สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

20161208_120227

สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมีคนอยู่ศูนย์กลางไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง คำนึงถึงทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ต้องเป็นธุรกิจเชิงสังคม ดูแลสิทธิแรงงาน สตรี เด็ก คนพิการ ชนเผ่า ไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว เพศ วัฒนธรรมความต่าง

วันที่ 8 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดงาน “วันสิทธิมนุษยชนสากล” 10 ธันวาคม 2559 ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพ ซึ่งได้มีการเสวนาเรื่อง “สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน”

นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนในความหมายคงจะละเว้นในการกล่าวถึงสิทธิสตรี ที่ต้องมีความเท่าเทียม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิของชนเผ่าการเข้าถึงความเป็นมนุษย์ สิทธิในสัญชาติ การนับถือศาสนา การเข้าถึงทรัพยากรที่ทำกินที่อยู่อาศัย ซึ่งเหล่านี้รัฐจะละเลยไม่ได้ ภาครัฐได้มีการกำหนดเรื่องการพัฒนาประเทศในแผนงาน 20 ปีโดยต้องมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ในแผนงานแม้ว่าจะไม่ได้เขียนถึงสิทธิมนุษยชน แต่มีการกำหนดเรื่อง Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางในการพัฒนาไว้ในแผนการพัฒนาประเทศด้วย โดยกำหนดเป็นเนื้อหาในแผนสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 3 ซึ่งถือเป็นกลไกในการติดตามการทำงานของภาครัฐ ใช้ในการประเมินการทำงานด้านการพัฒนาของกระทรวงทบวงและกรม ที่ต้องมีวิธีคิดการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน มีมุมมองที่เท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่ง เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว เพศ วัฒนธรรม ความต่างใด ท่ามกลางการพัฒนาที่จะเข้าสู่ยุค 4.0 และนโยบายประชารัฐ ต้องมองว่าใครได้ประโยชน์ และด้านสิทธิมนุษยชนการพัฒนาประเทศคนต้องอยู่ตรงกลาง

20161208_094436

ดร.เสรี นนทสูติ ผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า เป้าหมายแผนงานสิทธิมนุษยชน กระทรวงการต่างประเทศได้นำมาเป็นกลไกในการพัฒนาประเด็นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน มาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนโดยนำมาดู หนึ่งต้องว่องไว สองต้องบรรลุเป้าหมาย สามต้องไม่คิดแยกส่วน จะพัฒนาอย่างไรให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเป้าหมายซึ่งอาเซียนมีการกล่าวถึง 3 เสาหลัก คือ 1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN POLITICAL-SECURITY COMMUNITY หรือ APSC) 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY หรือ AEC) 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY หรือ ASCC) การคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน ต้องดูแลสิทธิคนพิการที่ไม่ใช่แค่การจ่ายเบี้ยยังชีพคนพิการแล้วให้กลับไปโดยไม่รับรู้ถึงสิทธิในการเดินทาง การรักษาพยาบาล การเข้าถึงอาคาร สถานประกอบการ การมีงานทำ การเข้าถึงการับรู้ข่าวสาร ด้านกฎหมาย การขึ้นศาล ผู้ต้องขัง หรือการถูกดำเนินคดีที่อาจไม่เป็นธรรม รัฐต้องจัดการให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิต่างๆ และกำหนดการทำงานด้านสิทธิที่ต้องรองรับให้เขาสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้าน สิทธิสตรี ที่ต้องมีความเท่าเทียม และคนพิการ ยังมีเรื่องสิทธิทางเพศของกลุ่มเพศภาพ หรือคนหลากหลายทางเพศที่ต้องไม่มีการละเลย จนเกิดการละเมิดสิทธิ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิของชนเผ่าการเข้าถึงความเป็นมนุษย์ สิทธิในสัญชาติ การนับถือศาสนา การเข้าถึงทรัพยากรที่ทำกินที่อยู่อาศัย ซึ่งเหล่านี้รัฐจะละเลยไม่ได้ และไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รัฐบาลต้องมีนโยบายแบบบูรณาการร่วมกัน การพัฒนาจะสำเร็จไม่ได้หากยังไม่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ยังมีคนที่ด้อยโอกาสเข้าไม่ถึงทรัพยากร และความไม่เท่าเทียมกันด้านสิทธิเส้นความยากจนที่มีความห่างออกไปเรื่อยซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาเกิดคนจนคนด้อยโอกาสมากขึ้น และไม่มองเพียงการพัฒนาประเทศตัวเองเท่านั้น ต้องไม่ลืมว่าการพัฒนาประเทศใดประเทศหนึ่งย่อมสงผลกระทบต่อประเทศอื่นๆด้วยไม่ใช่เพียงประเทศในแถบอาเซียนเท่านั้นอาจกระทบมุมกว่ากลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ เช่นการเคลื่อนย้ายแรงงาน การค้ามนุษย์ การพัฒนาจึงสำเร็จไม่ได้หากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนยังอยู่ แล้วประเทศไทยจะอยู่ตรงไหนในการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาต้องคำนึงถึงทรัพยากรที่มีจำกัด ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปฏิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาไม่เกี่ยวกับใคร เป็นเรื่องภายในประเทศ การพัฒนาต้องดูข้างนอกรอบๆด้วยว่าเกี่ยวข้องกับประเทศใดบ้าง ใครบ้างที่จะได้รับผลกระทบจากการพัฒนา เพื่อการป้องกันดูแลเรื่องสิทธิ ต้องทำงานแบบบูรณาการทั้งภาครัฐ ข้าราชการและเอกชนเพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนทุกคนต้องเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียมในความหมายของสิทธิมนุษยชน

นายบรรจง นะแส ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กล่าวถึงคำประกาศด้านสิทธิมนุษยชนแม้ว่าจะมีการตัดสินไม่ใช่กฎหมายที่มีบทกำหนดโทษ แต่หากเป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนโลกที่มีการกล่าวถึงการละเมิดสิทธิแรงงานในเรือประมง การใช้อุปกรณ์ประมงที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมทรัพยากร กรณีสหภาพยุโรป (Europe Union) ได้มีคำประกาศแจ้งเตือนประเทศไทย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นกระแสให้รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ไขปัญหา จุดสำคัญประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศหรือไม่ เพื่อให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน กระแสโลกที่นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติและได้เซ็นลงนามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 20 ปี คือต้องทำให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และเข้าถึงทรัพยากรนั้นด้วยโดยแนวการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พัฒนาปัจจุบันเพื่อให้คนในอนาคตได้รับด้วย ต้องคำนึงถึงทรัพยากรนั้นมีอยู่เท่านี้และต้องจัดสรรให้คนได้เข้าถึงโดยไม่ทำลายจนในอนาคตไม่มีเหลือไว้ให้ลูกหลานได้ใช้

20161208_120040

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573 ประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายคือ 1. ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ 2. ขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน 3. ทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ 4. ทำให้แน่ใจถึงการได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน 5. บรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน 6. ทำให้แน่ใจว่าเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน 7 ทำให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน เชื่อถือได้ ตามกำลังซื้อของตน 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึงให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการมีงานทำและการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน 9. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม 10. ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ 11. ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน 12. ทำให้แน่ใจถึงการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน 13. ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น 14. อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน 15. พิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้งและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 16. ส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการเข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวม มีประสิทธิผล และเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ17. เสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล และสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสำหรับประเทศไทย นอกจากการพัฒนาใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามแนวทางของ SDGs  แล้ว ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับมิติทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย และการจะบรรลุความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น

นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานกรรมการบริษัทแพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงการลงทุนของนักธุรกิจว่า ต้องดูแลเรื่องสิทธิแรงงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมด้วย ต้องมีการบริหารทรัพยากรที่มีน้อยนิดให้ยั่งยืน หากไม่ช่วยกันทรัพยากรก็จะหมดหรือไม่เพียงพอกับกับโลกที่กำลังเติบโต ซึ่งได้มีการทำวิจัยของต่างประเทศถึงการสูญพันธุ์ของมนุษย์ในอนาคต เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลไปทั่วโลก การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องทำให้ธุรกิจเป็นธุรกิจเชิงสังคม มีคุณธรรมไม่เอาเปรียบแรงงาน ต้องคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ต้องดูแลสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรต่างๆที่มีใช้อย่างรู้คุณค่า รัฐเองก็ต้องส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเชิงสังคมให้มากขึ้นและแบบจริงจังมีการตรวจสอบด้วย เพราะไม่ใช่แค่เพียงเก็บภาษีอย่างเดียว ถามว่าจ่ายได้ไหมทำธุรกิจก็ต้องหวังกำไร หากไม่มีกำไรก็คงเก็บเงินไว้ในธนาคารไม่นำมาลงทุนแน่ อยู่ที่ว่าจำทำธุรกิจที่ต้องการกำไรพอควร หรือว่าธุรกิจที่กำไรมากๆไม่สนใจคนไม่สนใจสิ่งแวดล้อมมีกำไรมากจ่ายภาษีได้ไม่มีปัญหา รัฐต้องทำให้นักธุรกิจเห็นคุณค่าของทรัพยากร คน สิ่งแวดล้อม เป็นการทำธุรกิจที่มีเรื่องสังคมมีคนเป็นศูนย์กลางไม่เอาเปรียบดูแลสิทธิมนุษยชน ดูแลแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่คอรัปชั่น SDGการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสิ่งที่รัฐต้องดูเรื่องร่างกฎหมายแข่งขันทางการค้าที่มีการร่างขึ้นมาเป็นการส่งเสริมหรือกีดกัน การพัฒนาทางด้านการเงิน การคลัง การค้า ซึ่งเกี่ยวกับหลายกระทรวง และกระทรวงการคลังที่ดูเรื่องนโยบายแบงค์ชาติ ต้องดูแลสังคมด้วย

20161208_120321

ทั้งนี้ต่อมาทางนายนวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนได้มอบรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2559 โดยมีรายชื่อผู้รับรางวัลมีดังนี้ ผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่น ด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2559
1.ประเภทบุคคลทั่วไป ได้แก่ 1.นายสุรศักดิ์ สินลี้ 2.น ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย 3.น.ส.ศิริวรรณ ว่องเกียรติไพศาล
2.ประเภทเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี คือ นาย สุจริต กันชุม
3. ประเภทสื่อมวลชน คือ นายณัฐพล ทุมมา,  สถานีโทรทัศน์ข่าวสปริงนิวส์ ดิจิตอลทีวี ช่อง 19 และสถานีโทรทัศน์ NOW26
4. ประเภทองค์กรภาครัฐ จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
5. ประเภทองค์กรภาคเอกชน ได้แก่ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และบ้านเอื้อพรองค์กรเพื่อสาธารณประโยชน์

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน