อีสาน ฮ่วมแฮง แปงเมือง

โครงการสืบสานประวัติศาสตร์แรงงานอีสาน เรื่อง อีสาน ฮ่วมแฮง แปงเมือง ห้องประชุมแม่น้ำของ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 จัดโดย มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันทิศทางไท ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กล่าวเปิดงานโดยนายชัยพงศ์ โฉมเฉลา กรรมการมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย  กล่าวว่า การจัดงานโครงการดังกล่าวทางพิพิธภัณฑ์แรงงานได้เดินทางสัญจรไปในหลายพื้นที่ และการที่ได้เข้ามาจัดงานที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยต้องการเผยแพร่ความมีคุณค่าของแรงงาน ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือกับคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยได้มีการจัดงานร่วมกัน 2 วัน คือวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2560 กิจกรรมประกอบด้วยการจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์แรงงานไว้ที่บริเวณด้านล่าง และเวทีเสวนา ซึ่งคาดว่านิสิตนักศึกษาผู้เข้าร่วมงานจะได้ประโยชน์ประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะนักศึกษาที่ไม่ว่าอย่างไรเมื่อจบแล้วก็จะต้องเป็นผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมีกฎหมายหลายฉบับในการดูแลเรื่องสิทธิสวัสดิการ คำว่าแรงงานนั้นไม่ใช่เพียงแรงงานในโรงงาน หรือบริษัทเท่านั้น แรงงานในความหมายยังมีแรงงานนอกระบบผู้ประอาชีพอิสระ แรงงานภาคเกษตร เราทุกคนคือแรงงาน ฉะนั้นจึงต้องเรียนรู้ และรับรู้ถึงคุณค่าแรงงานความเกี่ยวด้านสิทธิ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นต้น

กล่าวต้อนรับโดย ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวต้อนรับการเข้าร่วมงานสืบสานประวัติศาสตร์แรงงานภาคอีสาน การที่ทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่ได้มาร่วมจัดงานกับทางคณะฯ ซึ่งวันนี้คนที่เข้าร่วมก็จะออกไปทำงาน เป็นแรงงานเป็นคุณครู หรือเป็นคนทำงานอิสระ ฟรีแลนด์ และว่า จะไปทำงานในบริษัท โรงงาน คำว่า แรงงานนั้น มีทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ มีแรงงานอีกมากมายที่ทำงานอยู่ในภาคอีสาน การที่นิสิตนักศึกษาที่มีบางส่วนที่จะจบไปเป็นนักพัฒนาชุมชน ก็จะเกี่ยวข้องกับแรงงานไม่ว่า จะเป็นแรงงานชาวกูย  ซึ่งออกไปรับจ้างตัดอ้อยวันนี้จะได้เรียนรู้กับนักวิชาการที่ลงพื้นที่ทำงานข้อมูลดังกล่าว ประเด็นแรงงานข้ามชาติชาวลาวการข้ามประเทศมาทำงาน ประวัติศาสตร์แรงงานอีสาน คำว่าแรงงานมีนิยามที่ครอบคลุมไม่ว่า เป็นอาชีพเกษตรกร อย่างที่กล่าวแล้วว่านักศึกษาเองเมื่อเรียนจบแล้วก็ต้องออกไปทำงานอย่างแน่นอนและคงมีความเกี่ยวข้องกับอีกหลายอาชีพ วันนี้จึงคิดว่าเป็นงานที่มีประโยชน์กับการศึกษา และในอนาคตเมื่อออกไปประกอบวิชาชีพด้วย จึงถือว่างานนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน

การแสดงดนตรี โดยวงภราดร ซึ่งเป็นบทเพลงบอกเล่าประวัติศาสตร์และคุณค่าแรงงาน และฉายวิดีทัศน์ หยาดเหงื่อแรงงาน ประวัติศาสตร์แห่งการสรรค์สร้าง

ต่อมาได้มีการตั้งวงเสวนา อีสาน ฮ่วมแฮง แปงเมือง ดำเนินรายการโดย ดร.ไชยรรงค์ เศรษฐเชื้อ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รศ.ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์ นักวิชาการ ด้านประวัติศาสตร์แรงงานภาคอีสาน กล่าวว่า การที่จะเข้าใจประวัติศาสตร์อาจต้องมองความเป็นมา จากเดิมที่อีสานต้องส่งส่วยที่เป็นข้าวปลาอาหารเป็นสิ่งของไปยังกรุงเทพมหานคร หรือที่เรียกว่าไทย ต่อมาก็ปรับเป็นการส่งส่วยเป็นตัวเงิน เมื่อหาเงินในท้องถิ่นไม่ได้ คนอีสานก็ต้องอพยพไปหางานทำ เช่นไปรับจ้างทำนาในภาคกลาง พอมีการสร้างทางรถไฟทำให้แรงงานอีสานได้ออกไปรับจ้างสะดวกขึ้น จากเดิมเดินทางไปทำงานแค่โคราช ก็เข้าไปสู่ภาคกลางมากขึ้น ง่ายขึ้น ประวัติศาสตร์การใช้แรงงานสร้างทางรถไฟเพื่อการเดินทาง หรือขนส่งสิ่งของ ซึ่งการสร้างทางนั้นมีแรงงานสองกลุ่มคือ แรงงานจีน ด้วยคนไทยยังเป็นไพร่ ทาสอยู่ การที่คนอีสานไปร่วมทำงานสร้างทางรถไฟโดยได้ค่าจ้างเพียง 3 สลึง ซึ่งในประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อีกว่าคนงานอีสานที่ไปทำงานนั้น ชอบที่จะไปตัดไม้เผาถ่าน ซึ่งมีความเป็นไปได้ด้วยคนสมัยนั้น ก็จะทำมาหากิน พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการทำงานสร้างอาชีพแบบจริงจัง และการที่จะไปเป็นแรงงานรับจ้างนั้นยังไม่มาก อาชีพที่ไปทำคือการถีบสามล้อ อาชีพหลักคือไปทำงานกรุงเทพฯ ไปทำงานนั้นด้วยว่าการทำนานั้นไม่เพียงพอ คนอีสานจึงได้มีการอพยพแรงงานไปจับจองที่ทำกิน ซึ่งมากที่สุดที่อุดร การที่ประเทศไทยใช้แผนการพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่หนึ่ง ทำให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมในเมือง แรงงานภาคอีสานเริ่มอพยพไปทำงานในกรุงเทพฯ การอพยพก็เดินไปนั่งรถ และไปขึ้นรถไฟที่โคราช (นครราชสีมา) การออกไปหางานทำตอนนั้นก็จะหลังเสร็จจากทำนาแล้ว เมื่อจะเกี่ยวข้าวก็จะกลับมาเกี่ยวข้าว การออกไปทำงานในกรุงเทพ เรียกว่าไปไทย เป็นการไปทำงานตามฤดูกาล โดยจะมีรถบัสมารับไป คนจะมารวมกัน มีแต่คนหนุ่มคนสาว ไปทำงานกรุงเทพฯ

ปี 2510 มีฐานทัพอเมริกา ซึ่งมีส่วนสำคัญในการจ้างงานชาวอีสานไปทำงานในฐานทัพตั้งแต่การทำความสะอาด แต่ก็หายไปพร้อมกับการย้ายออกไป ซึ่งการมาของฐานทัพอเมริกา ก็ทำให้เกิดสถานบันเทิง มีงานภาคบริการ หญิงขายบริการ เป็นเศรษฐกิจอีกแบบหนึ่งในภาคอีสาน และสร้างความเจริญเศรษฐกิจ การอพยพของแรงงานอีสานที่ไปทำงานในพื้นที่ต่างๆรวมถึงกรุงเทพฯ แรกอาจคิดแค่ไปทำงานพื่อเก็บเงินแต่ผลผลิตของคนอีสานก็เกิดลูกหลานชาวอีสานในกรุงเทพฯ กลายเป็นคนกรุงเทพฯ

ความเป็นแรงงานอพยพ ต่อมาแรงงานอีสานยังไปทำงานที่ต่างประเทศ อย่างประเทศซาอุ ที่ดังมากเพราะคนอีสานถูกหลอกไปทำงานเป็นข่าวมีทั้งส่วนที่ประสบความสำเร็จและผิดหวัง และกรณีเพ็ชรซาอุอีกปนะเด้นเป็นเรื่องราวจนเกิดการไม่จ้างแรงงานไทยไปทำงานในซาอุ ตอนนี้แรงงานอีสานก็ไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล รวมถึงอีกหลายประเทศ  ภาพของแรงงานอีสานหากจะให้ชัดเจนที่สุดก็คงตอนเทศกาลต่างๆที่รถติดมหาศาลเกือบทุกสายที่ออกจากกรุงเทพฯ หรือเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เพื่อเดินทางกลับมาบ้านในภาคอีสาน เช่นข่าวที่รัฐบาลออกกฎหมายห้ามนั่งท้ายรถกระบะ ซึ่งกระแสเสียงการคัดค้านทำให้ต้องยกเลิกไปทีเดียว จึงกล่าวได้ว่า การพัฒนาประเทศการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นแรงงานอีสานเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเจริญและพัฒนาบ้านเมือง

นายอุบล สวัสดิผล ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ แรงงานอพยพตัดอ้อย กลุ่มชาติกูย เล่าว่า แรงงานในหมู่บ้านที่ศรีเกษ การไปรับจ้างตัดอ้อยเหล่านี้มีชีวิตรอดอย่างไร บางครอบครัวไปอยู่ในขนำ หรือเฉี่ยงนา แรงงานตัดอ้อยเป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีสวัสดิการ สิ่งที่พบช่วงทำนา เด็ก ชาวบ้านอยู่เต็มในหมู่บ้าน แต่พอเสร็จไร่ เสร็จนาทั้งเด็กผู้ใหญ่หายไปจากบ้านหมด จึงได้ไปศึกษาด้วยความสนใจ วิธีการลงไปศึกษามาคือมีการติดตามแรงงานไปในพื้นที่ต่างๆทำให้เห็นตั้งแต่เริ่มต้น โดยติดตามไปที่สระแก้วที่ติดกับกัมพูชา  อีกที่ก็นครสวรรค์ ซึ่งเป็นจุดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลเลย และมหาสารคามมีบริบทเดียวกันกับทางศรีษเกษ การที่แรงงานอพยพชาวกูยไปรับจ้างตัดอ้อยนั้น มีคนบอกว่า เป็นระบบอุปถัมภ์ แต่ว่าที่พบคือการใช้วิธีการตกเขียวแรงงาน คือจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับแรงงาน หรือการใช้แรงงานดั่งเดิมเป็นกลุ่มนี้ที่ทำงานตัดอ้อย ซึ่งแรงงานตัดอ้อยไม่แตกต่างจากงานอีสานกลุ่มอื่นๆ กลุ่มชาติพันธุ์กูยที่จังหวัดศรีสะเกษนั้นเป็นกลุ่มที่ทำนา ไม่ใช่คนกูยแบบเดียวกับจังหวัดสุรินทร์ที่เป็นคนเลี้ยงช้าง

การอพยพของแรงงานกูยไปตัดอ้อยนั้นมีตั้งแต่ปี 2516 โดยการเดินเท้า และไปโดยสารรถ เดินทางไปที่จังหวัดลพบุรี ก่อนที่จะไปตัดอ้อยที่จังหวัดสระแก้ว และยุคนี้เป็นยุคที่ใช้ปืน ใช้ยาบ้าในการบังคับให้คนกูยทำงานมากที่สุดจนมีแรงงานบางส่วนหลบหนีออกมา ซึ่งเดิมมีการใช้ความรุนแรงกับแรงงานกลุ่มที่หนีในเถ้าแก่ที่โหด บางรายถึงกับฆ่าแรงงานที่หนีแล้วฝังในพื้นที่ และแรงงานกูยยังต้องเผชิญกับกลุ่มคนที่ดักปล้นเงินค่าแรงงาน เมื่อกลับจากทำงาน แรงงานกูยยังมีการอพยพไปทำงานที่ประเทศมาเลเชียด้วยการเดินเท้าเข้าไป คนที่ไม่มีพาสปอร์ตก็ต้องวิ่งหนีเจ้าหน้าที่รัฐ

ยุคนี้เป็นยุคขาดแคลนแรงงานตัดอ้อย ซึ่งการที่นายจ้างไม่ใช้รถตัดอ้อย เพราะต้องการลดต้นทุน ไม่ต้องจ้างคนขับรถ และการตัดอ้อยก็มีระยะเวลาช่วงหนึ่งเท่านั้นการซื้อรถตัดอ้อยจึงไม่คุ้มทุน การใช้แรงงานตัดอ้อยจ้างแบบครั้งเดียวจบ เป็นทางเลือกที่นายจ้างใช้ การไปรับจ้างตัดอ้อยการอยู่ กิน นอน นายจ้างก็สร้างเพิงพักกันอยู่ในพื้นที่แบบรวมกันซึ่งที่ไปเก็นข้อมูลมีราว 40 ครอบครัว การที่ต้องการมาตัดอ้อยที่ภาคอีสาน เพราะว่าภาษาพูดเหมือนกัน การไปตัดอ้อยที่ภาคกลางหรือจังหวัดนครสวรรค์ เพราะว่า ตรงนั้นมีการแย้งแรงงานกันสูงมาก มีความเป็นคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบแบ่งชนชั้นกันแม้ว่า เป็นคนไทยเหมือนกันไม่ได้รับการดูแลเหมือนแรงงานกลุ่มอื่นๆ

แรงงานตัดอ้อยเผชิญปัญหามากทีเดียว หนึ่งชุมชนมีความอคติทางชาติพันธุ์ หากทำงานบริเวณชายแดนถูกมองว่า เป็นแรงงานข้ามชาติ หากภาคกลางก็ถูกมองเป็นอื่น ทั้งที่เป็นคนไทยเหมือนกัน แต่ว่า ใช้ภาษากูย ประเด็นที่เป็นห่วงคือการศึกษาของเด็กที่ติดตามผู้ใหญ่ไปทำงาน แม้ว่า นายจ้างสัญญาว่าจะส่งเด็กให้เรียนหนังสือ หรือหาที่เรียนให้ แต่สิ่งที่พบคือเด็กไม่ได้เรียนหนังสือและโตขึ้นก็จะทำงานตัดอ้อยเหมือนกับครอบครัวเป็นวงจรแบบเดียวกัน ส่วนที่พักหากนายจ้างไม่ได้สร้างที่พักให้ก็ไปสร้างที่พักขนำแบบง่ายๆที่ขยับไปตามไร่อ้อยที่ตัดเข้าไปเรื่อย โดยที่พักไม่มีห้องน้ำ 40 ครอบครัวไม่มีห้องน้ำ แต่ละคนก็จะมีจอบ และเสียมเข้าป่าไปทำธุระส่วนตัวกัน

การที่ไม่ค่อยมีใครติดตามเข้าไปดูแลเขาทำให้การไปของพวกเราได้รับการดูแล รู้สึกดีมีการผูกแขนให้ข้อมูล การใช้แรงงานการเกิดอุบัติเหตุเหยียบต่ออ้อยจนเท้าอักเสบทำงานไม่ได้ ปัญหาสุขภาพ การคลอดบุตรในป่าอ้อย และต้องอยู่ในที่พักที่ร้อน พ่อแม่ไปทำงาน และเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเสียชีวิตจากการตกกระติกน้ำ และถูกรถทับเพราะมองไม่เห็นเด็กที่นอกอยู่

การที่แรงงานตัดอ้อยถูกตกเขียวไปทำงาน เมื่อเอาเงินมาแล้ว หากเจอสภาพอากาศฝนตกทำงานไม่ได้ก็เป็นความเสียทำให้แรงงานตัดอ้อยต้องเร่งทำงาน ความเสี่ยงจากครอบครัวแตกแยกเพราะห่างกัน การที่พ่อแม่ไม่อยู่ต้องปล่อยลูกให้อยู่บ้านโดยไม่ได้รับการดูแล

โดยสรุปแรงงานตัดอ้อยนั้นไม่ได้ทุกข์เพียงร่างกาย หนี้สิน แต่เขาทุกข์ทั้งการถูกมองเป็นคนอื่น ถูกดูแคลนความเป็นชาติพันธุ์ วิถีชีวิตการทำงาน คือตื่นแต่เช้า 03.00 น. ออกไปทำธุระส่วนตัว ทำอาหาร และรอรถมารับไปทำงาน เริ่มงานตั้งแต่เช้าเพื่อให้ทานได้มากที่สุด และการหาอาหารตามธรรมชาติ ค่าแรงในการตัด อ้อยสด 150 บาทต่อ 1 ตัน อ้อยเผา 140 บาท รถหนีบอ้อยตันละ 20 บาท อาจได้ค่าจ้างจากสามี ตันละ 50 บาท หลังจากที่จับกลุ่มพูดคุยกัแรงงานก็มีข้อเสนอ 7 ด้าน ทั้งแรงงานรายได้ สาธารณสุข การศึกษาของเด็ก และต้องการที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีของแรงงานตัดอ้อย ซึ่งเราก็มีข้อเสนอ 3 ส่วนคือ 1. แรงงานนอกระบบต้องได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากไม่มีสวัสดิการ 2. มีการแก้ไขพรบ.อ้อยน้ำตาล พ.ศ.2527 เพื่อการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับแรงงานด้วย สุดท้าย 3. อยากให้นักวิชาการ ภาครัฐเข้าไปดูแลเอาใจใส่แรงงานกลุ่มนี้ด้วย

นายคชษิน สุวิชา อาจารย์สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด กล่าวว่า สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ  ในพื้นที่ภาคอีสาน ก่อนพ.ร.ก.การบริหารจัดการของคนงานต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่ได้รับอนุญาตทำงานสามสัญชาติ 1.3 ล้นคน ซึ่งคนทำงานด้านแรงงานข้ามชาติมองว่ามีมากกว่านี้ และคงไม่ต่างกับปัจจุบันมากนัก การเข้ามาของแรงงานข้ามชาตินั้นเข้ามาอยู่ในกลุ่มของอุตสาหกรรม ที่มีข้อตกลงกันระหว่างรัฐ 8 แสนกว่าคน และกลุ่มที่มีการพิสูจน์สัญชาติ 4   แสนกว่าคน มากที่สุดคือแรงงานพม่า ส่วนในภาคอีสานก็มีแรงงานครบทั้งสามประเทศ กลุ่มพิสูจน์สัญชาติ ประมาณ 1.7 หมื่นคน จังหวัดที่มากที่สุดคือ นครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัม กลุ่มแรงงานที่นครราชสีมา กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มาทำงานมากที่สุดคือ พม่า ไม่ใช่คนลาว ซึ่งมาอยู่ในประเภทอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และขอนแก่น กลุ่มพม่า 2,000 คนทำในโรงงานแหอวน และทำงานผลิตโรงเท้าในอุบลราชธานี

พื้นที่ชายแดนประเทศลาว ที่ตนทำงานอยู่ แรงงานข้ามชาติชาวลาวที่มาทำงานในภาคอีสาน เข้ามาช่วงสงครามในลาว  และเข้ามาหลี้ภัยในภาคอีสาน รัฐไทยตั้งศูนย์ 13 แห่ง คือส่งไปประเทศที่ 3 และหากสถานการณ์จบก็ส่งกลับประเทศลาว ซึ่งบางส่วนไม่กลับประเทศลาวก็ได้สถานะเลข 0 บ้าง เลข 6 บ้าง บางส่วนไม่มีเลขเลยก็มี และต่อมารัฐไทยให้ขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นแรงงาน ซึ่งก็มมีการไปขึ้ทะเบียน ความต่างของเลข์นำหน้านั้นก็คือการเข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาล

การปรับเปลี่ยนพื้นที่ของรัฐ จากความหวาดระแวงกันมาเป็นตลาดค้าขายในพื้นที่ชายแดน จากเดิมเป็นพื้นที่ที่ไม่ให้ความสนใจ ตอนนี้มีการปรับเป็นพื้นที่น่าสนใจ มีการปรับเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว มีสถานบันเทิงเกิดขึ้นมากมาย การที่เป็นเมืองท่องเที่ยวทำให้คนที่เข้ามาทำงานมากขึ้น คือแม่หญิงลาว เพราะสังคมชนบทในประเทศลาวยังไม่เจริญมาก ผู้หญิงการที่จะตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ก็ต้องหาอยู่หากิน หางานทำ เมื่อประเทศลาวต้องเข้าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ ก็ทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องเงินทอง ซึ่งผักริมรั่วที่เคยหากินได้ก็ต้องซื้อขาย ทำให้แม่หญิงลาวต้องออกไปทำงานมากขึ้น และแม่หญิงลาวก็มาทำงานในร้านคาราโอเกะ เมื่อแม่หญิงลาวที่มาทำงานมาแต่งงานกับหนุ่มไทยก็เป็นปัญหาการกีดกันของชุมชน ครอบครัว ความอคติทางชาติพันธุ์ การไม่ยอมรับในความเป็นแม่หญิงลาว การไม่ยอมรับด้านอาชีพ ซึ่งการเดินทางมาทำงานของแรงงานลาวก็มาทั้งเส้นทางธรรมชาติ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมาแบบถูกต้องตามกฎหมาย การมาทำงานก็มาทำงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งไม่มีการจดทะเบียนแรงงาน การมาก็มีทั้งมาแบบเช้ากลับเย็น และการมาทำงานจนกว่าจะหมดฤดูกาล การที่ไม่ยอมขึ้นทะเบียนแรงงานด้วยมองว่า มีราคาแพง การเข้ามาของแรงงานยังมีกระบวนการของเจ้าหน้าที่รัฐที่นอกแถวพามา

แรงงานข้ามชาติชาวลาวที่มาทำงาน ยังถูกมองแบบอคติทางชาติพันธุ์ เป็นแหล่งเชื้อโรค เป็นหญิงบริการ จากการที่ได้รับงบประมาณบางส่วนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ในการร่วมรวมปัญหา และจัดทำกลุ่มสวัสดิการชุมชน ได้ไปทำในพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีทั้งแกนนำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เป็นการรวมกลุ่มกันเข้ามาทำงานร่วมกัน มีการเตรียมความพร้อม การแสวงหาภาคในการทำงานร่วม เมื่อผู้ชายเข้าไปทำงานอาจมีปัญหาด้วยแม่หญิงลาวส่วนหนึ่งเป็นสาวคาราโอเกะ จึงมีปัญหาในการที่จะเก็บข้อมูลจึงปรับเป็นการผู้หญิงด้วยกันลงไปทำงานเก็บข้อมูลมีการผูกเสี่ยวเป็นเพื่อนกัน ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก รวบรวมข้อมูลวิเคราะข้อมูล เพื่อดูเรื่องอคติของชุมชน งานประเพณี การที่มีการทำงานทำให้กลุ่มแม่หญิงลาวได้ออกมาภายนอกมากขึ้นมีส่วนร่วมกับชุมชนมากขึ้น มีการตั้งกองทุนออมวันละบาท เพื่อจัดสวัสดิการ ด้านคลอดบุตร การเสียชีวิต การรักษาพยาบาล และมีกลุ่มฌาปนกิจ มีกระบวนการแลกเปลี่ยนกันเป็นการพัฒนาตนเอง และกลุ่มด้วย เกิดกลุ่มเกื้อกูลกัน การมีตัวตนในชุมชน มีศักดิ์ศรีความเป็มนุษย์มากขึ้น และสวัสดิการชุมชนนั้นเป็นการพัฒนา การทำงานร่วมกันในการพัฒนาชุมชน สวัสดิการชุมชน ยังเป็นภาพสะท้อนการจัดสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ชายแดนและแรงงานไม่ว่าชาติไหนเข้มแข็ง ประเทศก็เข็มแข็งไปด้วยเช่นกัน

นายสว่าง วีรกิจ เจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า กระทรวงแรงงานมีกรมทั้งหมด 4 กรม และมีสำนักงานแรงงานจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการดูแลแรงงานไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ แรงงานข้ามชาติ และแรงงานนอกระบบ โดยมีกฎหมายในการคุ้มครองดูแลแตกต่างกันไป ส่วนในจังหวัดมหาสารคมนั้น มีการทำงานดูแลแรงงานในพื้นที่ ซึ่งแรงงานในระบบ มีการดูแล มีกฎระเบียบให้นายจ้างลูกจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ 3 แสนกว่าคนในจังหวัดนี้มีกฎหมายบางส่วนที่คุ้มครองอยู่บ้าง ซึ่งเป็นแรงงานผู้รับงงานไปทำที่บ้าน คนทำงานบ้าน การดูแลที่ตอนนี้มีปัญหาคือแรงงานข้ามชาติ ซึ่งแรงงานส่วนนี้หากรัฐไทยไม่ดูแลทำให้เกิดปัญหาเรื่องค้ามนุษย์ ส่งผลในยุโรปขึ้นบัญชีเทียรสามกับประเทศไทย และไม่สั่งซื้อสินค้าอาหาร การที่มีการจ้างแรงงานกูยทำงานที่มีเด็กไปกลับพ่อ แม่จนทำให้ถูกต่างประเทศมองว่า เป็นการค้ามนุษย์ได้ เช่นกับประเด็นแรงงานข้ามชาติ ชายแดนอย่าหญิงลาวที่มาทำงานภาคบริการ แรงงานที่ทำงานในกิจการอาหารที่มีเด็กที่ติดตามพ่อแม่มาทำงานอันนี้ก็ถูกมองว่ามีการใช้แรงงานเด็ก ส่งผลต่อการค้า

การทำงานจึงต้องมี 4 ไม่ คือไม่ใช้แรงงานเด็ก ไม่ใช้แรงงานบังคับ การบังคับใช้แรงงาน การตกเขียวแรงงาน สิ่งเหล่านี้ล่อแหลมต่อการค้ามนุษย์  แรงงานต้องมีการให้เสรีภาพในการพูดคุยกัน ของแรงงาน มีการแลกเปลี่ยนระหว่างนายจ้างลูกจ้าง มีการใช้สารเคมีที่ปลอดภัย การจ้างงานผู้เยาว์ทำงานต้องอายุ 18 ปี จ้างได้ แนวคิดคือ 4 ไม่ 6 มี หลักการต้องไม่มีการค้ามนุษย์ สถานประกอบการณืต้องมี GLP และมีGLS ตอนนี้กำลังพยายามบังคับใช้กฎหมาย เพื่อไม่ให้มีการใช้แรงงานผิดกฎหมาย

หลักการคุ้มครองแรงงาน นอกจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ก็ยังมีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518 และมีพ.ร.บ.คุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน ที่มีการบังคับใช้ ตอนนี้มหาสารคามมีค่าจ้างขั้นต่ำ 305 บาทต่อวัน ซึ่งแรงงานในมหาสารคามไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายทำให้ได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่ากฎหมาย และบางส่วนทำงานไม่ได้รับค่าจ้างแล้วมาร้องต่อสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน

ส่วนแรงงานข้ามชาติในจังหวัดมีทั้งแรงงานลาว กัมพูชา พม่า และยังมีแรงงานจากประเทศอื่นๆเช่น ฝรั่ง ชาวอังกฤษ ที่มาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ซึ่งแรงงานข้ามชาติที่นี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมาย ระบบGLP จะได้รับเป็นเกียรติบัตร ซึ่งตอนนี้มีภาคเกษตรกรรม ปตุสัตว์ ด้วยหวังว่ายุโรปจะซื้ออาหารจากประเทศไทย ซึ่งตอนนี้ก็มีเรื่องเกษตรพันธสัญญาที่ยังมองกันอยู่ว่าสภาพเป็นลูกจ้างหรือไม่ ซึ่งร้านอาหารยังไม่มี