได้มีการพิจารณาด้านการเพิ่มสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นจากเดิมในหลายมาตรา เช่นเรื่องการตั้งครรภ์เดิมกฎหมายกำหนดรับสิทธิได้ไม่เกิน 2 ท้อง กฎหมายใหม่ไม่กำหนดสามารถตั้งครรภ์ได้เท่าที่ต้องการมีบุตร กรณีสงเคราะห์บุตรเดิมรับสิทธิ 2 คน กฎหมายใหม่กำหนด 3 คน สิทธิการเลือกตั้งตัวแทนเข้าเป็นกรรมการบริหารประกันสังคมจาก 12 ล้านคน การมีส่วนร่วมในคณะกรรมการแพทย์ ซึ่งเดิมไม่มีตัวแทนที่เป็นผู้ประกันตน การมีคณะกรรมการตรวจสอบ กรณีว่างงานหากมีการอภิปรายตนในฐานะตัวแทนที่แขวนมาตรานี้ไว้ต้องอภิปรายแปรญัตติ ตนมองว่าวันนี้การเพิ่มขึ้นของสิทธิประโยชน์ในหลายมาตรานั้นถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตน

นายชูศักดิ์ ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับนี้ได้มีการเสนอให้มีเรื่องของการชดเชยทางการแพทย์ กรณีที่มีการรักษาแล้วสร้างความเสียหายต่อผู้ประกันตน ที่เดิมกฎหมายประกันสังคมไม่มี เป็นการยกมาตรานี้มาจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยหากคณะกรรมการแพทย์มีการวินิจฉัยแล้วพบว่าเสียหายกองทุนประกันสังคมต้องจ่ายค่าเสียหายทันที การที่จะได้กฎหมายตามที่เราต้องการก็ต้องช่วยกับชี้แจงต่อสนช.เพื่อให้รับร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งมองว่าผู้ประกันได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่ก็คงต้องวัดดวงจากที่ประชุมสนช.ว่าจะรับหลักการกฎหมายตามที่มีการเสนอแก้ไขหรือไม่

ดร.โกวิท สัจจะวิเศษ ผู้ตรวจการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีการปรับนิยาม เดิมใช้คำว่า ลูกจ้าง กับนายจ้าง เพื่อความครอบคลุมคนทำงานทุกกลุ่มจึงปรับเป็นผู้ประกันตน ต่อมาประเด็นของมาตรา 39 ตามที่มีการเสนอให้มีการปรับแก้ อภิปรายถึงกันนั้น ตามหลักการไม่สามารถที่จะปรับแก้ได้เพราะร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯไม่มีการเสนอปรับหลักการจึงคงเดิม มาตรา 40 จากเดิมผู้ประกันตนไม่มีส่วนร่วมในการส่งตัวแทน หรือเลือกตัวแทนในคณะกรรมการบริหารประกันสังคมครั้งนี้ แรงงานนอกระบบมีสิทธิเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

กรณีเกิดวิกฤติอุทกภัย หรือภัยธรรมชาติ ลูกจ้างจะได้รับสิทธิตามการว่างงาน และไม่ใช่ว่าต้องคุมทุกพื้นที่ จะมีผลเฉพาะพื้นที่นั้นๆ

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน