กมธ.สรุปพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม

 

PA300362

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม สรุปผลการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามที่กรรมาธิการวิสามัญได้ประชุมพิจารณาเฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขประเด็นหลักดังนี้

ประเด็นที่ 1 ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง (เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมถึงลูกจ้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างไร รวมทั้งทำงานบ้านด้วย)

ประเด็นที่ 2 ทุพพลภาพ หมายความว่า การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะ หรือของร่างกายหรือสูงเสียสภาวะปกติของจิตใจจนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการแพทย์

ประเด็นที่ 3 ภัยพิบัติ หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย หรือธรณีพิบัติภัย ตลอดจนภัยอื่น ๆ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ (เพื่อกำหนดขอบเขตกรณีการได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบ ตามมาตรา 46/1 ให้ชัดเจน)

ประเด็นที่ 4 คระกรรมการประกันสังคม ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานผู้แทนกระทรวงการคลัง, ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย, ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข, ผู้แทนกระทรวงพัฒนาการสังคมฯ และผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ กับผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละเจ็ดคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด (รายละเอียดวิธีการเลือกตั้งยังไม่สรุปชัดเจน)

คุณสมบัติกรรมการที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทย
– มีอายุไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์

(2) ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(3) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(4) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(5) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(6) ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

(7) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือเลิกจ้างจากหน่วยงานของรัฐ หรือสถานประกอบกิจการของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่

(8) ไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีประโยชน์ได้เสียในกิจการที่เป็นคู่สัญญาหรือมีธุรกิจเกี่ยวข้องกับสำนักงานไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

(9) ไม่เป็นข้าราชการหรือการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการ หรือที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี

ประเด็นที่ 5 กรรมการที่ปรึกษาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(1) ตาย

(2) ลาออก

(3) คณะกรรมการมีมติให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถด้วยคะแนนเสียง เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่มีอยู่ตามระเบียบ ที่คณะกรรมการกำหนด

(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8/2

ประเด็นที่ 6 คณะกรรมการการแพทย์ประธานกรรมการและกรรมการอื่น ให้แต่งตั้งโดยการสรรหาจากผู้ทรงวุฒิในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ และให้มีผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละหนึ่งคน และให้มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสองปี

ประเด็นที่ 7 ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน (มาตรา 40 )

ประเด็นที่ 8 ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน 7 กรณี ตามมาตรา 54 โดยเพิ่ม (1) ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รวมทั้ง การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และเพิ่งข้อความใน (7) ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ยกเว้นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามวรรคหนึ่งไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี อนึ่ง สำหรับคนพิการมาก่อนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทน (1) อย่างต่อเนื่อง

ประเด็นที่ 9 ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานมาตรา 63 โดยเพิ่ม (1/1) ค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (2) ค่าบำบัดทางการแพทย์และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ (6) ค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตน ในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ (7) ค่าบริการอื่นที่จำเป็น

ประเด็นที่ 10 ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรสำหรับตนเองหรือภรรยาต่อเมื่อภายในระยะเวลาสิบห้าเดือนก่อนรับบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าเดือน และคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวนครั้ง (ของเดิมไม่เกินสองครั้ง)

ประเด็นที่ 11 ในกรณีที่มีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามมาตรา 73 ด้วย ให้ได้รับเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์ตามมาตรา 73 เท่านั้น

ประเด็นที่ 12 ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรเดิมจำนวน 2 คน เพิ่มเป็น 3 คน

ประเด็นที่ 13 ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะส่งเงินสมทบครบหนึ่งร้อยแปดสิบเดือนหรือไม่ก็ตาม และประสงค์ที่จะไม่พำนักอยู่ในประเทศไทย ให้มีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จ ชราภาพ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (เพื่อให้ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยสามารถเลือกใช้สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพได้เมื่อไม่ประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทย

ประเด็นที่ 14 เพิ่ม (4) ในกรณีผู้ประกันตนไม่มีทายาท ผู้มีสิทธิตามวรรคสองให้บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้เป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จชราภาพ มาตรา 77 จัตวา ในกรณีผู้ประกันตนซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามมาตรา 77 ทวิ ถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน

ประเด็นที่ 15 ให้คณะกรรมการประกันสังคม และคณะกรรมการการแพทย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลให้บังคับยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ตามมาตรา 8 หรือคณะกรรมการการแพทย์ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้องแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

PA170151 PA300371

ทั้งนี้ประเทศไทยมีแนวคิดการปฏิรูปประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2551 และการปฏิรูปแต่ละครั้งต้องมีพี่น้องแรงงาน องค์กรแรงงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปทุกชุด เพื่อก่อให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเฉพาะหลักประกันสังคม ให้คุ้มครองคนไทยทุกคนที่มีรายได้อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้ระบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขปัจจุบันนี้ ระบบประกันสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม 2533 ยังมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องความเป็นอิสระ ความโปร่งใสในการบริหาร และการมีส่วนรวมของผู้ประกันตน รวมทั้ง บทบัญญัติของกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้มาอย่างยาวนานถึง 25 ปี และมีการปรับปรุงแก้ไข 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ.2537 และพ.ศ.2542 เพื่อให้คล่องตัวในการบริหารจัดการ

เมื่อปี พ.ศ.2554 เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน เห็นร่วมกันในการขับเคลื่อนสร้างนโยบายหลักประกันทางสังคม ได้ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับพี่น้องผู้ใช้แรงงานและประชาชน เข้าชื่อสู่ขบวนพิจารณานิติบัญญัติเมื่อปี พ.ศ.2555 ในช่วงที่รัฐบาลมาจากพรรคเพื่อไทย โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีแต่สภาผู้แทนราษฎรไม่รับหลักการในวาระที่ 1 ทำให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวตกไป

ต่อมา นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภาก็เกิดรัฐประหารขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ,สภานิติบัญญัติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตามลำดับ รัฐบาล คสช. ก็พิจารณาความสำคัญร่างกฎหมายที่เร่งด่วนจำนวน 38 ฉบับ หนึ่งในจำนวนนั้นมีร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกันสังคมอยู่ด้วย

เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ร่วมกับองค์กรเครือข่าย 14 องค์กร ใช้ชื่อว่าเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) ผลักดันหลักการสี่ประการเพื่อการปฏิรูปประกันสังคม “หลักประกันเพื่อคืนความสุขสู่ประชาชน

หลักการที่ 1 หลักความครอบคลุมในมิติคนทำงานที่มีรายได้ มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยไม่เลือกปฏิบัติ เช่น เพศ สัญชาติ ความครอบคลุมด้านสิทธิประโยชน์ทดแทน

หลักการที่ 2 หลักความเป็นอิสระและบูรณาการของระบบบริหาร เช่น ต้องมีคณะกรรมการบริหารประกันสังคม, คณะกรรมการการแพทย์, คณะกรรมการอุทธรณ์, คณะกรรมการตรวจสอบ, คณะกรรมการการลงทุน

หลักการที่ 3 หลักความโปร่งใสและมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน เช่น ผู้ประกันตนทุกประเภทมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมโดยตรงจากผู้ประกันตน

หลักการที่ 4 หลักยืดหยุ่น เป็นธรรม สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม

ถึงเวลาแล้ว ระบบประกันสังคมของไทยควรได้รับการปฏิรูปให้เป็นระบบหลักประกันสังคม เพื่อคุ้มครองและเป็นหลักประกันทางสังคมให้กับคนทำงานที่มีรายได้ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนประมาณ 41.1 ล้านคน แรงงานในระบบทำงานตามสถานประกอบการ 11 ล้านคน แรงงานนอกระบบประกอบอาชีพอิสระจำนวน 25.1 ล้านคน แรงงานต่างด้าวหรือข้ามชาติประมาณ 4 ล้านคน

แต่รัฐบาล คสช. ได้เสนอปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เข้าไปในสภา สนช. แก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด 45 มาตรา ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกันสังคมครั้งที่ 3 รายละเอียดตามที่กรรมาธิการวิสามัญได้ประชุมพิจารณามีมติเห็นชอบแล้ว โดยมีพลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษธำรง ทัศนาญชลี รองประธานคนที่หนึ่ง พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์ รองประธานคนที่สอง และนายสุรเดช วลีอิทธิกุล รองประธานคนที่สาม นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ เลขานุการ และนายชูศักดิ์ จันทยานนท์ รองเลขานุการ โดยมีนายมนัส โกศล โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ และพลเอกธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ รองโฆษก นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานที่ปรึกษากรรมาธิการวิสามัญ รวมคณะกรรมาธิการวิสามัญ 18 คน

20141127_1022111415332887215

(รายงานที่http://www.ctl.or.th)