เผดิมชัย ยกตัวอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ห้ามข้ามชาติคนท้องทำงาน

องค์กรแรงงานในสวีเดนส่งหนังสือประท้วงรัฐบาลไทยต่อประเด็นการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติหญิงตั้งครรภ์ ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(เผดิมชัย สะสมทรัพย์)กล่าวในการสัมมนาโครงการร่วมพัฒนา ร่วมคิดยกระดับคุณภาพชีวิตคนทำงาน และบรรยายพิเศษ นโยบายการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ยกตัวอย่างต่างประเทศก็ไม่ให้แรงงานข้ามชาติตั้งครรภ์ ตรวจพบส่งกลับเช่นกัน

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555 การกระทรวงแรงงานจัดการสัมมนาโครงการร่วมพัฒนา ร่วมคิดยกระดับคุณภาพชีวิตคนทำงาน และบรรยายพิเศษ นโยบายการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ณ โรงแรมใบหยกสกาย กรุงเทพฯ

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมและการบริการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับการขาดแคลนแรงงานประเภท 3 D คือ งานหนัก (Difficult) งานสกปรก (Dirty) และงานอันตราย (Dangerous) ซึ่งแรงงานไทยไม่นิยมทำ และความแตกต่างทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน จึงผลักดันให้มีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก เปิดโอกาสให้มีขบวนการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานมากขึ้น ตามไปด้วย ประเด็นปัญหาการปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติของประเทศไทย คือ การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและมีกระบวนการค้ามนุษย์ในรูปแบบต่างๆ มีการบังคับใช้แรงงานอย่างทารุณ เพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยง

จากข้อมูลนักวิชาการและหน่วยงานต่างๆ ได้ประเมินว่ามีจำนวนแรงงานข้ามชาติอยู่ประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน และจากข้อมูลกรมการจัดหางาน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555 มีจำนวนแรงงานข้ามชาติได้รับอนุญาตให้ทำงาน 975,984 คน แบ่งเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย 905,041 คน และจำนวน 70,984 คน ผิดกฎหมายซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

ในจำนวนของผู้ที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นแรงงานข้ามชาติ สัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา ซึ่งรัฐบาลพิจารณาอนุญาตให้ทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 46,835 คน ที่เหลืออีกล้านกว่าคน เป็นแรงงานลักลอบเข้าเมือง และไม่ได้ขอใบอนุญาตทำงาน ซึ่งคนเหล่านี้มักทำงานหลบซ่อนอยู่ในสถานประกอบกิจการขนาดเล็ก ปัจจุบันมีแนวโน้มว่า จำนวนแรงงานข้ามชาติจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกกิจการ ประกอบกับเมื่อรัฐบาลประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท และการมาทำงานแรงงานข้ามชาติยังมีผู้ติดตาม และบุตรของที่เกิดในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยถูกจับตามองเป็นพิเศษว่า ใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย มีการเลือกปฏิบัติระหว่างแรงงานข้ามชาติกับแรงงานไทย ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน และมีการค้ามนุษย์

จากรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี 2554 ของประเทศสหรัฐอเมริกา (TIP Report) ได้จัดระดับประเทศไทยไว้ที่ Tier 2 Watch List ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ปัญหาการค้ามนุษย์จึงเป็นปัญหาที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ ดูแลแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรฐานของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เท่าเทียมกับแรงงานไทย โดยให้ความสำคัญและยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าเรื่องศาสนา สัญชาติ เพศ เข้าเมืองถูกกฎหมายหรือลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ทั้งนี้การเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายหรือการขาดสถานภาพทางกฎหมายของแรงงานข้ามชาติ ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาในการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญและพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดเป็นนโยบายมาตรการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติในเชิงป้องกัน และมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยการจัดอบรมให้ความรู้แก่นายจ้าง ลูกจ้าง การเผยแพร่แผ่นพับสิทธิหน้าที่ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นภาษาของแรงงานข้ามชาติ มีการจ้างล่ามเพื่อสื่อภาษา เร่งรัดการตรวจสถานประกอบกิจการที่มีการใช้แรงงานข้ามชาติทำงาน มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างครอบคลุม เช่น กฎกระทรวงฉบับที่ 10 เรื่องการคุ้มครองแรงงานประมงทะเล การปรับปรุงระเบียบ คู่มือ แนวปฏิบัติด้านการตรวจแรงงาน การรับคำร้องให้เหมาะสมและครอบคลุมมากขึ้น

นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีกฎหมายห้ามแรงงานข้ามชาติตั้งครรภ์เข้ามาทำงานในประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ ลูกจ้างหญิงที่ถือใบอนุญาตทำงานไม่อนุญาตให้ตั้งครรภ์ หรือคลอดบุตรระหว่างที่มีใบอนุญาตทำงานหรือหลังใบอนุญาตทำงานหมดอายุ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากทางการสิงคโปร์ให้แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับคนสัญชาติสิงคโปร์หรือผู้พำนักถาวรที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ไม่ต่อใบอนุญาตทำงานให้แรงงานหญิงต่างชาติที่ตั้งครรภ์ ไต้หวัน ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศต้องผ่านการตรวจโรค (รวมทั้งตั้งครรภ์) ก่อน หากพบว่า มีการตั้งครรภ์จะไม่สามารถทำงานได้ และเมื่อเข้าทำงานที่ไต้หวันแล้วห้ามผู้ติดตามเข้าทำงาน และห้ามแต่งงานระหว่างเป็นลูกจ้างไต้หวัน แรงงานต่างชาติต้องเข้ารับการตรวจโรค (รวมทั้งตั้งครรภ์) ภายใน 3 วัน นับแต่วันเดินทางถึง หากพบว่ามีการตั้งครรภ์ถือว่าไม่ผ่านการตรวจโรค นายจ้างต้องกำชับให้แรงงานต่างชาติเดินทางออกจากไต้หวันทันที

การร่วมกันดำเนินการไม่ได้หวังว่า ประเทศไทยจะหลุดพ้นจากการถูกจัดลำดับอยู่ในระดับ Tier 2 Watch List ในปีหน้า แต่เป็นบทบาทหน้าที่ของทุกคนทุกองค์กร ทุกหน่วยงาน ที่จะร่วมกันดูแลภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกให้จัดลำดับที่ดีขึ้นต่อไป จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงแรงงานพร้อมเชิญองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เข้ามาร่วมทำงานแก้ไขปัญหา เพื่อให้เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุร่วมกัน

The Swedish Trade Union Confederation (LO) ได้ส่งหนังสือถึงนางสาวยิงลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อประเด็น รายงานที่กระทรวงแรงงานไทยมีแผนจะนำข้อเสนอกรณีการตั้งครรภ์ของแรงงานหญิงข้ามชาติส่งกลับประเทศ “ตามรายงานข่าวเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2012 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายเฉลิมชัย สะสมทรัพย์ ประกาศแผนการที่จะส่งแรงงานหญิงข้ามชาติที่ตั้งครรภ์ 3-4 เดือนกลับประเทศต้นทาง หนึ่งใจความระบุคือ “การลดปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็กข้ามชาติ” ในการตอบสนองต่อการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความล้มเหลวของประเทศไทยที่ยังมีการค้ามนุษย์ เพื่อแสวงประโยชน์ในการจ้างงานแรงงานราคาถูก ซึ่งมีทั้งแรงงานข้ามชาติผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก”

ด้วยเห็นว่าการบังคับส่งกลับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นแรงงานข้ามชาติ เป็นการเลือกปฏิบัติ และการละเมิดที่ชัดเจนของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง (CEDAW) ที่ประเทศไทยให้สัตยาบันในปี 1985 รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ มาตรฐานสากลที่ต่อสู้เพื่อมุ่งส่งเสริมความเสมอภาคในโอกาสและ ไม่เลือกปฏิบัติต่อมนุษย์ ต้องไม่มีการใช้แรงงานเด็กรวมทั้งการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ในการนี้ยังมีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 29 ว่าด้วยการบังคับใช้แรงงาน และฉบับที่ 182 ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็กที่ประเทศไทยได้มีการให้สัตยาบันยอมรับในปี 1969 และ 2001 ตามลำดับ

ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกข้อเสนอที่จะส่งแรงงานข้ามชาติหญิงตั้งครรภ์กลับประเทศ และให้หาวิธีการที่ยุติธรรม มีประสิทธิภาพในการกำจัดการค้ามนุษย์ และแรงงานเด็กในประเทศไทย รวมทั้งการดำเนินงานที่เหมาะสมของ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 29 และ 182

หมายเหตุ :The Swedish Trade Union Confederation (LO) มีสมาชิกสหภาพแรงงานคิดเป็นกว่า 1.5 ล้านคนในสวีเดน

///////////////////////////

Dear Prime Minister, Yingluck

The Swedish Trade Union Confederation (LO), representing more than 1.5 million workers in Sweden, is alarmed at reports that the Thai Labor Ministry plans to adopt proposals which would see pregnant migrant woman workers deported.

According to news reports, on 26 June 2012 Labour Minister Minister Padermchai Sasomsap announced a plan to deport migrant workers who are known to be three to four months’ pregnant. One stated intention is to curb human trafficking and the use of migrant child labour, in response to criticisms over Thailand’s failure to address the trafficking of woman, men and children for forced labour and sexual exploitation.

The forcible deportation of pregnant migrant women would be highly discriminatory and a clear breach of the Convention on the Elimination of Discrimination against Woman (CEDAW), ratified by Thailand  in 1985, as well as other international human fights standards aimed at promoting equality of opportunity  and non-discrimination.

Lo is, of course, highly supportive of effective, non-discriminatory initiatives aimed at combating, forced and child labour, including for sexual exploitation. In this respect, Lo reminds the Thai government of the Core Labour Conventions 29 on Forced Labour and 182 on the Worst Forms of Child Labour ratified by Thailand in 1969 and 2001 respectively.

Lo urges the Thai government to abandon the proposals to deport pregnant migrant women workers, and instead to look for fair and effective means to eliminate human trafficking and child labour in Thailand, including the proper implementation of ILO Coventions 29 and 182.

Yours sincerely

THE SAWEDISH TRADE UNION CONFEDERATION (LO)

Karl-petter Thorwaldsson

President