เครือข่ายผู้หญิงร่วมค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน


คำแถลง WeMoveและองค์กรเครือข่ายผู้หญิงคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินและคุ้มครองสิทธิชุมชนในการจัดการฐานทรัพยากร
จากการที่เครือข่ายปกป้องอันดามันที่ประกอบด้วยประชาชนหลากหลายกลุ่มได้เสนอข้อเท็จจริงและเหตุผลที่คัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่อย่างต่อเนื่อง เพราะจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดลอ้ ม ระบบนิเวศและคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้หญิง เด็กผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในชุมชน อีกท้งัขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและการประชาพิจารณ์ซึ่งผู้หญิงได้มีบทบาทส่วนร่วมในการคัดค้านด้วยอย่างแข็งขันแต่ไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) มีมติเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เห็นชอบโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ ทำให้ประชาชนหญิง-ชายจำนวนมากไม่เห็นดว้ยและออกมาชุมนุมคัดค้าน ที่ทำเนียบรัฐบาล

ในการชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล ประชาชนชุมนุมโดยสงบโดยมีผู้หญิงและเด็กจา นวนมากแต่รัฐบาลกลับละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยการปิดกั้นการเข้าห้องน้ำการใช้กำลังปิดล้อมทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ให้มีการนำข้าวน้ำเข้าไปให้ผู้ข้าร่วมชุมนุม และมีการจับกุมผู้นำการต่อสู้ ๕ คน รวมทั้งผู้ชุมนุม ๑๑ คน ที่เป็นผู้หญิงและเด็กถึง ๘ คน 

แม้รัฐบาลได้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้งหมด และรับว่าจะมีกระบวนการจัดทำประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใหม่ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการทบทวนสาเหตุปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และเป็นบทเรียนในการจดัการเรื่องโครงการต่างๆ ของรัฐต่อไป 

ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) และองค์กรที่มีรายชื่อข้างท้ายจึงนี้มีข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหากรณีโครงการไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่รวมถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินอื่นๆ รวมทั้งการจัดการป้องกันความขัดแย้งในโครงการต่างๆของรัฐและเอกชนที่รัฐอนุญาต เป็นหลักการดังนี้

๑) เราขอยืนยัน “ไม่เอาถ่านหิน” ในโครงการโรงไฟฟ้าทั้งมวล เพราะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตอย่างร้ายแรงผู้หญิง เด็กผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในชุมชน จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ดังเช่นตัวอย่างผลกระทบและการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังไม่เสร็จสิ้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

๒) ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศไม่ว่าพลังงานและด้านอื่นใด ต้องสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)ของสหประชาชาติ ที่นายกรัฐมนตรีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แสดงจุดยืนของประเทศไทยไว้แล้ว และรัฐจำเป็นต้องเคารพสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งฉบับปี ๒๕๔๐, ๒๕๕๐ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติเมื่อ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่หน้าที่ของรัฐตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติเน้นว่า รัฐต้องดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนในชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินโครงการ

๓) ในการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) คร้ังใหม่และทุกกรณีต้องยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียทุกขั้นตอน โดยองค์กรที่จัดทำต้องเป็นสถาบันที่เป็นกลาง มีความเป็นอิสระจากผู้เสนอโครงการ มีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ มีความหลากหลายและที่สำคัญต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

๔) ขอให้รัฐยกเลิกการผูกขาดการผลิตพลังงานทดแทนและหมุนเวียน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนผลิตได้โดยเสรี

๕) รัฐต้องเคารพเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานและความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุม และต้องไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจทางราชการสร้างให้เกิดบรรยากาศการเผชิญหน้าในสังคม

ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) และทุกองค์กรตามรายชื่อนี้ขอเรียกร้องให้รัฐบาลตระหนักว่า ทิศทางและการพัฒนาใดๆ ต้องยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ตระหนักถึงผลประโยชน์และคุณภาพชีวติของผู้หญิงและเด็กและในการตัดสินใจใดๆ ต้องมีบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งหญิงชายอย่างแทจ้ริง

๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

๑) ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) 

๒) กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี

๓) สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา 

๔) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ

๕) เครือข่ายแรงงานสตรีทีม

๖) คณะกรรมการสิทธิสตรีและเยาวชน

๗) มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม

๘) สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ(ประเทศไทย)

๙) กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง

๑๐) กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง

๑๑) เครือข่ายสตรีชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

๑๒) มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก

๑๓) กลุ่มเพื่อนหญิงอำนาจเจริญ

๑๔) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

๑๕) ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มหาวทิยาลัยัเชียงใหม่

๑๖) ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรมวิทยาลัยนวตักรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

๑๗) โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๑๘) คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๙) ขบวนผู้หญิงตรัง

๒๐) เครือข่ายองคก์รสตรีสิบสี่จังหวัดภาคใต้

๒๑) สมาคมส่งเสริมการพัฒนาสตรีและเยาวชนลำปาง

๒๒) สมาคมสตรีประมงพื้นบ้านภาคใต้

๒๓) เครือข่ายผู้หญิงใจอาสาเมืองคนดีจ.สุราษฎร์ธานี

๒๔) เครือข่ายองคก์รสตรีภาคเหนือ 

๒๕) กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่