องค์กรผู้หญิงอินเดีย ย้ำการจัดตั้งต้องใช้งานวัฒนธรรมเพื่อสร้างพลัง

20130628_125451

องค์กรผู้หญิง ชื่อ “สังกัด” เกิดขึ้นมาจากการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิผู้หญิงทำงานมา 25 ปี กับผู้หญิง 8 ประเทศ แต่ละประเทศมีความหลากหลาย ด้านชนชั้น วัฒนธรรม การแต่งกาย และศาสนา แต่ความเหมือนกันของผู้หญิงแต่ละประเทศ คือ ความไม่เท่าเทียมเนื่องจากเพศ ถูกคุกคามทางเพศ การทำงานจึงเน้นการใช้งานวัฒนธรรม เช่นบทเพลง การเต้นรำ ละคร  เข้ามาจัดตั้งรวมกลุ่ม ให้การศึกษา

ในวันที่ 28 มิถุนายน 2556 ผู้เข้าอบรมโครงการเสริมสร้างภาวะการนำเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ (นธส.) ได้เข้ารับฟังการทำงานของกลุ่มสังกัด (We want Peace in Snout Asia Notices of South Asia) ซึ่งทำงานเรื่องสิทธิผู้หญิง มีศูนย์กลางทำงานอยู่ที่นิวเดลีโดยทำงานมาแล้ว 25 ปี องค์กรเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวในกลุ่มของผู้หญิงอินเดีย ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ถูกกดขี่เนื่องจากเพศ และได้ทำงานร่วมกับอีก 8 ประเทศ เช่น เนปาล ปากีสถาน ภูฎาน บังกลาเทศ ฯลฯ ทำงานเรื่อง เพศ ผู้หญิง และสตรีนิยม

คุณกาลิมา ชีวัสทาวา (Garima Shrivagat) จากการทำงานร่วมพบว่าปัญหาของผู้หญิงปากีสถาน บังกลาเทศ มีลักษณะคล้ายกับอินเดีย มีความขัดแย้งระหว่างชนเผ่า ความรุนแรงที่ผู้หญิงเหมือนๆกัน ประเด็นต่อมาเรื่องสันติภาพ การเน้นการทำงานโดยการเอาคนมาเป็นศูนย์กลาง เช่นเรื่องสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียม การเอาประเด็นคนชายขอบอย่างประเด็นผู้หญิงมาพูดถึงในทุกที่เรื่องความทุกข์

20130628_10333120130628_125244

การจัดอบรมให้การศึกษากับผู้หญิงให้รู้สิทธิ การทำงานรณรงค์ให้รัฐบาลเน้นการทำงานประชาสังคม คนรากหญ้าอย่างผู้หญิง  ซึ่งต้องทำงานกับทั้งหมด 8 ประเทศ โดยมีการทำกิจกรรมร่วมกัน คือให้การศึกษา การรณรงค์ การทำงานร่วมกันด้วยการละลายอัตตลักษณ์ของแต่ละคน ด้วยรากเหง้าของปัญหาคือ ประเทศบังกลาเทศ แยกตัวออกจากปากีสถาน จึงทำให้ไม่มีความไว้วางใจกัน ปัญหาเรื่องชาติพันธุ์ ความคิดภาพเหมารวม ปัญหาทางการเมือง ศาสนา การแต่งกาย เช่น มุสลิม ฮินดู พุทธ คริส ฯลฯ ซึ่งการอบรมต้องมีการละลายอัตตลักษณ์ความต่างซึ่งใช้เวลาในการอบรมอยู่ร่วมกัน 1 เดือน จากการอบรมมา 20 ปีได้แกนนำ 600 คน หลังการอบรมแกนนำจะกลับตั้งกลุ่ม การอยู่ร่วมกันทำให้เข้าใจกันโดยใช้ประเด็นผู้หญิงในการสร้างความเข้าใจ ว่าผู้หญิงมีปัญหาที่ได้รับผลกระทบเดียวกัน ถูกเอาเปรียบเหมือนกัน โดยทำให้เข้าใจเรื่องผลกระทบจากการกระทำทางศาสนา ที่ว่ามุสลิมฆ่าคนนับถือศาสนาพุทธ และคนพุทธก็ฆ่าคนที่นับถือศาสนามุสลิม  สร้างให้เห็นว่าการที่ปากีสถานยังสู้รบกับบังกาลาเทศ มีเรื่องผลประโยชน์การใช้งบประมาณซื้ออาวุธจนทำให้รัฐบาลไม่มีงบประมาณมาพัฒนาสังคม เรื่องศาสนา มีความละเอียดอ่อนในการจัดการให้คนอยู่ร่วมกันอย่างให้เกียรติกันไม่แบ่งแยก การทำงานโดยการใช้วัฒนธรรมการแต่งกาย การแสดงของแต่ละกลุ่มทำให้สื่อสารกันได้ดีขึ้นแม้จะคนละภาษา ศาสนา การทำงานด้านสื่อ สิ่งแวดล้อม แรงงาน อาชีพ การรณรงค์รัฐต่อรัฐ การรณรงค์ข้ามเขต ทำงานกับผู้ชายที่เข้าใจเรื่องผู้หญิง กลุ่มเพศวิถี ดูแลและทำงานร่วม โดยมีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันของแต่ละประเด็นที่สังกัดทำงานอยู่

องค์กรในการทำงานประเด็นผู้หญิง ทำงานกับตัวเอง และสร้างคนรุ่นใหม่ คือ 1 คนจะสานงานต่อ การตั้งองค์กรสังกัดนั้นตั้งจากผู้เชียวชาญ 20 คน ทำงานด้านสัมมาอาชีพ ขับเคลื่อนประชาธิปไตยและประเด็นสิทธิมนุษยชนเรื่องผู้หญิง

การรณรงค์ เรื่องยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงอินเดีย ได้มีการรณรงค์ผ่านศิลปินผู้หญิงที่มาพบและเรียนรู้ร่วมกัน บทเพลงมีความสำคัญมากในการอบรมทุกครั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างมีพลังเมื่อผู้หญิงมาร้องร่วมกัน  การที่ต้องทำให้ผู้หญิงรู้สึกปลอดภัยและอยู่ร่วมกัน

20130628_10325220130628_144724

UN สรุปว่าผู้หญิงอินเดีย 1ใน 3 คนจะถูกคุกคามทางเพศ การให้การศึกษาผ่านการแสดงละคร พูดเรื่องเพศ การถูกกดขี่ คุกคามทางเพศ ทุบตี เช่นกรณีการรณรงค์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 มีผู้หญิงหนึ่งพันล้านคนจาก 8 ประเทศที่ออกมาเต้นรณรงค์ให้รักผู้หญิง โดยการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง การรณรงค์ครั้งเกิดจากการที่เด็กผู้หญิงที่ถูกข่มขื่นในรถเมล์ที่อินเดีย ที่มีการออกมาชุมนุมครั้งใหญ่ด้วยความโกรธแค้นดังที่เป็นข่าวไปทั่วโลก  แต่การรณรงค์ด้วยการใช้งานวัฒนธรรม บทเพลง และการเต้น ผลของการรณรงค์ทำให้ ผู้ชาย เด็ก เยาวชน คนพิการ ฯลฯ ในวัน14 ก.พ. วันแห่งการแสดงออกของกลุ่มผู้หญิงในเชิงสัญลักษณ์เรียกว่า“One Woman design” คนหลายกลุ่มที่เห็นด้วยในการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงออกมาร่วมกันรณรงค์จำนวนมาก ส่งผลต่อรัฐบาล ในการรณรงค์ให้ผู้หญิงเดินทางอย่างปลอดภัย ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงอินเดียนั้น ทุกๆ 15 นาทีจะมีผู้หญิงถูกเผา เนื่องจากไม่มีเงินจ่ายค่าสินสอดให้ผู้ชาย ผู้ชายที่เป็นสามีกระทำต่อภรรยา ซึ่งคนจะมองว่าเป็นเพราะผู้หญิงไม่ดี จึงถูกทำร้าย ปี 2001 มีเด็กผู้หญิงหายไปจากบ้าน หรือมีการทำแท้งเพราะทราบว่าลูกเป็นผู้หญิงราว 35 ล้านคน โดยที่พ่อแม่ไม่ได้สนใจติดตาม หรือว่าเต็มใจให้ลูกหาย

อากัญจา กาลี Kamla baich.t กล่าวว่า การก่อตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อทำข้อมูล แสงสว่าง หากมีแสงสว่างริมทางผู้หญิงก็จะปลอดภัย และทำงานเรื่องยุติความรุนแรงในครอบครัว การถูกข่มขื่น ฆ่า การไม่จ่ายค่าเสียหายให้ผู้หญิง

วาสนา ลำดี รายงาน

20130628_13510920130628_134945