อีกด้านหนึ่งของไทยแลนด์ 4.0 อย่าเผลอทิ้งใครไว้ข้างหลัง

วันที่ 19 พฤษภาคม 2560 คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ร่วมกับ คณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบแรงงานและระบบคุ้มครองผู้บริโภคในคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่อาคารรัฐสภา 2 จัดสัมมนาเรื่อง “อีกด้านหนึ่งของไทยแลนด์ 4.0 อย่าเผลอทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

นายศิริชัย ไม้งาม เลขานุการธรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม และประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบแรงงานและระบบคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในการพัฒนาทั่วโลก และมีการเกิดขึ้นแล้วในยุโรป เมื่อเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 แล้วแรงงานไทยควรทำอย่างไร และจะส่งผลด้านความคิด การพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจ การศึกษาพัฒนาคน อาชีพบางอาชีพอาจหายไป และมีอาชีพใหม่เข้ามาทดแทน และมีการพัฒนาตัวเองให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาคนให้เท่าทัน โดยต้องมีการรณรงค์ให้เกิดการเตรียมความพร้อมให้ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนได้เตรียมความพร้อมในการพัฒนาตนเองเพื่อเตรียมตัวสู่การพัฒนาภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่องมุมมองไทยแลนด์ 4.0 ก้าวสู่เวทีสากลว่า ในมุมของประเทศไทยนั้นยุค 1.0 คือภาคเกษตรกรรม ทำมาหาเลี้ยงชีพ 2.0 คือยุคของอุตสาหกรรมเบาที่ใช้คนมากกว่าการใช้เครื่องจักร ยุคที่ 3 คือการใช้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่นกลุ่มยานยนต์ เคมี ซิเมน ยาง และเหล็ก อุตสาหกรรม 4.0 คือ อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มมากกว่าเดิม ใช้แอพพลิเคชั่นในการทำงาน การสร้างนวตกรรมใหม่ๆในการผลิต การแปรรูป ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่ามากกว่าเดิม หากเป็นการใช้กระบวนการผลิตแบบเดิมๆก็ไม่ใช่ระบบ 4.0 ประเทศไทยจากประเทศที่รับจ้างผลิต จะต้องพัฒนามาเป็นผู้ผลิตเอง

ไทยแลนด์ 4.0 ในความหมายรัฐบาล คือการพัฒนาแบบใหม่ๆ เช่นอุตสาหกรรมที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เดิมใช้เชื้อเพลิง น้ำมัน มาเป็นระบบไฟฟ้า สินค้าทุกชนิดที่ผลิตต้องสมาร์ต เป็นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยคิดค้นนวตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะมีการปรับตัวใช้ระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องมีการขับเคลื่อนไปข้างหน้า แล้วถามว่าประเทศไทยจะปรับตัวอย่างไร คือกฎหมายที่มีการบังคับใช้ยังไม่มีความทันสมัย ทันสถานการณ์ เพราะใช้มานาน ซึ่งตอนนี้ก็มีการปรับแก้ไขให้กฎหมายให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่นกฎหมายการเดินอากาศยาน ด้วยต้องมีการพัฒนาเทคโนโยลยีซึ่งในส่วนของการบินเดิมแค่การเดินอากาศ แต่ในอนาคตอาจมีบริษัทมาเปิดผลิตและซ่อม โดยมีบริษัทแอร์บัสที่มองในส่วนของสนามบินอู่ตะเภาไว้เป็นโรงซ่อม หรือพัฒนาท่าเรือโดยมองการพัฒนาอีสเทริ์นซีบอร์ดเป็นนิคมอุตสาหกรรมใหม่แบบ 4.0 แม้แต่อาลีบาบา ก็มีการพูดถึงการเปิดประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการกระจายสินค้าส่งออก บริษัท บี เอ็ม ดับบลิว ต้องการตั้งโรงงานแบตเตอรี่ ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานของไทย และพื้นฐานของแรงงานด้านฝีมือพร้อมหรือไม่ สิ่งที่ต้องแก้ คือเรื่องการพัฒนาด้านทักษะฝีมือแรงงาน ด้านอาชีวะ เพราะยังมีไม่เพียงพอ ซึ่งต้องพัฒนาเพิ่ม 2 หมื่นคนต่อปี ปัจจุบันแรงงานไทยยังไม่ได้มาตรฐานทั้งฝีมือ และภาษาในการสื่อสารยังด้อยอยู่ เสียงที่นายจ้างพูดถึงคือแรงงานที่ได้ต้องมีการอบรมพัฒนาทักษะใหม่ก่อนเข้าทำงาน ฉะนั้นการพัฒนาต้องตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากการเรียน การสอนระบบการศึกษาต้องมีการพัฒนา ยังมีปัญหาครูด้านช่างก็มีไม่เพียงพอ หากเทียบกับประเทศสิงคโปร์ในอัตราครู 7 คน กับนักเรียน 100 คน ประเทศไทยมีครู4 คนกับนักเรียน 100 คน ปัจจุบันยังต้องการครูฝีมือช่างเพิ่มอีก 2,000 คนเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องทั้งระบบ เช่นอุปกรณ์การสอนด้วยที่สิงคโปร์ต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีทุก 4 ปี แต่ประเทศไทย 15 ปีเปลี่ยนครั้งทำให้ตามไม่ทันระบบเทคโนโลยีที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ขณะนี้ที่คิดและกำลังจะมีการพัฒนาคือระบบการศึกษา และการส่งเสริมด้านทักษะฝีมือแรงงาน และภาษาในการสื่อสารต้องอ่านออกเขียนได้

ประเทศญี่ปุ่นที่มีการลงทุนในประเทศไทย จึงมีแนวทางว่าจะมาเปิดด้านการศึกษาอาชีวะ โดยลงทุนเอง นำอาจารย์มาจากประเทศญี่ปุ่นมาเพื่อจัดระบบศึกษาเองป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ระบบต่อมาคือระบบทวิภาคี ซึ่งในหลายประเทศมีการทำความตกลงกับวิทยาลัยเพื่อการจัดระบบศึกษา และส่งนักศึกษาเข้าไปฝึกงานในโรงงานเมื่อจบก็มีงานทำเลย และส่วนสุดท้ายคนที่จบมาแล้วในส่วนของมหาวิทยาลัยที่มีการทำงานวิจัย ขอทุนรัฐในการพัฒนาตนเองเรียนต่อต้องกลับมาทำงานสนองทุน ไม่ใช่แต่เรียนจบแล้วทำงานให้เอกชนอยู่ต่างประเทศส่งเงินมาใช้ทุนเท่านั้น เด็กไทยปัจจุบันเรียนจบไม่เข้าระบบโรงงาน แต่จะเป็นสตาร์ตอัพทำงานอาชีพอิสระ ตรงนี้ต้องดูเรื่องกฎหมายใหม่ที่มารองรับ

นายสิงหเดช ชูอำนาจ รองปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวว่า การทำงานในระบบเทคโนโลยีใหม่ โอกาสของคนอาจไม่เท่ากัน มีการปรับเปลี่ยนการทำงานแน่นอนมีการลดอัตราการใช้กำลังคนในการผลิตในระบบสายพานการผลิตจะมีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการจ้างงาน เช่นระบบธนาคาร สื่อมวลชนที่ตอนนี้ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แล้ว และการพัฒนาบุคคลากรให้เข้าสู่การยุคสมัยในการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน เรากลัวระบบที่มีการพัฒนาเอาหุ่นยนต์มาทำงานแทนคน แต่ก็บางอย่างหุ่นยนต์ก็ทำงานไม่ได้เหมือนคน เราก็คงยังต้องใช้คนในการทำงาน กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานก็จะดูเรื่องของการคุ้มครองแรงงาน และดูเรื่องสิทธิที่ควรได้รับเมื่อมีผลกระทบ นายจ้างควรดูแลแรงงานอย่างไรให้เป็นธรรม

วันนี้มีการพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาในการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปัญหาคือคนยังคงเหมือนเดิมยังมีมีการพัฒนา ไม่ว่าจะฝีมือ การศึกษาด้านเทคโนโลยีมารองรับการจ้างงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แน่นอนว่าหากเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ก็จะมีผลกระทบกับส่วนที่ยังไม่มีการพัฒนา หรือตามไม่ทันการพัฒนาต้องทิ้งไว้ข้างหลัง แต่ว่ารัฐบาลก็พยายามที่จะมีนโยบายส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ เพื่อให้มีงานทำ หรือนโยบายต่างๆออกมาเพื่อรองรับ เห็นได้ว่าตอนนี้มีคนลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยราว 14 ล้านคน

ประเทศไทยต้องได้รับการพัฒนา และแรงงานเองก็ต้องพัฒนาตนเองว่า หากทำงานนี้ไม่ได้ก็ต้องมีการไปทำงานที่ตนเองถนัด เช่น ผู้นำสหภาพแรงงาน ในอนาคตก็เป็นอาชีพหนึ่งที่มีการต้องมีวุฒิภาวะสูง และการทำงานในการรับเรื่องราวร้องทุกข์แล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาเราทำเองได้ และต้องนำคนที่ได้รับผลกระทบเข้าสู่ระบบเหมือนเดิม เช่นการที่เด็กจบใหม่ไม่อยากเข้าสู่ระบบเป็นสตาร์ตอัพกันหมดเพื่อความเป็นอิสระ แต่จะให้บอกว่าอะไรหายไปนั้นคงยังไม่ขัดเจนหลังจากมีการพัฒนาระบบไทยแลนด์ 4.0 แต่เชื่อว่า อีกไม่นานประเทศไทยก็จะเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแล้วคนที่ทำงานก็ต้องมีการพัฒนามากขึ้น การจ้างงานเลือกปฏิบัติไม่ได้คนทุกคนต้องมีการงานทำไม่ว่าจะผอม หรือ อ้วน ต้องได้รับการคุ้มครองเท่ากัน

การที่แรงงานจะเข้าสู่ยุค 4.0 ต้องมีการสร้างฐานข้อมูล ซึ่งมีอยู่แล้วและมีการทำรหัสอาชีพ ทราบว่า มีอาชีพอะไรบ้างใครทำ เป็นพื้นฐานในการปรับเมื่อมีการเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0

นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยกล่าวว่า เราไม่สามารถเลือกว่า จะไม่เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม 4.0 ได้เพราะโลกเปลี่ยนไป แล้วเทคโนโลยีมาถึงบ้านแล้ว ระบบสมาร์ทโฟนต่างๆที่ใช้ก็มีการปรับไปทำงานมีระบบต่างๆในการใช้งานมากขึ้น เดิมประเทศไทยอยู่ในระบบเกษตรกรรม และต่อมาก็เป็นประเทศรับจ้างผลิต ระบบการศึกษาก็มุ่งสู่ระบบสามัญ เพื่อเป็นเจ้าคนนายคนยังไม่เปลี่ยน คนที่เกเรไปเรียนเทคนิค ซึ่งเป็นความคิดอคติมานาน และประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย และลูกจ้างที่กินค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 47 จะมีความเสี่ยงอย่างไร การพัฒนาประเทศเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ไทยจะเสี่ยงมากในกลุ่มแรงงานของยานยนต์ร้อยละ 75ยังมีแรงงานในประเภทโรงแรม การบริการ ธนาคารและโรงพยาบาลเสี่ยงด้วยเช่นกัน

ระบบดิจิตอลมาเปลี่ยนอะไรในประเทศไทย คือว่า ประเทศเพื่อนบ้านมีความต้องการที่จะได้นักลงทุนไปลงทุนเขาเตรียมความพร้อมและกำลังพัฒนาด้านคนมารองรับด้านเทคโนโลยี อย่างเวียดนาม มาเลเซีย และอีกหลายประเทศที่มีค่าจ้างต่ำไม่สูงและยังมีแรงงานรองรับการลงทุน ต่างกับประเทศไทยที่ต้องเสี่ยงมากเพราะต้นทุนสูงกว่า และความพร้อมเรื่องแรงงานก็ยังมีปัญหาด้านฝีมือและทักษะในการที่จะปรับเพื่อให้รองรับอุตสาหกรรมใหม่ การที่ประเทศญี่ปุ่นจะมาลงทุนด้านการศึกษาพัฒนาคนรองรับเทคโนโลยีใหม่จึงเป็นแนวคิดที่ดี  ซึ่งประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ยุค 4.0 การพัฒนาคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ต้องทำให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาดแรงงาน แต่ว่า ปัญหาคือ การถ่ายถอดด้านเทคโนโลยีของผู้ที่มาลงทุนไม่มีเลยทุกอย่างอยู่ในมือของผู้ลงทุนหมด แรงงานสายวิศวะที่จบมาแม้เข้าไปทำงานก็เป็นได้เพียงโฟร์แมน หัวหน้างาน เพราะประเทศไทยเป็นเพียงประเทศรับจ้างผลิต และประเทศที่มาลงทุนก็ไม่ได้มีการส่งหรือสอนด้านเทคโนโลยีให้กับแรงงานเลย พอย้ายฐานการผลิตไปประเทศไทยก็ไม่ได้ความรู้เพื่อการต่อยอดเลย ซึ่งหากดูนโยบายประเทศจีนด้านการลงทุน คือผู้มาลงทุนต้องมีการสอนและพัฒนาให้กับแรงงานที่ทำงาน พร้อมทั้งถ่ายถอดความรู้ เทคโนโลยีให้ไว้ด้วยคือมาลงทุนแล้วจะย้ายก็ต้องทิ้งเทคโนโลยี ความคิดความรู้ไว้ให้ประเทศในการต่อยอดด้วย แต่ประเทศไทยตรงนี้ไม่ได้มีกำหนดไว้ให้กับนักลงทุนเมื่อย้ายฐานไปก็ไม่เหลืออะไร ซึ่งตรงนี้สหภาพแรงงานต้องเรียกร้องให้มีการถ่ายถอดเทคโนโลยีด้วยไม่ใช่ย้ายสถานประกอบการไป แรงงานไทยก็ยังไร้ฝีมืออยู่แบบเดิม ประเด็นเกษตรกร เกษตรกรรม ทุนใหญ่อำนาจต่อรองมีมากกว่า รัฐให้อีก ส่วนเกษตรขนาดเล็กเสียงไม่ดัง ทุนก็ไม่มีในการที่จะพัฒนาเทคโนโลยี ก็ไปไม่รอดอยู่อีกทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการผลิตอาหารส่งไปทั่วโลกแต่ว่าการลงทุนยังเป็นเกษตรรายใหญ่ที่ได้ประโยชน์

หากถามว่า “ใครที่จะอยู่ข้างหลัง” คิดว่าคือ คนที่บนบานศาลกล่าว เล่นหวย ซื้อเบอร์ คนที่ไม่ใส่ใจในการพัฒนา คนที่เรียนเพื่อปรับวุฒิเรียนตามค่านิยม กลุ่มวัยกลางคนที่ทำงานก็ไม่ได้ไปไหนก็ไม่เป็น แต่รัฐก็พูดถึงอาจมีทางไป คนที่ไม่ตกขบวนคือ คนที่พร้อมปรับตัว เรียนรู้ ปรับทัศนคติ พัฒนาทักษะ มองศักยภาพมนุษย์ สร้างการเรียนรู้ไว้ตลอดชีวิต ต้องมีกฎหมายระเบียบต้องเอื้อ แก้ไขกฎหมายแบบองค์รวมระบบข้าราชการต้องปฏิวัติลดขั้นตอนต่างๆที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติ ต้องเข้าง่ายออกง่าย ต้องมีการรับมือกับระบบ ต้องมีความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ต้องอบรมความรู้ให้เขาประเมินตัวเองได้ และเทคโนโลยีรัฐช้าให้เขาทำเองเปิดโอกาสให้เขาจัดการเอง และใครแข็งแรงต้องช่วยคนที่อ่อนแอ

ข้อเสนอ อยากเห็นโครงสร้างทั้งระบบ แยกกลุ่มเป้าหมาย จะได้ทราบว่าใครมีคุณภาพ มีศักยภาพ ต้องมีการสร้างฐานข้อมูล สร้างอาชีวศึกษาที่สอดคล้องต่อการพัฒนาแรงงานป้อนตลาดแรงงาน และการจัดการด้านการพัฒนาส่งเสริมด้านการเกษตรให้ทำเกษตรปลอดสารให้มีอาชีพตามระบบ แบบระบบพอเพียงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ปรวนแปร และคนอยากเรียนทักษะแบบไหนให้เรียนแบบนั้นไม่จำเป็นต้องบังคับเรียนตามหลักสูตร ท้ายสุดก็ส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง

ผศ.ดร.เกียรตินันท์ ล้วนแก้ว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงจาก 1.0 มาเป็น 2.0 นั้นใช้เวลานับศตวรรษ แต่ว่า 3.0 และ 4.0 นั้นไวมาก และมีการกล่าวว่า จะไปอีก 20 ปีจึงจะเปลี่ยนอีกครั้ง และสิ่งที่ขาดแคลนกำลังคนฝีมือ และมีแรงงานที่ทำงานอยู่ในระบบ ได้ทำงานในความคาดหวัง ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการจ้างงานค้าปลีก ค้าส่งตัวเลขไม่เปลี่ยน หากเทียบกับเวียดนาม และมาเลเชียที่มีการเปลี่ยนโครงสร้างงานจ้างงาน ประเทศไทยเป็นโครงสร้างการจ้างงานในยุคอุตสาหกรรม 2.5 อยู่เลยยังไม่ข้ามไป 3.0 เลย การพัฒนาฝีมือยังน้อยเกินไปในการพัฒนา

ตัวเลขคนทำงานภาคเกษตรลดลง และเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมมากขึ้น การทำงานที่เอาองค์ความรู้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ เช่น การจบปริญญาแล้วขายของเป็นเรื่องธรรมดาจะไม่นับว่า มีการพัฒนาฝีมือเพิ่มขึ้น แต่หากเป็นกลุ่มที่พัฒนาเกิดอาชีพใหม่ การเรียนเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษา การเรียนสายอาชีพยังมีน้อย

ช่องว่างของทักษะฝีมือ ที่นายจ้างคาดหวังด้านฝีมือแรงงานคือ หวังไว้ 5 แต่ลูกจ้างทำได้เพียง 3 ซึ่งทักษะต่ำกว่าที่คลาด ประเทศไทย แรงงานไทยมีปัญหาทางด้านภาษา ทักษะในการสื่อสาร จึงเป็นการอยู่ในอุตสาหกรรม 2.5 เท่านั้น การจะไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 จึงยังมีปัญหาในด้านทักษะแรงงาน หากประเทศไทยเจริญเหมือนภูเก็ตแรงงานไทยก็จะเป็นปัญหาเรื่องแรงงานทักษะ และการใช้ภาษาจะรุนแรง 10 เท่า พัฒนาแล้วคนของประเทศไทยไม่พร้อม นายจ้างในปัจจุบันที่เชียงใหม่ คือทักษะในการเรียนรู้งาน ประกาศรับสมัครงานใช้วุฒิการศึกษาแต่ว่า ต้องการประสบการมากกว่า โลกต่อไปที่วัดด้วยทักษะไม่ใช่วุฒิการศึกษาแล้ว กลุ่มที่มีทักษะจะได้งานทำก่อนคนที่มีวุฒิการศึกษา เรซูเม่ออนไลน์จะบอกว่า ใครมีทักษะอะไรบ้างเมื่อนายจ้างต้องการจ้างแรงงานให้ตรงกับทักษะก็จะหาแรงงานตามทักษะฝีมือในเรซูเม่ออนไลน์ โลกจากนี้คือการเก็บทักษะแรงงานด้านฝีมือความเชี่ยวชาญที่อยู่เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการหางาน และคนทำงานได้ตรงตามต้องการอยู่ในระบบออนไลน์หมด ในตลาดต้องมีการปรับตัวใหม่เสมอ

บทเรียนจากต่างประเทศ อินเดีย เยอรมัน ต้องมีการรีสกิลใหม่ แท็กซี่ ที่ต้องเปลี่ยนมาใช้แอพพลิเครชั่น ปรับตัวใหม่ให้ทันยุคสมัยในการบริการ การที่จะปรับตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 แม้แต่ประเทศต้นแบบอย่างเยอรมันจะไม่ทำอุตสาหกรรม 4.0 ทุกด้าน เพราะเห็นว่าจะเกิดปัญหากับแรงงาน คน และทักษะ จะทำเพียงบางด้าน ประเทศไทยการต้องปรับยุคสมัยให้เข้าสู่ยุค 4.0 อย่าง เราต้องรู้ว่า อะไรคือรากเหง้า จะต้องนำหุ่นยนต์มาใช้เสริมงาน เอาเทคโนโลยีมาเสริมการทำงานจะได้ไม่ทำให้ใครมาทิ้งอยู่ข้างหลัง

นางสุนทรี หัตถี เซงกิjง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้านกล่าวว่า จริงแล้วต้องหาสิ่งที่เป็นของเราในยุคสมัย 4.0 ที่เหมาะกับประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยคนจำนวนมากยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม และอยู่ในแรงงานนอกระบบจำนวนมาก หากจะเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 คนกลุ่มนี้จะไปอยู่ที่ไหน

สิ่งที่กังวล คือประเทศไทยสังคมเราทิ้งคนไว้ข้างหลังมานานแล้ว ประเด็นความเหลื่อมล้ำ คือคนร้อยละ 10 ถือครองทรัพย์ยากรมากมาย ซึ่งสะท้อนการพัฒนาที่ผิดสักอย่างการจัดระดับการศึกษา 7 ใน 10 ในอุดมศึกษา 1 ใน8 การติดอันดับที่10 การเป็นหนี้สินในนอกประเทศ และอุบัติเหตุเป็น 2 ความเหลื่อมล้ำอันดับ 3  จริงแล้วรัฐคิดถูกทางอยู่ว่า “ต้องลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความปองดอง” เพราะว่า ความเหลื่อมล้ำสูงทำให้ไม่เกิดความปองดอง ถามว่าการครอบครองความมั่งคั่งจะมากระจายเศรษฐกิจทำให้แรงงาน เกษตรกรดีขึ้นหรือไม่ การพัฒนาเทคโนโลยี ไอทีจะลดความเหลื่อมล้ำหรือว่า จะทำให้แรงงานตกงานมากขึ้น เกิดความเหลื่อมล้ำสูงมากขึ้น แรงงานนอกระบบ มีกฎหมายแต่ว่ากินไม่ได้ เช่นในส่วนของกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านแต่ว่ากินไม่ได้ และไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้าง มีสหภาพแรงงานนอกระบบไม่ได้ จะเข้าระบบ 4.0 ก็แก้ปัญหาเก็บกวาดของเก่าก่อน

หากจะไป 4.0 รัฐบาลต้องมาวิเคราะห์ว่า กลุ่มที่จะถูกและได้รับผลกระทบมีใครบ้างเพื่อการรองรับปัญหา ขอนแก่น แหอวนไปลาว บุรีรัมย์จัดทำวิกผมก็ย้ายไปที่กัมพูชา แรงงานนอกระบบก็ได้รับผลกระทบต้องทำงานที่ถูกลง ต้องมีการสร้างความมั่นใจว่า การที่เครื่องจักรที่มาใหม่ เทคโนโลยีมาต้องมาเพื่อผ่อนเบาภาระคนทำงาน ต้องไม่ทำให้แรงงานต้องตกงาน และการไป 4.0 การทำงานที่อยู่กับภูมิปัญญาจะยังมีคุณค่าในสังคมที่จะไป 4.0 ทำอย่างไรให้การพัฒนา 4.0 แบบไทยๆที่สมดุลไปด้วยกันได้ งานบริการแบบลันลามาคนไทยเพราะอยากกินอาหารข้างถนน ขี่สามล้อ มาเที่ยวแล้วสนุก การพัฒนาต้องหาให้พอดี แบะไม่ควรสนใจอะไรแล้วทุ้มสุดตัวจนไม่สนใจสิ่งที่มีดีอยู่แล้ว

รศ.ดร.ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า  เรื่องแรงงานมีสองมิติ ปัจจัยการผลิต กับความเป็นมนุษย์ เช่นที่พูดคุยคือมองแรงงานเป็นปัจจัยการผลิต แต่ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิต พลังงานที่มีประสิทธิภาพ พลังงานสมอง ร่างกายที่แข็งแรง ความสัมพันธ์ คือต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอยู่ในร่างกายมนุษย์ หากรางการไม่มีประสิทธิภาพ สมองจะดีได้อย่างไร

หลักการอย่าทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราเคยฝันว่าจะเป็นประเทศพัฒนา และมั่งคั่งมั่นคง เกาหลีเริ่มฟื้นฟูพร้อมกับเกาหลีใต้ คนรวยติดอันดับโลก แรงงานเกาหลีใต้เหมือนมีความสำคัญมาก เหมือนปีกซ้าย ปีกขวา ค่าจ้าง 12 เหรียญ วันละ 3000 กว่าบาท แรงงานไทยสันละ 300 กว่าบาทใครถูกทิ้ง คนไทยคนรวยติดอันดับโลก แต่แรงงานก็คนจนไทยติดอันดับโลกด้วย

เศรษฐกิจไทยกำลังจะดี แต่หากไปถามรากหญ้า เศรษฐกิจตกต่ำลง เป็นเพราะคนรากหญ้ารู้สึกเช่นนั้น เพราะคนจนไทยเป็นเหมือนหอยทากตกท่อ จากการที่เคยเป็นที่ปรึกษารัฐบาลมาหลายรัฐบาลไม่มีรัฐบาลไหนประกาศที่จะไม่ใช่เกษตรกร ณ วันนี้ชาวนาเป็นที่ธกส.มากขึ้น นายได้เพิ่มขึ้นแต่ค่าครองชีพเพิ่มเร็วกว่าขายข้าวได้มากขึ้นแต่ค่าปุ๋ยมากกว่า คนที่ตกท่อภาคเกษตรมากกว่า มี 13.7 ล้านคน อายุต่ำวกว่า 20 หาอยากมาก มีอายุเฉลี่ย 50-80 ปี เกษตรกรภาคอีสานรายได้ส่วนใหญ่มาจากแรงงานนอกระบบ รับเงินจากลูกที่อยู่ในโรงงาน มนุษย์ต่อมาแรงงาน 18 ล้านคน ภาคแรงงานรับจ้าง 14 ล้าน และ 9 ล้านคน แรงงานนอกระบบ จดทะเบียน 14 ล้านคนมีทั้งจนและเกือบจน 23 ล้านคน แรงงานรับจ้าง รายได้จากค่าจ้าง และรายได้จากวานล่วงเวลา มีการทำงานมากขึ้น งานล่วงเวลาลดลง ในปัจจุบัน ชาวนา 8 ล้านคน ไม่ได้กินข้าวตัวเอง เพราะแกซื้อข้าวสารจากโรงสีที่แพงกว่าข้าวที่ตัวเองปลูก แค่ส่วนต่างก็ตายแล้ว ค่าจ้าง ค่าปุ๋ย ค่ายาขึ้นทุกปี รายได้รากหญ้าหด แล้วเศรษฐกิจเติบโตด้วยอะไร ร้อยละ 52 มาจกการบริโภค จากครัวเรือน 22% มาจากภาคผลิต การนำเข้าแล้วส่งออกไม่ได้ช่วยอะไรด้านจีดีพีเลย การที่ประเทศต่างๆประกาศขึ้นค่าจ้างสูงเพราะต้องการจีดีพี และกำลังซื้อ

การใช้ชีวิตของแรงงานสามี ภรรยาอยู่คนละโรงงาน ลูกอยู่อย่างไร รอรถโรงเรียนมารับ เย็นมาส่ง แม่กับพ่อทำงานล่วงเวลา เด็กใครดูแลคุณภาพคนจะเป็นอย่างไร อีก 4-5 ปี ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัย และส่วนใหญ่เป็นแรงงานในโรงงาน บ้านก็เช่าจะเอาเงินที่ไหนจ่าย และหากกลับไปอยู่บ้านที่ดินมีพอหรือไม่ทำกินเป็นหรือไม่ใครได้ที่ดิน ตอนนี้ตนช่วยรัฐบาลสร้างบ้านให้คนจน ถามว่า ประเทศไทยจะไป 4.0 แล้วคืออะไร

ในความเป็นจริงสังคมไทย สิ่งที่จะให้คนไม่ใช่การแจกเงิน แต่ต้องให้โอกาสคน 4.0 แบบระบบดิจิตอลนั้นตนหนุน เพราะนิวโปรซุมเมอร์ เศรษฐกิจครัวเรือน นิวซูเมอร์ผลิตเองกินเอง การเข้าถึงเทคโนโลยีทุกครัวเรือน ไม่ต้องผลิตโปรแกรมเมอร์ ต้องทำให้ครัวเรือนผลิตเอง แลกเปลี่ยนกันเอง เพื่อให้ความเทียมเกิดขึ้นจริง ต้องทำให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยี

นักสื่อสารแรงงาาน รายงาน